|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | |
|
|
|
|
|
|
|
อุ้มผางวิทยาคม กับคำสั่งลดขนาดโรงเรียน: การกำจัดตัวอย่างไม่ดีของระบบอำนาจนิยม
ประชา แม่จัน
แนวโน้มการจัดการโรงเรียนในปัจจุบันคือ การปิดโรงเรียนขนาดเล็ก ที่มีข่าวปรากฎขึ้นเป็นประจำ แต่ว่ากลับมีความพยายามลดขนาดโรงเรียนลง โรงเรียนแห่งนี้คือโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม ซึ่งอาจารย์สมประสงค์ มั่งอะนะ ผู้อำนวย การสถานศึกษาแห่งนี้ เคยได้รับโหวตเป็นอันดับที่ 1 ของรางวัล “ดีแทคค้นคนดี” จากผู้ชมรายการ “ฅนค้นฅน” ในปี 2550
ผลสำเร็จของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม
อาจารย์สมประสงค์ รับตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาแห่งนี้ในปีการศึกษา 2545 ได้พัฒนาโรงเรียนให้สามารถรับนักเรียนในพื้นที่มากขึ้น จากประมาณ 400 คน เมื่อรับตำแหน่งมาถึงเกือบ 1,300 คนในปีการศึกษา 2553
ปีการศึกษา 2547 จำนวน 567 คน ปีการศึกษา 2548 จำนวน 624 คน ปีการศึกษา 2549 จำนวน 724 คน ปีการศึกษา 2550 จำนวน 825 คน ปีการศึกษา 2551 จำนวน 1,028 คน ปีการศึกษา 2552 จำนวน 1,271 คน ปีการศึกษา 2553 จำนวน 1,297 คน
จำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นคือ นักเรียนชาวกะเหรี่ยง ซึ่งส่วนใหญ่มีฐานะยากจน แต่สามารถเข้ามาเรียนได้ภายใต้โครงการสนับสนุนพิเศษของโรงเรียน ชาวม้งได้ส่งลูกมาเรียนมาเรียนมากขึ้นในช่วงหลัง
การเติบโตนี้มาจากการแสวงหาช่องทางในการรองรับนักเรียนเหล่านี้ ตั้งแต่การตระเตรียมที่พัก อาหารสามมื้อ ค่าใช้จ่ายในการศึกษา ทางโรงเรียนและอาจารย์สมประสงค์ ได้ที่พักในโรงเรียน หาการสนับสนุนด้านข้าวสารและอาหารจากศูนย์อพยพใกล้เคียงและองค์การกุศล และค่าใช้จ่ายทางการศึกษาและชีวิตประจำวันมาจากโครงการพ่อแม่อุปถัมภ์
การระดมทรัพยากรเพื่อเด็กด้อยโอกาส
โรงเรียนทำให้การศึกษาเป็นการบริการความรู้อย่างทั่วถึงด้วยระดมทรัพยากรของสังคมเพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าสู่ระบบการศึกษา นอกเหนือไปจากการใช้งบประมาณของรัฐบาล
ในช่วงห้าปีแรก (2545 – 2549) ซึ่งจำนวนนักเรียนบ้านไกลไม่เกินสองร้อยคน อาจารย์สมประสงค์ สามารถติดต่อขอการสนับสนุนด้านอาหารจากศูนย์ผู้อพยพนุโพ และอุ้มเปี่ยม และองค์กรพัฒนาเอกชนต่างประเทศในบริเวณนี้
ปี 2550 โรงเรียนมีนักเรียนบ้านไกลเพิ่มขึ้น และอาหารมีราคาแพงทำให้การสนับสนุนจากศูนย์ผู้อพยพลดลง ทางโรงเรียนและอาจารย์สมประสงค์ จึงต้องไปขอการสนับสนุนจากองค์กรการกุศลในอำเภอแม่สอด และเอกชนรายอื่นๆ เพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน
โครงการพ่อแม่อุปถัมภ์ เป็นโครงการที่ให้บุคคลธรรมดาให้ทุนการศึกษาปีละประมาณ 4,000 บาทให้กับนักเรียน ซึ่งโครงการนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนบ้านไกลมีโอกาสได้รับการศึกษา ปัจุจบันโรงเรียนได้รับทุนการศึกษาประมาณ 1,000 ทุน จากประมาณ 200 ทุน ในปี 2548
ในด้านที่พักทางโรงเรียนสามารถจัดเตรียมสถานที่ให้เป็นหอพักแต่ค่อนข้างแออัดเพราะความจำกัดของงบประมาณ แต่ยังได้รับงบประมาณสร้างหอพักนักเรียนเพิ่มเติมทันกับการขยายจำนวนนักเรียนบ้านไกล
ในด้านการจัดการศึกษาและการดูแลระเบียบของโรงเรียนได้สร้างความเชื่อถือให้กับผู้ปกครองทั้งชาวกะเหรี่ยงและม้งให้ลูกมาเรียนบ้างมากขึ้น รวมทั้งผู้ปกครองมีภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาน้อยมาก
เมื่ออาจารย์สมประสงค์ ได้รับโหวตเป็นอันดับที่ 1 ของรางวัล “ดีแทคค้นคนดี” ในปี 2550 ทำให้การสนับสนุนจากภาคเอกชนเป็นไปด้วยดีทันกับการขยายตัวของโรงเรียน ครูในโรงเรียนบอกว่าการสนับสนุนจากภายนอกคิดเป็นร้อยละ 85 ของค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของโรงเรียน
ผลกระทบกับโรงเรียนรอบข้าง
การดึงดูดของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคมจากมาตรการช่วยเหลือค่าใช้จ่ายทางการศึกษา จัดหาที่พัก และอาหารเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบกับโรงเรียนขยายโอกาสหลายแห่งในอำเภอนี้ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของบางโรงเรียนมีนักเรียนชั้นละ 4 – 5 คน
นอกจากนี้ยังส่งผลต่อโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ จังหวัดตากมีนักเรียนลดน้อยลงเช่นกัน เพราะไม่มีนักเรียนจากอำเภออุ้มผางไปศึกษาต่อ รวมทั้ง ครูของ กศน. ในหมู่บ้านห่างไกลหันมาส่งนักเรียนเข้าเรียนที่นี่เช่นกัน แทนการส่งไปเรียนต่อในโรงเรียนขยายของ กศน.
เมื่อเรื่องนี้ได้มีรายงานไปสู่ข้าราชการระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จึงมีการพิจารณาหาทางแก้ไข โดยจัดให้มีการประชุมเมื่อกลางเดือนมกราคม ที่ผ่านมา ครูในโรงเรียนเล่าว่า ข้าราชการระดับสูงที่มาประชุมได้เสนอทางออกด้วยการลดขนาดของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม เริ่มจากไม่เกิน 1,200 คนในปีการศึกษา 2554
ในขณะที่ไม่มีหาทางออกอื่นๆ ให้กับโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบในการปรับปรุงตัวเพื่อดึงดูดนักเรียนในพื้นที่ใกล้เคียงให้เข้ามาศึกษา โดยไม่สนใจประสบการณ์การทำงานหนักของคณะครูและผู้อำนวยการสถานศึกษาของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคมที่สามารถสร้างความเชื่อถือให้ผู้ปกครองและผ่อนคลายภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษา
อีกตัวอย่างของวัฒนธรรมอำนาจนิยม
มาตรการที่ สพฐ. สั่งการให้โรงเรียนแห่งนี้ดำเนินการได้บอกถึงวัฒนธรรมอำนาจนิยมของระบบราชการไทยอย่างเต็มที่ การแก้ไขปัญหานักเรียนลดลงในโรงเรียนขยายโอกาส ด้วยการให้โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคมลดการรับนักเรียน
ทั้งที่ สพฐ. ควรจะทบทวนการเพิ่มขึ้นของนักเรียนมาจากสาเหตุอะไร เช่น ผู้ปกครองที่ยากจนชาวกะเหรี่ยงส่งลูกมาเรียนมากขึ้นเพราะโรงเรียนสามารถลดภาระค่าใช้จ่าย ผู้ปกครองให้ความเชื่อถือเพราะบุตรหลานที่มาเรียนมีความรู้และความประพฤติดี
สพฐ. ควรนำความสำเร็จเหล่านี้เป็นบทเรียนให้กับโรงเรียนอื่นๆ ในการพัฒนาตัวเองให้สามารถแข่งขันกับโรงเรียนต้นแบบได้ เพิ่มประสิทธิภาพในการศึกษามากขึ้น แต่ สพฐ. ใช้วิธีที่ง่ายเหลือเกิน จนเข้าใจว่างบประมาณปีละหลายแสนล้านบาทของกระทรวงศึกษาธิการเป็นการใช้จ่ายที่สูญเปล่า เรื่องนี้เหมือนกับแก้ไขปัญหาของระบบราชการในทุกกระทรวง พวกเขาไม่มีความพยายามเข้าใจปัญหาและพัฒนาไปข้างหน้า หากใช้อำนาจเข้าไปจัดการอย่างง่ายๆ จนทำให้ประเทศพบกับปัญหามากขึ้น
ทางออกของ “นาย” กับ “บ่าว”
ความห่างไกลระหว่างบ้านกับอำเภอที่เป็นที่ตั้งของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม นักเรียนบางคนต้องเดินเท้า 2 วัน เพื่อนั่งรถโดยสารอีก 60 กิโลเมตรใช้เวลา 2 วันเพื่อไปถึงตัวอำเภออุ้มผาง บางหมู่บ้านที่เป็นโรงเรียนขยายโอกาส มีนักเรียนในหมู่บ้านเข้ามาเรียนถึงอำเภอแทนที่โรงเรียนแห่งนั้น ด้วยระยะทางห่างจากอำเภอประมาณ 70 กิโลเมตร
ผู้อำนวยการสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสอื่นๆ รับรู้ปัญหา แต่เลือกจะไม่พยายามปรับปรุงตัวให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อดึงดูดนักเรียนให้มาเรียนแทนที่จะต้องเดินทางไกลไปเรียนที่โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม กลับใช้การรายงานไปให้ “นาย” ที่แสนดีทราบ
แน่นอน “นาย” ที่แสนดี ตอบรับ “บ่าว” ผู้จงรักภักดี อาจจะรวมถึงความมีชื่อเสียงของ อาจารย์สมประสงค์ ที่อาจจะเกินหน้าเกินผู้บริหารระดับต่างๆ การบ่อนเซาะจึงวิธีการนำมาใช้ โดย “นาย” เหล่านั้นไม่สนใจให้มีการพัฒนาโรงเรียน
เนื่องจากการพัฒนาอย่างสร้างสรรของโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม สร้างปัญหาให้กับระบบมากเกินไป ทุกคนต้องทุ่มเวลาให้กับการทำงาน และการวัดผลการทำงานสามารถทำได้ ทำให้เวลาที่ “บ่าว” จะไปเสนอหน้ากับ “นาย” น้อยลง “นาย” อาจจะไม่มีโอกาสแสดงอำนาจ ให้คุณให้โทษกับผู้ใต้บังคับบัญชา เหมือนกับการทำงานที่ไม่สามารถวัดผลได้เหมือนปัจจุบันที่ทำให้สามารถใช้อำนาจได้เต็มที่ อุปถัมภ์ผู้จงรักภักดีของตัวเองได้
คำตอบจึงเป็น “ลดขนาดโรงเรียน” ที่แสนง่ายดาย
อุ้มผางวิทยาคม ตัวอย่างไม่ดีของระบบอำนาจนิยม
อาจารย์สมประสงค์ และคณะครูโรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม พยายามพัฒนาโรงเรียนเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ยากไร้ทั้งหลายสามารถเข้าสู่ระบบการศึกษาโดยไม่ได้ใช้ทรัพยากรของรัฐเพิ่มเติม แต่ระดมทรัพยากรจากภาคส่วนอื่นของสังคม พร้อมกับความวิริยะอุตสาหะของบุคลากรในโรงเรียน จึงทำให้โรงเรียนประสบความสำเร็จในการสร้างความเชื่อถือจากผู้ปกครองนักเรียนให้ส่งบุตรหลานเรียนต่อมากขึ้น ตัวอย่างนี้เป็นการทำให้การศึกษาเป็นการบริการที่ให้เข้าถึงทุกคน แทนการอยู่นิ่งและรอให้ผู้เรียนเดินเข้ามาหา
ความมานะบากบั่นนี้ได้นำมาสู่ชื่อเสียงของโรงเรียนจากเรื่องราวที่ได้รับการถ่ายทอดออกไปสู่สังคม แทนที่กระทรวงการศึกษาจะใช้เป็นตัวอย่างเพื่อนำไปพัฒนาโรงเรียนแห่งอื่นๆ แต่ผู้บริหารเหล่านี้เลือกใช้บ่อนเซาะตัวอย่างที่ดี
ตัวอย่างที่ดีนี้อาจจะนำมาสู่การทำลายระบบอำนาจนิยมแบบดั่งเดิม ที่ข้าราชการทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา รักษาตัวเองภายใต้กฎระเบียบให้ปลอดภัย ไม่ต้องคิดค้นเพราะอาจจะสร้างภาระให้กับระบบ เนื่องจากอาจจะทำให้ทุกคนต้องทุ่มเทกับการพัฒนาอย่างสร้างสรร
เมื่อเป็นเช่นนี้ การคุมกำเนิด โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม จึงเป็นการกำจัดตัวอย่างไม่ดีของระบบนี้
Create Date : 18 กุมภาพันธ์ 2554 |
Last Update : 18 กุมภาพันธ์ 2554 20:06:42 น. |
|
6 comments
|
Counter : 1816 Pageviews. |
|
|
|
โดย: มงคล แปดริ้ว IP: 182.52.173.124 วันที่: 31 สิงหาคม 2554 เวลา:21:35:56 น. |
|
|
|
โดย: แม่ปู IP: 124.121.77.6 วันที่: 8 พฤษภาคม 2555 เวลา:15:52:27 น. |
|
|
|
โดย: ออมแอม คาริคาริ IP: 182.53.27.205 วันที่: 10 สิงหาคม 2556 เวลา:14:53:01 น. |
|
|
|
โดย: เด็กแม่กลองใหม่ IP: 182.53.27.205 วันที่: 10 สิงหาคม 2556 เวลา:15:00:48 น. |
|
|
|
โดย: ออออออ IP: 182.53.14.53 วันที่: 12 สิงหาคม 2556 เวลา:12:19:37 น. |
|
|
|
โดย: วาวาวาวาวาวาวาวา IP: 182.53.14.53 วันที่: 12 สิงหาคม 2556 เวลา:12:21:05 น. |
|
|
|
| |
|
|
ผมไปอุ้มผางทุกปีๆละ 2 ครั้ง..พวกนักวิชาการไปกี่ปีครั้ง