อาทิตย์สาดส่อง..ความจริงจักปรากฎทั่วปฐพี!!!
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
15 ตุลาคม 2555
 
All Blogs
 
สิ้น"สรรพศิริ วิรยศิริ"ผู้บุกเบิกข่าวทีวีประเทศไทย

"สรรพสิริ วิรยศิริ" ผู้บุกเบิกวงการโทรทัศน์ไทย-ผู้บันทึกภาพเหตุการณ์6 ตุลา 19 เสียชีวิตแล้ว
วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เวลา 14:40:48 น. 
สรรพสิริ วิรยศิริ 

มีรายงานเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ว่า   นายสรรพสิริ วิรยศิริ    ผู้บุกเบิกวงการข่าวโทรทัศน์และผู้ประกาศข่าวคนแรกของไทย  เสียชีวิตแล้ว ด้วยวัย  92 ปี โดยจะมีการรดน้ำศพ ในเวลา 16.00 น. ที่วัด
มกุฏกษัตริยาราม
ทั้งนี้   สรรพสิริ วิรยศิริ   เคยเป็นอดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (ปัจจุบันคือ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ) อดีตผู้อำนวยการ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 (ปัจจุบันคือ สถานี

โทรทัศน์โมเดิร์นไนน์) และอดีตผู้อำนวยการ สถานีวิทยุกระจายเสียง ท.ท.ท. (ปัจจุบันคือ สถานีวิทยุ อสมท โมเดิร์นเรดิโอ) อดีตผู้สื่อข่าวสงคราม เป็นบุคคลผู้บุกเบิกวงการโทรทัศน์ ข่าวโทรทัศน์ 

และโฆษณาโทรทัศน์ของไทย
สรรพสิริ เกิดเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463   เป็นบุตรชายคนเล็กของพระยามหาอำมาตยาธิบดี (เสง วิรยศิริ) อดีตราชเลขานุการในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  กับนาฎ 

วิรยศิริ มีพี่สามคนคือ ทวีศักดิ์ เข็มน้อย และอนงค์นาฏ เขาจบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ อนุปริญญาทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (ปัจจุบันคือ 

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) และวิชาการถ่ายภาพจากสถาบันการถ่ายภาพแห่งนิวยอร์ก
สรรพสิริ เริ่มทำงานตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นเจ้าหน้าที่ข่าวต่างประเทศ ของกรมโฆษณาการ (ปัจจุบันคือ กรมประชาสัมพันธ์) และมีงานอดิเรกเป็นผู้สร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณา โดยสร้างแอนิเมชัน

ในประเทศไทยเป็นคนแรก จากภาพยนตร์โฆษณาชุดหนูหล่อ ของยาหม่องบริบูรณ์บาล์ม, ชุดหมีน้อย ของนมตราหมี ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศ โฆษณาดีเด่นระดับภูมิภาคเอเชีย ที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อ 

พ.ศ. 2486 และชุดแม่มดกับสโนไวท์ ของแป้งน้ำควินนา  
จากนั้นเมื่อ พ.ศ. 2492 เป็นบุคคลแรกที่เขียนบทความเรื่อง วิทยุภาพ ขึ้น และจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้อ่านบทความดังกล่าวในปี พ.ศ. 2493 จึงมีดำริในการก่อตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์ขึ้น โดยจัด

ตั้งในรูปบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2495 โดยสรรพสิริเข้าร่วมงานในสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 (ปัจจุบันคือ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์) ด้วยการเป็นช่างภาพ ผู้รับผิดชอบฝ่ายข่าว 

และเป็นผู้ประกาศข่าวทางโทรทัศน์รุ่นแรกๆ ร่วมกับอาคม มกรานนท์
ตั้งแต่ช่วงเช้าของวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 สรรพสิรินั่งรถข่าวพร้อมนำกล้องภาพยนตร์ ไปบันทึกภาพเหตุการณ์ความรุนแรง บริเวณรอบนอกมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากนั้นก็นำกลับมาตัดต่อ 

และบรรยายภาพด้วยตนเอง ตามความเป็นจริงที่พบเห็นมา แล้วนำออกอากาศในช่วงบ่าย ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 ส่งผลให้คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่นำโดยพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ 

ซึ่งกระทำรัฐประหารในเย็นวันนั้น สั่งให้ปลดสรรพสิริออกจากทุกตำแหน่งใน บจก.ไทยโทรทัศน์ โดยทันที  เป็นผลให้เขาต้องหลบไปพำนักที่จังหวัดระยองเป็นเวลาหลายปี
เมื่อ พ.ศ. 2533 สรรพสิริก่อตั้งชมรมเรารักรถไฟ และหอเกียรติภูมิรถไฟ ซึ่งตั้งอยู่ภายในสวนจตุจักร   รวมทั้งจัดทำหนังสือ เพื่อนรถไฟ และ รถไฟของเรา ปัจจุบัน จุลศิริ วิรยศิริ ผู้เป็นบุตรชาย รับ

หน้าที่ดูแลแทน เนื่องจากสรรพสิริ ล้มป่วยลงด้วยอาการอัลไซเมอร์ ตั้งแต่ราวหลายปีก่อน
ทั้งนี้ สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยประกาศเกียรติคุณ ให้สรรพสิริเป็นนักเขียนอาวุโส ผู้มีผลงานเป็นที่ยกย่องกว้างขวาง จึงเป็นหนึ่งในผู้ได้รับรางวัลนราธิป ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2545
 /////////////
สารคดีชีวประวัติ และผลงานชิ้นสำคัญ 


.  ชีวิตคนสื่อมวลชน “ถ้าปราศจากอุดมการณ์  การใช้วิจารณญานที่ถูกต้องและจริยธรรมที่สำนึกถึงหน้าที่ยิ่งกว่าสิทธิส่วนตน  ไม่มีความกลัวในการทำสิ่งผิด  เกรงกลัวในการทำสิ่งที่เห็นว่าถูกต้อง  

คนสื่อสารมวลชนไม่ว่ายุคใดสมัยใดก็ไร้ศักดิ์ศรี  ไม่มีเกียรติอย่างน้อยก็ในจิตสำนึกของตนเอง”
                  ความรู้สึกจากส่วนลึกของสรรพสิริ  วิรยศิริ  บุคคลสำคัญที่วงการโทรทัศน์รู้จักกันดีในฐานะผู้บุกเบิกวงการโทรทัศน์ไทย  จิตใจที่รับความจริงมิใช่เกิดขึ้นจากคำพูดจากปาก  หากมาจาก

ความสำนึกของสรรพสิริ  วิรยศิริ  ที่กล้าเผยแพร่ภาพข่าวเหตุการณ์หฤโหด  6  ตุลาคม  2519
“ผมเป็นคนข่าวหรือสื่อมวลชน  ซึ่งจะมีลางสังหรณ์อย่างหนึ่งอยู่ในใจเหมือนเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่รู้ว่าพายุกำลังจะมา  อากาศกำลังแปรปรวน  การที่มีสัญชาตญาณล่วงหน้ามีส่วนดี คือ 

ทำให้สัตว์สามารถหลบหนีเข้ารังได้ทัน  สัตว์ทั้งหลายย่อมมีความเห็นแก่ตัว  แต่เราเป็นคน  ไม่ใช่สัตว์  จะทำเฉย ๆ ไม่ได้  ต้องเห็นแก่ส่วนรวม  เพราะในส่วนรวมมีตัวเราอยู่ด้วย  แต่ส่วนตัวมีเพียง

เราคนเดียว”
                  “ผมถือเป็นสิทธิมนุษยชนที่ทุกคนมีสิทธิจะล่วงรู้ว่า  มีอะไรเกิดขึ้นที่เพิร์ลฮาร์เบอร์  ที่ฮิโรชิม่า  และที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เป็นสิทธิของมนุษย์ทุกคนที่จะได้รับรู้เรื่องราวข่าวสาร

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลก  ไม่มีใครมีสิทธิห้ามปราม  ปกปิด  ไม่มีใครมีสิทธิ์จะบิดเบือนความจริง  อุดมการณ์เช่นนี้ทำให้ผมประสบเคราะห์กรรมลำบากมากมายในชีวิต  แต่ผมก็ภูมิใจที่ได้เป็นแค่

คนข่าวคนหนึ่ง”
 ขณะนั้น  สรรพสิริ  วิรยศิริ  ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของสถานีวิทยุกระจายเสียง  ททท.  และไทยทีวีสีช่อง 9 ได้สั่งให้เปิดสถานีโทรทัศน์ช่อง 9  เป็นพิเศษในตอนกลางวัน
               วิญญาณนักข่าวพล่านขึ้นเต็มตัว  สรรพสิริเปิดเผยวันสุดท้ายของการเป็นคนทำข่าวให้ฟังว่า “ก่อนถึงวันที่ 6 ตุลา  ผมพอรู้แล้วว่าจะมีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้น  เพราะผมติดตามข่าวการ

นำจอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร  มาซุกซ่อนไว้ในประเทศมาโดยตลอด  ช่วงนั้นมีเหตุการณ์ปะทะกันที่อุ้มผาง  ผมขับรถยนต์ขึ้นไปทำข่าวที่นั่น  พอวันที่ 5 ตุลา  เห็นว่า

เหตุการณ์ท่าจะไม่ดี  จึงรีบกลับมากลางดึกคืนนั้น  ก็ตั้งรถเสนอข่าวเลย   ผมสังเกตเห็นเหตุการณ์มีทีท่าจะรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ  และคิดว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ จึงโดดลงไปเล่นเอง  เพราะต้องการ

เสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมา  เนื่องจากข่าวคือหัวใจและศักดิ์ศรีของสื่อสารมวลชน”          
“คืนวันที่ 5 ตุลา ผมวางแผนทำข่าว  ดึงช่างภาพทั้งมือเก่าและใหม่มา  ส่วนตัวผมก็เข้ามาเล่นด้วย  พอเช้าวันที่ 6 ตุลา  รถบัญชาการของ “ข่าวล่ามาเร็ว” กับ “ข่าวล่ามาทันที”  ก็มาจอดอยู่

ที่อนุสาวรีย์ทหารอาสา  หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ผมสั่งให้ทีวีช่อง 9 เปิดเครื่องส่ง  ตอนนั้นมีผมคนเดียวที่สั่งการได้”
“พอตอนสายเสียงปืนเริ่มดังมากขึ้น  ความรุนแรงก็เพิ่มมากขึ้น  พอสายอีกหน่อยก็เริ่มมีการลากศพออกมา  มีเชือกผูกที่คอ  ลากไปฝั่งโน้น  เราอยู่นอกรั้วเข้าไปไม่ได้  การรายงานข่าวของ

ผมต้องการเปิดเผยให้ประชาชนรู้เท่าที่จะรู้ได้ เป็นสิทธิของประชาชน  คนที่อยู่ในแผ่นดินไทยทุกคนมีสิทธิในการรู้เห็นเท่ากัน  แต่รู้แล้วจะเกิดความรู้สึกอย่างไรเป็นเรื่องของเขา”
“หลังจากสั่งให้เปิดสถานีโทรทัศน์รอไว้  ผมก็มานั่งนึก  เราทำเพื่ออะไร  หนึ่งมันมาจากจิตสำนึก  เรามีความรู้สึกเข้าใจนักศึกษาที่อยู่ตรงนั้น  สอง เวลามีเหตุการณ์เกิดขึ้น  เหมือนคน

ทะเลาะกัน  คนหนึ่งตัวใหญ่มีกระบองอยู่ในมือ  อีกคนหนึ่งตัวเล็กนิดเดียว  มือเปล่า  มันจะสู้รบกับคนที่ถือกระบองได้อย่างไร  ไอ้คนที่ถือกระบองก็หวดเด็ก  กระทืบซ้ำ  ด่าบ้าง  เด็กก็ร้อง  แต่

ผู้ใหญ่กลับร้องดังกว่าทั้งที่ผู้ใหญ่ถือกระบองในมือ  ผมเห็นคนถูกล้อมอยู่ที่ธรรมศาสตร์  ตอนนั้นก็คิดว่ามันจะดำดินไปไหนได้  ในธรรมศาสตร์ไม่มีอุโมงค์ให้มุดลอดไปได้เหมือนที่ลือกันหรอก”       

                  สรรพสิริมีประสบการณ์การทำข่าวสงครามมาหลายต่อหลายครั้ง  เขาจึงถ่ายภาพเหตุการณ์ความรุนแรงตรงหน้าได้อย่างเชี่ยวชาญ  ภาพความทารุณต่าง ๆ  ถูกบันทึกไว้ในกล้องโทรทัศน์

ทั้งหมด  แต่เมื่อนำออกอากาศ  กลับไม่สามารถนำเสนอได้ทุกตอนของเทปที่บันทึกไว้
 “ตอนถ่ายภาพไม่ทันได้นึกอะไร  มีกล้องก็ถ่ายไว้ก่อน  แต่เมื่อเอาหนังมาล้าง  มาตัดต่อ  ก็เกิดความสงสัยขึ้นในใจ  เหตุใดเขาจึงต้องเอากองกำลังเข้าไปยิง ลากศพ เอาเชือกผูก ผมไม่เข้าใจ  ทำไม

ต้องเอาศพมาเผา  ผมเห็นว่าภาพพวกนี้ปล่อยออกไปทั้งหมดไม่ได้  คนที่เห็น  คนที่บรรยายจะมีความรู้สึกอย่างไร  ผมเลยบอกว่า  ข่าวนี้คนอื่นห้ามแตะ  ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว  ผมจึงลง

มือล้างฟิล์ม ตัดต่อ และบรรยายเอง”          
               “ผมมาหมุนหนังดู  ภาพที่มีเชือกผูกคอ  นั่งยางเผาไฟ  ผมตัวออกหมด  มีแต่ภาพยิงปืนและทหารวิ่ง  แล้วก็บรรยายว่าเกิดความไม่เข้าใจกัน  เหตุผลที่ตัดภาพเหล่านี้ออก  ก็เหมือนกับเรา

รายงานข่าวว่าเด็กอายุ 5 ขวบถูกฆ่าข่มขืน  เราไม่อาจเสนอภาพได้ว่าเด็กถูกจับแก้ผ้าอย่างไร  บรรยายได้ว่ามีการทารุณศพ  เราพูดได้  สองเหตุการณ์นี้คือเด็กถูกฆ่าข่มขืนกับกรณีนักศึกษาถูกลากคอ  

ไม่ใช่หน้าที่ของสื่อมวลชนที่จะเสนอภาพนั้น  ผมรู้สึกว่ามันขยะแขยงและน่าอายที่จะเสนอภาพนั้นออกไป  ไม่ใช่เราบิดเบือนนะ  แต่มันอายมากกว่า  เมื่อมาเทียบกับความรุนแรงของสังคมไทย  มัน

เลวเกินไป  เราไม่มีหน้าที่ที่จะไปออกความเห็นว่าใครยิง  ยิงเพื่ออะไร  ผมเป็นนักข่าวประเภทที่เห็นอย่างไรก็ว่าไปตามตรง  จะไม่มีการใส่อารมณ์ว่าคนนี้เหี้ยมโหด  คนอย่างผมไม่มีทางทำ”
   “ความรุนแรงที่เกิดขึ้น  อย่างหนึ่งมาจากความเคียดแค้นชิงชังว่าฝ่ายนี้เป็นศัตรูของบ้านเมือง  มันทำให้เกิดความเดือดร้อน  อีกอย่างหนึ่งอาจเกิดจากอารมณ์ชั่วแล่น”
               “สื่อมวลชนมีหน้าที่สื่อให้เข้าใจ  ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำความรุนแรงไปเผยแพร่  วันที่ 6 ตุลา พอข่าวออกไป  ประชาชนก็รู้แล้วว่ามีการปะทะกันระหว่างสองฝ่าย  มีความรุนแรงเกิด

ขึ้น  หน้าที่ของเราคือเป็นสื่อ  ไม่ใช่ชี้ความถูกต้อง  ชี้ความบริสุทธิ์ของคน  เพียงสื่อให้เขาได้ใช้วิจารณญาณเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว  อย่าไปสื่อเพื่อความสะใจของตัวเอง  กรณีหนังสือพิมพ์ดาวสยามใน

ขณะนั้นไม่มีหน้าที่ไปตัดสินความบริสุทธิ์ของใคร  มันไม่มีมูลความจริงแม้แต่นิดเดียว  ไม่รู้เอามาจากไหน  เขาไม่ได้ทำหน้าที่สื่อ  เขาทำหน้าที่เพื่อความสะใจ”
               สรรพสิริ  แสดงความคิดเห็นในใจส่วนลึกว่า  สถานการณ์บ้านเมืองช่วงนั้นทำให้สื่อมวลชนมีความลำบากที่จะวางตัวเป็นกลาง
               “สังคมในเวลานั้นเรียกได้ว่าเป็นสังคมที่แหลมคม  เป็นสังคมที่มีจุดหนึ่งที่จะสามารถพิพากษาใครให้อยู่ในฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้ง่าย  และคิดว่าคนอื่นที่ไม่ได้ทำอย่างตัวเองต้องไม่ใช่พวกของ

ตัวเองไปหมด  เมื่อเกิด 6 ตุลา ซึ่งมีสองฝ่าย  ฝ่ายหนึ่งคือนักศึกษาซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าเขาจะโอนเอนไปทางโน้นหรือเปล่า  แต่อีกฝ่ายเขาเอียงมาทางขวา  สื่อมวลชนอยู่ตรงกลางก็มีหน้าที่รายงานข่าวตาม

ความเป็นจริง  ให้คนรู้ว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นที่สนามหลวง  ไม่ได้ตัดสินใจว่าใครถูกใครผิด”
               “สื่อควรเสนอความเป็นจริง  ไม่ใช่ความเป็นกลาง  เพราะความเป็นกลางอยู่ที่ว่าใครเป็นคนตัดสิน  และขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละคนซึ่งอาจเอนเอียงไปบ้าง  แต่ความจริงอย่างไรก็

คือความจริง”
   “นักศึกษาไม่มีอาวุธเลย  ไม่มีบังเกอร์อย่างที่มีการกล่าวหากัน  มีแค่โต๊ะปิงปองเท่านั้น  แต่วิทยุยานเกราะบอกว่าโต๊ะปิงปอง คือ บังเกอร์  มันก็ตลก  บังเกอร์ในความหมายของเรา คือ กระสอบ

ทรายมาพูนให้เป็นบังเกอร์ …ไอ้นี่เป็นเรื่องความขัดแย้ง  ผมไม่ถือ  เพราะเขาต้องการจะเอาอะไร  ก็ต้องให้ได้ดังใจเขา”
ภาพเหตุการณ์  6  ตุลามหาวิปโยค  ออกทางโทรทัศน์สะกดผู้ชมทั้งประเทศให้จับจ้องกับการเข่นฆ่าอย่างโหดเหี้ยมอำมหิตเหมือนไม่ใช่คนเมืองพุทธศาสนา  สรรพสิริได้ทำหน้าที่ในฐานะสื่อมวลชน

อย่างรับผิดชอบ
         ผลที่ได้รับ  สรรพสิริและเพื่อนร่วมงานบางคน  ถูก “ปลดกลางอากาศ”  เมื่อเกิดการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในค่ำวันเดียวกันหลังจากเผยแพร่ภาพข่าวออกไป  สรรพสิริเริ่มทำใจได้แล้วว่า  

เขาและทีมงานคงหลีกเลี่ยงผลสะเทือนจากการปฏิบัติงานครั้งนี้ไปไม่ได้ 
               “พอเหตุการณ์ทุเลา  ผมก็นั่งกินเหล้ากับทีมงาน  แล้วก็บอกว่าพวกเราเตรียมใจ รู้ตัวดี  หลังจากคณะปฏิรูปฯ เข้ายึดอำนาจตอนเย็น  ตกค่ำก็มีคำสั่งปลดผมออกจากทุกตำแหน่งในสถานี

โทรทัศน์ช่อง 9 และวิทยุ ททท.  ลูกน้องผมบางคนไม่รู้อะไรด้วยก็ถูกไล่ออกเหมือนกัน  ถูกไล่ออกสี่ห้าคน  ผมว่าเขาทำเกินเหตุ” 
                   ไม่เพียงถูกปลดออกจากงานทุกตำแหน่ง  สรรพสิริพร้อมทั้งลูกเมียยังถูกอายัดทรัพย์สินทั้งหมด ชีวิตผจญกับความยากลำบากและการคุกคามต่างๆ  เขาต้องนำปืนทุกกระบอกที่สะสม

ด้วยใจรักออกขายเพื่อแลกกับการมีชีวิตอยู่  จนสุดท้ายต้องไปบวชเป็นพระที่วัดจุฬามุนี  จังหวัดระยอง  และใช้ชีวิตเงียบๆ ทำไร่ที่ชายแดนโป่งน้ำร้อน 6 ปี  ระหว่างนั้นเคราะห์ซ้ำกรรมซัดต้องกลับ

เข้ากรุงเทพฯ เพื่อฟังคำพิพากษา ให้เป็นบุคคลล้มละลาย  ถูกคณะปฏิรูปฯอายัดทรัพย์สินทั้งครอบครัว  ขณะจะตัดสินไปให้พ้นจากโลกมนุษย์  บังเอิญได้ข่าวทนายหนุ่มชื่อดังเป็นลมตายอย่างง่ายดาย
ข่าวนี้ทำให้สรรพสิริ  วิรยศิริกลับใจไม่ฆ่าตัวตาย  หันหน้ากลับมาต่อสู้และเผชิญความจริงอย่างกล้าหาญ 
                         ไม่นานนักอยู่มาวันหนึ่ง  อาจารย์จุมพล  รอดคำดี  ก็โทรศัพท์มาชวนให้ไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนด้านวิทยุโทรทัศน์ที่คณะนิเทศศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และที่มหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมา   ธิราช  เหตุการณ์นี้ทำให้เขารู้สึกว่าตัวเองยังมีค่าต่อสังคมอยู่
                                “อาจารย์จุมพลคงไม่นึกว่าคำชวนของเขาจะทำให้ผมฟื้นขึ้นมาได้  ผมเลิกคิดฆ่าตัวตายนับตั้งแต่บัดนั้น  เพราะคนตายแล้วจะไปเป็นอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยได้อย่างไร  หลัง

จากนั้นผมก็ตั้งปณิธานว่า  ต่อแต่นี้ไปชีวิตที่เหลืออยู่ไม่ว่าจะยืนยาวหรือสั้นแค่ไหน  ผมต้องพิสูจน์ให้เห็นว่า  เหตุร้ายที่ผมเผชิญมาตลอดนั้น  บางเรื่องผมอาจเป็นคนพลาด  แต่มิได้เป็นคนผิดแน่นอน  

ผมยอมเป็นคนโง่  แต่จะไม่ยอมเป็นคนเลวไปชั่วชีวิต”
////
                           หลังจากมีผู้ศึกษาค้นคว้าถึงผลงานที่ได้รับการยกย่องย้อนหลังว่าเป็นผู้ให้กำเหนิดข่าวประกอบเสียงในเมืองไทย  ติดตามด้วยการได้รับสังข์เงิน  ประกาศเกียรติคุณว่าเป็นนักประ

ชาชัมพันธ์คนแรก  ชมรมช่างภาพข่าวโทรทัศน์ไทยยกย่องให้เป็นบุคคลผู้อุทิศตนแก่งานข่าวโทรทัศน์อย่างยากจะหาผู้ใดเสมอเหมือนในยุคนี้
                       จากนั้นได้รับเชิญเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก  และกรรมการ “แท็ค อะวอร์ด”  ให้รางวัลในฐานะผู้บุกเบิกสร้างสรรค์การโฆษณา
ในปี  พ.ศ.  2532  สิ่งที่สรรพสิริถือว่าเป็นสุดยอดรางวัลชีวิต  นั่นคือ  การได้รับปริญญาวารสารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต  (กิตติมศักดิ์)  จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
                         สรรพสิริ  วิรยศิริ  เริ่มต้นชีวิตงานสื่อมวลชนขณะเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เด็กหนุ่มวัย  19  ปี  เมื่อ  พ.ศ.  2483  ได้ผันแปรชีวิตจากนักกฎหมายไปเป็นนักข่าวอย่างไม่

เคยคาดคิด  สรรพสิริสมัครเป็นพนักงานรับฟังข่าววิทยุต่างประเทศ  กรมโฆษณาการ  เงินเดือน  60  บาท
                           สมัยนั้น  งานโฆษณาประชาสัมพันธ์ของรัฐมีอายุได้แค่  5  ปี  ถือว่าใหม่อยู่มาก  เครื่องมือเครื่องใช้ไม่ก้าวหน้า  สรรพสิริไปทำหน้าที่แปลข่าววิทยุโทรเลขต่างประเทศหลายปีก็เบน

เข็มไปเป็นผู้ประกาศวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย  ได้เป็นนักข่าวสงคราม  และเป็นเสรีไทย
                             ด้วยนิสัยที่ชอบดูมวย  เลยตั้งตัวเป็นคนข่าวกีฬา  เพื่อจะได้ดูมวยฟรีทุกรายการ  แล้วนำมาเขียนรายงานข่าว  ทำไปทำมาอยากให้คนฟังสนุกด้วย  จึงนำเครื่องบันทึกเสียงไปอัด

เสียงมวยและเสียงพากย์ตนเองที่ราชดำเนิน  หลายปีต่อมา  สรรพสิริได้ถ่ายทอดสดการแข่งขันชกมวยเป็นครั้งแรกทางวิทยุ  ททท.  และเป็นคนแรกที่พากย์มวยออกรายการสด
                         การริเริ่มนำเทปมาใช้ในการทำข่าว  ราวปี  พ.ศ.  2494  สรรพสิริไปทำข่าวไฟไหม้เอาเทปไปอัดเสียงต่างๆ  ที่เกิดขึ้นแล้วนำมาประกอบข่าววิทยุ  ช่วยเพิ่มบรรยากาศความมีชีวิตชีวา

จนได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ทำข่าวประเสียงคนแรก  ขณะคลุกคลีอยู่วงการวิทยุ  ก็ได้เป็นหัวหน้าแผนกสื่อข่าว
                              วันหนึ่ง  วิทยุเสียงอเมริกาจะเปิดส่งภาคภาษาไทยขึ้นใหม่ที่นิวยอร์ก  ต้องการรับนักข่าวและผู้ประกาศสมทบกับเจ้าหน้าที่คนไทยในอเมริกา  2-3  คน  สรรพสิริไปสมัครสอบ
ดูเหมือนทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปดังหวัง  สรรพสิริไปดูงานวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์  2  ปี  จากนั้นก็นำความรู้เทคนิคต่างๆ  มาใช้ประโยชน์ในการวางรากฐานให้  ททท.  และตามด้วยการดำเนิน 

งานด้านโทรทัศน์  ในชื่อที่เรียกว่า  “ไทยทีวีสีช่อง  4”
                            กลับจากอเมริกาในปี  พ.ศ.  2496  ก็ได้เป็นหัวหน้าแผนกวิทยุโทรภาพคนแรกของกรมประชาสัมพันธ์  ซึ่งตั้งขึ้นมาเฉพาะเพื่อเตรียมงานส่งวิทยุโทรทัศน์  ฝึกเจ้าหน้าที่ฝ่ายช่าง  

และสาธิตการส่งการรับวิทยุโทรทัศน์ให้ประชาชน  ปี  พ.ศ.  2497  ได้ทำการถ่ายทอดสดการแข่งขันชกมวยครั้งแรก  ระหว่าง  จำเริญ  ทรงกิติรัตน์  กับ  จิมมี่  เพียซ  เป็นผู้บรรยายถ่ายทอดมวยทาง

วิทยุโทรทัศน์คนแรก
                       คณะรัฐมนตรีมีมติให้ไปช่วยตั้งบริษัทไทยโทรทัศน์  จำกัด  รับเป็นหัวหน้าฝ่ายช่างภาพของ  ทีวีสีช่อง  4  ในวันที่  24  มิถุนายน  2498  ก็อ่านข่าวออกโทรทัศน์คนแรก
ต่อมาลาออกจากกรมประชาสัมพันธ์  ขอบำเหน็จเพื่อเอาเงินไปซื้อกล้องถ่ายภาพยนตร์หันมารับจ้างถ่ายหนังโฆษณาทางทีวี  และผลิตภาพยนตร์การ์ตูนโฆษณาเรื่องแรกชื่อ  “การ์ตูนหล่อ”  ปี  พ.ศ.  

2501  ในการเปิดสถานีโทรทัศน์สีช่อง  3  ได้ร่วมวางแผนและเป็นหัวหน้าฝ่ายข่าวในปี  พ.ศ.  2513  ต่อมาก็เป็นนายกสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทยปี  พ.ศ.  2519
                           จากนั้นก็ได้รับเชิญให้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทไทยโทรทัศน์  จำกัด  ปี  พ.ศ.  2518  สรรพสิริได้พยายามปรับปรุงโทรทัศน์ช่อง  9  ด้านข่าว  เน้นความสำคัญของข่าวอย่างรับผิด

ชอบ  กระทั่งเกิดเหตุการณ์  6  ตุลาคม  2519  การเผยแพร่เหตุการณ์นองเลือดครั้งนั้น  ทำให้สรรพสิริต้องถูกปลดทางอากาศภายในวันเดียว
                        แม้จะเผชิญกับปัญหาชีวิตหนักหน่วง  แต่ประสบการณ์  ความรู้  คุณธรรมที่ศรัทธาต่อวิชาชีพสื่อมวลชน  ยังคงสั่งสมไว้ในตัวสรรพสิริ  วิรยศิริ  จนกระทั่งตกผลึกเป็นผลงานมากมาย  

สำหรับให้นักสื่อมวลชนรุ่นหลังได้รู้จักเกียรติประวัติอันดีเด่นของผู้บุกเบิกวงการโทรทัศน์ไทยผู้นี้.........
//////////////
สรรพสิริ วิรยศิริ

“ผมเป็นคนข่าวหรือสื่อมวลชน ซึ่งจะมีลางสังหรณ์อย่างหนึ่งอยู่ในใจเหมือนเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่รู้ว่าพายุกำลังจะมา อากาศกำลังแปรปรวน การที่มีสัญชาตญาณล่วงหน้ามีส่วนดี คือ ทำให้สัตว์

สามารถหลบหนีเข้ารังได้ทัน สัตว์ทั้งหลายย่อมมีความเห็นแก่ตัว แต่เราเป็นคน ไม่ใช่สัตว์ จะทำเฉย ๆ ไม่ได้ ต้องเห็นแก่ส่วนรวม เพราะในส่วนรวมมีตัวเราอยู่ด้วย แต่ส่วนตัวมีเพียงเราคนเดียว”

จากความคิดข้างต้น สรรพสิริ วิรยศิริ จึงตัดสินใจเสนอภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และและท้องสนามหลวง ตามบทบาทหน้าที่ของสื่อสารมวลชนที่ดี เป็นผลให้เขาถูกปลด

ออกจากทุกตำแหน่งในสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 และวิทยุ ททท. ตั้งแต่คืนวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เป็นต้นมา

ในวันนี้สรรพสิริ วิรยศิริ ชายวัย 76 ปี ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการสื่อสารมวลชนมานาน 35 ปีเต็ม ย้อนอดีตวันสุดท้ายของการเป็นคนทำข่าวในเหตุการณ์เมื่อ 20 ปีก่อนให้ฟังว่า

“ก่อนถึงวันที่ 6 ตุลา ผมพอรู้แล้วว่าจะมีเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้น เพราะผมติดตามข่าวการนำจอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร มาซุกซ่อนไว้ในประเทศมาโดยตลอด ช่วง

นั้นมีเหตุการณ์ปะทะกันที่อุ้มผาง ผมขับรถยนต์ขึ้นไปทำข่าวที่นั่น พอวันที่ 5 ตุลา เห็นว่าเหตุการณ์ท่าจะไม่ดี จึงรีบกลับมากลางดึกคืนนั้น ก็ตั้งรถเสนอข่าวเลย ผมสังเกตเห็นเหตุการณ์มีทีท่าจะ

รุนแรงขึ้นเป็นลำดับ และคิดว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ จึงโดดลงไปเล่นเอง เพราะต้องการเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมา เนื่องจากข่าวคือหัวใจและศักดิ์ศรีของสื่อสารมวลชน"

“คืนวันที่ 5 ตุลา ผมวางแผนทำข่าว ดึงช่างภาพทั้งมือเก่าและใหม่มา ส่วนตัวผมก็เข้ามาเล่นด้วย พอเช้าวันที่ 6 ตุลา รถบัญชาการของ “ข่าวล่ามาเร็ว” กับ “ข่าวล่ามาทันที” ก็มาจอดอยู่ที่อนุสาวรีย์

ทหารอาสา หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผมสั่งให้ทีวีช่อง 9 เปิดเครื่องส่ง ตอนนั้นมีผมคนเดียวที่สั่งการได้"

“พอตอนสายเสียงปืนเริ่มดังมากขึ้น ความรุนแรงก็เพิ่มมากขึ้น พอสายอีกหน่อยก็เริ่มมีการลากศพออกมา มีเชือกผูกที่คอ ลากไปฝั่งโน้น เราอยู่นอกรั้วเข้าไปไม่ได้ การรายงานข่าวของผมต้องการเปิด

เผยให้ประชาชนรู้เท่าที่จะรู้ได้ เป็นสิทธิของประชาชน คนที่อยู่ในแผ่นดินไทยทุกคนมีสิทธิในการรู้เห็นเท่ากัน แต่รู้แล้วจะเกิดความรู้สึกอย่างไรเป็นเรื่องของเขา"

“หลังจากสั่งให้เปิดสถานีโทรทัศน์รอไว้ ผมก็มานั่งนึก เราทำเพื่ออะไร หนึ่งมันมาจากจิตสำนึก เรามีความรู้สึกเข้าใจนักศึกษาที่อยู่ตรงนั้น สอง เวลามีเหตุการณ์เกิดขึ้น เหมือนคนทะเลาะกัน คน

หนึ่งตัวใหญ่มีกระบองอยู่ในมือ อีกคนหนึ่งตัวเล็กนิดเดียว มือเปล่า มันจะสู้รบกับคนที่ถือกระบองได้อย่างไร ไอ้คนที่ถือกระบองก็หวดเด็ก กระทืบซ้ำ ด่าบ้าง เด็กก็ร้อง แต่ผู้ใหญ่กลับร้องดังกว่า

ทั้งที่ผู้ใหญ่ถือกระบองในมือ ผมเห็นคนถูกล้อมอยู่ที่ธรรมศาสตร์ ตอนนั้นก็คิดว่ามันจะดำดินไปไหนได้ ในธรรมศาสตร์ไม่มีอุโมงค์ให้มุดลอดไปได้เหมือนที่ลือกันหรอก”

สรรพสิริมีประสบการณ์การทำข่าวสงครามมาหลายต่อหลายครั้ง เขาจึงถ่ายภาพเหตุการณ์ความรุนแรงตรงหน้าได้อย่างเชี่ยวชาญ ภาพความทารุณต่าง ๆ ถูกบันทึกไว้ในกล้องโทรทัศน์ทั้งหมด แต่

เมื่อเขานำออกอากาศ เขากลับไม่สามารถนำเสนอได้ทุกตอนของเทปที่บันทึกไว้

“ตอนถ่ายภาพไม่ทันได้นึกอะไร มีกล้องก็ถ่ายไว้ก่อน แต่เมื่อเอาหนังมาล้าง มาตัดต่อ ก็เกิดความสงสัยขึ้นในใจ เหตุใดเขาจึงต้องเอากองกำลังเข้าไปยิง ลากศพ เอาเชือกผูก ผมไม่เข้าใจ ทำไมต้องเอา

ศพมาเผา ผมเห็นว่าภาพพวกนี้ปล่อยออกไปทั้งหมดไม่ได้ คนที่เห็น คนที่บรรยายจะมีความรู้สึกอย่างไร ผมเลยบอกว่า ข่าวนี้คนอื่นห้ามแตะ ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ผมจึงลงมือล้างฟิล์ม 

ตัดต่อ และบรรยายเอง"

“ผมมาหมุนหนังดู ภาพที่มีเชือกผูกคอ นั่งยางเผาไฟ ผมตัดออกหมด มีแต่ภาพยิงปืนและทหารวิ่ง แล้วก็บรรยายว่าเกิดความไม่เข้าใจกัน เหตุผลที่ตัดภาพเหล่านี้ออก ก็เหมือนกับเรารายงานข่าวว่า

เด็กอายุ 5 ขวบถูกฆ่าข่มขืน เราไม่อาจเสนอภาพได้ว่าเด็กถูกจับแก้ผ้าอย่างไร บรรยายได้ว่ามีการทารุณศพ เราพูดได้ สองเหตุการณ์นี้คือเด็กถูกฆ่าข่มขืนกับกรณีนักศึกษาถูกลากคอ ไม่ใช่หน้าที่ของ

สื่อมวลชนที่จะเสนอภาพนั้น ผมรู้สึกว่ามันขยะแขยงและน่าอายที่จะเสนอภาพนั้นออกไป ไม่ใช่เราบิดเบือนนะ แต่มันอายมากกว่า เมื่อมาเทียบกับความรุนแรงของสังคมไทย มันเลวเกินไป เราไม่มี

หน้าที่ที่จะไปออกความเห็นว่าใครยิง ยิงเพื่ออะไร ผมเป็นนักข่าวประเภทที่เห็นอย่างไรก็ว่าไปตามตรง จะไม่มีการใส่อารมณ์ว่าคนนี้เหี้ยมโหด คนอย่างผมไม่มีทางทำ"

“ความรุนแรงที่เกิดขึ้น อย่างหนึ่งมาจากความเคียดแค้นชิงชังว่าฝ่ายนี้เป็นศัตรูของบ้านเมือง มันทำให้เกิดความเดือดร้อน อีกอย่างหนึ่งอาจเกิดจากอารมณ์ชั่วแล่น"

“สื่อมวลชนมีหน้าที่สื่อให้เข้าใจ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำความรุนแรงไปเผยแพร่ วันที่ 6 ตุลา พอข่าวออกไป ประชาชนก็รู้แล้วว่ามีการปะทะกันระหว่างสองฝ่าย มีความรุนแรงเกิดขึ้น หน้าที่

ของเราคือเป็นสื่อ ไม่ใช่ชี้ความถูกต้อง ชี้ความบริสุทธิ์ของคน เพียงสื่อให้เขาได้ใช้วิจารณญาณเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว อย่าไปสื่อเพื่อความสะใจของตัวเอง กรณีหนังสือพิมพ์ดาวสยามในขณะนั้นไม่มี

หน้าที่ไปตัดสินความบริสุทธิ์ของใคร มันไม่มีมูลความจริงแม้แต่นิดเดียว ไม่รู้เอามาจากไหน เขาไม่ได้ทำหน้าที่สื่อ เขาทำหน้าที่เพื่อความสะใจ”

สรรพสิริ แสดงความคิดเห็นว่า สถานการณ์บ้านเมืองช่วงนั้นทำให้สื่อมวลชนมีความลำบากที่จะวางตัวเป็นกลาง

“สังคมในเวลานั้นเรียกได้ว่าเป็นสังคมที่แหลมคม เป็นสังคมที่มีจุดหนึ่งที่จะสามารถพิพาษาใครให้อยู่ในฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้ง่าย และคิดว่าคนอื่นที่ไม่ได้ทำอย่างตัวเองต้องไม่ใช่พวกของตัวเองไปหมด 

เมื่อเกิด 6 ตุลา ซึ่งมีสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือนักศึกษาซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าเขาจะโอนเอนไปทางโน้นหรือเปล่า แต่อีกฝ่ายเขาเอียงมาทางขวา สื่อมวลชนอยู่ตรงกลางก็มีหน้าที่รายงานข่าวตามความเป็นจริง ให้

คนรู้ว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นที่สนามหลวง ไม่ได้ตัดสินใจว่าใครถูกใครผิด"

“สื่อควรเสนอความเป็นจริง ไม่ใช่ความเป็นกลาง เพราะความเป็นกลางอยู่ที่ว่าใครเป็นคนตัดสิน และขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละคนซึ่งอาจเอนเอียงไปบ้าง แต่ความจริงอย่างไรก็คือความจริง”

สรรพสิริพิจารณาเหตุการณ์ที่ได้รู้เห็นด้วยตนเองและจากคำบอกเล่าของทีมงานที่เข้าไปทำข่าว จึงพบว่าสื่อมวลชนหลายสื่อไม่เสนอข่าวตามความเป็นจริง

“นักศึกษาไม่มีอาวุธเลย ไม่มีบังเกอร์อย่างที่มีการกล่าวหากัน มีแค่โต๊ะปิงปองเท่านั้น แต่วิทยุยานเกราะบอกว่าโต๊ะปิงปอง คือ บังเกอร์ มันก็ตลก บังเกอร์ในความหมายของเรา คือ กระสอบทรายมา

พูนให้เป็นบังเกอร์ …ไอ้นี่เป็นเรื่องความขัดแย้ง ผมไม่ถือ เพราะเขาต้องการจะเอาอะไร ก็ต้องให้ได้ดังใจเขา”

หลังจากเผยแพร่ภาพข่าวออกไป สรรพสิริเริ่มทำใจได้แล้วว่า เขาและทีมงานคงหลีกเลี่ยงผลสะเทือนจากการปฏิบัติงานครั้งนี้ไปไม่ได้

“พอเหตุการณ์ทุเลา ผมก็นั่งกินเหล้ากับทีมงาน แล้วก็บอกว่าพวกเราเตรียมใจ รู้ตัวดี หลังจากคณะปฏิรูปฯ เข้ายึดอำนาจตอนเย็น ตกค่ำก็มีคำสั่งปลดผมออกจากทุกตำแหน่งในสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 

และวิทยุ ททท. ลูกน้องผมบางคนไม่รู้อะไรด้วยก็ถูกไล่ออกเหมือนกัน ถูกไล่ออกสี่ห้าคน ผมว่าเขาทำเกินเหตุ”

ในที่สุดสรรพสิริได้รับความเดือดร้อนใหญ่หลวง นับตั้งแต่ถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลาย ถูกคณะปฏิรูปฯ สั่งอายัดทรัพย์สินทั้งครอบครัว เขาต้องนำปืนทุกกระบอกที่สะสมด้วยใจรักออกขายเพื่อ

แลกกับการมีชีวิตอยู่ เขาผิดหวังกับชีวิตจนเกือบตัดสินใจฆ่าตัวตาย เดชะบุญที่จู่ ๆ วันหนึ่งอาจารย์จุมพล รอดคำดี ก็โทรศัพท์มาชวนให้ไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนด้านวิทยุโทรทัศน์ที่คณะ

นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เหตุการณ์นี้ทำให้เขารู้สึกว่าตัวเองยังมีค่าต่อสังคมอยู่

“อาจารย์จุมพลคงไม่นึกว่าคำชวนของเขาจะทำให้ผมฟื้นขึ้นมาได้ ผมเลิกคิดฆ่าตัวตายนับตั้งแต่บัดนั้น เพราะคนตายแล้วจะไปเป็นอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัยได้อย่างไร หลังจากนั้นผมก็ตั้งปณิธาน

ว่า ต่อแต่นี้ไปชีวิตที่เหลืออยู่ไม่ว่าจะยืนยาวหรือสั้นแค่ไหน ผมต้องพิสูจน์ให้เห็นว่า เหตุร้ายที่ผมเผชิญมาตลอดนั้น บางเรื่องผมอาจเป็นคนพลาด แต่มิได้เป็นคนผิดแน่นอน ผมยอมเป็นคนโง่ แต่จะ

ไม่ยอมเป็นคนเลวไปชั่วชีวิต”

หลังจากที่ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษแล้ว สรรพสิริยังได้รับเชิญให้เป็นกรรมการที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ช่อง 7 และได้รับปริญญาวารสารศาสตร์ดุษฎี

บัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นรางวัลชีวิตที่ได้ทำงานด้านสื่อสารมวลชนมาตลอด 35 ปี

“ถ้าไม่มีเหตุการณ์ 6 ตุลา ผมจะไม่มีวันนี้ ผมอาจนั่งเลี้ยงหลานหรือตรอมใจตายไปแล้วหลังปลดเกษียณ เมื่อคิดทบทวนแล้ว ผลกระทบจากเหตุการณ์นี้ส่งผลในด้านดีแก่ชีวิตผมมากกว่าด้านเสีย 

หากเราสามารถพลิกผันความเจ็บปวดมาเป็นความชื่นชมและภูมิใจ และพยายามทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม”

ที่มา : คัดจาก นิตยสารสารคดี ปีที่ 12 ฉบับที่ 140 ประจำเดือนตุลาคม 253
///////////////
แม่รำเพย ให้อะไรแก่เรา 
โดย : นายสรรพสิริ วิริยศิริ 

ก็ไม่แปลกอะไรที่เพิ่งจะมาถามไถ่ไล่เลียงเอากับตัวเองว่าได้อะไรมาบ้างจากสิบเอ็ดปี ที่เคยเป็นนักเรียน โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ ถึงจะพ้นจากรั้วเขียวเหลือง มาตั้งครึ่งศตวรรต เข้านี่แล้ว ผมยัง

เป็นลูก แม่รำเพยคนหนึ่งอยู่ดีและจะเป็นไปจนกว่าจะตายแบบว่าถึงแก่อนิจกรรม หรือถึงแก่กรรมเฉยๆ เพราะ ที่จะเอาถึงแก้อสัญกรรมนั้นชาตินี้ไม่มีหวังเสียแล้ว

ถึงแม้จะได้แค่ตาย ไม่มีทางได้อสัญกรรมกับใครเขา แต่ผมก็ยังภูมิใจละที่สามารถทำได้อย่างน้อยก็ไม่ เสียทีที่เคยเล่าเรียน ในสถานศึกษา ที่มีอุดมการณ์ว่า นสิยา โลก วฑฒโน ดีกว่าอีกตั้งเยอะที่พอ

ถึงอสัญ กรรมไปแล้ว ผู้คนดีใจไปตามๆกันว่าโลกจะได้หายรกไปอีกหน่อยว่ะ

ก่อนอื่นต้องขอคุยเสียหน่อยตามประสาคนที่ไม่ค่อยมีดีอะไรจะคุย ว่าผมน่ะหาใช่นักเรียนโรงเรียนเทพศิ รินทร์เท่านั้นไม่ แต่เป็นนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์เต็มยศเลย ซึ่งในยุคที่แม่รำเพย 

อายุอานาม ปาเข้าไปตั้งร้อยปียังงี้คงจะมีเหลือไม่มากมายเท่าไหร่หรอก

เรื่องมีอยู่ว่าสมัยที่ผมนุ่งกางเกงขาสั้นสีดำ ใส่เสื้อนอกสี(บางทีก็)ขาว ขัดกระดุมทองเหลืองห้าเม็ด สวม หมวกฟางร่วมสมัยกับตลกแว่นตาโต"ฮาโรลด์ ลอยด์" เดินหิ้วกระดานชนวนไปโรงเรียนอยู่นั้น 

โรงเรียน ของผม อาศัยอยู่วัดข้างๆบ้าน และ สอนหนังสือตั้งแต่ประถมสามชั้นขึ้นไป ถึงมัธยมอีกแปดชั้น จึงได้ชื่อ ว่าโรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์

โรงเรียนที่อาศัยอยู่วัดข้าง ๆ บ้านผมนี่ จะชื่อเสียงเรียงนาม ยังงี้ตั้งแต่ เมื่อร้อยปีก่อน หรือยังไง ผมไม่ ทราบตอนนั้นยังไม่เกิด เท่าที่ทราบเมื่อตอนที่เกิดดิบดีจนสี่ห้าขวบแล้วก็แค่ว่าที่ผมต้องจำใจเดิน 

ไปโรง เรียนกะเขาด้วยนั้น ก็เพราะพวกพี่ๆเขาไปกันหมดแล้ว ถึงเวลาอันจำเป็นที่ต้องจำใจไปผมก็ไปกะเขามั่ง ก็แค่นั้น ไม่เคยได้ตั้งความหวังไว้ว่าจะได้อะไรจากโรงเรียน

พอมาตั้งคำถาม ซักไซ้ไล่เรียงตัวเองว่า เทพศิรินทร์ให้อะไรแก่เราบ้าง จึงเพิ่งมาได้คิดว่าสิ่งที่เคยได้ ในอ้อมอก แม่รำเพยนั้นมากมายมหาศาล ด้วยคุณค่าเกินกว่าที่เราจะมีโอกาสทดแทนพระคุณได้ 

ในชั่วชีวิตน้อยนิดที่เหลือ

ผมเพิ่งได้คำตอบให้ตนเองว่า ที่เราเป็นตัวเป็นตน พอนับเนื่องเป็น"คน" มิใช่เป็นเพียงแค่"มนุษย์" หรือ ขยะสังคมกะเขาคนหนึ่ง ก็ได้อาศัยรากฐานความเป็น "คน" ท ี่โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ 

อบรมบ่มนิสัยมาให้ทั้งนั้น

บ้านเดิมของผม อยู่ยศเส ฝั่งตรงข้ามกับที่เคยเป็นโรงหนังเฉลิมเขตในอดีตต่อมานั่นแหละ พ่อของผมมี ลูกเยอะเพราะท่านเป็นคนขยันไม่ชอบอยู่เฉยเฉยและสมัยนั้นทีวียังหามีดูไม่ คุณมีชัยก็ยังไม่เกิด

ลูกเต้ามี กี่โหล ต่อ กี่โหลถ้าเป็นผู้ชาย ท่านก็ส่งเข้าเทพศิรินทร์ ถ้าเป็นผู้หญิง ก็เดินต่ออีกหน่อยไปถึงสายปัญญา

พี่ๆเขาไปโรงเรียนกัน ผมก็ต้องไปมั่ง ไม่ได้หวังจะเอาดิบดีเอาดีอะไรมิได้ เพิ่งจะมาได้คิดเอาก็ตอนนี้ว่า นี่ดีนะ ที่ได้เป็นนักเรียนโรงเรียนที่พยายามพร่ำสอนคนให้ไม่เป็นคนรกโลก ถ้าไม่งั้นตอนนี้

เรานี่มันจะรก โลกซักแค่ไหนยังไม่รู้เลย

คงมีโอกาสเป็นคนรกโลกได้ยาก ถ้าหากเป็นคนเคยผ่าน โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์มาแล้ว โดยคำว่า โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ ผมมิได้หมายความถึงสิ่งก่อสร้าง อย่างเช่น ตึกแม้นฯ ตึกเยาว์ฯ 

หรือ แม้ กระทั่งซุ้มประตูโบสถ์เท่านั้นไม่ หากหมายถึงสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น เจ้าคุณจรัลฯ ครูเทือก ครูประนอม ครูหม่อมเจ้า หรือ ครูทอง ไม่ว่าจะเป็นอาจารย์บุญ

ถิ่น อาจารย์ศิระ ประภา หรือว่า อาจารย์สุนทร ไม่ว่าจะเป็นไอ้มัด ไอ้คีน หรือว่าไอ้ลี่

นี่ต้องอธิบายกันหน่อย เดี่ยวจะหาว่า ลบหลู่ครูบาอาจารย์ คือว่า ท่านใดมียศฐาบรรดาศักดิ์ เราก็เรียกเจ้า คุณ คุณพระ ไปตามนั้น ถ้าเป็นครู ป.ป., ป.ม. กระทั่งครูพละ ครูวาดเขียน เราก็เรียกว่าครู ถ้า

มีดีกรีห้อย ท้ายนั้นแหละ ถึงจะยกย่องให้เป็นอาจารย์ แต่ถ้านำหน้าว่า "ไอ้" แล้วไซร้ ก็เป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงครูบา อาจารย์ที่เป็นฝรั่ง อย่างจะไปเรียกลับหลังว่าครูโธมัส หรืออาจารย์เซลลี่ยังงี้ก๊อเชย

แย่

แต่มีข้อยกเว้นอยู่บ้าง อย่างเช่น เจ้าคุณประสิทธิ์ศิริทรัพย์ ยังงี้ลับหลังใครๆ ก็เรียกท่านว่า "ไอแจ้" นี่อาจ จะเป็นเพราะถือตัวเป็นเพื่อนกับน้องชายของท่านชื่อ"ไอ้จี่" ก็เป็นได้ คงไม่ใช่เพราะความแค้น

เคืองที่ท่าน ชอบเอาหนังสือตีศรีษะเป็นการสั่งสอนทำให้เราฉี่รดที่นอนอยู่เป็นนิจสินหาไม่

ผมเดินข้ามสนามฟุตบอล ผ่านประตูซุ้มโบสถ์ไปๆมาๆ ระหว่าง ตึกแม้นนฤมิตร กับตึกเยาวมาล์อุทิศ เพื่อ แข็งใจให้ผ่านสามชั้นประถมกับอีกแปดมัธยมอย่างทุลักทุเลได้ในเวลาพอดีสิบ เอ็ดปีไม่ขาด 

เพราะไม่เคย ได้พาสส์ ไม่เกินเพราะขี้เกียจรอจบพร้อมรุ่นพ่ออบ่างเช่นพ่อสาย กาญจนมุสิก หรือ ประกอบเกื้อ บุนนาค เอาแค่ไม่เคยสอบไล่ตกคุณคุณทั้งหลายก็เซอร์ไพรส์กันเหลือเกินอยู่แล้ว

ก็ต้องซูฮกให้ในความพยายามของครูบาอาจารย์ทั้งท่านที่กล่าวถึงมาแล้ว และที่ไม่มีที่พอจะกล่าวถึงซึ่งท่าน อุตส่าห์ยัดเยียดวิชาการ บรรจุแทนที่ ขี้เลื่อย ในขมองของผม พอให้ทำมาหากินได้ไม่ถึง

กะอดตายมาตราบ เท่าทุกวันนี้

แต่สิ่งที่โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ประ สิทธิประสาทซึ่งอาจมีค่ามากกว่าวิชาการ คือความเป็น "คน" และ เป็นคนที่ไม่รกโลกเสียด้วย

ความเป็นนักเรียนในสถานสิขาสง่าพระนามทำให้พวกเราต้องมีระเบียบ วินัยศักดิ์ศรี ไม่ให้เสียทีที่เป็น "ลูกแม่รำเพย"

เป็นโชคดีของผม ที่เป็นนักเรียนอยู่ในยุคสมัยที่ระเบียบวินัย อยู่ที่ปลายไม้เรียว ความมีระเบียบวินัยที่ผม พอพอมีนิดๆหน่อยๆทุกวันนี้ส่วนใหญ่ได้มาแต่สมัยนั้นจากปลายไม้เรียวมั่ง ไม้บรรทัดมั่ง 

แล้วแต่ว่าคุณ ครูท่านจะหยิบฉวยอะไรได้ใกล้มือที่สุด อย่างที่ตอนผมขึ้นไปอยู่บนต้นไม้ในวันนั้น

ไม่แน่ใจว่าเป็นต้นมะออกกานีหรือต้นมะขามนั่นไม่สำคัญ สำคัญก็อีตอนที่เหลือบแลลงมาที่โคนต้นไม้ หัวใจ ลงไปกองอยู่ที่ตาตุ่ม มือไม้อ่อนจักกะแหล่น จะร่วงผลอย แทนที่จะค่อยๆปีนลงมา ค่า

ที่อีตา คนที่นุ่งผ้าม่วง ยืนขยับไม่เรียวขวับๆ อยู่ที่โคนต้นไม้นั่นน่ะไม่ใช่ใครอื่น เจ้าคุณจรัลชวนะเพทอาจารย์ผู้ปกครองที่พวกเรา มักจะแกล้งทำเป็นกลัวนั่นเอง

ที่ว่าแกล้งทำเป็นกลัวก็เพราะนักเรียนเทพฯทุกคนที่ทันยุคเจ้าคุณจรัล ชวนะเพทต่างรู้ดีว่าท่านเป็นคนที่ปาก ไม่ค่อยดี แต่ใจน่ะดี จะไม่ค่อยดี ก็ตรงที่ในมือของท่านมักจะมีไม้เรียวอยู่เป็นประจำ ยัง

กับ เป็นเครื่องประ ดับมือว่างั้นเถอะ

นอกจากสอนให้มีระเบียบสมกับที่ได้เล่าเรียนในสถานสิขาสง่าพระนามแล้ว โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ ยังสอนให้เราเป็น นักกีฬา หรือ อย่างน้อยก็มีใจเป็น นักกีฬา สมกับ ที่เป็นนักเรียน ใน 

สำนักกีฬาสง่าสนาม

ศูนย์ส่งเสริมการกีฬาสำคัญที่สุดของนักเรียนเทพฯทุกยุคทุกสมัย อยู่ในซุ้มประตูโบสถ์ ซึ่งนานๆจะเปิดใช้ เป็นประตูเข้าออกเป็นทางการระหว่างโรงเรียนเทพฯกับวัดเทพฯเสียที ระหว่างตอนที่ปิด

อยู่ซุ้มประตูนี้จึง เป็นสนามอินดอร์ซอคเกอร์ แห่งแรกของเมืองไทยในสมัยนั้น

คนที่มีสิทธิ เอาลูกเทนนิสเก่า ๆ เข้าไปเตะอัดข้างผนังซุ้มโบสถ์เปรี้ยวปร้างได้ในครั้งกระนั้น ก็มีแต่ พวกนัก ฟุตบอลตีนโตโตหน้าแข้วใหญ่ใหญ่ อย่างไอ้ที่ชื่อนายสาย นายอัมพร นายอรรณพ นายช่วง 

อะไรพวกนี้เท่า นั้นที่จะกล้าเข้าไปเป็นนักกีฬาลูกหนังซุ้มประตูโบสถ์ไอ้พวกตัวเท่าลูกหมา อย่างรุ่นผมนี่ไม่มีทางเข้าไปแหยม อย่างเก่งก็ได้แต่ใจเป็นนักีฬายืนดูอยู่ข้างนอกแค่นั้น

เออถ้าเป็นอย่างที่โรงยิมยังงี้ยังค่อยยังชั่ว มีกีฬาหลายอย่าง ที่พอเข้าไปร่วมวงไพบูลย์ กับเขาได้เพราะมี แบ่งตามสัวนสัด ขนาดของร่างกายออกเป็นรุ่นรุ่น อย่างเช่นกีฬาชกมวยเป็นต้น

ครูบาอาจารย์อย่างเช่นครูมาลับ ชูพินิจก็ดี หรือ ครูทอง เอกบุศย์ก็ดีบอกกับผมว่ามวยเป็นกีฬาที่ลูกผู้ชาย อกสามศอกควรจะหัดให้เป็น ผมก็เชื่อ ทั้งๆที่อกยังไม่ถึงสองศอกดีเสียด้วยซ้ำ มาเลิกคิดเอาดี

ทางหมัดๆ มวยๆ ก็ตอนที่เจอเข้ากับเพื่อนที่ชื่อเสกศรี ธรรมสโรช

เพื่อนๆบอกอยู่ว่าอีตาเสกศรี นี่เห็นตัวเล็กๆ ยังงี้พ่อต่อยมวยเก่งเป็นบ้า ผมก็ไม่ใช่ว่าไม่รู้ แต่ที่หาญเข้าไปท้าทาย นายเสกศรี ให้สวมนวมประลองฝีมือกัน ในโรงยิมวันนั้น อันที่จริง ตั้งใจจะให้เป็นมุข

ตลกเล่นสนุกๆเ ท่านั้นเอง คือผมแกล้งสวมนวมให้มันหลวมๆไม่ผูกเชื่อให้แน่นหนาหมายใจว่าจะแกล้ง ทำให้นวมหลุดใส่หน้าพ่อเสกศรี ให้เพื่อนฝูงได้ฮาเล่น พอเต้นหยองทำตลกได้สักพัก ผมก็ทำ

เป็นเหวี่ยงหมัด พยายามสะบัดให้นวมหลุด สะบัด เท่าไหร่เท่าไหร่ไอ้นวมเจ้ากรรมก็ไม่ยอมหลุดซักทีจนถึงทีสุดท้ายผมพยายาม สะบัดสุดแรงเกิดพอดีกับจังหวะ ที่พ่อเสกศรีกำลังเขยิบเข้ามาตามชั้น

เชิงของคนเป็นมวย

นวมเจ้ากรรทข้างนั้นมันไม่ยักจะหลุดตามแรงสะบัด ดันอัดเข้าไปบนหน้าอีตาเสกศรี แบบครึ่งปากครึ่งจมูก ถึงกับหงายผลึ่งกันจ้ำเบ้าไม่เป็นท่า พอลุกขึ้นมาได้เท่านั้นหมอนั่นเกิดโมโหที่เสียหน้าไก่ 

ไล่ต่อยตุ้ยผมไม่ยั้ง มือ ถ้าผมเผ่นแน่บออกจากโรงยิมไม่ทันวันนั้นก๊อคงโดนน๊อคกลิ้งโค่โร่แหงแหง

ตั้งแต่วันนั้นโรงยิมก็เปลี่ยนฐานะจากสถานที่เพาะความเป็นนักกีฬา เหลือแค่ความมีใจเป็นนักกีฬา เพราะหมด หวังที่จะเอาดีทางเป็นนักมวยอาชีพเสียแล้ว แต่ ความเป็นนักมวยสมัครเล่นต่อกัน

หลังวัดนั้นพอมีอยู่บ้าง ตาม ปกติ เรียนโรงเรียนวัดไม่ต่อยกันหลังวัดจะให้ไปต่อยกันที่ไหนล่ะ

การต่อยกันหลังวัด ทั้งๆ ที่ไม่มีการสวมนวมโก้ๆ เหมือยอย่างต่อยกันในโรงยิม แต่มักไม่ค่อยมีใครได้แผล หรือแม้แต่ฟกช้ำดำเขียว เหตุผลก็อย่างที่ผมเคยนัดเข้าไปฟาดปากกับเพื่อนที่เลิกเป็นเพื่อน

กันชั่ว คราวตอน ทะเลาะกันอย่างพ่อศิริวัฒน์ "ตาโป๋" วิเศษสิริคนนั้น

บ่ายวันหนึ่งหลังเลิกเรียน แค่บ่ายโมงสี่สิบห้า มีเวลาถมไป ที่จะไปตัดสินข้อพิพาทกัน หลังวัดตามระเบียบ ก่อนเริ่มต่อยกันก็ต้องทำความตกลงกันก่อนว่าจะชกกันแบบมวยไทยหรือมวยฝรั่ง เถียง

กันจนเหนื่อยกว่า จะตกลงได้ว่าเอามวยวัดก็แล้วกัน เพราะต่อยกันหลังวัดนี่หว่า

จากนั้นต้องเถียงกันอีกพักใหญ่ว่าจะให้เพื่อนที่มุงดูคนไหนเป็น กรรมการห้าม ไอ้คนไหนให้เป็นกรรมการตัด สินในกรณีที่ไม่มีการน๊อคเอาท์ แล้วก็เถียงกันต่ออีกว่าไอ้คนใครจะเป็นคนลงมือต่อย

ก่อน

"ลื้อตัวใหญ่กว่า ต่อยอั้วก่อยซีวะ"ผมว่า "ไม่ได้โว้ยเดี๋ยวจะหาว่าอั้วรังแกเด็ก อั้วให้ลื้อต่อยก่อนก็ยังได้" ไอโป๋ว่าพร้อมกับลอยหน้าลอยตายื่นมาให้ชก

ใครจะไปชกกันให้โง่ ก็ตอนนั้นพวกเพื่อนๆที่แห่มาดูเป็นสักขีมันรำคาญแห่กลับบ้านกันหมดแล้ว มัวต่อยกัน ไปทำไมให้มันเจ็บเปล่าๆ เอาเป็นกลับไปคุยว่าต่างคนต่างชนะคะแนนทั้งคู่ก็ได้จะมี

ใครมาประท้วง

เรายังได้อะไรอะไรอีกเยอะแยะจากเทพศิริ นทร์อย่างเช่น Esprit de corp ที่สอนว่าให้สามัคคีนี่แหละล้ำเลิศ เป็นสิ่งที่จะไม่มีมิได้ในการยกพวกไปต่อยกับสวนกุหลาบวันชิงฟุตบอลรุ่นกลาง หรือตีกับ

บวรนิเวศวันชิงฟุตบอลรุ่นเล็กเป็นต้น

สำคัญและมีคุณค่ากว่าสิ่งอื่นใดที่พวกเรา ได้จากความเป็นนักเรียนเก่า ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนเก่าโรงเรียนมัธยม วัดเทพศิรินทร์ โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ โรงเรียนเทพศิรินทร์ เฉยเฉย หรือจนกระทั่งอาจ

จะเป็นเทพศิรินทร์ ร่มเกล้า สิ่งที่ลูกแม่รำเพยทุกคนควรจำใส่ใจคือ"ความไม่เป็นคนรกโลก"

ขอให้เราตั้งปณิธานว่า ชั่วชีวิตนี้ มั่งมีดีจนแค่ไหนไม่สำคัญ ข้อสำคัญเราเคยเป็นนักเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์ เราจะไม่มีวันยอมเป็นคนรกโลก เราจะจดจำคำของท่านเจ้าอาวาสสมเด็จพระพุทธ

โฆษาจารย์ไว้จนชีวิตจะหาไม่!!

นสิยา โลก วฑฒโน

สรรพสิริ วิริยศิริ ..... ท.ศ.๓๖๖๓



Create Date : 15 ตุลาคม 2555
Last Update : 15 ตุลาคม 2555 23:57:50 น. 0 comments
Counter : 1931 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สุริยาอัสดง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เปิดโลกด้วยแสงแห่งปัญญา
Thaiflood
Friends' blogs
[Add สุริยาอัสดง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.