กรรมของ " ทักษิณ " คือ // ท่านอธิฐานบารมี เป็นพระโพธิสัตว์ ท่านมาจาก พุทธภูมิ // ท่านเลยต้องเที่ยวตะเวณช่วยเหลือ คนนับแสนนับล้าน
<<
สิงหาคม 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
1 สิงหาคม 2551

ประเด็นคือ ไม่ยอมให้คนรวยให้หุ้น... โดยธรรมจรรยา

การประสงค์จะให้หุ้นกับพีชายบุญธรรม...ให้โดยไม่คิดมูลค่า
ให้เพราะเป็นพี่ชายบุญธรรมที่พ่อรับเลี้ยงมา...
ให้เพราะเป็นพีชายที่ทำหน้าที่ดูแลน้องๆมาตลอด
ให้เพราะเป็นพี่ชายที่ทำงาน และเป็นส่วนหนึ่งของความเจริญเติบโตของกิจการ...พี่ชายควรจะได้รับส่วนแบ่งนี้...นี่คือเจตนาของผู้ให้...ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลใด เจตนาคือต้องการจะให้โดยไม่คิดมูลค่ากับพี่ชาย...

โอกาสที่จะให้ ก็คือ เนื่องในโอกาสที่พี่ชายจะแต่งงาน มีครอบครัว..ก็มีการพูดสัญญาว่าจะให้สิ่งนี้เป็นของขวัญวันแต่งงาน...แต่ยังไม่ได้ดำเนินการส่งมอบในทันทีในวันแต่งงานนั้น มาส่งมอบภายหลัง...ถามว่าผิดปกติมั๊ยที่มาส่งมอบกันภายหลัง มันก็ต้องดูว่าให้อะไร มันมีขั้นตอนที่ยุ่งยากแค่ไหน ให้ของทั่วไป ให้ทรัพย์ ให้โฉนด ให้หุ้น ให้บ้าน..ให้ที่ดิน แต่ละอย่างมีความยุ่งยากในการส่งมอบ การจัดการต่างกันไป...การให้กันในงาน จึงให้กันเป็นพิธีให้โดยวาจา แล้วไปดำเนินการให้จริงกันในภายหลัง...เพราะมันมีเรื่องต้องการจัดการตามกฎหมาย ซึ่งก็ไม่แปลก ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ให้ พร้อมเมื่อไหร่ก็ให้ทันที อีกทั้งเป็นพี่ชาย บ้านเดียวกันไม่มีความจำเป็นอะไรต้องเร่งรัด หรือรีบร้อนอะไร

วิธีการให้ เมื่อเห็นว่าพร้อมแล้วที่จะส่งมอบหุ้นให้ แต่หุ้นอยู่ในชื่อบุคคลอื่น ซึ่งศาลระบุว่าไม่ผิดกฎหมายอะไร ในการถือหุ้นแทน และมอบอำนาจทำการแทน ซึ่งไม่ใช่ประเด็น แต่ประเด็นอยู่ที่การส่งมอบหรือโอนหุ้น ตามความประสงค์ของผู้ให้ มีวิธีทำได้หลายวิธี...

1. ผู้ให้ สั่งให้บุคคลผู้มีชื่อทำการแทนโอนหุ้นกันโดยตรงกับผู้รับ...ณ ที่ทำการตลาดหลักทรัพย์ วิธีการนี้ ไม่มีภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่มีค่านายหน้า แต่ผู้รับมีหน้าที่ต้องไปพิสูจน์ภาษีต่อสรรพากร ว่าตนเองมีรายได้จากหุ้นจำนวนนี้ ได้มาด้วยการให้ ยกให้ แบ่งให้ หรือเป็นส่วนที่ตนได้มาตามเหตุอันสมควรที่จะได้ จากผู้ให้...จะมีภาระภาษีหรือไม่ เมื่อถึงเวลา ก็ต้องแจ้งไปเพื่อให้สรรพากรพิสูจน์เอง...หน้าที่นี้จึงเป็นของผู้รับ ไม่ใช่ผู้ให้...

2. ผู้ให้ ให้หุ้นด้วยการขายโดยใช้เงินตัวเองเพื่อย้ายหุ้นนั้นไปไว้ในชื่อของผู้รับ...วิธีคือสั่งให้บุคคลผู้มีชื่อทำการแทน ขายหุ้นจำนวนนั้นออกไปในราคาตลาด โดยทำการขายในตลาดหลักทรัพย์ ตามระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ ผู้รับ รับหุ้นจำนวนนั้นไปเป็นของตน โดยที่ตนเองไม่ต้องจ่ายค่าหุ้น ผู้ให้ จ่ายแทนผ่านโบรเกอร์ของบุคคลที่มีชื่อทำการแทน วิธีนี้ จะมีค่านายหน้าซื้อขายหุ้น และภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เกิดขึ้นจากการซื้อขาย..วิธีนี้ผู้รับหุ้นก็ยังต้องมีหน้าที่ไปเคลมภาษีกับสรรพากรเมื่อถึงเวลา เช่นเดียวกับวิธีที่ 1 ...ผู้ให้ไม่มีหน้าที่ต้องดำเนินการ...

3. ให้โดยคล้ายกับวิธีที่สอง แต่กลับทางเดินของเงินกันโดยผู้ให้ให้เงินสดกับผู้รับตามมูลค่าหุ้นที่จะให้ บวกค่านายหน้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วผู้รับนำเงินนั้นไปซื้อขายหุ้นจำนวนนั้นในตลาดหลักทรัพย์โดยตรง กับบุคคลที่มีชื่อทำการแทน เหมือนการซื้อขายปกติ วิธีนี้ ผู้รับซื้อขายโดยตรงกับบุคคลที่มีชื่อทำการแทน เสียค่านายหน้า และภาษีมูลค่าเพิ่ม เหมือนวิธีที่สอง แต่การเคลมภาษีไม่ต้องเคลมเลย เพราะเป็นการซื้อขายกันโดยตรงไม่มีภาระภาษี...จากผู้ขายคือบุคคลที่มีชื่อทำการแทน กับผู้รับ ในฐานะผู้ซื้อหุ้นจำนวนที่จะให้นั้น...กรณีวิธีนี้ ผู้ให้ก็ไม่เกี่ยวข้องอะไรเช่นกัน และเป็นวิธีที่ไม่มีภาษีใดๆ...ของผู้รับเลย...

การเลือกวิธีให้ จะเห็นว่า วิธีที่ 1 จะยุ่งยากเอกสาร และการพิสูจน์ต่างๆ ถึงเจตนาการให้ การรับ ผู้รับต้องไปเคลมการได้มาต่อสรรพากร เมื่อถึงเวลายื่นภาษีประจำปี...และวิธีที่ 2 นั้นก็ง่ายมาหน่อย เรื่องการดำเนินการผ่านการซื้อขายด้วยเงินผู้ให้เอง ย้ายชื่อเข้าบัญชีผู้รับให้โดยตรง แต่ยังต้องมีเรื่องการพิสูจน์ของผู้รับ ผู้ให้ตามเจตนาการให้ ..วิธีที่ 3 นั้นง่ายที่สุดแล้วหลบเลี่ยงได้ตรงๆเลย ถ้าจะทำ...

การชำระภาษี

กรณีผู้รับ
เมื่อถึงสิ้นปี ก็ต้องยื่นภาษีเงินได้ แจ้งรายได้ต่างที่เพิ่มขึ้น...เมื่อผู้รับซึ่งได้หุ้นมาแล้ว แต่ยังไม่ได้ขายออกไป รายได้จึงยังไม่เกิดกับผู้รับ ผู้รับยังไม่ต้องแจ้ง..ภาระภาษีจะมีก็ต่อเมื่อผู้รับขายหุ้นจำนวนนี้ออกไป นั่นหล่ะครับรายได้จึงเกิดขึ้น ในปีที่ขายนั้น จึงจะมายื่นแจ้งชำระภาษี...

กรณีผู้ให้
เมื่อถึงสิ้นปี ไม่มีภาระต้องยื่นภาษีจากหุ้นที่ให้ไป...

กรณีผู้ทำการแทน(ที่มีชื่อครอบครองหุ้น)
เมื่อถึงสิ้นปี ไม่มีภาระต้องยื่นภาษีจากเงินที่ผ่านมาเข้ามา เพราะได้รับการยกเว้น ภาษีซื้อขายอยู่แล้วในตลาด.....


ประเด็นมันก็มีแค่นี้....เป็นคุณ คุณจะจัดการอย่างไร...ทำไมไม่เลือกวิธีที่ 3 ถ้าจะเลี่ยงภาษีกันจริงๆ....ทำได้ง่ายเลย...

ศาลเชือว่า เจตนาว่าเป็นการให้จริงๆ...แต่ศาลไม่เชื่อว่าให้เพราะเหตุผลอะไร......ทำไมต้องให้ด้วยเพราะเป็นหน้าที่โดยธรรมจรรยาของผู้ให้ ความเป็นพี่น้องก็แค่บุตรบุญธรรม แถมรวยแล้ว ไม่ได้ยากจน ขัดสนอะไร อันนี้ก็ไม่รู้จะตอบยังไงเหมือนกันกับข้อสงสัยของศาลไนแง่นี้...คนรวย คนจน มันมีระดับของความอุปการะกันแบบไหน...กำหนดได้ด้วยอะไร หรือต้องใช้มาตรฐานของกรมประชาสงเคราะห์...ซึ่งศาลใช้เหตุผลตามคำแปลในพจนานุกรมแทน...กลายเป็นว่า พีน้อง อุปการะกันเองไม่ได้...ถ้ารวยแล้ว..อันนี้ผม งงๆ อยู่...

พูดง่ายๆคือ ตีเจตนาว่าจะหลบเลี่ยงภาษีว่างั้นเหอะ...ทั้งที่วิธีการให้หุ้นในตลาด ไม่ว่าโดยวิธีไหนก็ไม่มีภาระภาษีกับผู้ให้เลย...เจตนาของผู้ให้ไม่ว่าเพราะอะไรก็ตาม แต่ความัมพันธ์มันบอกได้ว่า ผู้รับกับผู้ให้มีความผูกพันสัมพันธ์กันมาตั้งแต่เล็กยันโต..แล้วร่วมดำเนินงานมาตลอด เมื่อถึงเวลาก็มอบหุ้นให้ในสัดส่วนที่ผู้ให้เห็นว่าเหมาะสม...แล้วทำไมศาลถึงขัดขวางเจตนานี้....ผมก็ไม่เข้าใจ...อีกเหมือนกัน...ภาษีจริงๆมันก็ไม่มากหรอกครับ ถ้าจะเสียในขณะให้ตอนนั้นเมื่อปี 2540 เมื่อเทียบกับภาษีที่ตระกูลจ่ายนี้ให้มาตลอดในแต่ละปี....

ประเด็นคือ ไม่ยอมให้คนรวยมอบให้หุ้นในหมู่พี่น้องด้วยวิธีการให้โดยธรรมจรรยาที่น้องมีต่อพี่บุญธรรม...แล้วยกให้กัน ต้องให้เขาทำยังไง..ผมก็ไม่เข้าใจ...

การเสียภาษีผมว่าทุกคนต้องจ่ายมีหน้าที่ต้องจ่าย แต่ต้องจ่ายด้วยเหตุผลเดียวกัน เท่าเทียมกันในการบังคับใช้กฎหมาย...

จากคุณ : minimalist

//www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6851037/P6851037.html


การที่คุณหญิง ให้หุ้นน้องชาย ผู้รับประโยชน์มันต้อง

เสียภาษีรายได้ 37% แต่เขาก็เลี่ยง

=============

มันอยู่ที่ตีความเจตนายัดเยียดกันหรือไม่...ก็เขาจะให้กัน เจตนามันคืออย่างนี้ พี่ชายควรจะได้รับจากหุ้นไปส่วนหนึ่ง ก็แบ่งให้....มันก็เท่านั้น ก็คิดว่าให้โดยฐานะพี่ชาย น้องสาว พ่อเลี้ยงอุ้มชูมา ทำงานด้วยกันมา ส่วนของพี่ก็อยู่ในกิจการกงสีนี้ แบบนี้แล้ว ศาลไม่เชื่อ ก็ต้องทำให้เชื่อในชั้นอุทธรณ์...

ให้หุ้นซึ่งมันเป็นหลักทรัพย์ในตลาด จะให้ตรงด้วยการโอน ก็ต้องไปทำกันที่ตลาด ถ้าให้แบบโอนหุ้น ตัวเองทั้งผู้รับ ผู้ให้ ผู้ถือครองแทนก็ต้องไปตลาด....แต่ถ้าเอาง่าย เอาสะดวก ก็ไม่ต้องมีใครไปตลาด แค่เอาพอร์ตบัญชีมา แล้วจะให้โบรเกอร์ยิงหุ้นเข้าไปให้ตามจำนวนที่จะยกให้...ค่าใช้จ่ายพี่ไม่ต้อง น้องรับเอง ....นี่มันก็ตรงๆแล้ว...ไม่มีอะไรซิกแซ็ก อำพรางอะไร....

++++++++++++

ข้อสังเกตุ

กรุณาอ่านคำพิพากษาด้วย

1. ค.ต.ส เป็นองค์กร ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ด้วยประกาศ คปค ไม่ขัดกับรัฐธรรมมูญปี 50

2. คณะกรรมการ ค.ต.ส ( แก้วสรร จันทิก จารุวรรณ ) ล้วนเป็นผู้มีคุณธรรม ประสบการณ์ สูงส่ง ไม่ตัดสินเอนเอียง ให้ร้ายผู้ใด คำร้องของจำเลยฟังไม่ขึ้น


+++++++++++++

ให้โดยเสน่หา....

ภาษีการให้โดยเสน่หา

การให้โดยเสน่หา เป็นการให้เปล่าโดยไม่มีค่าตอบแทน จัดเป็นนิติกรรมที่ผูกพันผู้ให้ฝ่ายเดียวที่ผู้ให้มิได้หวังประโยชน์ต่างตอบแทนจากการให้นั้น แต่ผู้ให้จะมีความเสน่หาเป็นพื้นฐานของการให้ก็ไม่ผิดธรรมเนียมประเพณี เช่น แม่ยกมอบแก้ว แหวนเงินทอง หรือที่ดินให้แก่พระเอกลิเก นักร้อง เพราะชื่นชอบหน้าตา บทบาทการแสดง เป็นต้น

ในทางกฎหมายนั้นการให้โดยเสน่หาจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย อาจจำแนกเป็น 2 กรณี คือ

การให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ เช่น รถยนต์ แหวนเพชร นาฬิกา จะสมบูรณ์เมื่อผู้ให้ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับ
ส่วนการให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น ที่ดิน อาคารบ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง อื่น ๆ จะสมบูรณ์เมื่อได้ทำเป็นหนังสือสัญญาและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

เมื่อการให้มีผลสมบูรณ์ทางกฎหมายแล้ว ผู้ให้จะเรียกทรัพย์สินนั้นคืนไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้ที่กฎหมายยอมให้ถอนคืนการ ให้ได้ คือ

1. ผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรง
2. ผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
3. ผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้ และผู้รับยังสามารถจะให้ความช่วยเหลือได้
สำหรับในทางภาษีอากร โดยเฉพาะภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การรับให้ซึ่ง เงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใด ๆ ถือว่าผู้รับเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้จากการรับให้นั้น

เว้นแต่กรณีต่อไปนี้
1. เป็นการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(10) แห่งประมวลรัษฎากร
2. การที่บิดามารดายกอสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของตนโดยไม่มีค่าตอบแทน แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม.

สุเทพ พงษ์พิทักษ์ //prasitwiset.is.in.th/?md=content&ma=show&id=88

...................

คุณหญิงอ้อเลี้ยวลงทางเลี่ยงข้อยกเว้นข้อ 1 ไหง ผิดละขอรับ 5555 ไม่เข้าจายจริงๆ พับเผื่อย !








Create Date : 01 สิงหาคม 2551
Last Update : 1 สิงหาคม 2551 22:36:27 น. 0 comments
Counter : 872 Pageviews.  

VikingsX
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




[Add VikingsX's blog to your web]