กรรมของ " ทักษิณ " คือ // ท่านอธิฐานบารมี เป็นพระโพธิสัตว์ ท่านมาจาก พุทธภูมิ // ท่านเลยต้องเที่ยวตะเวณช่วยเหลือ คนนับแสนนับล้าน
<<
กรกฏาคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
24 กรกฏาคม 2551

เปิดบันทึก ไทย-กัมพูชา "ชวน" ชง "สุขุมพันธ์" เซ็นต์ รับรองแผนที่ฝรั่งเศษ อ้าว...ไทย ซวยเลย

แหล่งที่มา....
//www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P6826813/P6826813.html

เปิดบันทึก 'ไทย-กัมพูชา' ยุค'ชวน หลีกภัย' กรณีปัญหาพื้นที่'ทับซ้อน'ชายแดน

'เพื่ออำนวยความสะดวกให้การสำรวจตลอดแนวเขตแดนทางบกร่วมกันเป็นไปอย่างประสิทธิผล หน่วยงานของรัฐบาลกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเหล่านั้นจะงดเว้นการดำเนินการใดๆ ที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ชายแดน'


หมายเหตุ'มติชน' - เป็นบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ซึ่งรัฐบาลของทั้งสองประเทศจัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543 สมัยที่นายชวน หลีกภัย ประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี

รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา ปรารถนาที่จะกระชับความผูกพันแห่งมิตรภาพที่มีอยู่ระหว่างประเทศทั้งสองให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

เชื่อว่า การปักปันเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชาจะช่วยระงับความขัดแย้งตามชายแดนที่เกิดจากปัญหาเขตแดน และจะกระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรที่มีอยู่ระหว่างประเทศทั้งสองให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเอื้ออำนวยต่อการเดินทางและความร่วมมือของประชาชนของประเทศทั้งสองตามแนวชายแดน

ระลึกถึงแถลงการณ์ร่วมของนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยกับนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาฉบับลงวันที่ 13 มกราคม 2537 (ปี ค.ศ.1994) ซึ่งได้ตกลงกันจะจัดตั้งคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาในเวลาอันสมควร

ระลึกอีกด้วยถึงคำแถลงร่วมเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะกรรมาธิการจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา ฉบับลงวันที่ 21 มิถุนายน 2540 (ปี ค.ศ.1997) ซึ่งได้ตกลงกันจะจัดตั้งคณะกรรมาธิการจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา ที่จะได้รับมอบหมายภารกิจให้จัดทำหลักเพื่อชี้แนวเขตแดนทางบกระหว่างประเทศทั้งสองได้ตกลงกันดังต่อไปนี้

ข้อ 1

จะร่วมกันดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชาให้เป็นไปตามเอกสารต่อไปนี้

(ก) อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแก้ไขเพิ่มเติมข้อบทแห่งสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 3 ตุลาคม รัตนโกสินทรศก 112 (ปี ค.ศ.1893) ว่าด้วยดินแดนกับข้อตกลงอื่นๆ ฉบับลงนาม ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 122 (ปี ค.ศ.1904)

*** L7017 ของไทยไม่มี ใน MOU ***

(ข) สนธิสัญญาระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ฉบับลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 (ปี ค.ศ.1907) กับพิธีสารว่าด้วยการปักปันเขตแดนแนบท้ายสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 (ปี ค.ศ.1907) และ

(ค) แผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี ค.ศ.1904 และสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ.1907 กับเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับปี ค.ศ.1904 และสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ.1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส

ข้อ 2

1.ให้มีคณะกรรมาธิการจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมไทย-กัมพูชา ซึ่งต่อไปในที่นี้จะเรียกว่า คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมŽ ประกอบด้วยประธานร่วม 2 คน และกรรมาธิการอื่นๆ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลของไทย ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชาผู้รับผิดชอบกิจการชายแดนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นประธานร่วม รัฐบาลของประเทศทั้งสองจะแจ้งการแต่งตั้งดังกล่าวต่อกันภายในหนึ่งเดือนหลังจากบันทึกความเข้าใจฉบับนี้เริ่มใช้บังคับ

2.คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมจะประชุมกันปีละครั้งในประเทศไทยและประเทศกัมพูชาสลับกัน ในกรณีที่จำเป็น คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมอาจประชุมกันสมัยพิเศษเพื่อหารือเรื่องเร่งด่วนที่อยู่ในขอบข่ายอำนาจหน้าที่

3.ให้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมมีอำนาจหน้าที่ต่อไปนี้
(ก) รับผิดชอบให้การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมเป็นไปตามข้อ 1
(ข) พิจารณาและรับรองแผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วม
(ค) กำหนดความเร่งด่วนของพื้นที่ที่จะสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน
(ง) มอบหมายงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนให้คณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วมซึ่งจะกล่าวถึงในข้อ 3 ต่อไป และควบคุมดูแลและติดตามการดำเนินการให้เป็นผลตามที่ได้มอบหมาย
(จ) พิจารณารายงานหรือข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เสนอโดยคณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วม
(ฉ) ผลิตแผนที่แสดงเส้นเขตแดนทางบกที่ได้สำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกแล้ว และ
(ช) แต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการใดๆ เพื่อปฏิบัติงานเฉพาะรายใดๆ ที่อยู่ในขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม

ข้อ 3

1.ให้มีคณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วม ประกอบด้วยประธานร่วม 2 คน และอนุกรรมาธิการอื่นๆ ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งจากประธานกรรมาธิการเขตแดนร่วมของแต่ละฝ่าย

2.ให้คณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วมมีอำนาจหน้าที่ต่อไปนี้

(ก) พิสูจน์ทราบตำแหน่งที่แน่ชัดของหลักเขตแดน 73 หลักซึ่งจัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีนเมื่อปี ค.ศ.1909 และ ค.ศ.1919 และรายงานผลการพิสูจน์ทราบต่อคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมเพื่อพิจารณา

(ข) จัดทำแผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วม

(ค) แต่งตั้งชุดสำรวจร่วมเพื่อปฏิบัติงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม

(ง) เสนอรายงานหรือข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนต่อคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม

(จ) จัดทำแผนที่แสดงเส้นเขตแดนทางบกที่ได้สำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกแล้ว

(ฉ) แต่งตั้งผู้แทนผู้ได้รับมอบอำนาจ ในกรณีที่จำเป็น เพื่อควบคุมดูแลงานสนามแทนประธานอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วม และ

(ช) แต่งตั้งคณะทำงานทางเทคนิคใดๆ เพื่อช่วยงานเฉพาะรายใดๆ ที่อยู่ในขอบข่ายอำนาจหน้าที่ของคณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วม

3.ในการปฏิบัติงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่ใดๆ ชุดสำรวจร่วมจะได้รับการยืนยันความปลอดภัยจากกับระเบิดเสียก่อน

ข้อ 4

1.เพื่อความมุ่งประสงค์ของงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน ให้แบ่งเขตแดนทางบกร่วมกันตลอดแนวออกเป็นหลายตอนตามที่คณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วมจะได้ตกลงกัน

2.เมื่อดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนแล้วเสร็จแต่ละตอน ให้ประธานกรรมาธิการเขตแดนร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ และแผนที่ที่จะแนบบันทึกความเข้าใจดังกล่าวซึ่งแสดงตอนที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จไว้

ข้อ 5

เพื่ออำนวยความสะดวกให้การสำรวจตลอดแนวเขตแดนทางบกร่วมกันเป็นไปอย่างประสิทธิผล หน่วยงานของรัฐบาลกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเหล่านั้นจะงดเว้นการดำเนินการใดๆ ที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ชายแดน เว้นแต่จะเป็นการดำเนินการของคณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วมเพื่อประโยชน์ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน

ข้อ 6

1.รัฐบาลแต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของฝ่ายตนในการปฏิบัติงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน

2.รัฐบาลทั้งสองจะรับผิดชอบค่าวัสดุสำหรับหลักเขตแดนหรือหมุดหมายพยานกับการจัดทำและผลิตแผนที่แสดงเส้นเขตแดนทางบกที่ได้สำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกแล้วอย่างเท่าเทียมกัน

ข้อ 7

1.รัฐบาลของประเทศทั้งสองจะเตรียมการที่จำเป็นเกี่ยวกับการเข้าเมือง การกักกันโรคติดต่อ และพิธีการศุลกากรเพื่ออำนวยความสะดวกแก่การปฏิบัติงานสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน

2.โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุปกรณ์ วัสดุ และเสบียงในปริมาณที่สมควรและสำหรับชุดสำรวจร่วมใช้เฉพาะในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก แม้ว่าได้นำข้ามแดน จะไม่ถือเป็นการส่งออกจากประเทศหนึ่งหรือนำเข้าอีกประเทศหนึ่ง และจะไม่ต้องชำระอากรศุลกากรหรือภาษีอื่นๆ เกี่ยวเนื่องกับการส่งออกหรือนำเข้าซึ่งสินค้า

ข้อ 8

ให้ระงับข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดจากการตีความหรือการบังคับใช้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้โดยสันติวิธีด้วยการปรึกษาหารือและการเจรจา

ข้อ 9

บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะเริ่มใช้บังคับในวันลงนามบันทึกความเข้าใจโดยผู้แทนผู้ได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
เพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องเพื่อการนี้จากรัฐบาลของแต่ละฝ่ายได้ลงนามบันทึกความเข้าใจนี้ไว้เป็นสำคัญ

ทำขึ้นเป็นคู่ฉบับ ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543 เป็นภาษาไทย ภาษาเขมร และภาษาอังกฤษ ตัวบททุกฉบับใช้เป็นหลักฐานได้เท่าเทียมกัน ในกรณีที่มีการตีความแตกต่างกันระหว่างตัวบทใดๆ ให้ใช้ตัวบทฉบับภาษาอังกฤษสำหรับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย สำหรับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา

ลงนามโดย
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย
นายวาร์ คิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาลผู้รับผิดชอบกิจการชายแดนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา

*******

แต่ถ้า แถลงการณ์ ร่วม ไม่โมฆะ

"...แถลงการณ์ร่วมฉบับนี้มีข้อความระบุชัดเจนว่า กัมพูชาจะขึ้นทะเบียนมรดกโลก “เฉพาะตัวปราสาทอย่างเดียว” โดยไม่ ล่วงล้ำดินแดนไทยและไม่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ทับซ้อนที่ทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้จัดทำหลักเขตแดนอย่างเป็นทางการ

*** นี่คือหลักฐานสำคัญที่ยืนยันว่าพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ไม่ได้เป็นของเขมรแน่นอน!!***

เพราะถ้าพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. อยู่ใน เขตกัมพูชาจริง กัมพูชาคงไม่ขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกเฉพาะแค่ตัวปราสาทอย่างเดียวแต่ต้องรวมพื้นที่รอบตัวปราสาททั้งกระบิขึ้นเป็นมรดกโลกพร้อมกัน!!

น่าเสียดาย ที่แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ฉบับนี้ ต้องเป็น “โมฆะ” ไม่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการก็เท่ากับไทยสูญเสียหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะใช้สู้คดี...."

*******
คุณนพดล ปัทมะ ได้กล่าวเปรียบไว้ว่า เขาเหมือนกาลิเลโอที่ถูกตัดสินประหาร ทั้งที่เขาได้ทำสิ่งที่มีคุณประโยชน์

แถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชา ที่นพดลไปลงนาม เขมรยอมขึ้นเป็นมรดกโลก เฉพาะ ตัวปราสาทพระวิหาร ที่ศาลโลกตัดสินไปแล้วเท่านั้น ไม่รวมพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม.

เท่ากับเขมรยอมรับพื้นที่นี้ไม่ใช่ของตัว !!!

++++++

ขุดกรุเจอตoแxล 2543 รัฐบาล'ชวน หลีกภัย' ชงเอง

รับรองแผนที่พิพาทฉบับเสียดินแดนเป็นพื้นฐานกฎหมาย

เปิดประตูเขมรบุกพื้นที่ในปี 43 ยึดแผนที่ตามพันธะผูกพัน ไทย – กัมพูชา



อภิสิทธิ์กระเหี้ยนกระหือรือให้รัฐเปิดมติแถลงการณ์ร่วม ขุดกรุเจอตอแxล 2543 รัฐบาล'ชวน หลีกภัย' ชงเอง รับรองแผนที่พิพาทฉบับเสียดินแดนเป็นพื้นฐานกฎหมาย เปิดประตูเขมรบุกพื้นที่ในปี 43 ยึดแผนที่ตามพันธะผูกพัน ไทย – กัมพูชา(1) เปิดโอกาสให้รัฐบาลกัมพูชาฉวยมติชวนใช้ผูกพันเป็นมรดกบาปดันปราสาทพระวิหารสู่มรดกโลก

การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 31 รัฐบาลสุรยุทธ์สร้างปมเงื่อนเวลา สางปัญหาจัดการไม่เบ็ดเสร็จ รัฐบาลสุรยุทธ์เห็นด้วยในหลักการ แต่รัฐบาลสุรยุทธ์คัดค้านในประเด็นกัมพูชาจะยื่นขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเพียงลำพังโดยไม่มีความร่วมมือของไทย แม้ทางรัฐบาลไทยจะมีการดำเนินการคัดค้านเพราะต้องการเข้าร่วมเป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียนมรดกในส่วนของโบราณสถานที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ที่เป็นอำนาจอธิปไตยของไทยด้วย

ในที่สุดแล้วคณะกรรมการมรดกโลกให้เลื่อนการพิจารณาออกไปก่อน แต่ทางรัฐบาลกัมพูชาก็ไม่สนใจเท่าใด เดินหน้าลุยเต็มที่เดินเครื่องลุยเต็มสูบเพียงลำพังแม้จะไร้การสนับสนุนจากทางฝั่งไทยก็ตามที เพราะกัมพูชาถือว่าเป็นเจ้าของมีสิทธิและอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหาร และยึดเอามติครม.ชวนปี 43 นับตั้งแต่นั้นมาเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินการผลักดันขอขึ้นจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก

ก่อนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 32 หากนายนพดล ปัทมะ ในฐานะรมว.ว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไม่เร่งดำเนินการเจรจาเพื่อขอให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในตัวแผนที่ฉบับที่ทางรัฐบาลกัมพูชาใช้ยื่นแนบขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แผนที่นั้นจะเป็นต้นเหตุทำให้เสียดินแดนทับซ้อนเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากตัวปราสาทพระวิหารที่ประเทศไทยสูญเสียไปพร้อมอำนาจอธิปไตยของพื้นที่ตั้งปราสาทตามคำตัดสินศาลโลกเมื่อปี พ.ศ. 2505

จากผลการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 32 คณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศมีเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าควรขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารตามที่กัมพูชาเสนอ เพราะเข้าหลักเกณฑ์ 1 ใน3 ข้อสำหรับทางออกของไทย คณะกรรมการมรดกโลกจะตั้งคณะกรรมการจาก 7 ประเทศโดยมีไทยร่วมด้วย เข้ามาบริหารจัดการร่วมกับกัมพูชาเฉพาะพื้นที่ตัวปราสาทพระวิหาร ส่วนการพัฒนาพื้นที่พิพาทนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการมรดกโลก ผิดกับข่าวสารที่เป็นเท็จตามที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและพรรคประชาธิปัตย์นำเสนอแจ้งสู่สาธารณะว่า ประเทศไทยเสียดินแดนเพิ่มเติม จึงไม่เป็นความจริง

ดังนั้นการที่พรรคประชาธิปัตย์อภิปรายในสภาคาดหวังว่าการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 32คณะกรรมการมรดกโลกให้เลื่อนการพิจารณาออกไปก่อน จึงถือเป็นการเสี่ยงอย่างยิ่งต่อการสูญเสียดินแดนและอำนาจอธิปไตย หากรัฐบาลไทยยังยืนกรานคัดค้าน แต่ไม่มีการดำเนินการเจรจาใดๆ เพื่อขอให้ให้รัฐบาลกัมพูชาแก้ไขเปลี่ยนแปลงแผนที่ ผลการตัดสินของคณะกรรมการโลกล่าสุดที่มีมติให้ปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนมรดกโลก จะเป็นตราบาปและเป็นการบริหารราชการแผ่นดินที่ผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงในการทำให้ไทยสูญเสียดินแดนและอำนาจอธิปไตยอีกครั้ง

ในการณ์นี้ทำให้เห็นว่ากรณีกัมพูชาขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก จึงเป็นเกมการเมืองที่สกปรกสมรู้ร่วมคิดกันของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและพรรคประชาธิปัตย์รวมไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งหลาย จงใจปกปิดข้อเท็จจริง บิดเบือนประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง ปลุกระดมหวังผลทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่ตามมาไม่ว่าจะเป็นสร้างเกลียดชังให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติ สร้างความเคียดแค้นชิงชัง ผลักมิตรประเทศเพื่อนบ้านให้เป็นศัตรู ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแม้จะลุกลามบานปลายเป็นสงครามระหว่างประเทศก็ยอม กลุ่มคนอวิชชาที่ร่วมขบวนการเหล่านี้มีวัตถุประสงค์สุดท้ายร่วมกันก็คือ การโค่นล้มรัฐบาลสมัครของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข จะแตกต่างกันก็ที่เป้าหมายส่วนตน ใครต้องการอะไรย่อมรู้อยู่แก่ใจดี โดยมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยตกเป็นเหยื่อของเผด็จการอำมาตย์ทำการฆาตกรรมประชาธิปไตยต่อเนื่องนั่นเอง

ท้ายที่สุดนายนพดลและเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติการไปจนถึงระดับสูงที่เกี่ยวข้องในหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ สภาความมั่นคงแห่งชาติ สามารถดำเนินการเจรจาผลักดันให้ทางกัมพูชาเปลี่ยนแผนที่เป็นแผนผังไม่ทำให้ประเทศไทยสูญเสียดินแดนและอำนาจอธิปไตยในการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาขึ้นเป็นมรดกโลก เป็นไปอย่างถูกต้องตามกระบวนการที่เปิดเผย มีการประสานงานกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการตามกฎหมาย แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีมติตัดสินให้แถลงการณ์ร่วมเป็นสนธิสัญญาที่ต้องผ่านความเห็นชอบในสภาตามมาตรา 190 ก็ตาม รัฐบาลพร้อมรับผิดชอบตามกรอบของกฎหมาย ย้ำเพราะผู้เกี่ยวข้องทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ

อ้างอิง ......

(1) มติครม.รัฐบาลชวน หลีกภัย ว่าด้วยการสำรวจและปักหลักเขตแดนทางบกจะดำเนินกากรโดยใช้เอกสารหลักฐานที่ผูกพันไทยและกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ คืออนุสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 สนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 กับพิธีสารแนบท้าย และแผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน

(2) คณะโฆษกรัฐบาลยืนยันครม.พร้อมรับผิดชอบตามกรอบของกฎหมาย หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดการลงนามแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190

8 ก.ค. 51 เวลา14.00 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล พลตำรวจโท วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงท่าทีของรัฐบาลภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่สนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเป็นหนังสือสัญญาที่ต้องขอความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 โดยยืนยันว่ารัฐบาลดำเนินการเรื่องนี้ด้วยความบริสุทธิ์ไม่ได้ส่อไปในทางทุจริต ซึ่งที่ผ่านมากรมสนธิสัญญาและกฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศ ได้ปรึกษาหารือกับนิติกร รวมทั้งเจ้ากรมแผนที่ทหาร แล้วเห็นว่าสามารถดำเนินการได้ ไม่เข้ามาตรา 190 และเป็นการกระทำโดยเปิดเผย ไม่มีการปิดบังซ่อนเร้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้บอกกับคณะรัฐมนตรีว่า ไม่ต้องวิตกกังวลต่อเรื่องที่เกิดขึ้น โดยปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ

ผู้สื่อข่าวถามถึงความรับผิดชอบของรัฐบาลต่อกรณีที่เกิดขึ้น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อศาลวินิจฉัยว่า รัฐบาลทำผิดมาตรา 190 จำเป็นต้องกลับไปดูมาตราอื่นประกอบ โดยเฉพาะมาตรา 154 ที่ระบุว่า หากร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ให้ถือว่าร่าง พ.ร.บ.นั้นตกไป ดังนั้น การลงนามในแถลงการณ์ร่วมให้ถือเป็นโมฆะ ซึ่งเท่ากับว่า ปัญหานี้จบไปแล้ว แต่หากใครเห็นว่ารัฐบาลทำไม่ถูกต้อง ก็มีช่องทางดำเนินการตามกฎหมายต่อไป และหากมีการยื่นถอดถอนก็เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ แต่การถอดถอนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270 คือ ต้องเป็นความผิดที่ส่อไปในทางทุจริต หรือมีความผิดร้ายแรงต่อการบริหารราชการแผ่นดิน

ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นถือว่ารัฐบาลบริหารงานผิดพลาดหรือไม่ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ถือว่าผิดพลาด เพราะเรื่องของความคิดเห็นสามารถแตกต่างกันได้รัฐบาลถือว่าทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ หากมีเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายคงไม่มีใครกล้าไปลงนามในเอกสาร และขณะนี้ปราสาทพระวิหารได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว โดยประเทศไทยไม่ได้เสียพื้นที่แม้แต่ตารางนิ้วเดียว

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เข้าชื่อยื่นเรื่องถอดถอนต่อคณะกรรมการป้องกันและปรามปราบการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และหาก ป.ป.ช.รับเรื่องไว้แล้ว ครม.ทั้งหมดต้องยุติการทำหน้าที่หรือไม่ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะได้เป็นการพิสูจน์ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่สร้างปัญหา ไม่สมบูรณ์ และทางตัน ให้กับการบริหารงาน หาก ครม.ต้องหยุดทำงานแล้วจะเป็นอย่างไร กฎหมายไม่ได้ระบุต่อไปว่าจะต้องทำอย่างไร เพราะคนที่จะมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้ต้องมาจาก ส.ส.

ด้านนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลบริหารงานผิดพลาด หรือเป็นการเปลี่ยนตัวอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ อย่างที่สื่อมวลชนสอบถาม แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้เพิ่งจะมีผลบังคับใช้ และกรณีนี้เพิ่งเกิดเป็นประเด็นที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยอย่างนี้ก็จะเป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีบอกว่าให้เป็นไปตามขั้นตอน ไม่ได้ชี้ว่า ครม. รัฐมนตรี และกระทรวงการต่างประเทศ มีความผิด

“รัฐบาลรับผิดชอบทุกการดำเนินการที่เป็นนโยบายในเชิงการตัดสินใจการบริหารอยู่แล้ว แต่ความรับผิดชอบนั้นต้องเป็นไปตามขั้นตอน เป็นไปตามกระบวนการกฎหมาย ความรับผิดชอบที่สื่อพยายามถามนั้นคือรัฐบาลจะลาออกหรือไม่ หรืออย่างไรนั้น หากถามอย่างนั้นพวกผมคงตอบไม่ได้ ความรับผิดชอบที่สื่อกำลังถามว่ารัฐบาลจะอยู่ต่อไปได้เพียงชั่ววันหรือสัปดาห์จากเหตุการณ์นี้ ผมตอบไม่ได้ แต่ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ปฏิเสธความรับผิดชอบในทุกกรณีที่ได้ดำเนินการไปและทุกกรณีที่ว่านี้มีกฎหมายกำกับอยู่” รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว

ขณะที่นางสาวศุภรัตน์ นาคบุญนำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวยืนยันว่ารัฐบาลยึดหลักกฎหมายเป็นหลัก ส่วนเรื่องอารมณ์ความรู้สึกของสังคมนั้น รัฐบาล นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีทุกคนรับฟังความเห็นของทุกฝ่าย ทุกภาคส่วน เพื่อนำมาสู่การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อหาทางออกให้สังคมยอมรับได้ แต่ถ้ารัฐบาลจะตัดสินใจโดยใช้อารมณ์ความรู้สึกเป็นหลักคงไม่ได้ ส่วนจะเป็นทางออกใดนั้นคงต้องติดตามกันต่อไป บอกได้เพียงว่ารัฐบาลนี้พร้อมรับผิดชอบไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรีไม่วิตกกังวลในเรื่องนี้

+++++++++++

ผลสรุป

นพดล ยันไม่ได้ขายชาติ แต่ยอมลาออกจากตำแหน่ง
14:20 น.

นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ แถลงลาออกจากตำแหน่งว่า ในเรื่องการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร ผมต้องเร่งแก้ไขให้ได้ เพราะคำขอยื่นผนวกพื้นที่ทับซ้อน หากยื่นไปด้วยย่อมสุ่มเสี่ยง ท้ายที่สุดการประเมินกระทรวงต่างประเทศถูกต้อง คณะกรรมการมรดกโลก ขึ้นทะเบียน กระทรวงต่างประเทศ ดำเนินแข็งขัน ไม่ให้เสียพื้นที่ทับซ้อน โปร่งใสมีหน่วยงานเกี่ยวข้อง มิได้เร่งรีบ มีผบ.เหล่าทัพ สมช. และเสนอ ครม.เห็นชอบ

ข้อกล่าวหาผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นความเท็จ ไม่ใช่ความสนับสนุนไทย หรือแถลงการณ์ร่วม ไม่ได้ทำให้ประเทศไทยเสียดินแดน แต่เป็นการปกป้องดินแดน แต่น่าเสียใจ มีการนำประเด็นมาปลุกเร้าทางการเมือง ผมอยากเห็นคนไทยรักกัน และรักเพื่อนบ้าน ส่วนคำวินิจฉัยศาล รัฐธรรมนูญ ผมเคารพคำตัดสิน เป็นหนังสือสัญญาต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งจะเป็นกรณีศึกษาต่อไป ซึ่งกระทรวงต่างประเทศ ดำเนินมาตลอด ไม่มีใครจงใจทำผิดกฎหมาย

มีกลุ่มไม่หวังดี รังแกพี่สาวผมที่จังหวัดนครราชสีมา ปลุกเร้าเกลียดชังคนไทยและกัมพูชา เมื่อฝุ่นจางลง จะเห็นกระทรวงต่างประเทศทำเพื่อปกป้อง ผมไม่ได้ขายชาติ ยืนยันผมไม่ได้ทำให้ประเทศเสียหาย ผมอยากให้รัฐบาลเอาเวลาแก้ไขปัญหาประเทศไทย ผมอยากเห็นความปรองดอง เพื่อบ้านเมืองสำคัญกว่า แม้ผมไม่ผิด ผมขอแสดงสปิริตลาออกจากตำแหน่งมีผลวันที่ 14 ก.ค.นี้

+++++++++

ล่าสุด !!!

กัมพูชา ฟ้อง UN ยึดอนุสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 สนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 กับพิธีสารแนบท้าย และแผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน
v
v
v
แม่ลูกจันทร์ช่วย ขยาย
v
v
v
ในบันทึกข้อตกลงปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา ฉบับล่าสุด พ.ศ. 2543 ซึ่ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รมช.ต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย ได้ระบุว่าการจัดทำหลักเขตแดนให้ยึดตามแผนที่ฝรั่งเศส-สยาม (คศ.1904) เป็นแนวทาง

แต่ไม่ได้ระบุแผนที่แอล 7017 ของอเมริกาที่ไทยใช้อ้างอิง!!

ก็เท่ากับเราไปยอมรับแผนที่ฝรั่งเศสของเขมรฝ่ายเดียว

ถ้าเป็นอย่างนี้ ไทยก็เสียเปรียบเขมรตามเคย.

แม่ลูกจันทร์


++++++++

กัมพูชา ดึงฑูต อเมริกา เวียดนาม จีน เข้าพื้นที่
ก่อนขยายผล บานปลาย ชงเรื่องฟ้องอาเซียนและ UN

เข้าศาลโลกอีกครั้งเมื่อไหร่พื้นที่ทับซ้อนปิ๋วแน่
ซ้ำรอยปราสาทพระวิหาร ย้อนรอย พ.ศ. 2505

ผลงานใคร ถ้าไม่ใช่ พันธมิตรฯ และ ประชาธิปัตย์ ก่อไว้

++++++++













Create Date : 24 กรกฎาคม 2551
Last Update : 24 กรกฎาคม 2551 22:30:39 น. 0 comments
Counter : 976 Pageviews.  

VikingsX
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




[Add VikingsX's blog to your web]