การขึ้นเดือนเงินเป็นเรื่องดี แต่ปริญญาตรี 15,000 ส่งผลเสียยาวนาน
ไชยวัฒน์ ตระการรัตน์สันติ
การขึ้นเดือนเงินและค่าจ้างเป็นเรื่องที่ดีอย่างแน่นอน เพราะจะช่วยให้ลูกจ้างมีระดับการครองชีพดีขึ้น แต่การขึ้นปริญญาตรีเป็น 15,000 บาทมีปัญหาอย่างแน่นอน
ถ้าพิจารณาฐานการขึ้นค่าจ้างระหว่างค่าแรงงานรายวันจาก 216 เป็น 300 บาท กับเงินเดือนปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท เมื่อใช้ฐานเงินเดือนข้าราชการที่ 7,940 บาท ในทางปฏิบัติบริษัทเอกชนฐานเงินเดือนข้าราชการนี้อ้างอิงในการกำหนดเงินเดือนปริญญาตรี ตามปกติ อาจจะเป็น 9,000 – 10,000 บาทสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก และตั้งแต่ 15,000 บาท
อัตราเงินขึ้นของค่าแรงงาน คิดเป็น 38.89% ขณะที่ปริญญาตรี จะเพิ่มขึ้น 88.92% ถ้าธุรกิจขนาดเล็กและกลางเลือกใช้อัตราเดียวกัน ก็จะเพิ่มขึ้นระหว่าง 50.00% – 66.67% การกำหนดเพิ่มขึ้นนี้ เราพบปัญหาแรกคือ ทำให้การกระจายได้ของสังคมเลวร้ายยิ่งขึ้น
คนที่มาเป็นผู้ใช้แรงงานย่อมมาจากครอบครัวชนชั้นล่าง ในขณะที่คนจบปริญญาตรีส่วนใหญ่มาจากชนชั้นกลางขึ้นไป ซึ่งมีความแตกต่างในระดับรายได้อยู่แล้ว ยิ่งทำให้แตกต่างกันมากขึ้นไปอีก
ประการต่อมา การปรับเงินเดือนปริญญาตรีในระบบราชการใช้วิธีปรับคนจบปริญญาตรีที่รับราชการมาก่อนและเงินเดือนไม่ถึงอัตราใหม่ให้ขึ้นไปเท่ากัน ในระบบปัจจุบัน เงินเดือนจะถึง 15,000 บาทต้องรับราชการไม่น้อยกว่า 10 ปี การปรับแบบสร้างความไม่เป็นธรรมภายในระบบอย่างแน่นอน
แน่นอนการปรับให้เป็นตามโครงสร้างเงินเดือนที่ใช้อยู่ รัฐบาลต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลอย่างแน่นอน เพราะเท่ากับขึ้นค่าจ้างเงินเดือนประมาณเท่าตัว ตามปกติ ค่าจ้างเงินเดือนจะมีสัดส่วนไม่น้อยกว่า 50% ของงบประมาณ ดังนั้นตัวเลขเบื้องต้นคือ ค่าจ้างเงินเดือนจะตกประมาณ 1 ล้านล้านบาท การปรับดังนั้นจะทำให้รัฐต้องงบประมาณเพิ่ม 1 ล้านล้านบาท
รัฐบาลจะไม่ปรับให้มีความสมดุลก็ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องอย่างแน่นอน อย่างต้องเคารพประสบการณ์และความเข้าใจกระบวนการทำของข้าราชการตามอายุงานด้วย ยกเว้น พิจารณาแล้วข้าราชการไทยทั้งหมดไม่ได้เรื่อง รัฐบาลจะไม่อะไรเลยก็ย่อมได้
ถึงแม้ว่า รัฐบาลจะประกาศอย่างไม่รอบคอบ และมีข้อผูกมัดทำ รัฐบาลชุดนี้จึงมีความเป็นต้องทำก็ตาม ในเมื่อประกาศขึ้นและจะดำเนินการแล้ว รัฐบาลจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีกระบวนการสร้างความสมดุลของเงินเดือนค่าจ้าง ถ้ารัฐบาลเห็นว่าประสบการณ์และอายุงานมีความสำคัญ
แต่ในปัญหาการกระจายรายได้ไม่เป็นธรรมมากขึ้นซึ่งเป็นปัญหาใหญ่และสำคัญมาก ซึ่งสามารถเข้าใจได้ว่าการประกาศนโยบายค่าจ้างในระหว่างหาเสียงของพรรคเพื่อไทย ยิ่งสะท้อนไม่รอบคอบที่ยิ่งทำให้โครงสร้างรายได้แตกต่างกันมากขึ้นไปอีก
เช่นเดียวกัน รัฐควรจะชี้แจงและมีมาตรการอะไรเพื่อทำให้การกระจายของสังคมดีขึ้น
Create Date : 10 มกราคม 2555 |
Last Update : 10 มกราคม 2555 21:05:58 น. |
|
0 comments
|
Counter : 929 Pageviews. |
|
|
|
| |