|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 | |
|
|
|
|
|
|
|
นักข่าวพลเมือง : หลุมยุบ เตือนภัย สูบน้ำเกลือใต้ดินมากไป?
ประชาไท, 15 มกราคม 2553
“เวที ประชาคมการแก้ไขปัญหา ‘ภัยพิบัติดินถล่ม’ จากการทำนาเกลือ” เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาการสูบน้ำเกลือใต้ดินขึ้นมาทำเกลือจนทำให้เกิดปัญหาดิน ถล่มหรือหลุมยุบ
13 มกราคม 2552 ที่โรงเรียนโนนไทยคุรุอุปถัมภ์ 2 ต.สำโรง อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา เวลาประมาณ 10.00 น. ประชาชนและหน่วยงานรัฐในท้องที่จัด “เวที ประชาคมการแก้ไขปัญหา ‘ภัยพิบัติดินถล่ม’ จากการทำนาเกลือ” เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาการสูบน้ำเกลือใต้ดินขึ้นมาทำเกลือจนทำให้เกิดปัญหาดิน ถล่มหรือหลุมยุบ โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 600 คน ก่อนหน้านี้เกิดเหตุ “หลุม ยุบ” ขั้นกลางไร่มันสัมปะหลังของนางทองสุข ชอบรัก อายุ 62 ปี ในเขตบ้านหนองราง ต.ค้างพลู อ.โนนไทย เมื่อวันที่ 2 มกราคม ที่ผ่านมา หลุมมีความกว้าง 12 เมตร ยาว 15 เมตร และลึกกว่า 7 เมตร จากเหตุการณ์นี้ทำให้สื่อต่างๆ และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาตรวจสอบสาเหตุ โดยได้เริ่มตรวจสอบในวันที่ 14 มกราคม 2552 พื้นที่ในรัศมี 1 กิโลเมตรจากหลุมยุบ ว่ามีพื้นที่ใดที่จะเสี่ยงต่อการเกิดหลุมยุบในลักษณะนี้อีกหรือไม่ โดยจะแล้วเสร็จภายใน 7 วัน โดยเวทีประชาคมที่จัดขึ้นนี้ มีนายสันทนา ธรรมสโรจน์ สมาชิกพัฒนาการเมืองโครงราช เป็นผู้ดำเนินรายการ เริ่มด้วยประวัติความเป็นมาของการทำนาเกลือ (เกลือสินเธาว์) ตั้งแต่ปี 2530 โดยใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงในการต้มเกลือจึงทำให้มีฝุ่นฟุ้งกระจาย ควันฟุ้งทั่วบริเวณ และทำให้เกิดการต่อสู้ของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบมา อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี 2553 เกิดหลุมยุบกินเนื้อกว่า 180 ตารางเมตร (45 ตารางวา) ด้านอุตสาหกรรมจังหวัดโคราช นายประวุฒิ ตั้งจรูญชัย ได้กล่าวถึงมาตรการป้องกันและแก้ไขว่า “ได้ ประสานให้กรมทรัพยากรฯเข้าไปดูและสำรวจพื้นที่ทางธรณีฟิสิกส์ โดยใช้เลเซอร์ตรวจดูว่า ยังมีพื้นที่ที่เป็นโพรงใต้ดินอีกหรือไม่ และถ้าเป็นเหตุซึ่งเกิดจากโรงงานสูบน้ำเกลือจริง คงจะต้องมาพิจารณากันอีกครั้งหนึ่ง” ขณะที่ตัวแทนจากอำเภอ ปลัดคล้าย ธีระพงศ์ไพจิตร กล่าวถึงมาตรการป้องกันและแนวทางแก้ไขไว้ว่า “คง จะเป็นไปตามกฎหมายถ้าผิดจริงก็คงต้องดำเนินการ แต่ก็พิจารณากันยังหลายขั้นตอนซึ่งไม่มีเพียงทางอำเภอเท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” ดร.ณภัทร น้อยน้ำใส นักวิชาการและอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา กล่าวว่า “พื้นที่ บริเวณนี้เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำลำเชียงไกร ซึ่งมีเกลือสินเธาว์ และการนำเกลือมาใช้จนเกิดเหตุหลุมยุบนั้น อาจจะเป็นการเตือนจากธรรมชาติก็ได้ว่า คุณใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินความจำเป็นแล้ว!” “แต่ก็ใช่ว่าจะเกิดจากการกระทำของ มนุษย์เพียงอย่างเดียว ธรรมชาติก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน แต่การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาตินั้นจะเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างเช่น บึงในบริเวณใกล้เคียงนี้ สันนิษฐานว่าเกิดจากการยุบตัวของเกลือเช่นกัน นอกจากนั้น หน่วยงานรัฐยังเป็น ‘ตัว เร่ง’ ให้เกิดอีกด้วย เพราะพื้นที่ในแถบนี้เคยเกิดแผ่นดินยุบแล้วทั้งสิ้น เพียงแต่อาจจะเป็นหลุมเล็กๆ ไม่ใหญ่โต แต่หน่วยงานรัฐก็ยังอนุญาตให้เกิดโรงงานสูบน้ำเกลือในพื้นที่นี้อีก ซึ่งการแก้ปัญหานั้นสามารถแก้ได้ทั้งระยะสั้นและยาว จึงขอฝากให้ดูในเรื่องการแก้ปัญหาในระยะยาวด้วย ซึ่งมีตั้งแต่ การเสนอไปยังส่วนกลางเพื่อประกาศให้เป็นเขตควบคุมสิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั้งการศึกษา สร้างเครือข่าย ผลักดันให้เป็นวาระระดับประเทศ” ขณะที่ตัวแทนจาก อบต.ค้างพลู กล่าวถึงมาตรการป้องกันว่า ได้จัดเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยบริเวณพื้นที่หลุมยุบ และรอพิสูจน์ว่า สาเหตุเกิดจากโรงงานสูบน้ำเกลือหรือไม่ พร้อมทั้งจัดหางบเพื่อถมหลุมยุบให้กลับดั่งสภาพเดิม ส่วนผู้ใหญ่บ้านหนองราง นายบรรหาร ใจชอบ ยืนยันเคียงข้างการต่อสู้กับชาวบ้านโดยกล่าวว่า “คำ ชี้แจงของราชการฟังไม่ขึ้น ที่บอกว่าหลุมยุบเกิดจากการปะทะกันของแม่น้ำสองสายก็เป็นไปไม่ได้ เพราะที่นี้อยู่ไกลจากแม่น้ำ ลำห้วย เดิมที่นี่ไม่เคยมีเรื่องแบบนี้ มีแต่น้ำท่วม พายุ ภัยธรรมชาติทั่วๆไป หลุมแบบนี้มันเคยเกิดมา 4 ครั้งแล้วเมื่อ 3-4 ปีก่อน แต่หลุมไม่ใหญ่เท่าหลุมนี้” เช่นเดียวกับ นายเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ตัวแทนชาวบ้านและเอ็นจีโอในพื้นที่ กล่าวถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่า การทำงานของหนวยงานรัฐไม่มีระบบ ซึ่งต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า หลุมยุบนั้นเกิดจากการทำนาเกลือ เพื่อให้โรงงานหยุดกิจการก่อนชั่วคราว แล้วพิสูจน์ตรวจสอบว่าเหตุนั้นเกิดจากอะไร ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับโรงงานจริงๆ ก็สามารถเปิดทำกิจการได้ใหม่ตามปกติ และได้กล่าวถึงการรณรงค์ต่อสู้ของชาวบ้านว่า “ชาวบ้านต้องพึ่งตัวเอง เพราะว่าบุคคลที่พวกเราเลือกเข้ามานั้นไม่ว่าจะเป็น สส. สจ. หรือ อบต. ไม่สามารถช่วยเหลือพวกเราได้ สมควรรวมตัวเพื่อให้เกิดพลังในการผลักดันการทำงานของหน่วยงานรัฐ ไม่ว่าจะเข้าพบผู้ว่าฯ หรืออุตสาหกรรมจังหวัด และต่อด้วยเข้าพบนายกรัฐมนตรี โดยต้องมีจุดมุ่งหวังให้สูงที่สุด คือหยุดยั้งการทำนาเกลือทั้งจังหวัด (รายย่อย)เพราะแม้จะไม่มีนาเกลือก็ไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย เนื่องด้วยไทยผลิตเกลือเพื่อบริโภคในประเทศเท่านั้น ไทยใช้เกลือประมาณ 2 ล้านตันต่อปี บริษัทเกลือพิมายสามารถผลิตได้ประมาณ 1.7 ล้านตัน ที่เหลือก็เป็นรายย่อยอีกกว่า 3 แสนตัน การทำนาเกลือในพื้นที่ปิดนี้ ส่งผลต่อระบบนิเวศอย่างมาก มีการจัดการแย่ เมื่อสูบน้ำขึ้นมาก็ไม่เจาะรูให้น้ำกลับลงไป จึงทำให้น้ำเกลือ (น้ำขม) ไหลปะปนไปกับแหล่งน้ำ ทำให้กุ้ง หอย ปู ปลาตาย ทั้งยังส่งผลต่อการทำนาเกลือในพื้นที่ชายฝั่งอีกด้วย” หลังจากมีการแลกเปลี่ยนจากหลายๆ ฝ่าย นายสันทนา ธรรมสโรจน์ ผู้ดำเนินรายการได้สรุปแนวทางในการขับเคลื่อนต่อไปของเครือข่ายว่า 1. หยุดกิจการสูบน้ำเกลือทุกประเภท 2.ประชาชนด้วยกันต้องพึ่งตัวเอง และมีอาสาสมัครเฝ้าระวังการลักลอบสูบเจาะน้ำเกลือ 3.ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสียไปให้เหมือนเดิม 4.กำหนดทิศทางของเครือข่ายร่วมกัน 5. ต้องร่วมมือร่วมใจกันระหว่างประชาชน ตั้งคณะทำงานพร้อมทั้งส่งตัวแทนแต่ละพื้นที่มาร่วมหารือประเด็นปัญหาต่อไป “ผู้นำชาวบ้านในพื้นที่เหล่านี้ล้วน แล้วแต่ถูกข่มขู่ ไม่ว่าจะทั้งทางวาจาหรือการกระทำ แต่พวกเขาไม่เคยกลัวและพร้อมยืนหยัดต่อสู่เพื่อบ้านเกิดภูมิลำเนา เพื่อลูกเพื่อหลานต่อไป” ผู้ดำเนินรายการกล่าวสรุป
ที่มา ประชาไท
Create Date : 16 มกราคม 2553 |
Last Update : 16 มกราคม 2553 17:43:33 น. |
|
0 comments
|
Counter : 642 Pageviews. |
|
|
|
| |
|
|