แพทย์ต้องมี จรรยาแพทย์ (จรรยาบรรณ) แล้วคนอื่น อาชีพอื่น ไม่ต้องมีหรือ ???





มีกระทู้ถามในห้องสวนลุม

L8261628 (ถามเล่น ๆ) จรรยาบรรณของแพทย์มีข้อนี้ปะคับ lastman (5 - 30 ส.ค. 52 08:40)

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L8261628/L8261628.html


ใจเย็น ๆ ครับ ...

จขกท. เขา ถามเล่น ๆ ... ซึ่งประเด็นแบบนี้ ผมว่า ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ ก็ตอบแบบจริงจัง เลยละกัน ..


เอาเรื่อง " จรรยาบรรณ " ก่อน ... ทำไม หมอ หรือ บางอาชีพ ถึงต้องมี รู้หรือเปล่าครับ ???

น้าน งง ... ละสิ .. ว่า อาชีพอื่น มีด้วยหรือ ?


ก่อนอื่น ก็มาดูก่อนว่า จรรยาบรรณ คืออะไร ???

//www.oknation.net/blog/print.php?id=145379

“จรรยาบรรณ” มาจากคำ ๒ คำ คือ “จรรยา” กับ “บรรณ”

“จรรยา” มาจากภาษาสันสกฤต ถ้าเป็นบาลีก็ใช้ “จริยา” หมายถึง “ความประพฤติ กิริยาที่ดี ที่ควรประพฤติ”

“บรรณ” ซึ่งมาจากสันสกฤต บาลีใช้ ปัณณ หรือ บัณณ อันแปลว่า “ปีก ใบไม้ หนังสือ

จรรยาบรรณ [จัน ยาบัน] n. ethics Class. ข้อ Related. morality,morals,conduct

: ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่าง กําหนด ขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้.
จรรยาแพทย์ [n.] medical ethics [syn.] จรรยาบรรณแพทย์
: ความประพฤติของวิชาชีพทางการแพทย์ที่แพทย์ควรปฏิบัติ



วิชาชีพ (ใช้วิชาเลี้ยงชีพ) หรือพูดภาษาชาวบ้าน ก็คือ ใช้ความรู้หากิน ( เกือบทุกอาชีพ ก็ต้องเป็นเช่นนี้ ) แต่บาง อาชีพ วิชาชีพ ต้องมี ข้อกำหนดบางอย่าง เพิ่มเติม ก็เพราะ บางวิชาชีพ นั้น ถ้าทำไม่ดี จะส่งผลอันตราย ต่อผู้อื่น อย่างมาก จึงมีกำหนดไว้ให้เห็นชัดเจน

สำหรับแพทย์ ก็จะเรียกว่า " จรรยาแพทย์ " มีข้อกำหนด เป็น กฎระเบียบ เกี่ยวกับ การประกอบวิชาชีพเวชกรรม ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร ชัดเจน ..

//www.tmc.or.th/service_law02_17.php


ส่วน วิชาชีพอื่น ที่มีกำหนดไว้ เช่น พระสงฆ์ ข้าราชการ ครู วิศวะ ทนายความ ศาล นักวิจัย สื่อมวลชน เป็นต้น

ลองถามอากู๋ ได้คำตอบมาเพียบ ใครสนใจ ก็ลองแวะไปอ่านนะครับ

Results 11 to 20 of about 354,000 for จรรยาบรรณ (0.31 seconds)

//search.conduit.com/Results.aspx?q=%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93&ctid=CT461365&octid=CT461365



ดังนั้น ... ทุกอาชีพ ทุกคน ก็มีข้อกำหนด แบบนี้ เพียงแต่ อาจมี ชื่อเรียกที่แตกต่างกัน เท่านั้นเอง ...





ที่นี้ ก็มาถึงเรื่อง การพิจารณา ว่า แบบไหน ถึงจะเรียกว่า ผิด ไม่ผิด .. ???

เนื่องจาก เรื่องแบบนี้ไม่สามารถเขียนเป็นตัวอักษร ไว้ทั้งหมด การที่จะพิจารณา จึงต้องอาศัยผู้ที่อยู่ในวิชาชีพนั้นบอกว่า “ ผิด หรือ ไม่ผิด เหมาะสม หรือไม่เหมาะสม เนื่องจากแต่ละวิชาชีพ มีจำนวนมาก แต่ละวิชาชีพ จึงมีตัวแทน ( ที่ได้รับการ แต่งตั้ง เลือกตั้ง ) ขึ้นมาเพื่อ พิจารณา กำกับ ดูแล สมาชิกในวิชาชีพเดียวกัน เช่น แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาวิศวกรรม สภาหนังสือพิมพ์ ศาล คณะสงฆ์ สภาการเมือง ฯลฯ ”

ซึ่งแน่นอนว่าความเห็น คงไม่เหมือนกันไปทั้งหมด ทุกคน ขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ ข้อมูล ระเบียบข้อกฎหมาย ฯลฯ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ผลการพิจารณานั้น สมาชิก (ส่วนใหญ่) ก็จะยอมรับ ซึ่งต่อไป ก็อาจกลายเป็น ระเบียบข้อปฏิบัติ กฎหมาย ต่อไป


จะเห็นได้ว่า กระบวนการต่าง ๆ ของแพทย์ ไม่ได้แตกต่างอะไรจากวิชาชีพอื่นๆ เลย เพียงแต่ สังคม ประชาชน มีความคาดหวังกับ “ แพทย์ “ ค่อนข้างสูง เมื่อรวมกับความรู้สึกที่ ไม่ค่อยไว้เนื้อเชื่อใจ กับแพทย์ ที่เกิดจากประสบการณ์ ทางตรง (ของตนเอง) หรือ ทางอ้อม (ญาติ เพื่อน สื่อทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ เนต ฯลฯ) เมื่อรู้สึกว่า มีอะไรผิดปกติ จากที่ตนเองคิด จึงเกิดการตอบสนองที่ค่อนข้างสูง ไปด้วย




สิ่งที่ผมอยากฝากไว้ ก็คือ

๑. สิ่งที่เรา (หมอ คนไข้ ญาติ )ได้พบได้เห็นได้ยิน รวมไปถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีต (ไม่ว่าแง่ดีหรือร้าย) ก็ไม่ได้หมายความว่า สิ่งนั้น จะต้องเกิดกับทุกคน หรือ จะต้องเกิดกับตัวเรา ซ้ำเหมือนเดิม จึงควรเปิดใจยอมรับฟังคำชี้แจง เหตุผล แล้วค่อยรวบรวมมาคิดวิเคราะห์ ก่อนที่จะสรุปทันที ฟันธงไปเลย อดใจรอ ตั้งสติสักนิด ก็ไม่เสียหาย

๒. แพทย์ ก็เป็น คน เหมือนกัน ( เพียงแต่ ได้รับการฝึกอบรมสั่งสอนในด้านนี้เฉพาะ) เมื่อเป็นคน ก็ย่อมมี คนดี คนไม่ดี มีอารมณ์ มีรัก โลภ โกธร หลง ฯลฯ ซึ่งก็รวมไปถึง มีความผิดพลาด ไม่ได้ทำอะไรถูกต้องไปหมดทุกอย่าง เหมือนกับทุกคน

ดังนั้น เมื่อเกิดอะไรขึ้น ก็อยากให้ช่วยกันพิจารณาว่า เป็น ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ ( ถ้าเป็นแพทย์ท่านอื่น อยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ก็เกิดขึ้นได้ ) หรือ เป็นความผิดพลาดจากความประมาทเลินเล่อ ( ถ้าเป็นแพทย์ท่านอื่น อยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน จะไม่เกิดขึ้น )


ผมเชื่อว่า “ คน ( หมอ คนไข้ ญาติ ฯลฯ ) ส่วนใหญ่ เป็นคนดี “ สังคมจึงอยู่ได้จนถึงตอนนี้

หมอ กับ คนไข้ (ญาติ) ก็แตกต่างกันเพียง สถานะ ช่วงหนึ่งเท่านั้น ... หมอเอง สักวัน ก็ต้องกลายเป็น คนไข้ หรือ ญาติ อยู่ดี ...

อย่ามองโลกในแง่ร้ายนัก แต่ก็อย่ามองในแง่ดีเกินไป ในสังคม ในทุกวิชาชีพ ก็ย่อมมีทั้งคนดี คนไม่ดี ทุกคนก็ต้องช่วยกันสอดส่องดูแลจัดการกับคนไม่ดี เพื่อให้สังคมส่วนรวมสงบสุข





Create Date : 30 สิงหาคม 2552
Last Update : 2 กรกฎาคม 2560 20:14:40 น.
Counter : 4540 Pageviews.

12 comments
  
โดย: NuHring วันที่: 30 สิงหาคม 2552 เวลา:20:20:31 น.
  
อาชีพไหนก็ต้องมีจรรยาบรรณทั้งนั้นแหละค่ะ ถ้าในความคิดหลิน เพียงแค่ว่าอาชีพหมอหากทำผิดจรรยาบรรณอาจจะทำให้คนไข้เสียชีวิตได้ค่ะ แต่ถ้าอาชีพอื่นถ้าทำผิดอย่างมากก็แค่เข้าใกล้คุก ตาราง แต่ไม่ได้เสี่ยงต่อชีวิตอ่ะค่ะ
โดย: sasiya (หัวใจไหวเอน ) วันที่: 30 สิงหาคม 2552 เวลา:20:22:12 น.
  
ขอบคุณข้อความดีดี และเห็นด้วยกับความคิดคุณ sasiya คะ
โดย: Ultrataro วันที่: 31 สิงหาคม 2552 เวลา:21:17:37 น.
  
เป็นกำลังใจให้คุณหมอดีๆทุกท่านค่ะ
โดย: พจมารร้าย วันที่: 31 สิงหาคม 2552 เวลา:21:32:28 น.
  
ขอบคุณค่ะ คุณหมอ ...

ฮานะเชื่อว่า หมอที่ดีมีเยอะ มากมายกว่าหมอไม่ดีแน่นอน แต่ก็อย่างว่านะค่ะ หมอ... คนเราทำดีให้ตาย ก็เสมอตัว .. แต่พอมีใครทำไม่ดีซักคน .. ก็โดนเหมาหมด

โลกนี้ ไม่มีอะไร 100% หรอกค่ะ ไม่มีอะไร perfect เพราะไม่ว่าอะไร มันต้องมีข้อมาหักล้างกัน ข้อดี-ข้อด้อย อยู่แล้ว แต่คนเรานั้นแหละ ไม่ค่อยจะยอมรับในจุดนี้ ...

โลกนี้กว้างใหญ่ค่ะ ... เราไม่สามารถ เรียนรู้มันได้หมด แต่ธรรมชาติ จะค่อยๆ สอนเราเอง ...

เป็นกำลังใจให้หมอทุกคน ... ฮานะเชื่อว่า ... หมอทำงานมาขนาดนี้ หมอเองก็เสียสละมากแล้ว ... หมอน่ะ ทำงานอยู่บนเส้นทางของความเป็น-ความตาย จะมีซักกี่คน ที่เค้ากล้าที่จะยืน อยู่บนจุดนี้ ...

ใครซักกี่คน ที่เค้าจะนึกถึงชีวิตคนอื่น... มากกว่าชีวิตตัวเอง
ใครซักกี่คน ที่เค้าจะเสียสละเวลาชีวิต เกือบ 10 ปี มานั่งเรียนในวิชาที่ยากๆ ทั้งๆที่มันเหนื่อย แสนเหนื่อย
ใครซักกี่คน ที่เค้าต้องต่อสู้กับมัจจุราชตลอดเวลา โดยทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ

ฮานะไม่อยากให้หมอ เก็บคำพูดของคนที่สติเต็มไปด้วยโมหะจริต , อนัตตา และ อคติ พวกไม่เคยคิดว่าโลกนี้มีสีเทา ... เพราะโลกของพวกเค้ามีแต่ สีดำ กับ ขาว เท่านั้น

หมอ ทำดีที่สุดแล้วค่ะ ....
โดย: ฮานะจังแห่งPWC วันที่: 1 กันยายน 2552 เวลา:13:08:07 น.
  
เห็นใจครับ สู้สู้
โดย: ต่อตระกูล วันที่: 3 กันยายน 2552 เวลา:18:19:36 น.
  
แวะมาอ่านแล้วค่ะ

ขอบคุณค่ะ
โดย: ริวคิ-mawin-maji-minic วันที่: 4 กันยายน 2552 เวลา:4:20:36 น.
  
หมออาชีพที่ต้องเรียนมาหนักและต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอด และเป็นอาชีพที่ผู้คนให้ความค่ดหวังสูง แต่ความผิดพลาดบางครั้งก็เกิดจากสาเหตุหลายๆอย่าง ที่ไม่ใช่หมอเป็นผู้กระทำ เข้าใจดีค่ะ
ยังไงก็ขอเป็นกำลังใจให้คุณหมอก็แล้วกันนะค่ะ สู้ๆ
โดย: ตะเกียงป่า วันที่: 6 กันยายน 2552 เวลา:10:05:18 น.
  
เยี่ยมครับ

เบื่อพวกชอบเหมารวม กับ ชอบบวกโดยไม่รอพิจารณาข้อมูลก่อน มาก ๆ
โดย: HotSmile (HotSmile ) วันที่: 10 กันยายน 2552 เวลา:13:30:15 น.
  

//www.tmc.or.th/service_law02_1.php

ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2526

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 21 (3) (ช) และด้วยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษตามมาตรา25 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 คณะกรรมการแพทยสภาออกข้อบังคับว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมไว้ดังต่อไปนี้


หมวด 1
หลักทั่วไป



ข้อ 1. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมย่อมดำรงตนให้สมควรในสังคมโดยธรรม และเคารพต่อกฎหมาย ของบ้านเมือง

ข้อ 2. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมย่อมไม่ประพฤติหรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

ข้อ 3. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมย่อมประกอบวิชาชีพด้วยเจตนาดี โดยไม่คำนึงถึงฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคม หรือลัทธิการเมือง



หมวด 2
การโฆษณาการประกอบวิชาชีพเวชกรรม



ข้อ 1. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่โฆษณา ใช้ จ้าง หรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบ วิชาชีพเวชกรรม ความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของตน

ข้อ 2. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่โฆษณา ใช้ จ้าง หรือให้ผู้อื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพะเวชกรรม ความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของผู้อื่น

ข้อ 3. การโฆษณาตามหมวด 2 ข้อ 1 และข้อ 2 อาจกระทำได้ในกรณีต่อไปนี้
(1) การแสดงผลงานในวารสารทางวิชาการหรือในการประชุมวิชาการ
(2) การแสดงผลงานในหน้าที่ หรือในการบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะ
(3) การแสดงผลงานหรือความก้าวหน้าทางวิชาการเพื่อการศึกษาของมวลชน
(4) การประกาศเกียรติคุณเป็นทางการโดยสถาบันวิชาการ สมาคม หรือมูลนิธิ
ทั้งนี้ ต้องละเว้นการแสวงหาประโยชน์ที่จะเกิดต่อการประกอบวิชาชีพเวชกรรมส่วนบุคคล

ข้อ 4. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอาจแสดงข้อความ เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของตน
ที่สำนักงานได้เพียงข้อความเฉพาะเรื่องต่อไปนี้
(1) ชื่อ นามสกุล และอาจมีคำประกอบชื่อได้เพียงคำว่านายแพทย์หรือแพทย์หญิง อภิไธย ตำแหน่งทางวิชาการ ฐานันดรศักดิ์ ยศ และบรรดาศักดิ์ เท่านั้น
(2) ชื่อปริญญา วุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติ หรือหนังสือแสดงคุณวุฒิอย่างอื่น ซึ่งตนได้รับ มาโดยวิธีการถูกต้องตามกฎเกณฑ์ ของแพทยสภาหรือสถาบันนั้น ๆ
(3) สาขาของวิชาชีพเวชกรรม
(4) เวลาทำการ

ข้อ 5. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอาจแจ้งความการประกอบวิชาชีพเวชกรรมเฉพาะการแสดงที่อยู่ ที่ตั้งสำนักงานหมายเลขโทรศัพท์ และหรือข้อความที่อนุญาตในหมวด 2 ข้อ 4 เท่านั้น

ข้อ 6. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ทำการเผยแพร่หรือตอบปัญหาทางสื่อมวลชน ถ้าแสดงตนว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ต้องไม่แจ้งสถานที่ทำการประกอบวิชาชีพส่วนตัวเป็นทำนองการโฆษณา และต้องไม่มีการแจ้งความตามหมวด 2 ข้อ 5 ในที่เดียวกันหรือขณะเดียวกันนั้นด้วย

ข้อ 7. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องระมัดระวังตามวิสัยที่พึงมี มิให้การประกอบวิชาชีพเวชกรรม ของตนแพร่ออกไปในสื่อมวลชนเป็นทำนองโฆษณาความรู้ความสามารถ



หมวด 3
การประกอบวิชาชีพเวชกรรม



ข้อ 1. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในระดับที่ดี
ที่สุด และพยายามให้ผู้ป่วยพ้นจากอาการทรมานจากโรค และความพิการต่าง ๆ โดยไม่เรียกร้องสินจ้าง รางวัลพิเศษ
นอกเหนือจากค่าบริการที่ควรได้รับตามปกติ

ข้อ 2. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่จูงใจหรือชักชวนผู้ป่วยให้มารับบริการทางวิชาชีพเวชกรรม เพื่อผลประโยชน์ของตน

ข้อ 3. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่ให้ หรือรับผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทน เนื่องจากการรับ หรือส่งผู้ป่วย
เพื่อรับบริการทางวิชาชีพเวชกรรม

ข้อ 4. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องปฏิบัติต่อผู้ป่วยโดยสุภาพและปราศจากการบังคับขู่เข็ญ

ข้อ 5. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่หลอกลวงผู้ป่วยให้หลงเข้าใจผิดเพื่อประโยชน์ของตน

ข้อ 6. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่ประกอบวิชาชีพโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย และความสิ้นเปลืองของผู้ป่วย

ข้อ 7. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่สั่ง ใช้ หรือสนับสนุนการใช้ยาตำรับลับ รวมทั้งใช้อุปกรณ์การแพทย์อันไม่เปิดเผยส่วนประกอบ

ข้อ 8. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่ออกใบรับรองอันเป็นความเท็จโดยตั้งใจ หรือให้ความเห็นโดยไม่สุจริตในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวกับวิชาชีพของตน

ข้อ 9. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วย ซึ่งตนทราบมาเนื่องจากการ ประกอบวิชาชีพ
เว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้ป่วย หรือเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือตามหน้าที่

ข้อ 10. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ต้องไม่ปฏิเสธการช่วยเหลือ ผู้ที่อยู่ในระยะอันตรายจากการเจ็บป่วย เมื่อได้รับคำขอร้อง และตนอยู่ในฐานะที่จะช่วยได้

ข้อ 11. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่ใช้ หรือสนับสนุนให้มีการประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือการประกอบโรคศิลปะโดยผิดกฎหมาย



หมวด 4
การปฏิบัติต่อผู้ร่วมวิชาชีพ



ข้อ 1. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมพึงยกย่องให้เกียรติเคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน

ข้อ 2. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่ทับถมให้ร้ายหรือกลั่นแกล้งกัน

ข้อ 3. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่ชักจูงผู้ป่วยของผู้อื่นมาเป็นของตน



หมวด 5
การปฏิบัติต่อผู้ร่วมงาน



ข้อ 1. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมพึงยกย่องให้เกียรติและเคารพในศักดิ์ศรีของผู้ร่วมงาน

ข้อ 2. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่ทับถมให้ร้าย หรือกลั่นแกล้งผู้ร่วมงาน

ข้อ 3. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมพึงส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบวิชาชีพของผู้ร่วมงาน



หมวด 6
การทดลองในมนุษย์



ข้อ 1. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้ทำการทดลองในมนุษย์ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถูกทดลอง และต้องพร้อมที่จะป้องกันผู้ถูกทดลอง จากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทดลองนั้น ๆ

ข้อ 2. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ต้องปฏิบัติต่อผู้ถูกทดลองเช่นเดียวกับ การปฏิบัติต่อผู้ป่วยในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามหมวด 3 โดยอนุโลม

ข้อ 3. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องรับผิดชอบต่ออันตราย หรือผลเสียหาย เนื่องจากการ ทดลองที่บังเกิดต่อผู้ถูกทดลอง อันมิใช่ความผิดของผู้ถูกทดลองเอง



ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป


ประกาศ ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2526

นายแพทย์มนัสวี อุณหนันทน
(นายแพทย์มนัสวี อุณหนันทน์)
นายกแพทยสภา

ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 100 ตอนที่ 115 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2526


โดย: หมอหมู วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:15:41:15 น.
  
จริยธรรมแพทย์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

จริยธรรมแพทย์ (อังกฤษ: medical ethics) เป็นส่วนหนึ่งของจริยศาสตร์ประยุกต์ (applied ethics) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาจริยศาสตร์ (Ethics) ในวิชาปรัชญา (Philosophy) วิชานี้นำเสนอวิธีปฏิบัติบนพื้นฐานหลักจริยธรรมว่าแพทย์ และพยาบาลควรปฏิบัติต่อคนใข้อย่างไรจึงจะถูกต้องและเหมาะสม แต่ละประเทศก็จะมีองค์ความรู้ในสาขานี้แตกต่างกันบ้าง เหมือนกันบ้าง องค์ความรู้ที่ตกผลึกในสังคมตะวันตกนั้น ได้แนะนำให้ผู้อยู่ในสาขาแพทย์และพยาบาลปฏิบัติต่อผู้ป่วยดังต่อไปนี้

เน้นประโยชน์ผู้ป่วยสูงสุด (beneficence)

สิ่งที่จะทำต้องเน้นไม่ให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายใดๆ เพิ่มขึ้น (Non-maleficence)

ผู้ป่วยมีสิทธิ์อันชอบธรรม ที่จะรู้สาเหตุและอาการป่วยของตัวเองและเลือกวิธีรักษา ตามความเหมาะสม (Autonomy)

การรักษาต้องอาศัยความบริสุทธิ์ยุติธรรมไปตามสมมุติฐานโรค ของผู้ป่วยแต่ละคนอย่างแท้จริง (Justice)

ทั้งผู้รักษาหรือผู้ดูแลพยาบาลและคนไข้ต่างมีเกียรติ และสมควรได้รับการปฏิบัติต่อกันอย่างมีเกียรติ (dignity)

แพทย์และพยาบาลต้องไม่ปิดอาการป่วยต่อผู้ป่วย และควรให้ผู้ป่วยรับรู้ความหนักเบาของอาการป่วยตามความจริง แต่ทั้งนี้ ต้องดูความเหมาะสมอย่างอื่นประกอบ เช่น สภาพจิต ผู้ป่วยด้วย (Truthfulness and Honesty)



นอกจากหลักปฏิบัติเหล่านี้แล้ว ผู้บรรยายวิชานี้ จะนำองค์ความรู้จากศาสนาและวัฒนธรรม ท้องถิ่นให้เห็นว่าคล้ายคลึงหรือแตกต่างจากองค์ความรู้ในประเทศตะวันตกอย่างไร เพื่อให้ผู้ป่วยได้ประโยชน์สูงสุดจากการดูแลรักษาของแพทย์และพยาบาล

จาก //th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C


จากคุณ : ส.มโนมัย

โดย: หมอหมู วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:1:55:59 น.
  
มีผู้ตั้งกระทู้เกี่ยวกับ การรักษาของแพทย์ ใน รพ.เอกชนฯ ..

L12310812 ผมว่าเดี๋ยวนี้หมอเอกชน ไม่ต่างจากเซลเลย [สุขภาพกาย] บ้าแพะ
//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L12310812/L12310812.html

L12325612 ขอ "ประณาม" หมอแผนกศัลยกรรมคนหนึ่ง ที่โรงบาลไทย... [สุขภาพกาย] บ้าแพะ (11 - 4 ก.ค. 55 13:00)
//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L12325612/L12325612.html


ผมแสดงความเห็นว่า ...

อย่า " ประณาม " ในเนต อย่างเดียวครับ .. ต้องเขียนหนังสือ ร้องเรียน ไปยัง ผู้อำนวยการ รพ.นั้นด้วย เพราะ ถ้าผู้บริหาร รพ. .. รู้ว่า สิ่งที่หมอคนนั้นทำไป ไม่เหมาะสม ก็จะได้เรียกมาสอบถาม ตักเตือน .. หมอคนนั้น ก็จะได้ปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น .. ( หรืออย่างน้อย หมอคนนั้นก็มีโอกาสได้ชี้แจง )

ถ้าประณามในเนต อย่างเดียว .. หมอคนนั้นก็อาจไม่รับรู้ ( เหมือนเด็กมาสาย แล้วครูลงโทษเด็กที่มาตรงเวลาทั้งหมด ) และ หมอคนนั้นก็ ไม่มีโอกาสชี้แจง หรือ แก้ตัว ..

ฝากด้วยนะครับ "ร้องเรียนไปยัง ผอ.รพ.นั้น " .. จขกท.อาจยุ่งยากเพิ่มขึ้น แต่ทำให้ความหวังดี คนอื่นจะได้ไม่รู้สึกแบบ จขกท . ถือว่าเป็นการทำบุญนะครับ


ใช้ยาผลิตในประเทศ ... โดนว่า ... รพ.ใหญ่ ใช้ยากระจอก

ใช้ยาผลิตต่างประเทศ ... โดนว่า ... ยาแพง ใช้ยาผลิตในประเทศก็ได้ คุณภาพเหมือนกั



แจ้งค่าใช้จ่ายก่อน ... โดนว่า ... ดูถูก เห็นแก่เงิน

ไม่แจ้งค่าใช้จ่าย ... โดนว่า ... ทำไม ไม่บอกก่อน ถ้ารู้ว่าแพงจะได้ไปรักษาที่อื่น


ตรวจเต็มที่ .... โดนว่า ... ตรวจทำไมเยอะแยะ กะเอาเงิน

ตรวจน้อย ... โดนว่า ... เป็น รพ.เอกชน ทำไม ไม่ตรวจให้ครบถ้วน แบบนี้ต้องฟ้อง


รักษาด้วยวิธีที่ดีที่สุด ... โดนว่า ... ไม่เห็นจำเป็น

รักษาด้วยวิธีปกติทั่วไป ( เหมือน รพ.รัฐ ) ... โดนว่า ... ถ้ารักษาแบบนี้ จะมาที่ รพ.เอกชนทำไม ที่มาก็เพราะอยากจะรักษาด้วยวิธีที่ดีสุด ทันสมัยที่สุด ..


ปล. หมอที่ ไม่ดี ก็มี หมอที่ดี ก็มี ... ผู้ป่วย(ญาติ) ที่ดี ก็มี ผู้ป่วย(ญาติ) ที่ไม่ดี ก็มีเช่นกัน

โดย: หมอหมู วันที่: 4 กรกฎาคม 2555 เวลา:13:50:50 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Cmu2807.BlogGang.com

หมอหมู
Location :
กำแพงเพชร  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 762 คน [?]

บทความทั้งหมด