กรรมของ " ทักษิณ " คือ // ท่านอธิฐานบารมี เป็นพระโพธิสัตว์ ท่านมาจาก พุทธภูมิ // ท่านเลยต้องเที่ยวตะเวณช่วยเหลือ คนนับแสนนับล้าน
<<
ธันวาคม 2551
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
4 ธันวาคม 2551

Group Think พวกมากลากไป อธิบายการเมืองไทย / และสิ่งที่ผมโดนกระทำ ได้ดี....

ยาวหน่อยแต่ประเทืองปัญญาดีคับ

เอามาให้อ่าน ขำๆ กัน
Group think... โรคพวกมากลากไป
โดย วินัย วงศ์สุรวัฒน์ คณะวิทยาการจัดการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มติชนรายวัน วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11217

ใน บทความที่เขียนลงในหนังสือพิมพ์ The New York Times นายโรเบิร์ต ชิลเลอร์ (Robert Shiller) ศาสตราจารย์ทางเศรษฐศาสตร์ และการเงินประจำมหาวิทยาลัยเยล (Yale) ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ก่อนวิกฤตการณ์การเงินที่กำลังระอุอยู่ในขณะนี้ ไม่มีกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐศาสตร์ลุกขึ้นมาเตือนรัฐบาล หรือนักลงทุน ถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเลย (จะมีคนทำนายเหตุการณ์ดังกล่าวก็เพียงประปราย และไม่ได้มีการฟันธงอย่างจริงจัง)
นายชิลเลอร์เชื่อว่า ปัญหาในตลาดการเงิน และอสังหาริมทรัพย์ได้ส่งสัญญาณบ่งบอกมาเป็นเวลาหลายปี แล้ว แต่เหตุใด จึงไม่มีกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ ลุกขึ้นมาทำนายปัญหานี้อย่างหนักแน่น และน่าเชื่อถือ ?
ที่น่าแปลกยิ่งกว่านั้น คือ นายชิลเลอร์ เล่าว่าตนเคยนั่งรถแท็กซี่ในไมอามี (Miami) เมื่อสองปีก่อน และคนขับรถก็ชี้ให้ตนเห็นถึงการก่อสร้าง อันบ้าคลั่ง คนขับคนนั้นใช้สามัญสำนึกฟันธงไปว่า ปริมาณอุปทาน (supply) ที่มากล้นเกินอุปสงค์ (demand) ในขณะนั้น เป็นฟองสบู่ที่อันตราย หากวันใดฟองสบู่แตก ความหายนะอันน่ากลัวจะต้องเกิดขึ้นเป็นแน่ นี่เป็นบทวิเคราะห์อันเฉียบขาด (และถูกเผง) ของคนเรียนไม่จบชั้นมัธยม แต่คนเรียบจบดอกเตอร์ทางเศรษฐศาสตร์ทั้งหลาย กลับพากันอ้ำอึ้ง หรือไม่ก็เงียบเป็นเป่าสาก
นายชิลเลอร์ วิเคราะห์ว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ นักเศรษฐศาสตร์ ไม่ออกมาทำนายถึงปัญหาก่อนหน้าที่มันจะเกิดขึ้น ก็เพราะความหวาดหวั่นว่าจะถูกมองว่าเป็นพวก "นอกคอก" ทั้งนี้เพราะในช่วงปีสองปีที่แล้ว บทวิเคราะห์เศรษฐกิจของผู้เชี่ยวชาญน้อยใหญ่ มักจะออกมาในแง่บวกเหมือนกันหมด กล่าวคือ แม้ว่าตลาดการลงทุน และตลาดอสังหาริมทรัพย์ จะมีความเสี่ยงสูงและผจญกับปัญหา อยู่บ้าง แต่สภาพเศรษฐกิจ โดยรวมก็ยังถือว่าดีอยู่ ไม่มีอะไรน่าห่วง
ที นี้ใครเกิดผ่าเหล่า ออกมาตีปี๊บเตือนชาวบ้านว่าวิกฤตการณ์การเงินกำลังจะเกิดขึ้น ก็จะถูกมองว่าเป็นพวกเรียกร้องความสนใจ พูดอะไรหวังความดังเป็นหลัก แน่นอนอว่า นักเศรษฐศาสตร์ ก็เป็นคนเหมือนกัน และก็ย่อมต้องการความยอมรับจากเพื่อนฝูงในวงการเดียวกัน

สุดท้ายจึงไม่มี นักเศรษฐศาสตร์คนไหนกล้าออกมาทำนายถึงอันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้น แม้ว่าพวกเขาจะเห็นหลักฐานการเกิดฟองสบู่อยู่ตำตา ก็แกล้งทำเป็นมองไม่เห็น

ยิ่ง ไปกว่านั้น หากคนนอกซึ่งไม่ใช่เศรษฐศาสตร์พูดถึงปัญหาฟองสบู่ นักเศรษฐศาสตร์ ก็มีแนวโน้มที่จะทำหูทวนลม โดยสรุปเอาว่าคนพวกนั้นไม่มีความรู้เพียงพอ

นักจิตวิทยา เรียกปรากฏการณ์ ที่ทำให้กลุ่มคิดอะไรเพี้ยน ๆ หรือตัดสินใจผิดพลาด เนื่องมาจากสมาชิกมีความเกรงใจ ไม่กล้าผ่าเหล่าหรือแตกแถวว่า Group think ปรากฏการณ์ดังกล่าว มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้มากในกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์เหนียวแน่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวสูง และสมาชิกแต่ละคนกำลังต้องการความยอมรับจากสมาชิกคนอื่น

เออร์วิง แจนิส (Irving Janis) นักจิตวิทยา ผู้ศึกษาพฤติกรรม Group think ในหลาย ๆ กรณี ได้บรรยายถึงอาการแปดประการของโรคดังกล่าวดังต่อไปนี้

1. ความงมงายที่ว่ากล่มต้องอยู่ยั้งยืนยง
2. ความงมงายที่ว่ากลุ่มมีคุณธรรมเหนือใคร ๆ คนอื่น
3. การถูไถหาเหตุผลเลื่อนลอยมาสนับสนุนมติของกลุ่ม
4. การเหมาเอาว่าคนนอกที่คัดค้านมติของกลุ่ม โง่ / ชั่ว / บ้า ... เหมือนกันหมด
5. ความไม่กล้าปริปากพูดในสิ่งที่ขัดแย้งกับมติของกลุ่ม
6. ความงมงายที่ว่ากลุ่มมีมติเอกฉันท์เสมอ
7. การข่มขู่ - กดดันพวก "แตกแถว" หรือ "นอกคอก"
8. การพยายามเซ็นเซอร์ หลักฐาน-ข้อมูล ที่ขัดแย้งกับมติของกลุ่ม
ในตัวอย่างของนายชิลเลอร์ พฤติกรรมของ นักเศรษฐศาสตร์ วินิจฉัยได้ว่าเข้าข่ายอาการข้อที่ 3, 4, 5, 6 และ 7

โรค Group think นี้มีบางทีอาจนำกลุ่ม ไปสู่ผลลัพธ์ ที่สมาชิกแทบทุกคนไม่ชอบได้เหมือนกัน ตัวอย่างคลาสสิค ที่นักจิตวิทยามักกล่าวถึงคือ Abilene paradox ซึ่งพอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้

ครอบครัวชาว เท็กซัส กำลังนั่งพักผ่อนหย่อนใจ กันอย่างสบายอารมณ์ เมื่อพ่อตา เอ่ยขึ้นมาว่า "เราไปกินข้าวเย็นที่เมือง Abilene กันดีกว่า" ทั้ง ๆ ที่อากาศบ่ายนั้น ร้อนระอุ และเมืองดังกล่าวก็อยู่ไกลออกไปกว่าห้าสิบไมล์ ลูกสาวกลับตอบว่า "ก็ดีเหมือนกันค่ะ" เมื่อลูกเขยได้ยินดังนั้น ก็ตอบตกลงไปด้วย ทั้ง ๆ ที่ในใจก็คิดอยู่ว่าทั้งร้อนทั้งไกล จะคุ้มค่าเหนื่อยหรือนี่ เมื่อทุกคนหันไปหาแม่ยาย แม่ยายก็เห็นดีเห็นงามด้วย โดยบอกว่าเธอเองก็ไม่ได้ไปเที่ยวที่นั่นมาหลายปีแล้ว

เมื่อ เป็นเช่นนั้น ครอบครัวดังกล่าว จึงออกเดินทางไปกินข้าวเย็นกันที่เมือง Abilene ตามข้อตกลง การเดินทางในบ่ายนั้น ทั้งร้อนทั้งสกปรก ใช้เวลานั่งรถไปกลับร่วม สี่ชั่วโมง แถมอาหารที่ไปกินกันก็สุดห่วย

เมื่อ กลับมาถึงบ้าน
พ่อตาก็เปรยขึ้นมาว่า " ไปเที่ยว Abilene คราวนี้สนุกใช่ย่อยนะ " ได้ยินดังนั้น

แม่ยายก็ตอบว่า " ความจริงฉันไม่ได้อยากไปสักเท่าไหร่หรอก แต่ที่ไปก็เพราะอีกสามคนอยากไปเท่านั้นเอง "

ลูกเขยก็เลยพูดขึ้นมาบ้างว่า "ผมเองก็ไม่ได้อยากไป แต่ตอบตกลงไปเพื่อเอาใจคนอื่น ๆ เท่านั้น"

ลูกสาวฟังแล้วก็ งง ๆ จึงตอบบ้างว่า " ที่จริง ฉันยอมไปผจญความลำบากทั้งบ่าย เพราะคิดว่า เป็น ความสุข ของพวกคุณทุกคนต่างหาก"

พ่อตา ได้ยินดังนั้นก็เกาหัวแกรก ๆ พร้อมพูดว่า " ที่เสนอให้ไปกันเมื่อตอนบ่ายเพราะนึกว่าทุกคนเบื่อ ไม่มีอะไรทำซะอีก ความจริงพ่อเองก็ไม่ได้อยากไปมากนักหรอก "

นิทาน เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า โรค Group think อาจทำให้การตัดสินใจของกลุ่มเป็นไปในทางที่ตรงกันข้าม กับความต้องการของสมาชิกทุกคนได้อย่างน่าฉงน พฤติกรรมของครอบครัวชาว เท็กซัส วินิจฉัย ได้ว่าเข้าข่ายอาการโรค Group think ข้อที่ 3, 5 และ 6

เรื่อวราวประหลาดของครอบครัวชาว เท็กซัส อาจฟังดูคุ้น ๆ สำหรับครอบครัวคนไทยบางครอบครัว ที่ร่วมใจตกลงกันจะมีพิธีมงคล สมรสอันยิ่งใหญ่ สุดแพง และแสนที่จะวุ่นวาย...

ผู้เขียนมีสมมติฐานว่า ถ้าไปถาม เจ้าบ่าว ว่าจัดงานเว่อร์ ๆ นี้ทำไม

เจ้าบ่าว ก็จะบอกว่ายอม ถังแตก เพื่อความสุข พ่อ-แม่ และ เจ้าสาว

ถ้าไปถาม เจ้าสาว
ก็จะได้คำตอบว่ายอมลำบาก เหนื่อยยาก กับงานแต่ง เพื่อ พ่อ-แม่ ของตัวเองและ ความสนุกสนานของ แขกเหรื่อ เพื่อนฝูง

เมื่อ ไปถาม พ่อแม่ ของทั้งสอง ฝ่าย ก็คงได้รับคำตอบว่า
ยอมลำบาก เพื่อลูก ๆ และ ชาวบ้าน

สุดท้ายถ้าไปถาม ชาวบ้าน
ว่า มางานทำไม ก็คงได้คำตอบว่ายอมลำบากมา (ทั้งเปลืองเงินทั้งรถติด) เพื่อความสุขของ คู่บ่าวสาว และ พ่อ-แม่ ของทั้งสองฝ่าย

การตัดสินใจเพี้ยน ๆ จากโรค Group think ในบางกรณีอาจนำไปสู่ความหายนะได้ ดังเช่น ตัวอย่างการตัดสินใจของวิศวกรนาซา (NASA) เรื่องการส่งยานอวกาศ Challenger ในวันที่ 28 มกราคม 1986

ก่อนวันสำคัญดังกล่าว มีวิศวกรจำนวนหนึ่งพยายามเตือน ผู้บริหารนาซา ว่า อุณหภูมิที่ต่ำกว่าปกติในขณะนั้น อาจ มีผลทำให้ลูกยางกันรั่ว (หรือที่เรียกว่า "O-rings") มีคุณสมบัติเปลี่ยนไป ทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่กันรั่วได้ตามที่ถูกออกแบบมา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากว่าในขณะนั้น องค์การนาซากำลังได้รับความกดดัน เรื่องภาพพจน์การทำงานล่าช้า ไร้ประสิทธิภาพ หากเลื่อนการส่งยานอวกาศออกไปเพราะปัญหาดังกล่าว ภาพพจน์ ไม่ดีก็อาจจะแย่ลงไปอีก
จากการวิเคราะห์ของ เออร์วิง แจนิส ทีมงานนาซาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจสำคัญครั้งนั้น ได้พากันติดโรค Group think โดยกดดัน เพื่อนวิศวกรด้วยกันเอง ให้หันมาเห็นพ้องกับมติของกลุ่มว่า ปัญหาลูกยางกันรั่ว นั้น ไม่ใช่เรื่องใหญ่ (แต่ปัญหา ภาพพจน์ ขององค์การ เป็นสิ่งที่เร่งด่วนและสำคัญกว่ามาก) ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลที่ว่า องค์การนาซา เคยส่งยานอวกาศอื่น ๆ มามากมาย ไม่เห็นจะเคยมีปัญหา พวกวิศวกร ที่โวยวายเรื่องลูกยางกันรั่วเป็นพวกจิตตก ไม่น่าเชื่อถือ ความเห็นที่สอดคล้องต้องกันของวิศวกรคนอื่น ๆ น่าเชื่อกว่ามาก ฯลฯ

พอกดดันกันเองจนได้ที่แล้ว (คือไม่มีใครกล้าหือ ลุกขึ้นมาแย้งมติของกลุ่ม) ก็เซ็นเซอร์ หลักฐาน ที่บ่งชี้ว่าลูกยางกันรั่ว อาจไม่ทำงาน แล้วก็ส่งมติอันเป็นเอกฉันท์ ไปให้ผู้บริหารนาซาว่า ยานอวกาศ Challenger พร้อมออกเดินทาง
ผลที่ออกมาก็คือ ยานอวกาศระเบิดเป็นจุลภายหลังการส่งยานเพียงเจ็ดสิบสามวินาที ลูกเรือทุกคนตายเรียบ

โดย เหตุการณ์อันน่าสลดทั้งหมด มีชาวอเมริกันนับล้านเฝ้าชมเป็นสักขีพยาน สาเหตุการระเบิดสรุปออกมาภายหลังว่า เกิดจากลูกยางกันรั่วเสื่อมสมรรถภาพ เพราะอุณหภูมิที่ต่ำผิดปกติ ทำให้เชื้อเพลิงรั่ว เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ยานอวกาศระเบิดในวันนั้น

พฤติกรรม ของวิศวกรนาซาในครั้ง นั้น วินิจฉัยได้ว่าเข้าข่ายอาการโรค Group think ข้อที่ 1-8 ครบทุกข้อ

แน่ นอนว่าความสมัครสมานพร้อมเพรียงของสมาชิกในกลุ่มเป็นเรื่องสำคัญ และมีคุณอนันต์ในหลาย ๆ โอกาส อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างอันตรายของ โรค Group think ที่ยกมา น่าจะเป็นข้อเตือนใจว่า การเน้นความพร้อมเพรียงสามัคคี อย่างสิ้นเชิง โดยไม่ยอมรับความคิดเห็น ที่แตกต่าง และใช้อิทธิพลกลุ่ม ข่มขู่ พวก แตกแถว นั้น สุดท้ายอาจนำมาซึ่ง ผลลัพธ์ อันไม่น่าอภิรมย์ก็เป็นได้






















 

Create Date : 04 ธันวาคม 2551
0 comments
Last Update : 4 ธันวาคม 2551 20:25:32 น.
Counter : 2181 Pageviews.


VikingsX
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




[Add VikingsX's blog to your web]