ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด
<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
5 สิงหาคม 2556

การเมืองทุบหุ้น-ดัชนีส่อหลุด1400จุด

 การเมืองกดดันหุ้นไทย เซียนหุ้นประสานเสียงสัปดาห์นี้ดัชนีผันผวนทางลง เสี่ยงหลุด
1400 จุด แนะจับตาสถานการณ์ชุมนุมใกล้ชิด ประเมินแนวรับต่ำสุด 1350 จุด แนวต้าน 1480
จุด แนะหาโอกาสขายทำกำไรช่วงต้นสัปดาห์ และรอกลับเข้าไปซื้อคืน ด้านบิ๊กตลาดทุนมองการ
เมืองกระทบช่วงสั้น เหตุตลาดมีภูมิต้านทาน แต่หวั่นฉุดหุ้นไทยฟื้นตัวช้ากว่าเพื่อนบ้าน แนะลงทุน
หุ้นส่งออกที่ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว
ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยวันที่ 2 ส.ค.56 เคลื่อนไหว
ผันผวนตลอดทั้งวัน เนื่องจากนักลงทุนกังวลปัญหาการเมืองที่เพิ่มดีกรีความร้อนแรงมากขึ้น โดย
ดัชนีปิดตลาดที่ 1,420.94 จุด ลดลง 16.57 จุด หรือ -1.15% มีมูลค่าการซื้อขาย 37,950.67
ล้านบาท ทั้งนี้ ระหว่างวันดัชนีฯ ปรับตัวลดลงกว่า 28 จุด ก่อนรีบาวน์ขึ้นเล็กน้อยในช่วงท้าย
ตลาดฯ ขณะที่ปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,642.82 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลัก
ทรัพขายสุทธิ 1,451.51 ล้านบาท นักลงทุนทั่วไปซื้อสุทธิ 1,827.08 ล้านบาท และนักลงทุน
สถาบันซื้อสุทธิ 1,267.24 ล้านบาท ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้(5-9 ส.ค.56)คาดแกว่ง
ตัวผันผวนทางลง รอดูสถานการณ์ทางการเมือง

เซียนหุ้น คาดสัปดาห์นี้หุ้นไทยผันผวนทางลง
นายอภิชาติ ผู้บรรเจิดกุล ผู้อำนวยการสำนักวิจัย บริษัทหลักทรัพย์(บล.)ทิสโก้ เปิดเผยว่า
แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงสัปดาห์นี้(5-9 ส.ค.)ยังคงมีโอกาสปรับตัวลดลงในช่วงต้นของ
สัปดาห์ เพราะได้รับผลกระทบทางการเมือง โดยจะมีการยื่นพ.ร.บ.นิรโทษกรรม วาระที่ 1 ในวัน
ที่ 7 ส.ค. นี้ ซึ่งอาจทำให้เกิดสถานการณ์ที่สร้างความวิตกกังวลแก่นักลงทุนได้ และประเมินว่าใน
ช่วงนี้นักลงทุนต่างชาติอาจจะชะลอการซื้อสุทธิ เนื่องจากยังคงมีความเสี่ยงทางการเมือง จึงส่งผล
ให้ขณะนี้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง อย่างไรก็ตามมองว่าหากการยื่นพ.ร.บ.นิรโทษกรรม วาระที่ 1 ผ่าน
ไปได้ อาจส่งผลให้ความรุนแรงทางการเมืองลดลงได้ ทั้งนี้แนะนำนักลงทุนหาจังหวะขายทำกำไร
ในวันที่ 5-6 ส.ค. ก่อนกลับเข้าไปซื้อ โดยประเมินแนวรับตลอดช่วงสัปดาห์ไว้ที่ 1370 -1360
จุด และประเมินแนวต้านที่ 1430 จุด
ด้านนางสาวธีรดา ชาญยิ่งยงค์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟิลลิ
ป (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ ดัชนีฯ จะเคลื่อนไหวอยู่ในลักษณะ
Sideway โดยได้รับผลกระทบจากปัญหาการเมืองที่ยังคงมีความไม่แน่นอน ทั้งปัญหาในสภาฯ ที่
จะมีการถกเถียงกันเรื่อง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม รวมถึงปัญหานอกสภาฯ ได้แก่ การชุมนุมของผู้
สนับสนุนและคัดค้านร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะประกาศพ.ร.บ.ความมั่นคงออกมา
แล้วก็ตาม
ทั้งนี้ แนะนำนักลงทุนให้รอดูสถานการณ์ความชัดเจน โดยมีโอกาสสามารถหาจังหวะเก็ง
กำไรจากหุ้นที่มีในพอร์ต โดยจะต้องเลือกหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง รวมถึงผลการดำเนิน
งานไตรมาส 2 ออกมาในทิศทางที่ดี โดยประเมินแนวรับตลอดทั้งสัปดาห์อยู่ที่ 1380 จุด และ
ประเมินแนวต้านที่ 1480 จุด
ขณะที่นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เอเซียพลัส เปิดเผยว่าดัชนี
ตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ คาดว่าจะผันผวนในกรอบจำกัด เพราะยังเป็นช่วงรอยต่อจากประเด็น
เรื่องการเมืองอยู่ ซึ่งหากสถานการณ์การชุมนุมรุนแรงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ จะส่งผลให้ดัชนีฯ
หลุดแนวรับที่ระดับ 1,400 จุดได้ และส่งผลเชิงลบต่อการไหลออกของกระแสเงินทุนต่างชาติ
(Fund Flow) ในระยะยาว อีกกรณีที่ทางรัฐบาลได้ใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ พื้นที่ 3 เขตใน กทม.
และสามารถควบคุมการชุมนุมได้ ก็เป็นสัญญาณที่ดีให้ดัชนีฯไม่ลงแรงต่ำกว่าที่คาด ซึ่งนัก
วิเคราะห์มีความเห็นว่าให้ดูแนวโน้มปัจจัยทางการเมืองในช่วงครึ่งเดือนแรกก่อน หากมีทิศทางที่
ดีช่วงครึ่งเดือนหลัง ดัชนีฯจะสามารถฟื้นตัวได้
แนะนำให้หลีกเลี่ยงเก็งกำไรระยะสั้น หากเป็นนักลงทุนประเภทซื้อลงทุนระยะยาวให้ถือหุ้น 40
% ในพอร์ตการลงทุน โดยประเมินแนวรับที่ 1,400 จุด และแนวต้านที่ 1,450 จุด

กูรู ให้น้ำหนักการเมือง 50% หวั่นฉุดหุ้นไทยหลุด 1400 จุด
นางภรณี ทองเย็น ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์เอเชีย พลัส จำกัด
(มหาชน) หรือ ASP เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ได้มีการประเมินและให้น้ำหนักของ
ปัจจัยที่จะกระทบต่อตลาดฯ และดัชนีหุ้นไทย โดยเป็นปัจจัยการเมือง 50% การประกาศผล
ประกอบการของบริษัทจดทะเบียน 30% และภาวะการเติบโตของเศรษฐกิจจีน 20% โดยสาเหตุ
ที่ให้น้ำหนักของปัจจัยการเมืองจะส่งผลกระทบต่อตลาดทุนมากที่สุด เนื่องจากปัจจัยความผันผวน
ในต่างประเทศเริ่มลดน้อยลง ส่งผลให้แรงเทขายของนักลงทุนต่างชาติเบาบาง ซึ่งในช่วงนี้คาดว่า
หากมีแรงเทขายออกมาจะเป็นแรงเทขายของนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นหลัก
ทั้งนี้ ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของดัชนีฯอยู่ที่ 1,350-1,450 จุด โดยปัจจัยสำคัญที่
ต้องติดตาม คือเรื่องของการเมืองหากเกิดเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นอาจจะมีผลทำให้ดัชนีฯหลุด
1,400 จุด มาอยู่ที่ระดับ 1,330-1,350 จุด ส่วนในช่วงไตรมาสที่ 4 คาดว่าจะมีแรงซื้อจากนักลง
ทุนต่างชาติกลับเข้ามา ซึ่งมีผลทำให้ดัชนีฯจะยืนอยู่เหนือระดับ 1,450-1,550 จุดได้
ส่วนกลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ แนะนำให้ลงทุนในหุ้นกลุ่มที่มีผลจากเศรษฐกิจในต่าง
ประเทศเป็นหลัก เช่น PTTEP เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงในระดับ 105 เหรียญต่อ
บาร์เรล ซึ่งสูงกว่าราคาการประเมินผลกำไรที่ 100 เหรียญต่อบาร์เรล และ CPF ซึ่งจะได้รับผล
บวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยดันยอดส่งออกอาหารให้เพิ่มสูงขึ้น ,
กลุ่มสื่อสาร เช่น ADVANC และ INTUCH รวมไปถึง หุ้นที่มีการจ่ายปันผลสูง เช่น TTW
INTUCH และ BECL เป็นต้น

'จรัมพร' เชื่อตลาดผันผวนระยะสั้น
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ตลท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง ที่ส่งผลให้มีการบังคับใช้พ.ร.บ.ความ
มั่นคงในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ จะส่งผลต่อความผันผวนของตลาดหุ้นในระยะสั้นๆ เท่านั้น เนื่อง
จากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่จะมีการทยอยประกาศออกมาในช่วงเดือน ส.ค. นี้ มี
การคาดการณ์ว่าน่าจะออกมาดี ซึ่งคาดว่าจะส่งผลต่อดัชนีฯให้ปรับตัวสูงขึ้นและสร้างความมั่นใจ
ให้กับนักลงทุนได้
นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยังได้รับปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจต่างประเทศ โดยเฉพาะภาพการฟื้น
ตัวของสหรัฐฯที่ชัดเจนขึ้น ส่งผลให้ตลาดหุ้นในหลายๆประเทศเริ่มนิ่ง และลดความผันผวนลง
ส่วนหนึ่งมาจากผลของมาตรการ QE ที่ยังคงดำเนินต่อไป ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย
ที่ถูกมองว่าเป็นภูมิภาคที่เศรษฐกิจจะมีการเติบโตสูงมากที่สุด สามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจาก
ต่างประเทศได้
'พ.ร.บ.ความมั่นคงจะสร้างความผันผวนได้บ้าง แต่คงในระยะสั้นๆเท่านั้น ในระยะยาวคง
ไม่มีผล และในหลายๆปีที่ผ่านมา เราก็เคยเจอปัญหาการเมืองแบบนี้ แต่ว่าก็ยังคงสามารถผ่าน
มาได้ และไม่ได้กระทบต่อผลกำไรของบริษัทจดทะเบียน ปีนี้ก็คงจะเป็นภาพเช่นเดียวกับปีก่อนๆ
และที่สำคัญต่างประเทศก็เริ่มนิ่ง และไม่มีความผันผวนมากนัก ถือเป็นปัจจัยบวกสำหรับหุ้นไทย'
นายจรัมพร กล่าว

'ก้องเกียรติ' ไม่ห่วงการเมืองไทย-ให้น้ำหนักเศรษฐกิจต่างประเทศ
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เอเซียพลัส
จำกัด (มหาชน) หรือ ASP เปิดเผยว่า โดยส่วนตัวมองว่าปัญหาการเมืองในประเทศไม่น่าจะส่ง
ผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นมากนัก เนื่องจากนักลงทุนมีประสบการณ์กับปัญหาดังกล่าวมา
แล้วหลายครั้ง ขณะที่การออกพ.ร.บ.ความมั่นคงเพื่อควบคุมสถานการณ์ก็ไม่น่าจะส่งผลกระทบ
ใดๆอย่างมีนัยสำคัญต่อตลาดฯด้วยเช่นกัน
'ผมมองว่าปัญหาการเมืองที่กังวลกันคงไม่น่าจะมีอะไร เพราะเคยผ่านเหตุการณ์แบบนี้มา
หลายครั้งแล้ว เรื่องการออกพ.ร.บ.ความมมั่นคงก็คงไม่น่าห่วง คงจะเหมือนเดิมๆที่ผ่านมา โดย
หุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้ก็จะยังทรงตัว มีขึ้นลงบ้าง แต่ก็ถือว่าอยู่ในจุดที่เหมาะสม มีพื้นฐาน
รองรับ เพราะภาคธุรกิจไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไป' นายก้องเกียรติ กล่าว
ทั้งนี้ ให้จับตาเศรษฐกิจโลกเป็นสำคัญ เนื่องจากมีแนวโน้มในช่วงของการฟื้นตัว โดยหาก
เศรษฐกิจโลกเป็นไปในทิศทางขาขึ้น ระยะยาวจะส่งผลดีตลาดหุ้นไทย และภาคธุรกิจอื่นๆด้วย ซึ่ง
มองว่าแนวโน้มระยะยาวของเศรษฐกิจสหรัฐฯจะฟื้นตัวชัดเจน ขณะที่ยุโรปก็ได้ผ่านจุดต่ำสุดไป
แล้ว ที่จะมีความกังวลบ้างคือปัญหาเศรษฐกิจในประเทศจีน แต่เชื่อว่าจะกระทบแค่ในระยะสั้น
เท่านั้น

สภาธุรกิจฯหวั่นหุ้นไทยฟื้นตัวช้ากว่าเพื่อนบ้าน
นายไพบูลย์ นรินทรางกูร ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บล.ทิสโก้ เปิดเผยว่า ปัญหาการเมืองในประเทศ คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยในระยะ
สั้นๆ แต่ที่น่าเป็นห่วงคืออาจจะทำให้การฟื้นตัวของตลาดหุ้นไทยช้ากว่าตลาดเพื่อนบ้าน โดยหาก
นับย้อนหลังถึงวันที่ 22 พ.ค. ที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ กล่าวว่าจะมีการชะลอมาตรการ QE
จนถึงปัจจุบันดัชนีหุ้นไทยติดลบอยู่ 12-13% ซึ่งมากที่สุดในภูมิภาค ที่ติดลบเฉลี่ยอยู่ที่ 5% แต่
ตลาดหุ้นไทยก็ยังมีปัจจัยบวกจากกำไรบริษัทจดทะเบียน ที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น และต้องการให้
รัฐบาลเร่งผลักดันการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้มีความชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนัก
ลงทุนต่างชาติ
ส่วนกลยุทธ์ในการลงทุน แนะนำหุ้นในกลุ่มส่งออก ซึ่งจะได้รับผลบวกจากการฟื้นตัวของ
เศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมี อาหาร รวมไป
ถึงการท่องเที่ยว
ด้านนายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์เมย์แบงก์ กิมเอ็ง
(ประเทศไทย) จำกัด หรือ MBKET กล่าวว่า สำหรับประเด็นด้านการเมิง มองว่าจะส่งผลไม่มาก
เพราะดัชนีตลาดฯ มีการตอบรับ
ไปล่วงหน้าแล้ว แต่ที่สำคัญคือเรื่องของการผลักดันนโยบายต่างๆ โดยเฉพาะการลงทุน
โครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากในการพัฒนาประเทศ รวมถึงเป็นการดึงดูดเม็ดเงิน
ลงทุนจากต่างชาติ
ส่วนกลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ แนะนำให้ลงทุนในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ ที่จะได้
รับผลบวกจากภาพรวมการส่งออกที่คาดว่าจะดีขึ้น หลังจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึง
กลุ่มธนาคารที่ราคาปรับตัวลงมาค่อนข้างแรง จนต่ำกว่าพื้นฐาน รวมถึงในระยะยาวกลุ่มที่ได้รับ
ประโยชน์จาก AEC และทีวีดิจิตอล





เรียบเรียง โดย นายศักดิ์ชาย งอกงาม
อีเมล์แสดงความคิดเห็น commentnews@efinancethai.com




ที่มา อีไฟแนนซ์ไทย วันที่ 05/08/13 เวลา 8:16:48





Create Date : 05 สิงหาคม 2556
Last Update : 5 สิงหาคม 2556 10:45:38 น. 0 comments
Counter : 539 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

tukdee
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 51 คน [?]










ติดตามข้อมูลของเว็บทาง twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด







Online Users


[Add tukdee's blog to your web]