|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
*~ปวดประจำเดือน~*
ปวดประจำเดือน
ลักษณะทั่วไป
ปวดประจำเดือน หมายถึง อาการปวดท้องขณะมีประจำเดือน พบได้ประมาณ 70 % ของผู้หญิง ในวัยที่มีประจำเดือน
ส่วนใหญ่จะปวดไม่มากและสามารถทำงานได้ตามปกติ ส่วนน้อยเท่านั้น อาจปวดรุนแรงจนต้องพักงาน
อาการปวดประจำเดือนแบ่งได้เป็น
ชนิดธรรมดา (ปฐมภูมิ) ซึ่ง พบเป็นส่วนมาก
กับ ชนิดผิดปกติ (ทุติยภูมิ) ซึ่งพบเป็นส่วนน้อย
ปวดประจำเดือนชนิดธรรมดา หรือปฐมภูมิ (Primary dysmenorrhea) จะพบในเด็กสาว ส่วนมากจะเริ่มมีอาการตั้งแต่มีประจำเดือนครั้งแรก หรือไม่ก็เกิดขึ้นภายใน 3 ปี หลังมีประจำเดือนครั้งแรก จะมีอาการมากที่สุด ในช่วงอายุ 15-25 ปี หลังจากวัยนี้อาการจะค่อย ๆ ลดลง บางคนอาจหายปวดหลังแต่งงาน โดย เฉพาะอย่างยิ่งหลังมีบุตรแล้ว จะมีส่วนน้อยที่ยังอาจมีอาการตลอดไปจนถึงวัยหมดประจำเดือน
การปวดประจำเดือนชนิดนี้ จะไม่มีความผิดปกติของมดลูกและรังไข่แต่อย่างใด ปัจจุบันนี้เชื่อ ว่า มีสาเหตุมาจากเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ระหว่างมีประจำเดือน และมีการหลั่งสารพรอส ตาแกลนดิน (Prostaglandins) มากผิดปกติ ทำให้มดลูกมีการบีบเกร็งตัว เกิดอาการปวดที่ บริเวณท้องน้อย
ปวดประจำเดือนชนิดผิดปกติหรือทุติยภูมิ (Secondary dysmenorrhea) จะมีอาการปวดครั้ง แรกเมื่อมีอายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป . โดยก่อนหน้านี้จะไม่เคยมีอาการปวดประจำเดือนเลย มักมี ความผิดปกติของมดลูกหรือรังไข่ เช่น เนื้องอกของมดลูกเยื่อบุมดลูกงอกผิดที่ มดลูกย้อยไป ด้านหลังมาก ปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น เชื่อว่าอารมณ์มีส่วนเสริมความรุนแรงของการปวด ประจำเดือนทั้ง 2 ชนิด เช่น พบว่าคนที่อารมณ์อ่อนไหวง่าย หรือมีความเครียดจะมีอาการปวด รุนแรง กว่าคนที่มีอารมณ์ดี
อาการ จะเริ่มมีอาการก่อนมีประจำเดือนไม่กี่ชั่วโมง และเป็นอยู่ตลอดช่วง 2-3 วันแรกของประจำเดือน โดยมีอาการปวดบิดเป็นพัก ๆ ที่บริเวณท้องน้อย บางคนอาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ใจคอหงุดหงิดร่วมด้วย ถ้าปวดรุนแรงอาจมีอาการเหงื่อออกตัวเย็น มือเท้า เย็นได้
การรักษา 1. ถ้าปวดไม่มาก ให้กินยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน หรือ พาราเซตามอล ครั้งละ 2 เม็ด เวลาปวดซ้ำได้ทุก 4-6 ชม.
2. ถ้าปวดมาก ให้นอนพัก ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบหน้าท้อง และให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่ สเตอรอยด์ เช่น อินโดเมทาซิน ,ไอบูโพรเฟน ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ควรกินก่อนมี ประจำเดือน 48 ชั่วโมง และกินทุกวัน จนเลือดประจำเดือนหยุดออก หรือให้ยาแอนติสปาส โมดิก เช่น อะโทรพีน, ไฮออสซีน ครั้งละ 1-2 เม็ด บรรเทาปวด ได้ทุก 6 ชม.
3. ถ้าปวดจนมีอาการเหงื่ออกตัวเย็น ให้ฉีดแอนติสปาสโมดิก เช่น อะโทรพีน หรือไฮออสซีน 1/2-1 หลอด เข้ากล้ามหรือเข้าหลอดเลือดดำ
4. ในรายที่เป็นอยู่ประจำ อาจให้กินยาคุมกำเนิด (กินแบบเดียวกับใช้ยาคุมกำเนิด คือวันละ 1 เม็ด ทุกวัน) เพื่อมิให้มีการตกไข่ จะช่วยไม่ให้ปวดได้ชั่วระยะหนึ่ง อาจให้ติดต่อกันนาน 3-4 เดือน แล้วลองหยุดยา ถ้าหากมีอาการกำเริบใหม่ ก็ควรให้กินยาคุมกำเนิดต่อไปอีกสักระยะ หนึ่งจนกว่า เมื่อหยุดยาแล้ว อาการปวดประจำเดือนทุเลาไป
5. ถ้าพบว่าอาการปวดประจำเดือนเริ่มเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในผู้หญิงอายุมากกว่า 25 ขึ้นไป หรือยังมีอาการปวดมากหลังแต่งงาน หรือมีเลือดประจำเดือนออกมากกว่าปกติ ควรแนะนำ ไปโรงพยาบาลอาจต้องตรวจภายใน ค้นหาสาเหตุให้แน่นอน
ข้อแนะนำ ควรให้ความมั่นใจแก่ เด็กสาวที่เริ่มมีอาการปวดประจำเดือนว่า โรคนี้ไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่อย่างใด และส่วนใหญ่เมื่ออายุมากขึ้นอาจทุเลา หรือหายได้เอง ตลอดจนให้ความรู้ที่ ถูกต้องเกี่ยวกับประจำเดือน
รายละเอียด เมื่อมีอาการปวดประจำเดือน ควรกินยาแก้ปวด และประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อน
Create Date : 21 พฤศจิกายน 2554 |
|
3 comments |
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2554 16:37:36 น. |
Counter : 1539 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
โดย: ป้้าเจ (คนขี้อาย ) 23 พฤศจิกายน 2554 5:48:01 น. |
|
|
|
|
|
|
|