อบรมยูโด kodokan koshukai in thailand (jita kyoei project) 2/4


อบรมโคโดกัง+สอบสาย
วันที่สองเมื่อวานซ้อมในส่วนของท่ายืนทั้งวัน วันนี้เริ่มต้นวอร์มมีการเปลี่ยนท่าการวอร์มที่แตกต่างกันออกไป เป็นการสื่อความหมายว่าจะซ้อมกันในส่วนของท่านอน
ปกติการซ้อมที่โคโดกัง นัมโบเซนเซหน้าตาจะยิ้มแบบสุขใจ ยิ้มแบบมีนัยยะ ในทุกครั้งที่สอนท่านอน สิ่งที่นัมโบเซนเซชอบคงจะเป็นการดูผู้ซ้อม วอร์มอัพในส่วนของท่านอน โดยรวมการวอร์มวันนี้ไม่ถึงกับหนัก แต่ทุกท่าวอร์มสามารถเอามาวิเคราะห์ได้ถึงพื้นฐานของผู้ซ้อม และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับเนื้อหาการซ้อม
วอร์มของท่านอน พื้นๆที่ขาดไม่ได้คงจะมีสองสามอย่างคือ- วากิชิเมะ- เอบิ- โคชิคิริ
ทุกครั้งที่ทำท่า วากิชิเมะ กับเอบิ ต้องรู้ว่าทำเพื่ออะไร เป็นการวอร์มและซ้อมสิ่งไหน ถ้าเราคิดถึงเป้าหมายของการซ้อมสองท่านี้ เราจะปรับแต่งให้มันเป็นการวอร์ม เก็บสะสม และสามารถเอาไปใช้ได้จริง
วากิชิเมะ ทุกครั้งที่ทำจะนึกถึงตอนกดโอไซโกมิในท่าโยโกชิโฮหรือท่าคามิชิโฮก็ได้ ให้ลองนึกภาพตอนทำโยโกชิโฮแล้ววอร์มท่าวากิชิเมะ จะสามารถปรับแต่งให้เป็นท่าวากิชิเมะที่ถูกต้องได้
เอบิมีสามแบบ แบบธรรมดา แบบกลับด้าน (เกี๋ยกกุเอบิ) กับแบบด้านข้าง โยโกเอบิ ทั้งสามแบบใช้งานได้จริง ถ้าเรารู้ว่าใช้งานยังไง ท่าเอบิจะมีเป้าหมาย และจะสนุกกับการวอร์ม
เอบิ - ใช้งานตอนที่โดนกดโอไซโกมิในท่าโยโกชิโฮ ดังนั้นถ้าทำเอบิขาผิดแบบ โดนโยโกชิโฮ มันจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเอบิ จุดที่เซนเซเน้นสำหรับเอบิคือใช้ขาบนเป็นตัวดัน ขาล่างเป็นตัวสอดใส่เข้าไป (ขาล่างเป็นตัวดันถือว่าไม่ผิด แต่ต้องรู้ว่าจะเอามาใช้ตอนไหน วันนี้เซนเซไม่ได้พูดถึงตรงจุดนี้)
เกี๋ยกกุเอบิ - ใช้งานตอนที่โดนกดโอไซโกมิในท่าคามิชิโฮ ว่าจะทำงานยังไงให้สามารถหนีจากคามิชิโฮได้ สิ่งที่เน้นสำหรับเกี๋ยกกุเอบิเป็นเรื่องของแขนมากกว่าเรื่องของขา
โยโกเอบิ - ใช้งานตอนโดนโยโกชิโฮหรือเคซะคาตาเมะ แล้วเป็นการดิ้นออกทางด้านข้าง
โดยรวมถ้าเข้าใจจุดที่จะใช้แล้ว การวอร์มจะมีเป้าหมาย แต่ทั้งเอบิสามแบบ มีสิ่งที่สำคัญเหมือนกันอยู่อย่างนึงคือเรื่องของการขยับสะโพก สะโพก การทรงตัว บาลานซ์ สำคัญมากสำหรับท่านอน สะโพกไม่พลิ้วการขยับตัวในท่านอนจะแข็งๆ ท่านอนก็จะไม่สามารถพัฒนาไปได้มากนัก ดังนั้นเอบิสำคัญมาก
อีกตัวที่ช่วยให้ทำเอบิได้ถูกต้อง คือให้หุ่นมาเกาะสายเข็มขัดเอาไว้ แล้วคนที่ถูกเกาะทำเอบิออกไป พยายามเน้นขาล่างสอดเข้าใต้ตัวหุ่น
โคชิคิริ เป็นการขยับในส่วนของสะโพกกับขา ใช้งานได้หลากหลาย สร้างลูกเล่นเนวาซะได้มากขึ้นทั้งในส่วนของโจมตีและป้องกัน
จบวอร์มเริ่มกันที่ เนวาซะอุจิโกมิ ท่ายืนมีเข้าท่าซ้อมท่านอนก็มีรูปแบบเข้าท่าซ้อมเช่นกัน เนื้อหาตรงนี้เซนเซน่าจะปรับเปลี่ยนเมื่อวันสองวันนี้หรือเปลี่ยนเมื่อกี้หลังจากเห็นพื้นฐานการวอร์มของผู้ซ้อม (รึเปล่า?) เพราะก่อนหน้านั้นวางการสอนไว้ที่ท่าเซไกอิดชู อันนั้นคงกินเวลาสองชั่วโมงเป็นอย่างน้อย เลยดึงเอาเนื้อหาส่วนนึงของท่าเซไกอิดชูออกมาปรับแต่งให้เหมาะกับการซ้อม
ดึงเอาส่วนของท่าโยโกชิโฮออกมา คนนึงใช้โยโกชิโฮ อีกคนนึงหนี แต่หนีตามรูปแบบพื้นฐานของท่า โดยการดันไหล่แล้วหมุนตัวหนีออก คนที่กดอยู่ก็จะเอาแขนล๊อคแขนหุ่นที่กำลังจะหนี (ใช้แขนด้านใกล้กับขาของหุ่นมาล๊อค ไม่เอาแขนข้างใกล้หัวหุ่นมาล๊อค) ล๊อคแล้ววนไปทางศรีษะหุ่นเอาเข่าอีกข้างกดหน้าอกไว้ หรืออยู่เป็นด้านข้างเอาเข่าทั้งสองข้างหนีบลำตัวด้านบนหุ่นเอาไว้ จากนั้นขยับตัวไปอีกข้างนึง ถอยหลังลงเล็กน้อยเอามือเข้าคอแล้วกดโอไซโกมิในท่าโยโกชิโฮอีกฝั่งนึง
การขยับตรงนี้เป็นส่วนนึงของท่าเซไกอิดชู ถือเป็นพื้นฐาน สามารถซ้อมเรื่องความคล่องตัว เรื่องสะโพก เรื่องเอบิ เรื่องโคชิคิริ ได้ทั้งอุเกะโทริ ทำให้ครบสิบครั้งแล้วเปลี่ยนคนทำ ทำให้ได้สามเซ็ท
ถัดมาก็ยังยกทั้งแผงของโยโกชิโฮเมื่อกี้มาขยายความซ้อมต่อ โดยเริ่มจากหุ่นอยู่ด้านล่างนอนหงาย เอาข้อเท้าล๊อคเข่าของโทริเอาไว้ โทริใช้มือขวาดันขาซ้ายหุ่นออกไปด้านหน้า พร้อมกับขยับขาขวาหลบข้อเท้าหุ่นที่ล๊อคออกมา จากนั้นมือซ้ายปัดเข่าขวาออกหุ่นออกแล้วสไตล์ตัวเข้าด้านข้าง (ใช้โคชิคิริ) ล๊อคในท่าโยโกชิโฮ จากนั้นหุ่นหนีออกแบบที่ซ้อมมาตอนแรก แต่ก็ยังโดนตามล๊อคโยโกชิโฮอีกฝั่งนึง
ถัดมาปรับเปลี่ยน+เพิ่มเติม นิดหน่อย ทำเหมือนเมื่อกี้ พอล๊อคโยโกชิโฮได้ครั้งแรก หุ่นทำเอบิเพื่อสร้างจังหวะหนีตามแบบที่ซ้อมกัน หรือเพื่อจะเอาขาจะมากอดขาโทริ ให้โทริใช้โคชิคิริ เอาสะโพกดันขวางขาหุ่นที่ทำเอบิ แล้วพลิกกลับมากดโยโกชิโฮต่อ
อันนี้เป็นการซ้อมกันก่อน ถัดจากนี้เข้าในส่วนของเนื้อหาแล้ว ในส่วนของเนื้อหามีทั้งเช้าทั้งบ่าย ลำดับอาจจะสลับไปมา ไม่ตรงตามลำดับที่เซนเซสอน เพราะเยอะมาก+กับเม็มโมรี่เต็ม
โอบิโทริไคเอชิอุเกะอยู่ในท่าเต่า โทริเอามือนึงจับสาย อีกมือนึงลอดจากรักแร้ไปจับข้อมือตัวเองข้างที่จับสายอุเกะ ถ้าอุเกะไม่ต้านพลิกออกข้างกดโอไซโกมิได้เลย แต่ตำแหน่งนั้นอุเกะจะอึดอัดพยายามดันตัวขึ้น เพื่อหนีออก ช่วงที่ดันตัวขึ้นสองขาเราเข้าไปด้านใน ม้วนตัวพลิก พลิกไปทางด้านข้างของไหล่เรา มือขวาจับสายอุเกะ ก็พลิกเอาไหล่ขวาเป็นตัวม้วน อย่าลงกลางเพราะคอของเราจะกลายเป็นตัวขวางการหมุน หมุนแล้วมือจับสายจับต่อไป ส่วนแขนอีกข้างคอนโทรลแขนอุเกะ ล๊อคตามน้ำ ปกติกลิ้งมาจะอยู่ในท่าทัตเตชิโฮ (ออฟชั่นเสริม อาจจะโดนหุ่นเอาขามากอดขาเราเอาไว้ ให้จัดมือด้านบนให้เสร็จก่อนแล้วค่อยมาแก้ขาออก การแก้ขามันวางตำแหน่งเตรียมพร้อมกันตั้งแต่ตอนพลิกแล้วถ้าเราโดนล๊อคขาสูงกว่าเข่าแก้ยาก ต้องทำให้มันต่ำกว่าเข่าก่อน)
จรเข้ฟาดหางรูปแบบการจับเหมือนกับโอบิโทริไคเอชิในจังหวะเริ่ม แต่หุ่นอยากยืน อาศัยจังหวะอยากยืนของหุ่น ยกขาข้ามหัว พอขาข้างนึงข้ามหัวไปได้ อีกขาใช้จรเข้ฟาดหาง ให้ข้อพับหลังเข่าเราเป็นตัวงัดคอของหุ่น หมุนข้ามมาใส่เป็นจูจิกาตาเมะ
ฮาดากะจิเมะหุ่นนอนคว่ำ ดึงสายขึ้นไปคล่อม เอาขาสอดไปด้านในเข่าทั้งสองข้าง มือล้วงผ่านรักแร้ไปจับคอเสื้อทั้งสองข้างของหุ่น นั่งทับลงไป โดยเทน้ำหนักลงไปด้านหน้า (น้ำหนักจะถูกส่งลงไปที่ลำตัวหุ่นขึ้นไปทางศรีษะ ขาสองข้างช่วยดันออก ให้ขาหุ่นชี้ขึ้น น้ำหนักลงหัว แขนหุ่นถูกกดด้วยตัวหุ่นเอง แล้วเอามือสอดเข้าไปทำฮาดากะจิเมะ (โหดร้าย) ช่วงมือสอดถ้าสอดไม่เข้าใช้ศอกช่วยตีให้หัวเอียงไปนิดนึงเพื่อสร้างช่องให้มือเข้าได้ (โหดขึ้นอีก) จังหวะการใช้ฮาดากะเคยเรียนจากโคเซ็นยูโดอีกแบบนึงใกล้เคียงกัน แต่ไม่เอามือสอดใต้รักแร้ไปจับคอเสื้อ แค่นั่งทิ้งน้ำหนังลงไปให้น้ำหนักถ่ายไปทางหัวของหุ่น ช่วงที่ทรุดลงหุ่นจะมีปฏิกิริยาเปิดคอขึ้น ไม่อยากเอาหน้าถูพื้น ตรงนั้นแหละสอดเข้าทำฮาดากะจิเมะได้ ท่านี่เคยเป็นหุ่นโดนแบบเต็มๆเจ็บกระเดือกไปสองอาทิตย์ ถึงไม่ค่อยอยากจะใช้กับคู่ซ้อม
ล๊อคขาหุ่นสองข้างแล้วพลิกมากดชื่อท่าไม่มีชื่อเฉพาะ มันคงอยู่ในหมวดของทัตเตชิโฮ หุ่นนอนคว่ำยาวๆไป เข้าไปอยู่ทางด้านขวาของหุ่น เอามือซ้ายจับสายหุ่นพร้อมกับกดน้ำหนักผ่านศอกลงกระดูกสันหลังของหุ่น ตรึงหุ่นเอาไว้ด้วยน้ำหนักตัว ที่กดไว้เพื่อไม่ให้หนี (จริงๆที่เคยเรียนจากโคเซ็นยูโด กรรมวิธีการจับสายต้องคว่ำมือ ไม่หงายมือ แต่เซนเซไม่ได้เน้นย้ำในวันนี้ แต่เซนเซก็ทำได้ถูกต้องนะ เพียงแต่ไม่ได้อธิบายเท่านั้นเอง) จับขากางเกงหุ่นบริเวณข้อพับ (จับตรงนี้ก็มีความหมายของมันอยู่ตามที่เคยซ้อมมา แต่วันนี้เวลาจำกัด ไม่ได้อธิบาย เอาเป็นว่าจับตรงนี้ก็คือตรงนี้ละกัน)รวบมาขานึงแล้วก็รวบอีกขา จากนั้นล๊อคขาเหมือนกับใส่ซังกากุ แล้วแต่พลิกตัวเอามือโคสไลน์ พอหุ่นนอนหงายก็ดึงให้หุ่นตัวงอโค้งๆ กดโอไซโกมิพร้อมๆกับความอึดอัดของหุ่นที่ตัวถูกดึงให้โค้ง
ชิเมะ (ตัวนี้รูปแบบคล้ายกับของคอมล๊อคเซนเซ)เรานั่งอยู่ด้านล่าง หุ่นอยู่ด้านบน ดึงหุ่นให้ล้มลงมา ท่านี้ให้หุ่นเอาแขนยันออกสองข้าง ถ้าไม่ยันลงมา จะโดนท่าอื่นที่เซนเซถนัดสุดคือท่า โคคุชิกังไคเอชิ (วันนี้ไม่ได้สอน สงสัยเป็นไม้ตายต้องเก็บไว้ก้นหีบ แต่ผมเรียนมาละ555) พูดถึงกรณีที่ยันลงมา แขนซ้ายพันแขนขวาของหุ่นแล้วสี่นิ้วจับไปที่คอเสื้อด้านซ้ายของหุ่น (มองจากมุมเราจะอยู่ทางขวามือ) ส่วนมือขวาของเรา สี่นิ้วเอาเข้าคอเสื้อฝั่งขวาของหุ่น (คือคอทางซ้ายมือถ้ามองจากมุมของเรา) ทั้งสองมือเข้าไปที่เป้าหมายตรง โดเมียวกุ หนือก็คือเส้นเลือดใหญ่ข้างคอทั้งสองข้าง (น่าจะโหด) จากนั้นเตะเข่าหุ่นในทรุดตัวลง มือขวาชกกดบริเวณคอซ้าย มือซ้ายอยู่แบบนั้น แต่ตัวเราเอนตัวลงหลังให้น้ำหนักตัวเป็นตัวเชือดหุ่น ที่บอกว่ารูปแบบคล้าย(อาจจะเหมือนเลย)กับของคอมล๊อคเซนเซ ก็เพราะว่าการจับแขนพันแขนแล้วเข้าคอเสื้อ มันคือท่าที่เรียกว่า ท่าคอมล๊อค ก็ท่าของคอมล๊อคเซนเซ (โคจิ โคมุโร่เซนเซ) ใช้นั้นแหละ
ชิเมะแบบง่ายๆหุ่นอยู่ท่าเต่า อาจจะเพราะว่าใช้อิปปงใช้เซโอนาเกะทิ้งตัวลงแล้วพลาด มือขวาของเราอยู่ที่คอเสื้อในตำแหน่งที่ตรงกับการเชือด เตะขาข้ามหุ่นข้ามหัวมาอยู่ข้างๆแขนขวาของเรา เตะแล้วทิ้งตูดนั่งลง พยายามนั่งให้ล้นๆออกไปอย่านั่งบนตัวหุ่น นั่งล้นออกไปเลย ช่วงนั่งล้นแขนซ้ายล้วงผ่านรักแร้ซ้ายแล้วเอาสันมือมาสับที่ท้ายทอยหุ่น ตอนเชือดจะสับให้วงตรงคอเล็กลงก็ได้ หรือจะถีบดันต้นขาซ้ายให้แน่นขึ้นก็ได้ (ตัวผมใช้แบบถีบต้นขาง่ายกว่า เพราะคำขวัญของโคเซ็นยูโดคือขาแรงเยอะกว่าแขน)
อุเกมิกลายเป็นโอไซโกมิอีกหนึ่งท่าหากินของนัมโบเซนเซ หุ่นอยู่ท่าเต่าเข้าทางหัว ให้หุ่นอยู่ซ้ายมือ มือซ้าย4นิ้วจับที่คอเสื้อด้านหลังหุ่น มือขวาม้วนตัววางแขนตบเบาะ โดยแขนขวาวางลอดผ่านเป้าไปจับสายรัดด้านหน้า ก็แค่ทำอุเกมิ ส่งแรงผ่านไป พลิกไปด้วยกันรอบนึง พลิกมาสิ่งสำคัญคือเอาเข่าขวากดแขนซ้ายหุ่นเอาไว้ สะบัดให้ตูดหุ่นเอียดออกไปใส่โอไซโกมิในท่าโยโกชิโฮ
จิโกกุจิเมะท่าเชือดนรก ที่ใช้คำว่านรก หรือจิโกกุ ก็เพราะว่า คนที่ตกนรกจะไม่มีทางหนีหรือปัดป้องได้ ในที่นี้คือหุ่นต้องยอมรับสภาพถูกเชือดชิเมะโดยที่ไม่สามารถปัดป้องได้ เพราะแขนทั้งสองข้างถูกควบคุมไว้เหมือนกับโดนตรึงกางเขนรูปแบบการเข้าท่านี้ ง่ายกว่าแบบที่เรียนมากจากโคเซ็นยูโด หุ่นอยู่ในท่าเต่า เอาส้นขาซ้ายเข้าจากด้านหน้าไปแซะตรงแขนซ้ายของหุ่น ส่วนแขนขวาเข้าจากด้านหลังผ่านรักแร้ขวาของหุ่นไปตะปบแขนขวาของหุ่นเอาไว้ แล้วหมุนตีลังกา โดยใช้แรงขาที่ส้นเท้าล๊อคแขนหุ่นตรงนั้น ตรึงแขนซ้ายของหุ่นเอาไว้ ส่วนแขนขวาของเราพันแขนขวาหุ่นแล้วเอามาจับคอเสื้อตัวเองไว้จังหวะนี้คือแขนซ้ายกับขวาของหุ่นถูกตรึงไว้สองข้าง ในขณะที่เรายังมีแขนซ้ายอีกข้างเอาไว้ใส่ท่าชิเมะได้ (ถึงได้เรียกว่าหมดสภาพในการปัดป้องต้องรับสภาพเหมือนตกนรก) เชือดก็คือเชือดแต่มีอีกแบบคือหุ่นยังไม่ยอมพยายามปิดคอลงมาให้มือซ้ายเราสอดเข้าไปลำบาก ตรงนี้ต้องปรับเปลี่ยนหน่อยนึง โดยให้ขาขวาข้างเดียวล๊อคแขนซ้ายหุ่นเอาไว้ แล้วเอาขาซ้ายยกขึ้นให้ต้นขาดันคอหุ่นเอียงไป พอคอเอียงช่องก็จะเกิดให้สอดแขนเข้าไปได้ วอดเข้าไปได้คราวนี้โดนหนักกว่าเก่า เพราะมีขามาร่วมวงในการเชือดด้วย (เรียกว่าอเวจีกันเลยทีเดียว)
ซังกากุจิเมะวันนี้เรียนสองแบบ อันนึงช่วงเช้า อันนึงช่วงบ่าย (ถ้าจำไม่ผิดนะ) ช่วงเช้าเป็นมายซังกากุ หรือซังกากุด้านหน้า บ่ายเป็นโยโกซังกากุมายซังกากุ อยู่ในตำแหน่งที่เรานอนหงายอยู่ข้างล่าง หุ่นอยู่ข้างบน หุ่นล้วงลอดขาจะมาจับสายของเราเพื่อสร้างจังหวะพลิกหรือจะกด(ช่างมัน) ช่วงที่หุ่นล้วงอ้อมมาทางขาขวา จังหวะนั้นตามน้ำตบขาขวาลงคอของหุ่น ระหว่างตบขาขวาเข้าคอจับเอาแขนขวาของหุ่นเอาไว้ด้วย สิ่งสำคัญของท่าคือตบขาลงมาที่คอให้หุ่นล้มตัวลงไป ถ้าหุ่นไม่ล้มลงท่านี้จะไม่ติด (ไม่ติดต้องพลิกไปใช้เป็นหักด้วยจูจิแทน แต่วันนี้ไม่ได้ไปถึงจุดนั้น) เอาเป็นว่าตบแล้วหุ่นล้มลง ระหว่างตบคว้าแขนขวาหุ่นได้ ตบลงเอาขาล๊อคเป็นซังกากุ จากนั้นตามสบายจะหักแขนขวาหุ่นหรือจะกดต้นขาสองข้างให้ซังกากุเป็นตัวเชือดก็ได้โยโกซังกากุหุ่นอยู่ในท่าเต่า ปิดทุกมุมขาเข้าไม่ได้ มือนึงจับสายมือนึงจับคอเสื้อ ดึงหุ่นออกมาด้านหน้าให้หุ่นตัวยาวออกมา หุ่นตัวยาวจะเกิดช่องตรงท้อง ใส่ขาเข้าไปล๊อคแขนได้ ขาไหนใส่เข้าไปให้ล้มลงทางขานั้น สมมุติว่าใส่ขาขวาเข้าไปได้ก็ล้มลงทางขวา ช่วงล้มลงก็ใส่ซังกากุ ใส่ได้แล้วสนุกเลือกได้ จะเชือด จะหัก จะโอไซโกมิ ได้หมด แต่แนวโคโดกังจะเน้นโอไซโกมิซะมากกว่า เป็นท่าคามิชิโฮตอนสุดท้าย มีเรื่องของการใช้แขนกับชายเสื้อมาตรึงแขนของหุ่นด้วย (ตรงนี้ใครรู้ก็คือรู้ ใครไม่รู้ก็จะงงๆ)ถัดมาคือซังกากุเข้าเหมือนเดิมขาขวาจะทิ้งขวาแต่หุ่นต้านพลิกไปทางขวาไม่ได้ เข้าขวาไม่ได้ก็ไปซ้ายแทน แต่พลิกไปอีกทางระยะการหมุนจะมากกว่าทางปกติอีกเท่าตัวถ้าทิ้งซ้ายจะต้องหมุน1รอบเต็มในขณะทิ้งขวาหมุนแค่ครึ่งรอบ จากนั้นเหมือนเดิมหักเชือดโอไซโกมิเลือกได้ท่าโยโกซังกากุมีส่วนผสมนึงที่มันปรับเปลี่ยเป็นจิโกกุจิเมะได้ แต่เซนเซไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดตรงนี้ เพราะนัมโบสไตล์จะทิ้งไว้ครึ่งนึงให้เป็นการเรียนรู้ศึกษาลองผิดลองถูกด้วยตนเอง (โดยเฉพาะเนวาซะจะเปิดให้วิเคราะห์และจินตนาการด้วยตนเองมากกว่าท่ายืน)
เชือด+โอไซโกมิหุ่นอยู่ท่าเต่า เข้าไปทางด้านหน้า เอาสี่นิ้วจับเข้าไปทางคอเสื้อด้านหลังของหุ่น กดหัวหุ่นให้แขนพันคอหุ่น ตรงนี้อย่าเข้าแน่น ถ้าเข้าแน่นดูเหมือนจะดีที่เชือดได้แน่น แต่ท่ามันจะไปต่อไม่ได้ ปล่อยหลวมๆหน่อยก่อน มือขวาล้วงผ่านรักแร้แล้วดันให้สันมือขวาไปสับท้ายทอย ช่วงที่ล้วงมือพันแขนดันไปสับท้ายทอย เอาหัวมุดเข้าท้องของหุ่น มุดเข้าทางขวามือของเรา (ทางด้านซ้ายของหุ่น) หมุนให้ครบรอบจะได้ทั้งเชือด+โอไซโกมิ ตัวนี้เป็นท่าที่ใช้อยู่ประจำแต่เป็นอีกรูปแบบนึง ที่มาแค่โอไซโกมิ แต่ทั้งสองท่ามีความเหมือนกันคือถ้ามุดเข้าไปไม่ชำนาญ สะโพกไม่พริ้ว พอจบท่าตัวเรากับหุ่นจะอยู่กันเป็นเส้นตรง ถือว่าท่าไม่สมบูรณ์ แต่ถ้าลองทำลองมุดดูบ่อยๆ ดัดให้มันจบท่าเป็นมุมฉาก ท่าถึงจะเรียกว่าสมบูรณ์ เพราะเป็นเส้นตรงถ้าหุ่นตามน้ำพลิกต่อท่าอาจจะคลายออกหมด แต่ถ้าเป็นมุมฉากเหมือนกากบาทแล้ว มันจะมีพลังกดไม่ให้พลิกตามน้ำต่อ
จูจิกาตาเมะใช้ในจังหวะหุ่นอยู่ในท่าเต่า ขึ้นคล่อมเอาขาซ้ายวางลงไปทางเอวด้านซ้ายของหุ่น แขนขวาสอดจากด้านหน้าไปล้วงเข้าไปเอาแขนซ้ายหุ่น เอาแข้งขวากดบริเวณท้ายทอยหุ่นเอาไว้ แล้วค่อยๆดึงแขนซ้ายของหุ่นออกมา ถ้าดึงได้แล้วค่อยๆพลิกตามแนวแรงจะมาอยู่ในท่าจูจิปกติ (ระดับแอ็ดวานซ์หักกันตั้งแต่คว่ำหน้า เป็นเกี๋ยกกุจูจิก็ได้)
โทโมนาเกะ+จูจิกาตาเมะอันนี้โทโมไม่ได้ใช้จริง แต่ใช้หลอก(หรือใครจะใช้จริงแล้วเตะวืดก็ได้) เป็นการจับแบบเก็งกังโยตสึ (ขวาเจอซ้าย) จับขวาใส่โทโมยาเกะเตะขาซ้ายไปที่แถวขาขวาของหุ่น แล้ววืดทิ้งตัวลง เอาขาขวาพลิกข้ามคอมากดใส่ท่าจูจิกาตาเมะ ถ้าจับแบบไอโยสสึ เตะเหมือนกัน แต่จังหวะพลิกตัวจะต้องหมุนรอบนึง อาจจะหักได้ตอนเราคว่ำหน้าลง(เกี๋ยกกุจูจิ) ไม่ต้องถึงกับพลิกมาเป็นจูจิแบบปกติก็ได้สองรูปแบบนี้ที่เริ่มจากโทโมแล้วตามมาเป็นจูจิ มีอยู่ในหนังสือของทั้งคอมล๊อคเซนเซและหนังสือของคาชิวาซากิเซนเซ แต่ต้นแบบน่าจะมาจากคาชิวาซากิเซนเซแล้วคอมล๊อคได้มาจากการที่ไปฟิจเจอริ่งซ้อมกับคาชิวาซากิเซนเซตั้งแต่เมื่อหลายสิบปีก่อนแล้ว แล้วก็ขยับขยายกลายมาเป็นท่าที่รู้จักใช้กันทั่วๆไปเป็นสูตรสำเร็จว่าโทโมพลาดต้องตามด้วยจูจิ
ยังมีอีกหลายเทคนิคที่เรียนรู้และซ้อมในวันนี้ เช่นท่าหักแขนด้วยขา (ท่านี้ใช้ของอาจารย์ประสิทธิ์ติดง่ายกว่า) ลืมจริงๆ จำได้ไม่ครบหรือจำทับซ้อนกันว่าเคยเรียนไปแล้วรึเปล่า โดยส่วนใหญ่ท่าที่ซ้อมในวันนี้ เคยเรียนรู้มาแล้ว(หลายรอบด้วย)ตามสถานการณ์และโอกาสที่ผ่านๆมา ก็เหมือนกับนักยูโดท่านอื่นที่ซ้อมแค่ครั้งเดียวแล้วไม่ได้นำกลับมาซ้อมอีก มันก็จะเลือนหายไปตามกาลเวลา นัมโบเซนเซก็รู้ถึงได้ถ่ายทอดออกมาเยอะมาก จุดประสงค์ตามนัมโบสไตล์คือ มีเยอะๆ แล้วให้เลือกเอาอันที่ชอบอันที่ใช้สำหรับตัวเราไปฝึกซ้อมจนชำนาญ บางท่ามีจังหวะการเข้าที่แตกต่างกัน โดยสถานการณ์จะแบ่งเป็นสี่แบบใหญ่ๆ (อันนี้เติมเองจากที่เคยเรียนรู้มา)1.หุ่นอยู่ท่าเต่า2.หุ่นนอนคว่ำแผ่ยาว3.หุ่นนอนหงาย4.ตัวเรานอนหงายหุ่นอยู่ด้านบนอาจจะเพิ่มอีกอันแต่เซนเซก็ไม่แนะนำให้ใช้คือ จังหวะที่ตัวเราอยู่ในท่าเต่า (อันนี้ผมชอบนะ อยากน้อยก็รู้วิธีเอาตัวรอดหนีออกมาจากท่าเต่าได้)อย่างน้อยเราต้องมีท่าใช้ได้ทั้งสี่จังหวะ (จังหวะละท่าก็ยังดี) พอเจอท่านอนในจังหวะนั้นๆก็สามารถใช้ออกไปได้แบบคุ้นเคย ส่วนท่าใหม่ๆก็ค่อยๆศึกษา ถึงจะใช้ได้ไม่คล่องแต่ก็จะเป็นแนวทางสำหรับอ่านท่าตอนที่เล่นเนวาซะ
สรุปท้ายสุดของนัมโบเซนเซในวันนี้เกี่ยวกับท่านอนคือ ท่านอนไม่มีผิดถูกมันแตกแขนงแยกย่อยออกไปได้เรื่อยๆ ท่านึงทางหนีมีหลากหลาย ส่วนนึงอยู่ที่เราเข้าใจว่าคู่ซ้อมเจอท่านี้จะหนีไปทางไหน เพื่อที่เราจะได้ขยับไปดักทางที่หนี เรียกได้ว่าเป็นการรู้เขารู้เรา การฝึกซ้อมส่วนนึงแนวทางที่เซนเซแนะนำ เราอาจจะมาขยายท่าตรงให้ให้แตกแขนงออกไปอีก ตรงนี้อยู่ที่ความตั้งใจในการฝึกซ้อม จินตนาการ และความใส่ใจ ท้ายสุดสิ่งที่สำคัญคือมีเป้าหมายในการซ้อม มีความอยากที่จะเก่งเพื่อเป็นแรงบันดาลในในการฝึกซ้อม ท้ายสุด(จริงๆ)คือพื้นฐานของตัวท่าเบสิคร่างกายสำคัญมาก พวกท่าพื้นๆทำทุกวันให้คล่องมันก็จะช่วยพัฒนายกระดับสกิลท่านอนทั้งหมดของเรา และที่สำคัญพวกพื้นฐานมันทำให้เบาะสะอาด
วันนี้ขอบคุณครับที่มีเพื่อนๆพี่ๆน้องๆหลายท่านช่วยทำความสะอาดเบาะยูโดก่อนการฝึกซ้อม จุดเล็กๆตรงนี้ไม่รู้ใครเห็นบ้าง แต่ตัวเราเองที่รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ และที่แน่ๆเซนเซทั้งสองท่านเห็น (เซนเซพวกนี้ความจำดีซะด้วย)



Create Date : 13 ธันวาคม 2560
Last Update : 13 ธันวาคม 2560 9:49:18 น.
Counter : 452 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Ablaze357.BlogGang.com

ablaze357
Location :
Chiba  Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]

บทความทั้งหมด