|
การบริการสาธารณูปโภคกับการขูดรีดช่วงน้ำท่วม
ไชยวัฒน์ ตระการรัตน์สันติ เมล์ chaiwattr@yahoo.com
หลังจากน้ำท่วมบ้าน ผมได้ไปจ่ายค่าน้ำประปาเดือนที่ก่อน แล้วถามเจ้าหน้าที่การประปานครหลวง ว่าบ้านน้ำท่วมใช้น้ำไม่ได้ต้องจ่ายค่าบริการ พวกเขาบอกว่าต้องจ่าย ทำให้เกิดความสงสัยว่า ในเมื่อส่งมอบบริการให้ไม่ได้ แล้วทำไมผมต้องจ่าย ในเมื่อหมู่บ้านมีการตัดน้ำและไฟฟ้าไปแล้ว
ผมคิดว่า การสนทนากับเจ้าหน้าที่เป็นเรื่องไร้ประโยชน์ จึงกลับบ้าน แล้วถามผ่านเว็บบอร์ดรับเรื่องราวร้องทุกข์ในวันที่ 20 ตุลาคม และโพสต์ข้อความว่า
“ผมได้สอบถามเจ้าหน้าที่ กปน. ว่าบ้านผมถูกน้ำท่วม ไม่สามารถใช้น้ำประปาได้ ต้องเสียค่าบริการหรือไม่ ถ้าต้องเสีย โปรดส่งมอบน้ำประปาไปที่บ้านเลขที่ 119/157 หมู่ 9 ต.บางรักพัฒนา อ.บางบัวทอง นนทบุรี มิฉะนั้นถือว่าการบริการไม่ครบถ้วน ผมไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าบริการแม้แต่น้อย”
ผมเสียเวลาเฝ้าติดตามมาหลายวัน ทั้งไม่มีอีเมล์ตอบกลับและการโพสต์ขึ้นเว็บบอร์ด เนื่องจากการโพสต์บนเว็บบอร์ด กปน. ต้องให้แอดมินพิจารณา ผมเข้าใจว่า เจ้าหน้าที่ กปน. คงจะน้ำท่วมหมดแล้วจึงไม่สามารถตอบได้
บนเว็บไซต์ของ กปน. ก็แสดงความห่วงใยกับผู้ประภัยอย่างสูง มีข่าวการส่งน้ำดื่มมากถึง 50,000 ขวด มูลค่าน่าจะประมาณ 100,000 บาท ไปให้ผู้ประสบภัยภาคเหนือที่อยู่นอกเขตบริการ แต่ยังไม่มีข่าวสารใดมาถึงผู้อยู่ในพื้นที่บริการ
ต่อมาผมติดต่อไปที่ TRUE เพื่อขอพักการใช้อินเตอร์เน็ตชั่วคราวประมาณ 2 เดือน เขาบอกว่า ต้องเสียบริการเดือนละ 300 บาท ครึ่งหนึ่งของค่ารายเดือน ผมจึงตัดสินใจอย่างไม่ลังเลว่ายกเลิกการใช้บริการถาวร เพราะมีทางออกหลังน้ำลดคือไปใช้บริการอินเตอร์เน็ตของ 3BB แทน
ส่วนการไฟฟ้านครหลวง น่าจะเป็นเหมือนกับ กปน. ความจริง ผมเข้าใจถึงปัญหานี้สำหรับพื้นที่ประสบภัยดี เพียงแต่ครั้งนี้ผมขอร้องเรียนในฐานะผู้เดือดร้อน ซึ่งผมคิดว่าในเมื่อการส่งมอบบริการไปไม่ถึง ก็ไม่ควรเก็บบริการ โดยเฉพาะขณะนี้ ได้ตัดน้ำและไฟฟ้าที่หมู่บ้านของผมไปแล้ว
ในประสบการณ์ครั้งนี้ กับบริการที่มีการแข่งขันบ้างคือ อินเตอร์เน็ต ผมมีทางเลือกระหว่าง TRUE กับ 3BB ดังนั้น ไม่ลังเลใจที่ยกเลิกบริการ TRUE และไปใช้ 3BB แทนภายหลังน้ำลด ซึ่งอาจจะนานถึง 3 เดือน ประหยัดเงินเกือบสองพันบาท
บริการผูกขาดของรัฐวิสาหกิจ เราไม่มีทางเลือกใดที่จะเปลี่ยน ผมไม่ขอความเห็นใจจากพวกเขา แต่พวกเขาไม่ควรเก็บค่าบริการ ถ้าพวกเขายังต้องการเก็บที่เป็นการซ้ำเติมความทุกข์ยากของประชาชนแล้ว ผมขอเสนอทางออกของการให้บริการไฟฟ้าและน้ำประปาให้มีการแข่งขันมากขึ้น
การไฟฟ้าผลิต เป็นผู้จัดส่งไฟฟ้า ด้วยการเป็นเจ้าของระบบสายส่ง เพราะพื้นที่ระบบสายส่งมาจากการเวรคืนในราคาถูกและมีการผูกขาด และรับผิดชอบการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนในประเทศ เพราะพื้นที่สร้างเขื่อนเป็นพื้นที่สาธารณะและบางส่วนมาจากการเวรคืนจากชาวบ้านในราคาถูก โรงงานผลิตไฟฟ้าต่างๆ ประมูลให้เอกชนทำ
การไฟฟ้านครหลวงและภูมิภาครับผิดชอบสถานีจ่ายไฟฟ้าในพื้นที่และระบบส่งย่อย แต่จะยุบเป็นองค์กรเดียวกับผู้รับผิดชอบระบบสายส่งกลางก็ย่อมทำได้ การประปานครหลวงและการประปาภูมิภาค เป็นผู้จัดส่งน้ำ ด้วยการเป็นเจ้าของระบบท่อ การผลิตน้ำเป็นของเอกชนทั้งหมด
การให้เอกชนผลิตต้องไม่มีการผูกขาดในระดับพื้นที่ ทุกคนมีสิทธิเลือกบริการของใครก็ได้ แน่นอนพวกเขาสามารถจัดระบบพูลที่ขายผ่านระบบจัดส่งกลาง มีการวัดปริมาณส่งเข้าและออก และบริหารค่าบริการ สิ่งเหล่าควรจัดการได้
ด้วยกฎหมายผูกขาดในปัจจุบัน การประปานครหลวงและภูมิภาคเท่านั้นที่จะเป็นผู้วางท่อ การไฟฟ้านครหลวงและภูมิภาคเท่านั้นเป็นผู้ปักเสาและวางสาย หมู่บ้านบางแห่งใน อ.บางกรวย อยู่ห่างจากโรงงานผลิตน้ำคลองมหาสวัสดิ์ ประมาณ 3 กิโลเมตร ไม่สามารถใช้น้ำประปาได้ เพราะ กปน. แจ้งว่า จำนวนประชากร 100 หลังคาเรือนไม่คุ้มค่าการวางท่อ เมื่อ อบต.จะวางก็ทำไม่ได้ เนื่องจาก กปน. อ้างกฎหมายผูกขาดที่ให้ กปน. เป็นผู้วางเท่านั้น ในที่สุด อบต.ต้องจ่ายค่าก่อสร้างให้กับ กปน. ซึ่งราคาประเมินของ อบต. เป็นเพียง 2/3 ของ กปน. ขอยกตัวเลข เช่น อบต. ใช้งบเมตรละ 1,000 บาท แต่ กปน. จะใช้งบ 1,500 บาท และทรัพย์สินต้องโอนให้ กปน.
เมื่อมีการปรับโครงสร้างการให้บริการสาธารณูปโภคใหม่จะทำให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น ย่อมสามารถจัดการตัวเองในยามวิกฤติได้ โดยไม่ต้องวิงวอนร้องขอ
Create Date : 25 ตุลาคม 2554 |
Last Update : 25 ตุลาคม 2554 8:48:52 น. |
|
2 comments
|
Counter : 549 Pageviews. |
|
|
|
โดย: ไก่ IP: 183.89.198.189 วันที่: 29 ตุลาคม 2554 เวลา:19:07:05 น. |
|
|
|
โดย: ไก่ IP: 183.89.198.189 วันที่: 29 ตุลาคม 2554 เวลา:19:07:59 น. |
|
|
|
| |
|
|
2.เห็นด้วยทุกประการกับผู้ post ข้อความเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย
3.ผมแนะนำให้ประชาชนเลือกใช้เลือกบริโภคในสิ่งที่เกิดประโยชน์กับตนเองมากที่สุดไม่จำเป็นต้องเป็นบริการของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจเพราะบริการก็ห่วยแตกแถมยังติดกับระบบศักดินาอีกพนักงานพวกนั้นจะได้รู้และสำเหนียกบ้างเมื่อเงินเดือนไม่ขึ้นโบนัสไม่มีเพราะตนเองเป็นพวกอภิสิทธิ์ชน ทุกวันนี้ถ้าเอา KPI มาวัดเหมือนเอกชนผมว่าสอบไม่ผ่านเกิน 70%
4.วิกฤติน้ำท่วมครั้งนี้มันให้บทเรียนกับหน่วยงานหลายหน่วยอันแรก EGAT,กรมชลประทาน,กรมอุตุฯ,ถ้าพวกคุณเป็นข้าฯแผ่นดินจริงก็อย่ามัวหัวไว้แค่ตัดผมอย่างเดียว
5.ประชาชนควรมีส่วนร่วมในการรักษาชุมชนตัวเองอย่าหวังพึ่งแต่ระบบราชการและนักการเมือง หลายชุมชนน่าชื่นชมและเอาแบบอย่าง แต่หลายชุมชนก็ตัวใครตัวมันแม้แต่หมู่บ้านผม
6.ท้ายนี้ขอให้ทุกท่านมีสติ,ตั้งมั่นอยู่ในความไม่ประมาท ช่วยกันฝ่าฟันอุปสรรคครั้งนี้ให้ได้ ภัยธรรมชาติแก้ไม่ได้แต่ป้องกันได้