มองเตสกิเออ

Montesquieu 1689 -1755


มองเตสกิเออ เกิดที่ปราสาทลาแบร๊ด ที่ฝรั่งเศส เมื่อ 18 มกราคม ค.ศ. 1689 มองเตสกิเออเกิดในตระกูลขุนนางมีชื่เต็มว่า -ชาร์ล หลุยส์ เดอ เชอกองดาต์ บารอง เดอลาแบร๊ด เอ เดอ มองเตสกิเออ


มองเตสกิเออมองว่า ธรรมชาติของมนุษย์นั้นมีความอ่อนแอ ขี้ขลาด และหวาดกลัว ซึ่งเป็นคุณสมบัติประจำตัวของมนุษย์


มองเตสกิเออ มองว่า สงครามเกิดขึ้นหลังจากที่มนุษย์ได้เข้าสู่สังคมการเมืองแล้ว



ธรรมชาติและหลักการของรับบาล


มองเตสกิเออได้แบ่งรัฐบาลในโลกนี้ไว้เป็น 3 รูปแแบ ใหญ่ๆคือ


1 ) รัฐบาล สาธารณรัฐ ( Republic ) หลักการ หรือตัวค้ำชูระบบอบนี้คือ คุณธรรม ( Virtue ) หรือ สำนึกร่วม และรักชาติ ผู้ที่มีคุณธรรมจะต้องเคารพต่อกฎหมาย และสำนึกในหน้าที่ต่อชาติ

  มองเตสกิเออกล่าวอีกว่า ถ้าเมื่อใดที่ผู้คนไม่มีคุณธรรม ซึ่งเป็นตัวค้ำชูระบบอบ ในที่สุดระบอบนี้ก็จะอยู่ไม่ได้


ความเห็นส่วนตัว วิเคราะห์ตามทฤษฎี


ผมเปรียบเทียบกับระบอบนี้ว่าเป็นเหมือนห้างสรรพสินค้าของปัญญาชน  กล่าวคือประชาชนทั่วไปไม่ว่ายากดีมีจน สามารถเดินเข้าห้างและเลือกซื้อสินค้าตามที่ตนเองมีความต้องการได้


แต่ประชาชนเองก็ต้องรู้จักกำลังของตนเองว่ามีกำลังซื้อได้แค่ไหนประชาชนเป็นผู้ประเมินตนเองว่าแค่ไหนอย่างไร และรู้หน้าที่ว่าเมื่อได้สินค้าตามต้องการแล้ว จะต้องเดินไปจ่ายค่าสินค้า ณ จุดใด ซึ่งเป็นความรับผิดชอบ หรือ คุณธรรมของผู้คนนั่นเอง เมื่อใดที่ประชาชนเลือกหยิบสินค้าแล้วไม่จ่ายเงินก็คือการขาดคุณธรรมห้างสรรพสินค้าปัญญาชน หรือระบอบนี้ก็ล้มอยู่ไม่ได่ต่อไป


2 ) รัฐบาลแบบกษัตริย์ ( Monarchy )  หลักการของระบอบนี้ จะใช้ เกียรติยศเป็นตัวค้ำชูระบอบ ( Honor ) ใช้ความเหนือกว่าและฐานะของตัวบุคคล เป็นแรงบันดาลใจ หรือดึงดูดใจผู้คนในการทำดี 


ความเห็นส่วนตัววิเคราะห์จากทฤษฎีนี้


ซึ่งผมเคยเปรียบเทียบว่า ระบบนี้เหมือนร้านโชว์ห่วย ที่มี อาแปะ แก่ๆ นั่งบริหารเฝ้าร้านอยู่เพียงคนเดียว ประชาชนหรือลูกค้าไม่มีสิทธิในการเลือกซื้อหรือหยิบสินค้าออกจากร้าน  ประชาชนมีหน้าที่เดินมาร้าน แล้วแจ้งความจำนงต่ออาแปะว่าต้องการอะไร จากนั้น อาแปะก็จะเดินไปหยิบสินค้าที่มีฝุ่นเขอะ ใกล้หมดอายุหรือหมดอายุมาให้  นอกจากนั้นอาแปะก็จะดูการแต่งตัวของของลูกค้าว่าแต่งตัวดีหรือ มอซอซอมซ่อ ถ้าซอมซ่อ อาจจะได้เหรียญดำๆหรือแบงค์ขาดๆเป็นเงินทอนแถมสินค้าใกล้หมดอายุกลับไป

แต่ถ้าแต่งตัวดีมีชื่อเสียงอาแปะก็อาจขอถ่ายรูปเพื่อติดโชว์ที่หน้าร้านไว้เรียกลูกค้ารายอื่นหรือเพื่อให้เป็นจุดสนใจว่าตนเองมีเมตตา

เมื่อใดที่ประชาชนไม่เห็นคุณค่าของเกียรติยศ เหรียญตรา ระบอบนี้ก็จะล้ม เช่นกัน


3 ) รัฐบาลแบบเผด็จการ (  Despotism )  หลักการหรือตัวค้ำชูระบอบนี้คือ ความกลัว ( Fear ) เป็นตัวค้ำชูระบอบ โดยใช้ความเข้มงวดของกฎหมาย บังคับใช้กฎหมายอย่างรุนแรง เพื่อบีบบังคับให้คนเชื่อฟัง


ความเห็นส่วนตัววิเคราะห์ตามทฤษฎี


ผมเปรียบระบบนี้เป็นเหมือนตลาดมืด หรือตลาดใต้ดินค้าของเถื่อนผิดกฎหมาย ประชาชนหรือลูกค้าในระบอบนี้จะถูกบีบบังคับให้เข้าหลังร้าน แล้วผู้ปกครองหรือเจ้าของร้านจะยัดเยียดสินค้าให้โดยที่ลูกค้าหรือประชาชนไม่มีสิทธิเสนอความต้องการ ประชาชนนอกจากไม่ได้สินค้าตามต้องการแล้วยังได้สินค้าด้อนคุณภาพ และถูกตีหัวออกจากร้านมาด้วยความเจ็บปวดเพราะจ่ายราคาสินค้าที่แพงกว่าท้องตลาดทั่วไป เมื่อใดที่ประชาชน ไม่กลัว แล้วลุกขึ้นต่อสู้ ตัวค้ำชูระบอบจะทำงานไม่ได้ผลแล้วระบบนี้จะล้มไปในที่สุด


ด้านกฎหมายมองเตสกิเออได้แยกฏำหมายที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็น 3 รูปแบบดังนี้


1. กฎเกณฑ์ที่มนุษย์บัญญัติขึ้น เพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่าง  รัฐ กับ รัฐ เรียกว่ากฎหมายระหว่างประเทศ  ( International Law )


2. กฎเกณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ปกครอง กับ ผู้ใต้ปกครอง เรียกว่ากฎหมายการเมือง (  Political Law )


3.กฎเกณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อกำหนดหรือความคุมความสัมพันธ์ระหว่าง เอกชน กับ เอกชน  เรียกว่า กฎหมาย เอกชน (  Civil Law )




ลักษณะของกฎหมายที่ดี มองเตสกิเออ กล่าว่า


กฎหมายที่ดีและเหมาะสมจำเป็นจะต้องสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางสังคม หรือเจตนารมณ์ของกฎหมาย


ผลงานหนังสือเล่มแรก ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1721 ชื่อจดหมายเปอร์เซีย  (The Persian Letters)



กังวาล ทองเนตร รัฐศาสตร เอกการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง




Create Date : 18 พฤษภาคม 2555
Last Update : 18 พฤษภาคม 2555 18:06:37 น.
Counter : 7907 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Thongnetra
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



New Comments
พฤษภาคม 2555

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
11
12
14
15
16
19
20
21
22
23
24
25
26
27
29
30
31
 
 
18 พฤษภาคม 2555
All Blog