เรื่องนี้มีการกล่าวอ้างอิงไว้ในหนังสือพุทธโอวาทก่อนปรินิพพานโดยพระอาจารย์วัน อุตตะโมใน หนังสือเล่มนี้กล่าวไว้ว่า
ในช่วงที่พระพุทธเจ้าใกล้จะปรินิพพานที่เมืองกุสินาราก็มีเหล่าอุบาสกอุบาสิกา รวมทั้งเทพและเทวดาทุกชั้นฟ้าต่างลงมาถวายความเคารพพระพุทธองค์คือมีทั้งดอกไม้ที่เป็นดอกไม้ทิพย์ของภพภูมิเทวาและดอกไม้ของมนุษย์รวมไปถึงของหอมต่างๆ เช่น กำยาน ธูปเทียน เป็นต้นซึ่งในเรื่องนี้พระพุทธองค์ทรงทราบดีอยู่แล้วถือเป็นการบูชาพระองค์อย่างหนึ่งที่เรียกว่าเป็นอามิสบูชา
เพราะในยุคนั้นมีความเชื่อเรื่องเทพเจ้าเทวดาและภูตผีมาก่อนอยู่แล้วการนำสิ่งของที่เป็นของหอมทั้งหลายมาบูชาจึงถือเป็นเรื่องปกติแยกจากกันไม่ได้พระพุทธองค์ไมได้ทรงห้ามการบูชาแบบนี้แต่ก็ยังทรงตรัสกับพระอานนท์ว่า
อานนท์ พุทธบริษัททั้งสี่คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทำการสักการบูชาเราด้วยเครื่องบูชาสักการะทั้งหลายอันเป็นอามิสคือ ดอกไม้ ธูปเทียน เป็นต้น หาได้ชื่อว่าบูชาตถาคตเป็นการอันยิ่งไม่ผู้ใดที่ปฏิบัติตามธรรมปฏิบัติอันชอบยิ่ง ปฏิบัติธรรมอันเหมาะสมผู้นั้นแลชื่อว่าสักการบูชาเราด้วยการบูชาอันยอดเยี่ยม
แปลว่าพระองค์ยกย่องการบูชาด้วยการปฏิบัติเป็นสำคัญส่วนพวกของหอมทั้งหลายที่นำมาบูชาก็ถือเทียบเปรียบเปรยว่าเป็นกลิ่นหอมของความดีอย่างเช่นกลิ่นของธูปหอมหรือกำยานเป็นต้น คนดีๆ มักจะมีกลิ่นหอมติดตัวเทวดาก็มีกลิ่นหอมปรากฏอยู่ในกายทิพย์ทั้งสิ้น
ดังนั้นเรื่องความเข้าใจเรื่องการจุดธูปจึงมีที่มาที่ไปแบบนี้คือจุดได้ตามความเชื่อที่ได้เชื่อได้ยินกันมาเพื่อเป็นการสักการบูชาทางหนึ่ง โดยการจุดธูปบูชาเทวดานั้นท่านผู้รู้ได้กรุณาให้คำแนะนำมาดังต่อไปนี้
---------------------