นิคโคโล มาเคียเวลลีคือใคร




นิคโคโล มาเคียเวลลี่


บรรดานักรัฐศาสตร์ทั้งหลายไม่มีใครไม่รู้จัก มาเคียเวลลี่ ขึ้นอยู่กับว่าจะมีมุมมองหรือ เห็นด้วย เห็นต่างจากเขาอย่างไรเท่านั้นเอง เพราะมาเคียเวลลี่ได้เสนอทฤษฎีทางปกครองอันลือลั่นไว้ในหนังสือซึ่งเป็นผลงานของเขา ชือ The Prince จนเป็นที่กล่าวถึงไปทั่วโลกตราบจนบัดนี้



  • นิคโคโล มาเคียเวลลี่ เกิดที่เมือง ฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี มาเคียเวลลีเข้ารับราชการครั้งแรกในตำแหน่งเสมียนประจำสำนักเอกสารบันทึกของรัฐบาล
  • และได้เป็นรัฐมนตรีกลาโหม - รัฐมนตรีมหาดไทย และเลขาคณะเทศมนตรีในเวลาต่อมา

มาเคียเวลลี่มีงานเขียนซึ่งส่วนใหญ่เขียนขึ้นตอนที่เขาตกอับ โดยวรรณกรรมที่สร้างชื่อให้เขาเป็นอย่างมากคือหนังสือชื่อ The Prince 


มาเคียเวลลี่ได้เสนอแนวคิดของเขาไว้ใน The Prince ไว้ดังนี้


ธรรมชาติของมนุษย์


มาเคียเวลลีมองว่า โดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์เห็นแก่ตัว ก้าวร้าว และแสวงหา และพยายามที่จะหลีกเลี่ยงอันตรายต่างๆ แต่แสวงหากำไร จึงทำให้ชีวิตมนุษย์ต้องดิ้นรน และแข่งขันอยู่เสมอ

นอกจากนี้มาเคียเวลลียังมองว่า มนุษย์เป็นผู้ที่โง่เขลาปล่อยให้จิตตกอยู่ภายใต้การครอบงำของกิเลสตัณหา บางครั้งมนุษย์ยินยอมที่จะมอบตัวเองให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ที่แข็งแรงกว่าอย่างไม่รู้ตัว


รัฐชาติ


มาเคียเวลลีมองว่ารัฐชาติมิได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือตามที่พระเจ้าบันดาล

แต่มีรากฐานการเกิดรัฐมาจาก การอ่อนแอ ไร้ประสิทธิภาพของคนส่วนมากที่ไม่สามารถพิทักษ์รักษาความปลอดภัยให้ตนเองได้จึงเกิดรัฐชาติ


รัฐมิได้ถูกสถาปนาขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายที่จะจัดตั้งศีลธรรมหรือบังคับใช่กฎหมายธรรมชาติ

ศีลธรรมและกฎหมายธรรมชาติ คือ สังกัป ที่ได้รับการพัฒนาภายหลังจากที่คนร่วมมีปฏิกิริยาร่วมกันในการต่อต้านผู้ใช้อำนาจล้าง


ศิลปะการปกครอง


มาเคียเวลลีเสนอไว้ว่าผู้ปกครองหรือกษัตริย์จะได้อำนาจมา 2 ช่องทางคือ

  1. ได้มาจากการสืบสันตติวงศ์ หรือรับอำนาจผ่านทางสายเลือด
  2. ได้มาจากการปราบดาภิเษก หรือได้มาจากการเปลี่ยนแปลงโดยใช้กำลังแล้วปราบดาภิเษกตนเองขึ้นปกครอง


  • ตามทัศนะของมาเคียเวลลี มองว่า การสืบสันตติวงศ์มักไม่ค่อยมีปัญหาเพราะมีพื้นฐานหรือสิ่งแวดล้อมสนับสนุนอยู่แล้ว โดยเขาเสนอว่าผู้ปกครองที่ฉลาดที่มาตามรูปแบบนี้ ควรรักษาแบบแผนประเพณีดั้งเดิมเอาไว้เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สนับสนุนตนเองอยู่แล้ว


  • ส่วนผู้ที่มาจากการปฏิวัติ หรือปราบดาภิเษก มาเคียเวลลีเสนอว่า รูปแบบนี้จะสร้างศัตรูขึ้นจากผู้ที่เคยได้รับประโยชน์จากแบบแผนเก่าอยู่
  • ส่วนผู้ที่ได้รับประโยชน์ใหม่จะหันมาผู้สนับสนุนผู้ปกครองใหม่ แต่การสนับสนุนยังไม่มั่นคงเพราะไม่เชื่อในผู้ปกครองหรือความมั่นคงใหม่ๆ



มาเคียเวลลี่เตือนผู้ปกครองไว้ว่า


  • ผู้ปกครองต้องระลึกอยู่เสมอว่าความมั่นคงขึ้นอยู่กับประชาชนมากกว่าข้าราชการ  สิ่งที่ประชาชนต้องการคือ อิสระภาพจากการกดขี่  ผิดกับขุนนางที่มุ่งแต่จะแย่งอำนาจกับผู้ปกครองอยู่เสมอ
  • ดังนั้นหากต้องการครองอำนาจให้มั่นคงต้องแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชน ไม่ใช่ร่วมกับขุนนางกดขี่ประชาชน


  • ผู้ปกครองที่ยึดอำนาจหรือปราบดาภิเษก จะสามารถหาพลังสนับสนุนตนได้อย่างรวดเร็ว เพราะผู้ถูกปกครองหรือประชาชนไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง ( ใครปกครองก็เหมือนๆกัน ) ระหว่างผู้ปกครองเก่า และผู้ปกครองใหม่


  • แต่ผู้ปกครองที่เข้ายึดดินแดนของผู้อื่นจะประสบปัญหาในการรักษาอำนาจท่ามกลางประชาชนที่แตกต่างทางภาษา เชื้อชาติ จึงทำให้ผู้ปกครองต้องปกครองอย่างโหดเหี้ยม ทำลายล้างผู้ต่อต้านอย่างรุนแรงและทันที เพื่อให้ผู้ถูกปกครองกลัวและหันมาสนับสนุน แม้ไม่เห็นด้วย แต่เพราะไม่ต้องการถูกทารุณ ในขณะที่ผู้ปกครองต้องแสวงหาการสนับสนุนจากประชาชนที่ถูกผู้ปกครองเก่ากดขี่มาเป็นพวกให้ได้เพื่อต่อต้านฝ่ายตรงข้าม


  • เมื่อต้องใช้วิธีการโหดร้ายในการปกครองแล้ว มาเคียเวลลีแนะนำให้ผู้ปกครองหันมาใช้ศิลปะการจูงใจ เพราะผู้ปกครองที่ดีจะต้องไม่ใช้กำลังอย่างเดียวเพื่อรักษาอำนาจตน


  • โดยผู้ปกครองอาจจะนำศาสนาเข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยรักษาความสงบด้วย การสถาปนาสถาบันทางศาสนาให้มั่นคงและส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนาให้แพร่หลาย ชักจูงให้ประชาชนเลื่อมใสในอำนาจศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา และยำเกรงการถูกลงโทษจากพระเจ้าหากก่อความเดือดร้อน แต่มาเคียเวลลี ได้แนะนำว่าผู้ปกครองไม่ควรเข้าเป็นศาสนิกของศาสนาเสียเอง เพียงแค่ให้รู้จักแสวงหาประโยชน์จากความเชื่อทางศาสนาเท่านั้น


  • ผู้ปกครองต้องมีกองทัพที่มีประสิทธิภาพเป็นกองกำลังสนับสนุนอำนาจตนเอง โดยมาเคียเวลลี เสนอว่า ทหารในกองทัพควรเป็นทหารประจำการ หรือทหารเกณฑ์ ไม่ใช่ทหารรับจ้าง


  • โดยเขาให้เหตุผลว่า ผู้ที่ต่อสู้เพื่อป้องกันบ้านเกิดและคุณธรรมนั้นจะยอมเสียสละชีวิตในสมรภูมิ ส่วนทหารรับจ้างนั้นจะรบเพื่อเงิน และไม่ส่งเสริมอำนาจให้ผู้ปกครอง แต่กลับจะทำลายอำนาจผู้ปกครองในที่สุด


  • นอกจากนั้นมาเคียเวลลี แนะนำว่าผู้ปกครองไม่ควรหวังพึ่งกองกำลังจากคนอื่น เพราะจะเป็นการนำตัวเองเข้าไปอยู่ภายใต้อำนาจของผู้อื่น



นอกจากนี้มาเคียเวลลียังเสนอแนวคิดไว้ว่า


  • หากเกิดสงครามขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน ผู้ปกครองที่ฉลาดต้องนำกำลังของตนเข้าสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อย่าเพิกเฉย เขาบอกว่า การวางตัวเป็นกลาง เป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะจะก่อให้เกิดศัตรูทั้งสองด้าน ( ถ้าเข้าร่วมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมีศัตรูเพียงด้านเดียว ) และรัฐคู่สงครามจะเกลียดชัง และเมื่อสงครามสิ้นสุดลง รัฐที่ชนะจะเข้าโจมตีรัฐที่เป็นกลางทันที



  • ผู้ปกครองจึงควรตัดสินใจอย่างเด็ดขาด และมาเคียเลลีแนะนำไว้ว่า ถ้าเป็นไปได้ ให้เข้าร่วมรบสนับสนุบรัฐที่อ่อนแอกว่า เพราะเมื่อชัยชนะมาถึงเราจะได้รับผลประโยชน์มากกว่าพันธมิตรเสียอีก




คุณสมบัติของผู้ปกครอง หรือมุขบุรุษ จะต้องมีคือ


  • มัธยัสถ์
  • เด็ดขาด
  • รอบคอบ
  • เป็นที่ยำเกรงของผู้ถูกปกครอง
  • มีคุณสมบัติของจิ้งจอกและราชสีห์ เข้าไว้ด้วยกัน



มาเคียเวลลีกล่าวว่า ความเมตตาอารีอย่างไม่มีขอบเขตจะเป็นอันตรายได้เช่นกัน

ระหว่างความรักและความยำเกรง หากจำเป็นต้องเลือก ผู้ปกครองต้องเลือกความยำเกรง ซึ่งจะเป็นการปลอดภัยกว่า เพราะทำให้คนเชื่อฟังไม่กระด้างกระเดื่อง (ความยำเกรงไม่ใช่ความเกลียดชัง )


สิ่งสำคัญอีกประเด็นที่น่าสนใจที่มาเคียเวลลีกล่าวไว้ในหนังสือ เดอะปริ๊นซ์ ก็คือ


ผู้ปกครองที่ดีต้องหลีกเลี่ยงการริบทรัพย์สมบัติ หรือผู้หญิงของผู้ที่ตนปกครอง โดยมาเคียเวลลีย้ำว่า


  • คนเราพร้อมที่จะลืมหรือให้อภัยฆาตกรที่ฆ่าบิดาของตนมากกว่าผู้ที่ยึดเอาทรัพย์ของตนและผู้หญิงของตนไป ( คนเราพร้อมจะลืมและให้อภัยฆาตกรที่ฆ่าพ่อแม่ แต่ไม่มีทางที่จะลืมคนที่เข้ายึดเอาทรัพย์และผู้หญิงของเขาไป )



  • ผู้ปกครองต้องไม่งมงายในเรื่องโชคชะตาจนทำให้ตนเองเสียหาย และเมื่อเราล้มเหลว ต้องไม่โทษโชคชะตา
  • ผู้ปกครองต้องสร้างความนิยมด้วยการแสดงภาพพจน์ที่ดี มีเมตตา ซื่อสัตย์ มีมนุษยธรรม แต่เบื้องหลังนั้นต้องเด็ดขาด และเข้มแข็ง ไร้ความเมตตากลับกลอกเมื่อสถานะการณ์บีบบังคับ เพราะพันธกิจของผู้ปกครองคือรักษาเสถียรภาพแห่งรัฐของตน



รูปแบบการปกครอง


  • มาเคียเวลลีสนับสนันรูปแบบการปกครองแบบ ราชาธิปไตย ( Absolute Monarchy ) โดยเขาให้เหตุผลว่า การปกครองโดยคนๆเดียวมีอำนาจเด็ดขาดสูงสุดเป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุดในทัศนะของเขา



  • มาเคียเวลลเชื่อว่า ราชาธิปไตย และอภิชนาธิปไตย โดยเขามองว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่ดีแต่ มีข้อเสียคือขาดเสถียรภาพ และความดีของระบอบมักถูกทำลายด้วยตัวของมันเอง



  • แต่ เขากลับบอกว่ารูปแบบรัฐที่เขาพอใจคือแบบสาธารณรัฐที่มีลักษณะผสมผสานระหว่าง อภิชนาธิปไตยและประชาธิปไตย




  • ทั้งหมดนี่คือบางส่วนที่เป็นทฤษฎีการปกครองที่มาเคียเวลลี เสนอไว้ในหนังสือ The Prince ที่ผมนำมาเสนอให้อ่านเพื่อการศึกษาวิเคราะห์พอเป็นสังเขป







กังวาล  ทองเนตร รัฐศาสตร์ภาควิชาการปกครอง - โทการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง









Create Date : 26 สิงหาคม 2555
Last Update : 26 สิงหาคม 2555 13:34:47 น.
Counter : 5404 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Thongnetra
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



New Comments
สิงหาคม 2555

 
 
 
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
27
28
29
30
 
 
All Blog