Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
29 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 

นกกาบบัว


นกกาบบัว / Painted Stork / Mycteria leucocephala
นกกาบบัว อยู่ในวงศ์นกกระสา Family Ciconliidae สกุลนกกาบบัว Genus Mycteria ชื่อสกุลมาจาก mukter เป็นรากศัพท์ภาษากรีก แปลว่าจมูกหรือลำตัว ( mukterizo ) แปลว่ายกจมูกขึ้น และ ius เป็นรากศัพท์ภาษาละติน แปลว่าคล้ายหรือต่อเนื่อง ความหมายคือ " ปากยาวใหญ่ " นกในสกุลนี้มีปากยาว แบนข้างเล็กน้อย โคนปากกว้าง สันขากรรไกรบนมนและโค้ง ขากรรไกรล่างเว้า รูจมูกเป็นรูปไข่ ตั้งอยู่โคนขากรรไกร หัวและใต้คอไม่มีขนคลุม แต่ท้ายทอยและคอมีขนคลุม ขายาว น่องทางครึ่งบนมีขนคลุม นิ้วยาว , ขนคลุมโตน ขนหางด้านล่างยาวมาก และงอกยาวพ้นขนหาง ทั่วโลกมีนกในสกุลนี้ 4 ชนิด ประเทศไทยพบ 2 ชนิด คือ นกกระสาปากเหลือง ( Milky Stork ) และ นกกาบบัว ( Painted Stork )

นกกาบบัว ( Painted Stork ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mycteria leucocephala ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีก คือ leuc หรือ leukos แปลว่าสีขาว และ cephal หรือ kephalos แปลว่าหัว ความหมายคือ " นกที่มีปากยาวใหญ่ หัวมีสีขาว " พบและจำแนกชนิดๆ ได้ครั้งแรกที่ประเทศศรีลังกา ไม่มีการแบ่งเป็นชนิดย่อย
ภาพชุดนี้ถ่ายมาจาก สวนสัตว์เปิดเขาเขียว บริเวณต้นไม้หน้ากรงนกใหญ่




รูปร่างลักษณะ
นกกาบบัว เป็นนกขนาดใหญ่มาก ความยาวจากปลายปากถึงปลายหาง 100 - 102 ซม. ปากยาวตอนปลายปากมักมนและโค้งลงเล็กน้อย หัวเล็ก คอค่อนข้างยาว ปีกกว้างและยาว หางสั้น ขายาว นกทั้งสองเพศสีสันคล้ายกัน นกที่เต็มวัย ปากสีเหลือง ลำตัวสีขาว บริเวณปีกมีแถบสีชาวสลับดำ อก และ ปลายปีกมีแถบสีดำ ขนโคนปีก ขนคลุมขนปีกแถวนอก และ ขนบริเวณตะโพก เป็นสีชมพู ขอบขนแต่ละเส้นเป็นสีขาว ขนชมพูอมขาวนี้ ยาว ออกไปจนถึงตะโพก และ หาง มองดูเผินๆ คล้ายกับ ว่าใครเอาสี ชมพูสดๆ มาแต่งแต้ม ไว้ เป็นที่มาของชื่อสามัญของนกชนิดนี้ ว่า Painted Stork ปากของนกกาบบัว สีเหลือง แกม ส้ม แต่ ตอนโคนปากสีเขียวปนเทา ม่านตาสีเหลือง บริเวณหัว เป็น หนังเปลือยเปล่า สีเหลืองแกมส้ม เช่นเดียวกับปาก ขา และ นิ้วเท้า สีน้ำตาลแกมแดงอ่อนๆ ขาและนิ้วเท้าสีน้ำตาลหรือสีแดง ในฤดูผสมพันธุ์ ผิวหนังบริเวณใบหน้าเป็นสีแดง


แหล่งอาศัยหากิน
ปกติอาศัยหากินเป็นฝูงตามแหล่งน้ำ เช่น บึง หนองน้ำ ขนาดใหญ่ ทุ่งนา หรือชายทะเล ที่เป็นโคลนเลน ห่างไกลจากบ้านคน มันหาอาหาร โดยเดินลุยไปตามแหล่งน้ำ ที่ระดับน้ำไม่ลึกมากนัก อ้าปากเกือบตลอดเวลา ตาคอยจ้องหาเหยื่อในน้ำ เมื่อพบจะใช้ปากงับ แล้วคาบเอาไว้ สักพักหนึ่งจึงเงยหัวขึ้นเล็กน้อย อ้าปากกว้างขึ้นแล้วกลืนเหยื่อลงไปทั้งตัว บางครั้งมันจะ เดิน ไปตามทุ่งหญ้าเพื่อจิกแมลง ตัวหนอน เมื่ออิ่มแล้วมันมักยืนขาเดียว พักผ่อน ใช้ปากไซ้ขน หรือ กางปีกผึ่งแดด

อาหาร นกกาบบัว กินสัตว์น้ำเป็นส่วนใหญ่ชอบเดินหาอาหารพวกปลา กบ เขียด ลูกปู ปลา กุ้ง หอย นอกจากนี้ยังกิน แมลง และ ตัวอ่อนของแมลง



ฤดูผสมพันธุ์ทำรังวางไข่
ตามปกติเรามักไม่ค่อยพบเห็นนกกาบบัวครั้งละหลายๆตัว นอกจากใน ฤดูผสมพันธุ์ ซึ่ง นกจะพากันมาทำรังวางไข่ บนต้นไม้ต้นเดียวกัน หรือ ต้นไม้ ใกล้ๆกัน นกกาบบัวผสมพันธุ์ ในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน เป็นนกผัวเดียวเมียเดียว ตลอดฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งอาจ ตลอดชีวิตก็ได้ มักทำรังรวมกันเป็นกลุ่ม บนยอดไม้สูงใหญ่ที่ขึ้นใกล้แหล่งน้ำหรืออยู่ในแหล่งน้ำ เช่น ต้นยางนา ต้นเทียะ ต้นกระทุ่มน้ำ เป็นต้น ก่อสร้างรัง มันจะจับคู่และเกี้ยวพาราสีกันด้วยการหันหน้าเข้าหากัน ผงกหัวพร้อมกับ ขยับขากกรรไกรให้กระทบกันจนเกิดเสียงดัง บางครั้งก็ใช้ปากกระทบกัน จากนั้นมันจะผสมพันธุ์กัน แล้วนกทั้งสองเพศจะช่วยกันหาวัสดุ เลือกสถานที่ และสร้างรัง

รังเป็นแบบง่ายๆ สร้างแบบหยาบๆ โดยการนำกิ่งไม้ทั้งสดและแห้งจากต้นที่สร้างรังและจากต้นอื่นมาวางซ้อนกันบนยอดไม้ กิ่งไม้ใช้ทั้งกิ่งสด และกิ่งแห้ง แล้วทำแอ่งตรงกลางเพื่อรองรับไข่ โดยทั่วไปรังมีเส้นผ่าศูนย์กลางขอบนอก ประมาณ 50 - 60 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางขอบใน 35 -40 ซม. แอ่งตรงกลางลึก 10 -15 ซม. ปกติใช้เวลาสร้างรังราว 2 - 3 วัน มันมักเสริมรังเสมอ เมื่อวัสดุเก่าผุพัง หรือ เมื่อมีจำนวนไข่เพิ่มขึ้น ระหว่างสร้างรัง มันจะผสมพันธุ์เรื่อยๆ เมื่ออออกไข่ครบจำนวนแล้ว จึงหยุด

ไข่มีด้านหนึ่งป้าน หรือ ใหญ่และเรียวไปยังอีกด้านหนึ่ง เปลือกไข่สีออกเขียว หรือสีขาวด้านๆ ไม่เป็นมันเงา ไม่มีจุดหรือลวดลายใดๆ แต่บางครั้งอาจมีขีดประ หรือ จุดเล็กๆ สีน้ำตาล กระจายเ ล็กน้อย ทั่วฟอง ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 46.5 -x 70.8 มม. และมีน้ำหนักเฉลี่ย 75.55 กรัม วางไข่ครอกละ 2 - 6 ฟอง โดยพบ 4 ฟองบ่อยที่สุด ทั้งสองเพศ ผลัดกันฟักไข่ ตั้งแต่ออกไข่ ฟองแรก ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 30 -31 วัน วันที่แสงแดดแรงจัด กนที่ฟักไข่จะยืนขึ้น เหนือรัง และ กางปีกทั้ง 2 ข้าง ออกเต็มที่หรือ งอที่หัวปีกเล็กน้อย เพื่อระบาย ความร้อนออกจากตัว และเพื่อบังไข่หรือ ลูกนก มิให้ถูกแดดมากเกินไป เมื่อ นกตัวที่มิได้กกไข่กลับมาถึงรัง นกตัวที่กกไข่ จะบินออกไป ทักทายด้วยการ เอาปากไปแตะ กัน ทั้งนกตัวผู้และนกตัวเมีย จะหวงไข่ และ รังของมันมาก จะไม่ยอมทิ้งรังอยู่ตามลำพังเพราะบางครั้ง อาจมีสัตว์ผู้ล่า จำพวก กระรอก เหยี่ยว อีกา ตะกวด นกเอี้ยง นกตะขาบทุ่ง ฯลฯ มาขโมยไข่และลูกนกไปกินได้

ลุกนกแรกเกิดมีผิวหนังเป็นสีชมพู มีขนอุยสีขาวอมเทาปกคลุมลำตัวบางส่วนโดยเฉพาะลำตัวด้านบน หัวและปากสีดำ ขาและนิ้วเท้ายังไม่แข็งแรง พอจะยืนหรือเดินได้ เนื่องจากพ่อแม่นก กกไข่ตั้งแต่ออกไข่ฟองแรก ดังนั้นลูกนกจะฟัก ออกจากไข่ไม่พร้อมกัน ไข่ที่ฟักก่อนจะออกเป็นตัวก่อน ดังนั้นในรังหนึ่งจะมีลูกนกขนาดต่างกันในตอนแรกๆ แต่นานวันเข้าลูกนกจะโตทันกัน และ มีขนาดตัวไร่เรี่ยกัน ในช่วงนี้พ่อแม่ต้องช่วยกันกก ป้องกันแสงแดด ป้องกันภัย และผลัดกันหาอาหารมาป้อน โดยการสำรอกอาหารใส่ปากลูกนก ซึ่งอ้าปากรอรับอยู่ อาหารที่นำมาป้อนลูกนก ส่วนใหญ่คือปลา กบ เขียด แต่เมื่อลูกนกโตพอประมาณแล้ว พ่อแม่จะสำรอกอาหารไว้ที่พื้นรัง ให้ลูกนกจิกกินเอง พ่อแม่จะเลี้ยงดูลูกนก จนกระทั่งลูก แข็งแรง และบินได้ดี ซึงใช้เวลาประมาณ 50 - 60 วัน จากนั้นจะทิ้งรังไป





การแพร่กระจายพันธุ์
นกกาบบัวมีแหล่งทำรังวางไข่ขนาดใหญ่ อยู่ทางตอนใต้ของปากีสถาน , อินเดีย ( ยกเว้นภาค ตะวันออก เฉียงเหนือ ) , ภาคใต้ของเนปาล , ศรีลังกา , บังคลาเทศ , อาจพบทาง ตอนใต้ของจีนด้วย , ประชากรในฤดูนอกผสมพันธุ์บางส่วนอพยพไปหากินที่ ส่วนอื่นของปากีสถาน , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย , บังคลาเทศ โดยสมทบกับนกประจำถิ่น ในประเทศนั้นๆ หรือหากินในส่วนอื่นของประเทศที่ปกติไม่พบนกกาบบัวชนิดที่อยู่ประจำถิ่นมาก่อน

สำหรับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นนกประจำถิ่นที่พบน้อย และ บางส่วนอพยพย้ายถิ่นหากินตามแหล่งอาหารภายในประเทศด้วย โดยพบในไทย , กัมพูชา , ภาคกลางและภาคใต้ของอันนัม , เขตสัตว์ภูมิสาสตร์โคชินไชน่า , ภาคกลางของเมียนม่าห์ , เป็นนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ ทางภาคตะวันตก เฉียงใต้ ภาคกลาง และ ภาคใต้ ของเมียนม่าห์ , เทนเนอซาลิม , ภาคตะวันออกของตังเกี่ย



นกกาบบัว ในขณะกำลังบินอยู่กลางอากาศ จะเห็นเป็นนกตัวขาวๆ ปีกดำ หางดำ มีแถบดำขวางหน้าอก ปากยาว สีเหลือง คอยื่นไปข้างหน้า ขายื่นไปข้างหลัง เวลาบิน ลงเกาะกิ่งไม้ ก็ จะหุบปีก แล้ว จะเห็นว่าขนปีกดำ มีแถบขาวเล็กๆ 6 ถึง 7 แถบ บริเวณใกล้ๆหัวปีก และ แถบขาวแถบใหญ่ อีก แถบหนึ่งตรงกลางปีก



ปัจจุบัน Lekagul and Round ( 1991 ) จัดให้ นกกาบบัว เป็นนกที่อพยพมาทำรังวางไข่ในประเทศไทย บางส่วนเป็นนกที่อพยพ มาช่วงนอก ฤดูผสมพันธุ์ และ เป็นนกที่อพยพผ่าน ประเทศไทย หายาก และ ปริมาณน้อย มากในธรรมชาติ พบเฉพาะทางภาคตะวันตก ภาคกลาง และ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือบางส่วน แต่จากการศึกษานกกาบบัว บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง พบการทำรังวางไข่บริเวณดังกล่าว ดังนั้น นกกาบบัว น่าจะกระจายพันธุ์ทางภาคใต้ได้ด้วย

นกกาบบัวเป็นนกที่เพาะเลี้ยงและปล่อยคืนสู่ธรรมชาติได้ดีชนิดหนึ่ง สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จังหวัดชลบุรี ได้ปล่อยนกกาบบัวที่เพาะเลี้ยงได้ อกไปหากินตามธรรมชาติ ปรากกว่ามันผสมพันธุ์กัน และมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบัน ( พ.ศ. 2550 ) นักดุนกสามารถพบนกกาบบัวฝูงเล็กๆ จำนวน 15 - 30 ตัวได้บ่อยครั้งในธรรมชาติ ซึ่งอยู่ในช่วงที่มีนกอพยพเข้ามาสมทบ กับนกที่อยู่ประจำถิ่นใน ธรรมชาติ ได้บ่อยครั้ง แต่เมื่อนกบางส่วนอพยพกลับ การพบเห็นนกกาบบัวในประเทศไทย ก็ยังมีจำนวนไม่มากนัก หากป้องกันการล่า และ เก็บไข่นกได้ สถานะภาพของนกกาบบัวในประเทศไทย น่าจะเพิ่มมากขึ้นจนเป็นนกประจำถิ่นที่สามารถพบเห็นได้ตลอดปี เหมือนเช่นในอดีต








สำหรับประเทศไทย ในอดีต ประเทศไทยเคยมีนกกาบบัว หากิน อยู่ตาม ท้องนา และ หนองบึงขนาดใหญ่ ที่ห่างไรกล จากหมู่บ้านคน บางทีพบตามชายทะเล ที่เป็น ดินเลน แม้แต่ ที่วัดไผ่ล้อม อ.สามโคก จ. ประทุมธานี ก็เคยมีนกกาบบัว มาอาศัย หลับนอน ปะปน กับนก ปากห่าง ที่ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ชาวบ้านเล่าว่า เมื่อ ก่อนปี พ.ศ. 2523 มีนกกาบบัวอยู่ 40 ตัว และ มีรังอยู่ 10 รัง แต่ในปี พ.ศ. 2523 ปรากฏว่า พบนกกาบบัวเพียง 15 ตัว และ มีรังอยู่ 4 รัง แต่พอถึง พ.ศ. 2523 จำนวนนกกาบบัว เหลือทำรังอยู่เพียง 1 คู่ เท่านั้น จนน่ากลัวว่านกกาบบัว จะสูญพันธุ์ไปจากเมืองไทย อย่างไรก็ดี มีรายงานการพบเห็น นกกาบบัวกันบ่อยครั้ง รอบๆ กรุงเทพ และ ทางด้านตะวันตก ของที่ราบภาคกลาง แต่ ส่วนมากจะพบในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งคาดว่าจะ เป็นนก ที่อพยพ ย้ายถิ่นตามฤดูกาล มาจากพม่า ไม่ใช่นกที่ทำรัง วางไข่ในเมืองไทย เมื่อ วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 เคยพบนกกาบบัวฝูงใหญ่ จำนวน 52 ตัว บินผ่านเขต ห้ามล่า สัตว์ป่าเกริงกระเวีย จง กาญจนบุรี มุ่งลงไปทางใต้ และ เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 มีผู้เห็น นกกาบบัว ฝูงใหญ่ ถึง 110 ตัว บินผ่านบ้านท่าเสด็จ จ. สุพรรณบุรี มุ่งลงไปทาง ทิศตะวันออก นอกจากรายงาน 2 ครั้งนี้แล้ว ก็ยังไม่มีรายงานใด ที่พบนกกาบบัวฝูงใหญ่ เท่านี้อีกเลย







ข้อมูล ประกอบภาพ จาก BIRD-HOME.COM




 

Create Date : 29 ตุลาคม 2550
25 comments
Last Update : 4 มกราคม 2551 20:15:08 น.
Counter : 12654 Pageviews.

 

ไดน่าสนใจดีนะคะ ให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์ป่า !!

 

โดย: -:ราชินีแห่งรัตติกาล:- 29 ตุลาคม 2550 15:13:11 น.  

 

เข้ามาชมสารคดีนกครับ ทำได้ดีมากเลย

 

โดย: บางระจันวันเพ็ญ 29 ตุลาคม 2550 17:35:33 น.  

 

แจ่มมากค่ะ อยากมีนกแปลกๆแบบนี้ให้ถ่ายภาพมั่งจัง แต่ถึงมีก็คงทำไม่ได้แบบนี้หรอก ฝีมือป้ายังอีกห่างไกล

 

โดย: ป้าฟ้าใส 29 ตุลาคม 2550 19:19:42 น.  

 

เยี่ยมมาก ป๊ะป๋า

 

โดย: โม IP: 58.8.140.185 29 ตุลาคม 2550 22:04:52 น.  

 

ภาพสวยมากเลยค่ะ ชอบจัง

 

โดย: C_J_love2007 29 ตุลาคม 2550 23:39:00 น.  

 

แวะมาทักทายวันอังคารสีชมพูค่ะ
ภาพสวยจัง ชอบตอนที่กางปีกดูสวยเป็นสง่าดีค่ะ

 

โดย: love_devy (love_devy ) 30 ตุลาคม 2550 12:58:13 น.  

 


ขออนุญาตแอดริงค์ไว้นะค่ะ

อยากบอกว่า ดีใจที่ได้มีโอกาสพบริงค์ของคนที่ถ่ายรูปเก่งนะค่ะ

เลยต้องแอดริงค์ไว้แอบดูอ่ะค่ะ

 

โดย: นางมารร้ายจีจี้ 30 ตุลาคม 2550 13:51:49 น.  

 

ถ่ายรูปได้สวยมากเลยค่ะ แล้วก็ได้ข้อมูลดีๆมากมายด้วย ขออนุญาตแวะเข้ามาเยี่ยมเยียนบ่อยๆ นะคะ

 

โดย: v9winelovers (plenaka ) 30 ตุลาคม 2550 17:45:03 น.  

 

ขอขอบคุณทุกๆท่านที่แวะมาเยี่ยมเยียน ยินดีต้อนรับเสมอ และจะพยายามหาสิ่งดีๆมาเผื่อแผ่กัน

 

โดย: wildbirds 30 ตุลาคม 2550 18:06:41 น.  

 

โห...ใช้กล้องไรอ่ะ อยากถ่ายได้แบบนี้จัง
ถ้าเค้าจะถ่ายอย่างนี้แต่ละทีต้องใช้ความอดทนสูงเลย
อันนี้สวย ชอบจัง

 

โดย: Pook_nana 30 ตุลาคม 2550 19:32:48 น.  

 

ดีจังเมื่อไม่นานไปสวนสัตว์เขาเขียว ไม่ได้ลงไปชมนกเลยค่ะ เอาล่ะได้มาชมที่บล็อกนี้ แถมได้ความรู้อีก..

 

โดย: วันวานที่ผ่านมา 30 ตุลาคม 2550 19:54:48 น.  

 

แอบเข้ามาเก็บความรู้ครับ

ถ่ายรูปได้สวยจังครับจับจังหวะได้แม่นมากๆ

 

โดย: อนันต์ครับ 31 ตุลาคม 2550 0:47:40 น.  

 

แอบแวะมาชมครับ
ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมที่ Blog ครับผม

 

โดย: สอระ (สอระ ) 31 ตุลาคม 2550 12:43:45 น.  

 

ว้าว..ยอดค่ะ..very nice shot

ขอบคุณค่ะที่ไปเยี่ยม

 

โดย: ตาลาย (jdfoxbat ) 31 ตุลาคม 2550 17:51:47 น.  

 

โห สุดยอดเลยค่ะ คนถ่ายรูปนกเนี่ยความอดทนสูง แถมถ่ายออกมาสวย และชัดขนาดนี้ สุดยอดจริงๆค่ะ

ไว้ขอมาแอบดูภาพสัตว์แบบนี้อีกนะคะ ชอบค่ะชอบๆๆ

 

โดย: KOok_k 31 ตุลาคม 2550 18:16:25 น.  

 

ตัวนี้เป็นนกกาบบัว Painted Stork นะคะ ไม่ใช่นกกระสาปากเหลือง Milky Stork ค่ะ นกกระสาปากเหลืองไม่มีแถบอก และสีชมพูที่ปีกค่ะ

 

โดย: White Stork IP: 58.64.55.250 31 ตุลาคม 2550 23:14:35 น.  

 

ขอบคุณมากที่ให้ข้อมูล แล้วจะแก้ไข ครับ

 

โดย: wildbirds 1 พฤศจิกายน 2550 6:21:45 น.  

 

โอ้ววววว

ความรู้ทั้งนั้น ^^

 

โดย: me:ผู้หญิงในนิยาย 1 พฤศจิกายน 2550 13:03:38 น.  

 

มาดูรูปมากกว่าอ่านค่ะ แบบว่าตอนนี้กำลังกลัวข้อมูลทางวิชาการ

 

โดย: เพรางาย 3 พฤศจิกายน 2550 19:26:24 น.  

 

โอ้... เพิ่งจะมีโอกาสเข้ามาแวะเยี่ยมคุณWildbirds สวยครับ ดูจุใจเลย

 

โดย: เสือทะเล 20 พฤศจิกายน 2550 10:07:29 น.  

 

wow ลีลาสุดยอด

 

โดย: Hana* 22 พฤศจิกายน 2550 20:46:01 น.  

 

Happy New Year
สุขขี สุขขัง กะละมังใบโต

 

โดย: cherryhip 2 มกราคม 2551 20:24:23 น.  

 

น่ารักค่ะ

 

โดย: เบ็ญ IP: 203.172.216.35 12 กุมภาพันธ์ 2551 14:20:43 น.  

 

 

โดย: รน IP: 203.172.216.35 12 กุมภาพันธ์ 2551 14:21:44 น.  

 

วันนี้เจอนกกาบบัว4ตัวคับ ในพื้นที่ท้องนา ต. สาลี อ. บางปลาม้า จ. สุพรรณบุรี ตกใจตัวใหญ่มาก😁😁😁

 

โดย: ยุทธศาสตร์ IP: 1.47.101.129 26 มิถุนายน 2559 18:43:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


wildbirds
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




ชอบความเป็นธรรมชาติและมีชีวิตง่ายๆ..ไม่ชอบความวุ่นวายในสังคม


สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2539 ห้ามผู้ใดนำรูปภาพและข้อความของที่นี่ไปใช้ในทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นการลอกเลียน แก้ไขดัดแปลงข้อความ รูปภาพ หากผู้ใดละเมิดโดยไม่ได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดีตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด
New Comments
Friends' blogs
[Add wildbirds's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.