ยาอมใต้ลิ้น ISDN .. หมอหัวใจยืนยันว่า " เข้าใจผิด " .. งดแชร์ และ ฝากบอกต่อ



Rungsrit Kanjanavanit
1 ธันวาคม เวลา 23:37 น.


จากเหตุการณ์ เสียชีวิตกระทันหันของผู้มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพรักในสังคม

เห็นมีการแชร์กันมากในไลน์ เรื่อง แนะนำให้พกยาอมใต้ลิ้น ISDN เพื่อลดโอกาสเสียชีวิตจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

ผมมีความลำบากใจบางประการ
แต่ผมขอชี้แจงเพื่อป้องกันความเข้าใจผิดดังนี้ครับ

ยาอมใต้ลิ้น หรือ ยาไนเตรท นี้ เป็นยาขยายหลอดเลือด ช่วย ลดอาการ เจ็บหน้าอกได้ กรณีที่ไม่เป็นรุนแรง นั่นคือ หลอดเลือดตีบ แต่ไม่ถึงกับตัน เป็นการเจ็บหน้าอกแบบคงที่ (stable angina)

แต่กรณีที่หลอดเลือดหัวใจอุดตันเลย
จนเกิด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ( acute myocardial infarction )
มันช่วยอะไรมากไม่ได้
อาจบรรเทาความเจ็บปวดลงได้เล็กน้อย
แต่ไม่เคยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า สามารถลดอัตราตาย หรือภาวะแทรกซ้อนได้

หากเจ็บหน้าอกรุนแรง
วิธีลดความเสี่ยงในการเสียชีวิต ทำได้โดย รีบไปพบแพทย์ฉุกเฉิน (ควรใช้บริการ 1669)
เพื่อให้แพทย์เปิดหลอดเลือดหัวใจให้เลือดกลับมาเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจโดยเร็วที่สุด

จะด้วยการใช้ยาละลายลิ่มเลือด fibrinolysis
หรือทำ “balloon” ( primary coronary intervention) แล้วแต่ความเหมาะสม

หากจะมีการพกยา
คนที่มีความเสี่ยง อาจพก Aspirin
และเคี้ยวเวลาเกิดอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง
ยังจะมีประโยชน์มากกว่า พกและอมยาใต้ลิ้นตัวที่ว่านี้ครับ

นอกจากนี้ การติดความรู้ CPR ที่ถูกต้องให้กับประชาชนในวงกว้าง รวมถึงการเข้าถึงเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED ได้ง่าย
เป็นกลไกสำคัญในการป้องกัน การเสียชีวิตกระทันหัน จากภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ อันเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญของภาะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันครับ

นพ.รังสฤษฏ์ กาญจนะวณิชย์

อายุรแพทย์โรคหัวใจ
คณะแพทยศาสตร์ มช.

https://www.facebook.com/rungsrit.kanjanavanit/posts/10204279726349724


::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

ต้นเรื่อง ที่ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน ?
ที่มา ...https://www.1morenews.com/11532.html

นพ.สันต์ หัตถีรัตน์ นายกสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย อธิบายว่า ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน คือภาวะที่หัวใจไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้แบบเฉียบพลัน ส่วนใหญ่เกิดจากการที่เป็นโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้ว โดยกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการเหล่านี้คือ มีคนในครอบครัวเป็นมาก่อน คนที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ ยิ่งอายุมากยิ่งมีความเสี่ยงมาก โดยผู้ชายเริ่มที่อายุ 40 ปี ส่วนผู้หญิงเริ่มมีความเสี่ยงช่วงหลังหมดประจำเดือน เมื่อรู้แล้วป้องกันตัวเองก่อน โอกาสเกิดเรื่องร้ายแรงก็จะลดลงด้วย

การเจ็บป่วยฉุกเฉิน มีหลายสาเหตุที่สามารถป้องกันและหยุดยั้งอาการไม่ให้กำเริบจนเสียชีวิตหรือพิการถาวรได้ แม้จะได้รับการดูแลรักษาที่ดีเพียงใดก็ตาม อย่างกรณีอดีตนักฟุตบอลทีมชาติที่หัวใจวายนั้น ถ้าในระหว่างนั่งพักอยู่ข้างสนาม ช่วงนั้นยังไม่เกิดวิกฤต แต่ถือเป็นก่อนวิกฤต ถ้ามียาอมใต้ลิ้นสักเม็ด ก็อาจพ้นจากภาวะวิกฤต และอาจไม่เสียชีวิต

สำหรับ “ยาอมใต้ลิ้นแก้อาการหัวใจขาดเลือด” หรือยาไอเอสดีเอ็น เป็นยาที่ช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจไม่ให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ซึ่งสามารถนำมาให้ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก โดยเอายาใส่ใต้ลิ้น 1 เม็ด ถ้า 2-3 นาที แล้วยังไม่ดีขึ้น ก็ให้อมใต้ลิ้นอีก 1 เม็ด เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิตโดยไม่พิการ

“เราพยายามผลักดันเรื่องนี้มานาน ให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินประกาศให้ยาอมใต้ลิ้น เป็นยาสำหรับปฐมพยาบาลเบื้องต้น กลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เพราะมันช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้มาก และไม่พิการ ส่วนผลข้างเคียงถ้าเกิดว่าให้ยาในคนที่ไม่ได้เป็นโรคนี้จริง ก็ไม่ได้มีอะไร แค่มีอาการชาใต้ลิ้น ปวดศีรษะตุบๆ ไม่กี่นาทีก็หาย แต่ที่ห้ามเลยคือให้ยานี้ในผู้ชายที่กินยาเสริมสมรรถภาพทางเพศ (ไวอะกร้า) หรือสารในกลุ่มเดียวกัน ในช่วง 2 วันเท่านั้น เพราะจะทำให้ความดันตก ช็อก และอาจเสียชีวิตได้”

ยาดังกล่าวหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เป็นยาไอเอสดีเอ็น ชนิดอมใต้ลิ้น เม็ดหนึ่งราคาไม่เกิน 2 บาท ไปที่ไหนก็ให้พกติดตัวไว้สัก 2 เม็ด เพราะหากเกิดเหตุอะไรขึ้นมา นอกจากจะช่วยชีวิตตัวเองแล้ว ยังช่วยชีวิตคนอื่นได้ด้วยเงินเพียง 4 บาท


::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::



การช่วยเหลือผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น และ AED เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=07-07-2014&group=4&gblog=102

FW Mail สุขภาพที่หลายคนเข้าใจผิด(หมอแมว) แถมเรื่อง การช่วยชีวิตเบื้องต้น

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=13-10-2009&group=7&gblog=36

วิธีช่วยเหลือตนเองหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว , ปั๊มหัวใจตัวเองด้วยการไอ... สรุป ไม่จริง ไม่แนะนำให้ทำ

https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=cmu2807&month=30-04-2016&group=4&gblog=121

นักกีฬาเสียชีวิตคาสนามเกิดจากอะไร ? .... เขียนโดย 1412 เวบไทยคลินิก

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-02-2015&group=4&gblog=106

มาออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=10-05-2008&group=4&gblog=35

พยากรณ์โอกาสเสี่ยงโรคหัวใจหลอดเลือดล่วงหน้า 10 ปี อัตโนมัติ

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=24-04-2009&group=7&gblog=24

เด็กจมน้ำ ..ตะโกน โยน ยื่น

https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=26-04-2015&group=4&gblog=108





Create Date : 04 ธันวาคม 2560
Last Update : 15 ธันวาคม 2560 17:17:30 น.
Counter : 4356 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]

บทความทั้งหมด