น้ำมันไทยโชติช่วงชัชวาล (1)
ไชยวัฒน์ตระการรัตน์สันติ, 24 พฤษภาคม 2555 อ่านฉบับเต็มที่ ประชาไท
ราคาน้ำมันในประเทศได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้ส่งผลให้ราคาสินค้าสูงตามไปด้วย ทั้งจากการเก็งกำไร และต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จึงสร้างความกังวลให้ประชาชนโดยทั่วไป มีการเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาสินค้าราคาแพง ตลอดจนถึงการเรียกร้องให้ลดราคาน้ำมันลงมา
การโต้แย้งในประเด็นนี้มีการอ้างถึงข้อมูลของ มล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี อนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน วุฒิสภา และ ผศ.ประสาท มีแต้ม นักวิชาการด้านพลังงาน ร่วมเปิดโปงขบวนการปล้นน้ำมันและพลังงานชาติ ในรายการ “คนเคาะข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV เมื่อวันที่ 4 เมษายน [1] อาทิ
- หน่วยงานพลังสหรัฐ EIA(US Energy Information Administration) จัดให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 24 ของผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติของโลก - ไทยซื้อก๊าซจากพม่าแพงกว่าจากอ่าวไทย 40% - ราคาน้ำมันค้าปลีกของไทยแพงที่สุดในอาเซียน โดยอ้างข้อมูลเมื่อ 12 มีนาคม 55 ราคาเบนซิน 95 ไทยขายอยู่ที่ 44.86 บาท มาเลเซีย 19 บาท อินโดนีเซีย 31.70 บาท พม่า 24 บาท
มีคนจำนวนมากเริ่มเชื่อว่าประเทศไทยมีปริมาณน้ำมันและก๊าซจนควรจะกำหนดราคาที่เหมาะสมได้เอง ดังนั้นควรสำรวจสถานการณ์พลังงานของเราเพื่อรับทราบข้อเท็จจริง
แหล่งผลิตกาซและน้ำมันของไทย
สถิติของสำนักบริหารสารเทศพลังงานสหรัฐ (US Energy Information Administration) หรือ EIA สหรัฐ [2] บอกว่า ในปี 2008 ไทยมีความสามารถในการผลิตน้ำมันเป็นอันดับที่ 33 และผลิตน้ำมันดิบเป็นอันดับที่ 39 มีความสามารถผลิตน้ำมันได้วันละ 392,710 บาร์เรลต่อวัน โดยเป็นน้ำมันดิบ 228,830 บาร์เรลต่อวัน ส่วนที่เหลืออีก 163,880 บาร์เรลเป็นคอนเดนเสท หรือก๊าซธรรมชาติเหลว แต่ประเทศไทยยังคงเป็นผู้นำเข้าสุทธิ 540,290 บาร์เรลต่อวัน และปริมาณสำรองมี 460 ล้านบาร์เรล พอสำหรับการบริโภคในอัตราปัจจุบันนาน 1 ปีครึ่ง
ในปี 2009 ได้ 401,570 บาร์เรลต่อวัน เป็นน้ำมันดิบ 237,940 บาร์เรลต่อวัน นำเข้าสุทธิวันละ 511,900 บาร์เรลต่อวัน ข้อมูลนี้ได้แสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 สถิติการผลิตและบริโภคน้ำมันของไทยโดย EIA สหรัฐ
ปิโตรเลียม (พันบาร์เรลต่อวัน) | 2008 | 2009 | ประเทศไทย | อันดับ | ประเทศไทย | การผลิตน้ำมันทั้งหมด | 392.71 | 33 | 401.57 | การผลิตน้ำมันดิบ | 228.83 | 39 | 237.94 | การบริโภค | 933 | 21 | 913.47 F | ส่งออก/นำเข้า (-) สุทธิ | -540.29 | 16 | -511.9 | ส่งออกน้ำมันไปสหรัฐ | 14 | 39 | 23 | กำลังผลิตของโรงกลั่นน้ำมัน | 729 | 26 | 729 | ปริมาณสำรอง (พันล้านบาร์เรล) | 0.46 | 42 | 0.44 | ที่มา US Energy Information Administration [2] หมายเหตุ 1 บาร์เรลเท่ากับ 159 ลิตร F – คาดการณ์
ในเว็บไซต์นี้บอกว่า ประเทศไทยมีการผลิตก๊าซธรรมชาติเป็นอันดับที่ 24 ของโลก ผลิตได้วันละ 1,091 ล้าน ลบ.ฟุต แต่บริโภคเป็นอันดับที่ 20 วันละ 1,383 ล้าน ลบ.ฟุต และปริมาณสำรองที่สำรวจแล้วเป็นอันดับที่ 36 มีปริมาณ 12 ล้านล้าน ลบ.ฟุต จากอัตราการบริโภคในปี 2010 (พ.ศ. 2554) จะมีใช้ได้อีก 7 ปี
ตารางที่ 2 สถิติการผลิตและบริโภคก๊าซธรรมชาติของไทยโดย EIA สหรัฐ ก๊าซธรรมชาติ | 2009 | 2010 | ประเทศไทย | อันดับ
| ประเทศไทย | การผลิต (พันล้าน ลบ.ฟุต)
| 1,091
| 24
| 1,281
| การบริโภค (พันล้าน ลบ.ฟุต)
| 1,383
| 20
| 1,592
| ส่งออก/นำเข้า (-) สุทธิ (พันล้าน ลบ.ฟุต)
| -293
| 21
| -311
| ปริมาณสำรอง (ล้านล้าน ลบ.ฟุต)
| 11
| 36
| 12
| ที่มา US Energy Information Administration
ข้อมูลของ EIA สหรัฐชุดนี้มาจากรายงานด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน เมื่อติดตามข้อมูลการผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันของไทย โดยเริ่มจากการจัดหาก๊าซธรรมชาติของ ปตท. พบว่า ปตท. มีสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติอยู่ทั้งสิ้น 15 ฉบับ แบ่งเป็นสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติในประเทศจำนวน 13 ฉบับ ได้แก่ สัญญาซื้อก๊าซฯ แหล่งเอราวัณ (ยูโนแคล 1), สัญญาซื้อก๊าซฯ แหล่งยูโนแคล 2 และ 3, สัญญาซื้อก๊าซฯ แหล่งบงกช, สัญญาซื้อก๊าซฯ แหล่งไพลิน, สัญญาซื้อก๊าซฯ แหล่งทานตะวัน/เบญจมาศ, สัญญาซื้อก๊าซฯ แหล่งน้ำพอง, สัญญาซื้อก๊าซฯ แหล่งภูฮ่อม, สัญญาซื้อก๊าซฯ แหล่งเจดีเอ, สัญญาซื้อก๊าซแหล่งอาทิตย์ และสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติต่างประเทศจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่แหล่งยาดานาและเยตากุน คิดเป็นปริมาณการจัดหาก๊าซฯ เฉลี่ยในปี 2551 เท่ากับ 3,459 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (HV = 1,000 BTU/SCF) [3]
จากข้อมูลในรายงานสถิติพลังงานของประเทศไทย 2554 กระทรวงพลังงาน [4] สามารถประมวลเป็นรายงานการผลิตน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และคอนเดนเสทของปี 2553 แยกตามแหล่งผลิต ตามตารางที่ 3
ตารางที่ 3 รายงานการผลิตน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และคอนเดนเสท ประจำปี 2553 แยกตามแหล่งผลิต แหล่งผลิต | เริ่มผลิต | น้ำมัน (1) (บาร์เรล/วัน) | ก๊าซ (2) (ล้าน ลบ.ฟุต/วัน) | คอนเดนเสท (3) (บาร์เรล/วัน) | สิริกิตต์
| 1986 | 21,808 | 63
| - | เอราวัณ
| 1986 |
| 256
| 11,180
| สตูล
| 1986 |
| 82
|
| บรรณพต | 1987 |
|
| 3,789
| น้ำพอง
| 1991 |
| 18
| 2,730
| ฟูนาน & จักรวาล
| 1992 |
| 199
| 6,733
| บงกช
| 1993 |
| 596
| 19,568
| โกมิน
| 1995 |
| 85
| 2,519
| ทานตะวัน
| 1997 | 3,860
|
|
| เบญจมาศ
| 1999 | 26,665
| 76
|
| ไพลิน
| 1999 |
| 430
| 22,435
| ตราด
| 1999 |
|
| 1,567
| โครงการบิ๊กออยด์
| 2001 | 36,998
|
|
| ยะลา
| 2002 |
| 95
|
| จัสมิน
| 2005 | 13,868
|
|
| ภูฮ่อม
| 2006 |
| 87
| 428
| นาสนุ่น
| 2007 | 6,689
|
|
| อาทิตย์
| 2008 |
| 501
| 17,508
| JDA
| 2008 |
| 649
|
| บัวหลวง
| 2008 | 8,327
|
|
| สงขลา
| 2008 | 7,926
|
|
| บานเย็น
| 2008 | 3,891
|
|
| ชบา
| 2009 | 3,739
|
|
| อื่นๆ | - | 19,403
| 374
| 170
| รวม |
| 153,174
| 3,511
| 88,627
| ที่มา รายงานสถิติพลังงานของประเทศไทย 2554 กระทรวงพลังงาน หมายเหตุ (1) Table 2.1.1-1Y: Production of Crude Oil, รวบรวมโดยสำนักงาน นโยบายพลังงานและแผน (2) Table 3.1-1Y: Production and Import of Natural Gas, รวบรวมโดยสำนักงาน นโยบายพลังงานและแผน (3) Table 2.1.1-2Y: Production of Condensate, รวบรวมโดยสำนักงาน นโยบายพลังงานและแผน
แหล่งผลิตส่วนใหญ่อยู่ในอ่าวไทย แหล่งผลิตบนบกมีที่แหล่งน้ำพอง ภูฮ่อม จังหวัดขอนแก่น แหล่งนาสนุ่น เพชรบูรณ์
ตามรายงานของ EIA สหรัฐถึงแม้ว่าประเทศจะมีการผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันในปริมาณมาก แต่ประเทศไทยยังคงเป็นผู้นำเข้าพลังงาน และปริมาณสำรองทั้งน้ำมันและก๊าซมีไม่มากนัก ก๊าซธรรมชาติมีปริมาณสำรองที่สำรวจแล้วพอใช้ในปริมาณปัจจุบันไปอีก 8 ปี และน้ำมันดิบมีปริมาณสำรองที่สำรวจแล้วพอใช้ได้ 2 ปี
ภาพที่ 1 แปลงสำรวจและผลิตก๊าซและน้ำมันบนฝั่ง (ที่มา กรมเชื้อเพลิงพลังงาน กระทรวงพลังงาน)
ภาพที่ 2 แปลงสำรวจและผลิตก๊าซและน้ำมันในอ่าวไทย (ที่มา กรมเชื้อเพลิงพลังงาน กระทรวงพลังงาน)
การผลิตน้ำมันดิบของไทย
ในรายงานสถิติพลังงานของประเทศไทยประจำปี 2554 ได้สรุปการผลิต นำเข้าและส่งออก ในตารางที่ 4 แสดงว่าถึงแม้ประเทศไทยจะมีการผลิตน้ำมันติดอันดับที่ 24 ของโลก แต่ประเทศไทยยังคงเป็นผู้นำเข้าน้ำมันสุทธิ
ตารางที่ 4 รายงานการผลิต นำเข้า และส่งออกน้ำมันดิบของไทย ระหว่างปี 2006 - 2010 ปี
| ผลิต
| นำเข้า
| ส่งออก | 2006 | 204,199 | 829,300 | 65,441 | 2007 | 213,408 | 804,242 | 52,045 | 2008 | 228,828 | 811,560
| 45,863 | 2009 | 237,941 | 803,361 | 41,066 | 2010 | 241,801 | 816,201 | 29,956 | ที่มา รายงานสถิติพลังงานของประเทศไทย 2554 กระทรวงพลังงาน, Table 2.4-1Y Demand and Supply of Crude Oil and Oil Products, รวบรวมโดย กรมธุรกิจพลังงาน หน่วย: บาร์เรลต่อวัน
จากตารางนี้ไทยยังคงเข้าผู้น้ำมันดิบประมาณวันละ 8 แสนบาร์เรล ปริมาณน้ำเข้าเพื่อกลั่นใช้ประเทศ และส่งออก โดยประเทศไทยส่งออกในรูปน้ำมันสำเร็จวันละ 2 แสนบาร์เรล ตามตารางที่ 3 ดังนั้นไทยจึงยังคงเป็นนำเข้าน้ำมันสุทธิประมาณ 5 แสนบาร์เรลต่อวันตามรายงานของ US EIA
ในด้านการส่งออกตามตารางที่ 5 รายงานของกระทรวงพลังงานสรุปไทยส่งในรูปน้ำมันสำเร็จรูป ได้แก่ น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และน้ำมันเตา วันละ206,049 บาร์เรล ต่อวัน ในปี ค.ศ. 2010 ตารางที่ 5 รายงานการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จ ระหว่างปี 2008 - 2010 ปี | น้ำมันเบนซิน | น้ำมันดีเซล | น้ำมันเตา | อื่นๆ | การส่งออกรวม | 2008 | 25,406.2 | 65,411.2
| 62,283.5
| 25,685.4
| 178,786.3
| 2009 | 23,282.2
| 82,653.6
| 66,825.9
| 28,536.4
| 201,298.1
| 2010 | 23,121.9
| 94,867.6
| 55,728.4 | 32,331.8
| 206,049.7
| ที่มา รายงานสถิติพลังงานของประเทศไทย 2554 กระทรวงพลังงาน, Table 2.3.4-2Y Export of Petroleum Products, รวบรวมโดย กรมธุรกิจพลังงาน หน่วย: บาร์เรลต่อวัน
ด้านโรงกลั่นของใช้กำลังผลิตอยู่ที่ประมาณวันละ 9 แสนบาร์เรล ประมาณ 90% ของกำลังการกลั่นวันละ 1,119,500 บาร์เรล
การผลิตน้ำมันดิบของไทยมากขึ้นเป็นประมาณวันละสองแสนบาร์เรลนั้นยังไม่เพียงพอกับการบริโภคในประเทศ การผลิตนี้เป็นการช่วยให้ประเทศไทยลดดุลการค้าเท่านั้น
แต่ไม่พบสารสนเทศในสถานการณ์พลังงานรายเดือนของกระทรวงพลังงานตามข้อมูลในการอภิปรายของ มล.กรกสิวัฒน์ ที่บอกว่า “เอกสารของกระทรวงพลังงานเอง เมื่อมกราคม 2555 ระบุว่าไทยขุดเจาะปิโตรเลียมได้แล้ววันละเกือบ 9 แสนบาร์เรล หรือประมาณ 142 ล้านลิตร”
ในการผลิตน้ำมันดิบของสำนักงานนโยบายพลังงานและแผน ที่รวบรวมมาจากกรมเชื้อเพลิงพลังงาน
ตารางที่ 6 รายงานการผลิตน้ำมันดิบ ระหว่างปี 2006 - 2010 ปี | โครงการบิ๊กออย | สิริกิตต์ | จัสมิน | เบญจมาศ | อื่นๆ | รวม
| 2006 | 38,679 | 18,775
| 8,649
| 50,004
| 12,843
| 128,950
| 2007 | 39,215
| 20,511
| 19,267
| 42,132
| 13,438
| 134,563
| 2008 | 35,559
| 20,942
| 18,292
| 44,960
| 24,182
| 143,935
| 2009 | 33,766
| 21,324
| 13,637
| 29,067
| 56,247
| 154,041
| 2010 | 36,998
| 21,808
| 13,868
| 26,665
| 53,835 | 153,174
| ที่มา รายงานสถิติพลังงานของประเทศไทย 2554 กระทรวงพลังงาน, Table 2.1.1-1Y Production of Crude Oil, รวบรวมโดย สำนักงานนโยบายพลังงานและแผน หน่วย: บาร์เรลต่อวัน
ตารางที่ 6 ในปี 2008 (พ.ศ. 2551) ผลิตน้ำมันดิบ 143,935 บาร์เรลต่อวัน ในปี 2009 (พ.ศ. 2552) ผลิตได้ 154,041 บาร์เรลต่อวัน แต่ข้อมูลตามตารางที่ 4 ของกรมธุรกิจพลังงาน ปี 2008 ผลิตน้ำมันดิบ 228,828 บาร์เรลต่อวัน และปี 2009 ผลิตได้ 237,941 บาร์เรลต่อวัน เท่ากับมีความแตกต่างมากถึง 80,000 บาร์เรลต่อวัน
รายงานของสำนักงาน นโยบายพลังงานและแผน ที่รวบรวมมาจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ในตารางที่ 6 ต่ำกว่ารายงานการผลิตน้ำมันของกรมธุรกิจพลังงาน ในตารางที่ 4 ประมาณ 40%
จึงเป็นสิ่งที่สมควรตรวจสอบเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากรายงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติควรจะเป็นรายงานจากการเก็บค่าภาคหลวง ถ้าเป็นเช่นนี้หมายความว่าหน่วยงานรัฐจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าควรจะเป็น 40%
ราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ
ในรายการ “คนเคาะข่าว” กล่าวว่า ราคาน้ำมันค้าปลีกของไทยแพงที่สุดในอาเซียน โดยอ้างข้อมูลเมื่อ 12 มีนาคม 55 ราคาเบนซิน 95 ไทยขายอยู่ที่ 44.86 บาท มาเลเซีย 19 บาท อินโดนีเซีย 31.70 บาท พม่า 24 บาท ต่อมาได้มีการชุมนุมที่หน้าสโมสรกองทัพบก เรียกร้องให้มีการกำหนดราคาน้ำมันที่ ลิตรละ 19 บาทเท่ากับมาเลเซีย
ราคาน้ำมันในประเทศไทยมีภาระภาษีสูง เช่น เบนซิน 95 มีภาระภาษีต่างๆ รวม 9.95 บาทเมื่อวันที่ 12 มีนาคม และเป็น 11.95 บาท เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม เพราะเพิ่มการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันอีก 2 บาท ตารางที่ 7 แสดงต้นทุนน้ำมันค้าปลีกของวันที่ 12 มีนาคม 2555
รายละเอียด | เบนซิน 95 | เบนซิน 91 | แก๊สโซฮอล91 | แก๊สโซฮอล95 อี 85 | โซล่า | ราคาหน้าโรงกลั่น | 26.9575 | 26.5244 | 26.4322 | 22.8541 | 27.6998 | ภาษีสรรพสามิต | 7.0000 | 7.0000 | 6.3000 | 1.0500 | 0.0050 | ภาษีเทศบาล | 0.7000 | 0.7000 | 0.6300 | 0.1050 | 0.0005 | กองทุนน้ำมัน | 2.0000 | 2.0000 | 0.6000 | -12.6000 | 0.6000 | กองทุนอนุรักษ์พลังงาน | 0.2500 | 0.2500 | 0.2500 | 0.2500 | 0.2500 | ราคาส่ง | 36.9075 | 36.4744 | 34.2122 | 11.6591 | 28.5553 | ภาษีมูลค่าเพิ่มราคาส่ง | 2.5835 | 2.5532 | 2.3949 | 0.8161 | 1.9989 | ราคาส่งรวมภาษี | 39.4910 | 39.0276 | 36.6071 | 12.4752 | 30.5542 | ค่าการตลาด | 5.0177 | 2.3200 | 1.7504 | 10.7521 | 1.6596 | ภาษีมูลค่าเพิ่ม | 0.3512 | 0.1624 | 0.1225 | 0.7526 | 0.1162 | ราคาค้าปลีก | 44.8600 | 41.5100 | 38.4800 | 23.9800 | 32.3299 | ที่มา สำนักงาน นโยบายพลังงานและแผน กระทรวงพลังงาน, Price Structure of Petroleum Products in Bangkok [5] หน่วย: บาท
ราคาน้ำมันในประเทศจะอ้างอิงราคาน้ำมันสิงคโปร์ ด้วยเหตุผลว่า ราคาสิงคโปร์เป็นราคาตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายจึงเป็นการสะท้อนกลไกตลาด
ประเทศไทยนำเข้าน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางร้อยละ 80 ดังนั้น ราคาน้ำมันดูไบสามารถใช้เทียบเคียงกับราคาน้ำมันในประเทศได้เช่นกัน โดยใช้สูตร ราคาน้ำมันดูไบ บวกค่ากลั่น ซึ่งข้อมูลจากนักวิเคราะห์หลักทรัพย์บอกว่าอยู่ที่ 6 เหรียญต่อบาร์เรล
ตารางที่ 8 ราคาน้ำมันเบนซิน วันที่ 3 พฤษภาคม 2555 น้ำมันเบนซิน 95 | ราคา (บาท/ลิตร) | ราคาน้ำมันสิงคโปร์(1) | 25.0862 | ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นไทย(2) | 26.7053 | ราคาน้ำดิบดูไบ + ค่ากลั่น (3) | 22.2014 | หมายเหตุ (1) ข้อมูลของโรงกลั่นไทยออยด์ [6] ราคาเบนซินในตลาดจรสิงคโปร์ 130.35 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยน 30.60 บาทต่อเหรียญสหรัฐ (2) ข้อมูลของสำนักงาน นโยบายพลังงานและแผน กระทรวงพลังงาน (3) ข้อมูลของโรงกลั่นไทยออยด์ ราคาน้ำมันดิบดูไบ 115.36 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ค่ากลั่น 6 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และอัตราแลกเปลี่ยน 30.60 บาทต่อเหรียญสหรัฐ
ข้อมูลตามตารางที่ 8 พบว่า ราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นไทยแพงกว่าน้ำมันสิงคโปร์ลิตรละ 1.6 บาท และแพงกว่าสูตรราคาน้ำมันดูไบ บวกค่ากลั่นลิตรละ 4.50 บาท และเข้าใจได้ว่าทำไมพม่าสามารถขายน้ำมันลิตรละ 24 บาทที่ต่ำกว่าราคาน้ำมันในสิงคโปร์ ทั้งที่พม่านำเข้าน้ำมันเพียงวันละ 16,000 บาร์เรล
สิ่งที่น่าสนใจคือ ราคาน้ำมันมาเลเซียที่ลิตรละ 19 บาท ราคานี้ควรจะเกิดจากรัฐบาลมาเลเซียไม่ได้เก็บภาษีจากน้ำมันเหมือนประเทศไทย เนื่องจากรัฐบาลมาเลเซียและเปโตรนัส มาเลเซียไม่ได้กังวลกับการแพร่กระจายของน้ำมัน ถ้ามีการอุดหนุนจากรัฐ หรือภาระกับเปโตรนัสแล้ว น่ามีการปรับราคาหรือสกัดจับ แต่พบว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์เป็นฝ่ายกระตือรือร้นต่อการสกัดกั้นการเติมน้ำมันจากมาเลเซีย จากข่าวตำรวจสิงคโปร์ต้องค่อยวัดระดับน้ำมันขาออกและขาเข้าเพื่อตรวจการลักลอบนำเข้าน้ำมัน
ในราคาขายปลีกน้ำมันมาเลเซีย ถ้าหักค่าการตลาดและภาษีมูลค่าออก 3 บาท เท่ากับราคาโรงกลั่นมาเลเซียควรอยู่ที่ 16 บาท ดังนั้น ราคาหน้าโรงกลั่นไทยแพงกว่ามาเลเซีย ไม่น้อยกว่า 10 บาท จากราคานี้สามารถประเมินได้ว่ามาเลเซียส่งออกด้วยราคา 84 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศไม่มีเหตุผลในกำหนดราคาสูงกว่าตลาดสิงคโปร์ เนื่องจากโรงกลั่นเหล่านี้ส่งออกในราคาต่ำกว่าตลาดสิงคโปร์ไปยังเพื่อนบ้าน ดังนั้น ควรจะพิจารณาใช้ราคาอ้างอิงจากต้นทุนจริง
ถ้าเป็นได้คือเพิ่มการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย ที่มีราคาต่ำกว่าน้ำมันดูไบมากขึ้น ที่ทำให้ต้นทุนราคาน้ำมันลดลง เช่น นำเข้าเป็นร้อยละ 50 จะทำให้ราคาต้นทุนอยู่ที่ประมาณลิตรละ 19 บาท ภาระของผู้บริโภคจะลดลงประมาณลิตรละ 8 บาท
สำหรับข้อเสนอให้ตรึงราคาน้ำมันขายปลีกที่ลิตรละ 19 บาทเท่ากับมาเลเซียจะเป็นข้อเสนอที่ไม่คำนึงถึงภาษีสรรพสามิตและกองทุนน้ำมันที่นำมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่น จึงเป็นข้อเสนอที่ไม่สอดคล้องสภาวะการคลังของประเทศ อ่านต่อ น้ำมันไทยโชติช่วงชัชวาล (2)
อ้างอิง
[1] ASTV ผู้จัดการออนไลน์, ผู้เชี่ยวชาญชำแหละโจรปล้นพลังงาน ชี้ชัดไทยส่งออกรายใหญ่แต่คนในชาติกลับจ่ายแพงสุด, 5 เมษายน 2555 (//www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000042947) [2] US Energy Information Administration, Country Analysis Brief / Thailand (//205.254.135.7/countries/country-data.cfm?fips=TH&trk=p1#pet) [3] ปตท., การจัดหาก๊าซ (//www.pttplc.com/th/about-ptt-business-operations-gas-unit-natural-gas-procurement.aspx) [4] กระทรวงพลังงาน, Energy Statistics of THAILAND 2011 (รายงานสถิติพลังงานของประเทศไทย 2554), (//www.eppo.go.th/info/cd-2011/index.html) [5] สำนักงานนโยบายพลังงานและแผน กระทรวงพลังงาน, Price Structure of Petroleum Products in Bangkok (//www.eppo.go.th/petro/price/index.html) [6] iwebgas.com, รายงานสถานการณ์ราคาน้ำมัน (//www.iwebgas.com/oil/oil.html)
Create Date : 04 มิถุนายน 2555 |
Last Update : 6 มิถุนายน 2555 19:00:55 น. |
|
0 comments
|
Counter : 1693 Pageviews. |
|
|
|
| |