Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2551
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
1 มิถุนายน 2551
 
All Blogs
 
นกยางจีน ......หากินยามเย็นตอนน้ำลงที่เกาะลอย ศรีราชา


ออกไปเดินออกกำลังกาย ยามเย็นที่สวนสาธารณะเกาะลอย น้ำทะเลลงมาก เห็นนกยางจีน มาเดินหาอาหารบนพื้นเลน เลยยิงมาฝากกัน



อาณาจักรของนกน้ำชนิดนี้ กำลังลดขนาดจำนวนประชากรลงอย่างรวดเร็ว ผลจากการเสื่อมสลายของหาดโคลน และ แหล่งหากินตามสันดอนปากแม่น้ำ เนื่องจากจากการการสร้างโรงงาน อุตสาหกรรม การพัฒนาโครงการต่างๆขนาดใหญ่ และการทำธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ที่ทำลายสภาพแวดล้อม สาเหตุต่างๆเหล่านี้ กำลังทำให้นกชนิดนี้ อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์

นกยางจีน อยู่ในวงศ์นกยาง Family Ardeidae สกุลนกยาง Genus Egretta ชื่อสกุลมาจากรากศัพท์ภาษาฝรั่งเศสคือ aigrette หรือ egretta แปลว่า นกยางชนิดหนึ่ง นกในสกุลนี้ ในช่วงฤดู ผสมพันธุ์มีขนประดับงอกออกมาจากหลัง บางชนิดงอกออกมาจากอกและท้ายทอย ทุกชนิดมีขนสีขาวทุกฤดู ยกเว้นนกยางทะเลที่มีบางตัวเป็นสีเทาดำ โดยทั่วไปเมื่อเทียบรูปร่างกับสกุลนกกระสานวล ( Genus ardea ) แล้ว นกในสกุลนี้มีขนาดเล็กกว่า ปากเรียวกว่า คอเรียวและยาวกว่า ทั่วโลกมีนกในสกุลนี้ 12 ชนิด ประเทศไทยพบ 3 ชนิดคือ ( 1 ) นกยางเปีย ( Little Egret ) , ( 2 ) นกยางจีน ( Chinese Egret ) และ ( 3 ) นกยางทะเล ( Pacific Reef Egret )

นกยางจีน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Egretta eulophotes ชื่อวิทยาศาสตร์มาจากรากศัพท์ภาษากรีก คือ eulophos แปลว่า พุ่มหงอนขนที่เจริญดี และ otes แปลว่า ลักษณะ ( eidos แปลว่า รูปแบบ หรือ การปรากฏ ) ความหมายคือ " นกยางที่มีหงอนเจริญดี " พบและจำแนกชนิดได้ครั้งแรกที่ประเทศจีน ไม่มีการแบ่งเป็นชนิดย่อย

รูปร่างลักษณะ เป็นนกขนาดกลาง ความยาวจากปลายปากจดหาง 55 - 60 ซม. ปากยาวตรง คอยาว ปีกยาว 23.5 - 28.2 ซม. ปลายปีกมน คอยาว โดยมีแข้งยาว 7.1 - 7.3 ซม. นิ้วยาว , นิ้วที่ 3 รวมเล็บยาว 5.1 - 7.3 ซม. นกทั้งสองเพศมีลักษณะและสีเหมือนกัน






ช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ ปากสีดำ หรือ เทา โคนขากรรไกรล่างสีเหลือง ผิวหนังเปลือยเปล่าบริเวณโคนปากถึงหัวตาสีเขียว ขนคลุมลำตัวสีขาว ขาและนิ้วเท้าสีเขียวแกมเหลือง หรือ สีเขียวแกมน้ำเงิน

ช่วงฤดูผสมพันธุ์ ปากเป็นสีเหลือง หนังเปลือยเปล่าบริเวณโคนปากถึงหัวตาสีน้ำเงินเข้ม บริเวณท้ายทอย มีกระจุกขน สีขาวงอกยาวออกมา ขา สีดำ นิ้วเท้าสีเหลืองแกมเขียว บริเวณอกและตะโพกจนถึงหางมีขนสีขาวแตกเป็นฝอยละเอียด ขนเหล่านี้จะหลุดร่วงไปเมื่อพ้นฤดูผสมพันธุ์

นิสัยประจำพันธุ์ พบหากินอยู่โดดเดี่ยว หรือ เป็นฝูงเล็กๆ 4 - 5 ตัว สามารถเกาะกิ่งไม้ และ บินได้ดีมาก หากินในเวลา กลางวัน

แหล่งอาศัยหากิน พบตามป่าชายเลน บริเวณสันดอนปากแม่น้ำ บริเวณที่มีแหล่งน้ำตื้นชายฝั่งทะเล ในคาบสมุทร เกาหลี นกเข้าไปหากิน ในนาข้าว บ่อเลี้ยงปลา อ่าวเล็กอ่าวน้อยตามแนวชายฝั่งทะเล

อาหาร ส่วนใหญ่คือ ปลาขนาดเล็ก กุ้งขนาดเล็ก ปู และ สัตว์น้ำอื่นๆ แต่ถ้าเข้าไปหากินในแหล่งน้ำจืด ก็จะกิน แมลง กบ เขียด ปลา ตั๊กแตน ด้วย




การหาอาหาร นกยางจีนมีท่าทางหากินที่กระตือรือร้น มักกางปีกออกเล็กน้อย และ วิ่งวนไปมาไล่ตามจับเหยื่อ อาจหากินร่วมกับนกยางขนาดใหญ่ อื่นๆ มักกระพือปีก หรือ กางปีกออกครึ่งหนึ่ง และจุ่มปากลงไล่งับเหยื่ออยู่ตลอดเวลา ท่าทางหากินเหมือนนกกำลัง " เต้นรำ " อย่างรวดเร็ว กระฉับ กระเฉง ลักษณะการหากินที่ต่างไปจากนกยางอื่นๆนี้ ใช้ในการจำแนกนกชนิดนี้ได้ดี บางครั้งก็เดิน - วิ่ง ไปบนหาดโคลน พร้อมกับยกปีกสูง



นกยางจีน มักทำรังอยู่ในบริเวณเดียวกับ Little Egret , Great Cormorant , Horned Puffin และ Black - tailed Gull ( มักทำรังใกล้ๆกัน )

แหล่งแพร่กระจายพันธุ์ พบในจีนด้านตะวันออกเฉียงใต้และด้านใต้ คาบสมุทรเกาหลี ( พบตามแนวชายฝั่งทะเลทั้งเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ เป็นแหล่งทำรังวางไข่ที่สำคัญ ของนกยางจีน ) ในฤดูหนาว อพยพมาหากินที่ ญี่ปุ่นตอนใต้ ไทย ไต้หวัน เกาะไหหลำ ฮ่องกง มาเลเซีย เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว และ สุลาเวสี , บรูไนดารุสซาลาม




สถานะภาพปัจจุบัน ในอดีตถูกจัดอยู่ในภาวะถูกคุกคาม ปัจจุบันถูกจัดเป็นนกที่มีภาวะใกล้สูญพันธุ์ สาเหตุในอดีตเกิดจากการล่า เพื่อนำขนไปทำ เครื่องประดับและตกแต่งร่างกาย และ เสื้อผ้า ปัจจุบันภัย คุกคามเปลี่ยนเป็น การสูญหายของแหล่งหากิน และทำรังวางไข่ อุตสาหกรรมประมง และ เพาะเลี้ยงชายฝั่ง อุตสาหกรรมที่ปล่อยสารพิษลงสู่ทะเลและอ่าวของทะเลตอนใน ที่ Liaoning ของจีน มีการประมงจับปลา ที่มากเกินไป ในจีนยังมีภัย คุกคามจากการเก็บไข่นก การล่านกในแหล่งทำรังวางไข่ ทำให้นกที่เคยรวมฝูง ขนาดใหญ่ใน Shib - do ลดจำนวนลงอย่างน่าใจหาย ส่วนที่เกาหลีใต้ บริเวณที่เป็นแหล่งทำรังวางไข่ ในตอนต้นปี ค.ศ. 1990 มีกรรบกวนนกที่มาทำรังวางไข่อย่างมาก จาก นักถ่ายภาพธรรมชาติ ทำให้นกที่อพยพ มาทำรัง วางไข่ที่นี่ลดจำนวนลง ( The Chinese Egret is classified as Vulnerable ( VU C2a (i ) on the IUCN Red List 2004 and is listed on Appendix 1 of the Convention on Migratory Species ( CMS or Bonn Convention )




สำหรับประเทศไทย เป็นนกที่อพยพเข้ามาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ หรือ เป็นนกอพยพผ่านประเทศไทยไปยังประเทศมาเลเซีย พบไม่ประจำทุกปี รายงานจำนวนสูงสุดที่พบในประเทศไทย คือในฤดูหนาว ปี 2548 - 2549 ระหว่างมีการนับนกน้ำของเอเซีย ( Asian Waterbird Census ) มีรายงานการพบนกยางจีน ทั้งหมด 35 ตัว ในสถานที่ 6 แห่งในภาคใต้ของไทย คือ สองแห่งบริเวณ ชายฝั่งอ่าวไทยตอนใน และ สี่แห่งบนชายฝั่งอันดามัน ล่าสุด ในเดือนสิงหาคม 2550 มีรายงานพบ นกยางจีน 1 ตัว ในขนชุดฤดูผสมพันธุ์ บริเวณหาดโคลน โครงการพระราชดำริ กำจัด น้ำเสียในเขต เมือง แหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี

บริเวณที่พบนกยางจีนในประเทศไทย ส่วนใหญ่ตามบริเวณชายฝั่งที่เป็นหาดหิน หาดโคลน เวลาเกาะพัก จะเกาะตามต้น โกงกาง ริมชายหาด หรือตามเกาะ หรือ สันทรายกลางน้ำ ลักษณะคล้าย นกยางเปีย และ นกยางทะเลชนิดสีขาว เวลาที่พบ ในประเทศไทยมักพบในขนชุดฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งจะมีขนเปียงอกยาวบนหัว ขนบริเวณหลัง และ หน้าอก จะเป็นเส้นละเอียด หนา พองฟูออกมา มากกว่านกยางเปีย และ นกยางทะเล ขา สีดำ นิ้วเท้าสีเขียวอมเหลือง ปากสีเหลืองสด สามารถแยกจาก นกยางทะเล และ นกยางเปีย ได้จากลักษณะการยืน ที่ลำตัวนกจะเอียงเฉียงขึ้น ข้างบน การวิ่งไล่จับเหยื่อจะว่องไว พองขนปีกออกเล็กน้อยทั้งสองข้าง เป็นนกที่ตื่นตัวมากขณะหากิน มักวิ่งไล่จับเหยื่อ จำพวก ปลา ปู ท่าทางไล่เหยื่อ จะหันรีหันขวาง วิ่งวนเวียนไปมาทั้งซ้ายและขวา ตลอดเวลา เป็นลักษณะหากินที่เด่นของนกยางจีน เหยื่อจะเป็นจำพวก สัตว์น้ำต่างๆที่เคลื่อนที่เร็ว นกยางจีนไม่ย่องหรือซุ่มเงียบๆ รอเหยื่อเข้ามาหา เหมือนนกยางเปีย หรือ นกยางทะเล ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน

แหล่งข้อมูล : Threatened Birds of Asia " The Birslife International Red Data Book "

เวบไซด์ Bird of Korea , Hong Kong , Taiwan , China , Phillipine และ Japan

" นกในเมืองไทย " โดย รศ. โอภาส ขอบเขตต์





Create Date : 01 มิถุนายน 2551
Last Update : 1 มิถุนายน 2551 11:02:21 น. 34 comments
Counter : 5940 Pageviews.

 
สวัสดีค่ะคุณwildbirds

ทักทายยามเช้ากับวันอาทิตย์
วันหยุดสุดสัปดาห์ฟ้าสดใสเชียวค่ะ

นกยางนี้อ้อไม่เห็นนานแล้วค่ะ
เคยเห็นก็ต้องแถว ๆ สระบัว หนองน้ำที่มีผักบุ้งเยอะ ๆ อะไรประมาณนั้นค่ะ
เดี่ยวนี้ธรรมชาติบ้านนา (อย่างเช่นที่บ้านนอกของบ้านสาวอ้อ ) ไม่มีบรรยากาศแบบนี้ให้เห็นแล้ว

น่าเสียดายน่ะค่ะหากว่านกน้ำชนิดนี้ กำลังลดขนาดจำนวนประชากรลงด้วยเหตุผลที่ว่า การเสื่อมสลายของหาดโคลน และ แหล่งหากินตามสันดอนปากแม่น้ำหมดลง

พวกนกยางน้ำพวกนี้ต้องอพยพไปอยู่ประเทศอื่นแน่ ๆ เลยแล้วเราก็คงจะมีแต่ภาพนกยางไว้ให้ลูกหลานได้ดูแค่นั้น.

ขแบคุณwildbirds
ที่เอาดอกไม้ไผฝากไว้ให้ที่บล็อกค่ะ
อ้อเลยขออณุญาตลดขนาดของภาพสักนิดหนึ่งแล้วค่ะ


โดย: sao-aor วันที่: 1 มิถุนายน 2551 เวลา:14:37:37 น.  

 


ถ่ายสวยอีกแล้วครับ ดูแล้วชอบ

ไม่เคยผิดหวังกับภาพของคุณ


โดย: yyswim วันที่: 1 มิถุนายน 2551 เวลา:16:33:07 น.  

 
ได้ดูทั้งภาพสวยๆและความรู้ดีๆ

ขอบคุณมากนะคะ

ช่วงนี้อยู่เมืองไทยหรือคะ คุณ wildbirds


โดย: หยุ่ยยุ้ย วันที่: 1 มิถุนายน 2551 เวลา:17:44:46 น.  

 

 
มาเยี่ยมยามดึกจ้า


โดย: ammataya วันที่: 2 มิถุนายน 2551 เวลา:2:48:04 น.  

 

 
มาทักมาทายค่ะ ไม่ได้เข้ามาหาเสียนาน


โดย: Envi.Ed วันที่: 3 มิถุนายน 2551 เวลา:17:37:59 น.  

 
พฤติกรรมของนกน่าสนใจนะครับ


โดย: c (chaiwatmsu ) วันที่: 4 มิถุนายน 2551 เวลา:1:18:41 น.  

 
ภาพชัด สวยดีค่ะ


โดย: ท้องฟ้าเสียงเพลงฯ IP: 90.149.104.26 วันที่: 4 มิถุนายน 2551 เวลา:17:40:47 น.  

 

 



สวัสดีครับ...

แถวบ้าน หายไปนานมากเลยครับ ...หลายปีทีเดียว รวมทั้งนกอื่น ๆ
จนกระทั่งโชคดีไข้หวัดนกระบาดครับ... บรรดานกทั้งหลายจึงปลอดภัยจากการถูกล่า ... ตอนนี้เริ่มกลับมากันแล้ว

มีความสุขนะครับ


โดย: เซียน_กีตาร์ วันที่: 6 มิถุนายน 2551 เวลา:16:32:52 น.  

 
นกกระยาง แถวบ้าน (นอก) ที่นครศรีฯ มีเยอะเลยค่ะ ช่วงต้นๆปี ... ตัวสีขาว อยู่กลางทุ่งข้าวสีเขียว สวยดี...

ขาผอมๆของมัน ทำให้ พ่อแม่เรียกเราว่า "นกยาง" เพราะตอนเด็กๆ เราก็ผอมโกร่งแบบนั้น ^^


โดย: im virgo วันที่: 7 มิถุนายน 2551 เวลา:13:30:19 น.  

 
ภาพสวยแถมได้ความรู้ด้วย ดีจังค่ะ


โดย: ดอกไม้ในสวนศรีี วันที่: 7 มิถุนายน 2551 เวลา:20:41:38 น.  

 


ขอบคุณที่แวะไปทักทายค่ะ

บังเอิญจังเลย

บล็อกสองเราพูดเรื่องเดียวกัน

.............น ก ...................

รักษาสุขภาพนะคะ



โดย: ยายกุ๊กไก่ วันที่: 7 มิถุนายน 2551 เวลา:22:11:52 น.  

 
เพิ่งรู้จักนกยางจีนเป็นครั้งแรก
ลักษณะเค้าสวยนะคะ ขนสีขาว ขายาว ปากยาว สมส่วนดีคะ


โดย: อนันตลัย วันที่: 8 มิถุนายน 2551 เวลา:15:51:35 น.  

 
สีนก สีโคลนกลืนกันดูนวลเนียนสวยๆเรียบๆไปอีกแบบน่ะค่ะ ปรกติจะเป็นภาพนกและฉากท้องฟ้ามากกว่า แต่ถ่ายแบบนี้ดูแปลกตาและมีเสน่ห์ในตัวของมันน่ะค่ะ

ช่วงนี้เห็นมีงานดอกไม้ที่เมืองชล ไม่ทราบคุณ wildbirds ได้มีโอกาสไปเที่ยวชมหรือยังคะ?


โดย: มาเรีย ณ ไกลบ้าน วันที่: 9 มิถุนายน 2551 เวลา:18:32:47 น.  

 
นกยางตัวขาวๆ สวยนะคะ เเถวบ้านมีเเต่Little Egret ให้ดูค่ะ


โดย: Hana* วันที่: 11 มิถุนายน 2551 เวลา:8:21:31 น.  

 
ขอบคุณเจ้าตี๊แวะไปแอ่วหา
เข้ามาบ้านนี้ ได้ความฮู้ปิกบ้าน


โดย: 2times4t วันที่: 12 มิถุนายน 2551 เวลา:13:15:29 น.  

 



สวัสดีวันหยุดครับ

มีความสุขมาก ๆ นะครับ


โดย: เซียน_กีตาร์ วันที่: 14 มิถุนายน 2551 เวลา:7:41:43 น.  

 
แวะมาเยี่ยมคะ...


โดย: อนันตลัย วันที่: 15 มิถุนายน 2551 เวลา:11:53:28 น.  

 
แวะมาเยี่ยมคะ...


โดย: อนันตลัย วันที่: 15 มิถุนายน 2551 เวลา:11:53:36 น.  

 


เดี๋ยวนี้นกยางหาดูได้ยากเต็มที
โดยเฉพาะในชุมชนเมือง

ป้าอัพบล็อกแล้วค่ะ ………..เปลี่ยนชื่อล็อกอิน………………
ถ้าไปช้าอาจเข้าบ้านป้าไม่ได้นะคะ
เพราะบ้านจะถูกล็อกกุญแจค่ะ




โดย: ยายกุ๊กไก่ วันที่: 16 มิถุนายน 2551 เวลา:14:32:12 น.  

 
ถ่ายภาพนกสวยๆ อยากชวนไปถ่ายที่แหลมผักเบี้ยจังเลย


โดย: Envi.Ed วันที่: 23 มิถุนายน 2551 เวลา:8:20:54 น.  

 
สวัสดีค่ะ

ห่างหายไปนาน เนื่องจากหน้าที่ การงาน ตอนนี้สบายดีค่ะ

เลยรีบเข้ามาทักทาย ด้วยความคิดถึง


โดย: นกแห้ว วันที่: 23 มิถุนายน 2551 เวลา:14:28:29 น.  

 
มาเยี่ยมคุณนกขายาวคะ


โดย: อนันตลัย วันที่: 24 มิถุนายน 2551 เวลา:18:08:45 น.  

 
แวะมาเยี่ยมค่ะ
รุปสวยจัง


โดย: love_devy วันที่: 27 มิถุนายน 2551 เวลา:15:25:26 น.  

 


มาแจ้งข่าวว่า

ป้ากุ๊กไก่ / ยายกุ๊กไก่ กลับมาเปิดบ้านแล้วในชื่อล๊อกอิน ร่มไม้เย็น

และประเดิมบล็อกแรกด้วย ………บ้านใหม่ – ชื่อใหม่………..ค่ะ

มีเวลาแวะไปทักทายกันบ้างนะคะ

ขออภัยที่มาแจ้งช้า เพราะต้องรอให้ทีมงานคืนบล็อกเดิมเสียก่อน

จึงจะอาศัยเดินตามรอยลิงค์มาได้

ร่มไม้เย็น …….. ข อ แ อ ด บ ล็ อ ก ……… นะคะ




โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 28 มิถุนายน 2551 เวลา:15:48:23 น.  

 

เข้ามาเยี่ยมครับ นึกว่าคุณชป จะอัพบล๊อกใหม่


โดย: yyswim วันที่: 1 กรกฎาคม 2551 เวลา:0:24:40 น.  

 
มาแอ่วดูนก เจ้า


โดย: 2times4t วันที่: 1 กรกฎาคม 2551 เวลา:12:43:33 น.  

 
นกยางสวยดีครับ เข้ามาชมภาพพร้อมกับได้ความรู้เกี่ยวกับนกยางกลับไปด้วยครับ


โดย: nongmalakor วันที่: 1 กรกฎาคม 2551 เวลา:13:12:47 น.  

 


ก๊อก ก๊อก ก๊อก

เจ้าของบ้านหายไปไหนหนอ

นกยางเหงา



โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 1 กรกฎาคม 2551 เวลา:17:10:22 น.  

 
สวัสดีครับ มาตามคำแนะนำในลายเซ็นต์ของคุณ wildbirds
จาก Siamreefclub ครับ


โดย: TEERAPONG IP: 58.8.88.156 วันที่: 10 กรกฎาคม 2551 เวลา:17:49:15 น.  

 
แวะมาเยี่ยมชมและทักทายครับ


โดย: YT (โยธิน) IP: 124.122.227.177 วันที่: 5 สิงหาคม 2551 เวลา:21:39:29 น.  

 
มาแวะเยี่ยมค่ะ สวยมาก เคยไปนั่งชิงช้าเหล็กก่อนทางเดินไปเกาะ(ซ้ายมือ) ป่านฉะนี้ยังอยู่ไหมหนอ?


โดย: นีลา IP: 202.91.19.206 วันที่: 16 สิงหาคม 2551 เวลา:13:31:52 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wildbirds
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




ชอบความเป็นธรรมชาติและมีชีวิตง่ายๆ..ไม่ชอบความวุ่นวายในสังคม


สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2539 ห้ามผู้ใดนำรูปภาพและข้อความของที่นี่ไปใช้ในทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นการลอกเลียน แก้ไขดัดแปลงข้อความ รูปภาพ หากผู้ใดละเมิดโดยไม่ได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดีตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด
New Comments
Friends' blogs
[Add wildbirds's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.