ทำทุกวันให้มีค่าแล้วชีวิตจะมีแต่ได้กับเสมอตัว~ (・Ω・)ノ(ノω-ヾ) (ゝω´・)b U,,・ω・) ( 'Θ')
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
28 ตุลาคม 2550
 
All Blogs
 

~~Annales school of thought~~

Midnight university___
Annales in Global Context

Annales ในบริบทโลก
ชื่อเสียงและอิทธิพลของ Annales นอกประเทศฝรั่งเศสเริ่มมีอย่างชัดเจนในช่วงคนรุ่นที่สอง กล่าวคือ

- ในอิตาลีนั้นนักประวัติศาสตร์จำนวนหนึ่งยินดีต้อนรับงานและแนวคิดของ Braudel เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับในโปแลนด์ที่ Annales ก็เป็นที่ต้อนรับเป็นอย่างดีเช่นกัน ทั้งๆ ที่มาร์กซิสต์นั้นเป็นแนวคิดนำ

- งานในโปแลนด์ที่สำคัญมากๆ ที่ได้รับอิทธิพลจาก Annales ได้แก่ Economic Theory of Feudal System (1962/1976) ของ Witold Kula ซึ่งได้ทำการศึกษาพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของเจ้าที่ดินโปแลนด์ในคริสตศตวรรษที่ 17 และ 18 ซึ่งขัดกับคำอธิบายของเศรษฐศาสตร์คลาสสิค กล่าวคือ เมื่อข้าวไรย์ราคาขึ้น เจ้าที่ดินเหล่านี้กลับผลิตน้อยลง ในขณะที่เมื่อข้าวไรย์ราคาลง เจ้าที่ดินเหล่านี้กลับผลิตมากขึ้น. Kula นั้นให้คำอธิบายในเชิงวัฒนธรรมว่า เป้าหมายสำคัญของเจ้าที่ดินเหล่านี้ไม่ใช่กำไร แต่เป็นการธำรงชีวิตอยู่อย่างที่คุ้นเคย. เจ้าที่ดินเหล่านี้จึงเปลี่ยนอัตราการผลิตเพื่อที่จะมีรายได้ที่สม่ำเสมอ

- ในกรณีของเยอรมัน ความสนใจของนักประวัติศาสตร์รุ่นที่ผ่านสงครามโลกมานั้น วนเวียนอยู่ที่สงครามโลกและเรื่องการเมือง ซึ่งกว่าวงการประวัติศาสตร์เยอรมันจะหันมาสนใจในประเด็นของ Annales เวลาก็ล่วงเข้ามาในช่วงทศวรรษที่ 70's แล้ว

- สำหรับในอังกฤษ มีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจหลายอย่างเกิดขึ้น ประการแรกที่เห็นได้ก็คือ ความต่อเนื่องของ "ความหมั่นไส้ทางวิชาการ" ที่อังกฤษมีต่อฝรั่งเศสมาเป็นเวลายาวนาน แนวทางแบบประจักษ์นิยมและวิธีวิทยาที่เน้นปัจเจกบุคคลของอังกฤษ ถือเป็นไม้เบื่อไม้เมากับแนวทางที่เน้นทฤษฎีและความเป็นองค์รวมของฝรั่งเศสมานานแล้ว ในระนาบเดิมๆ ของความขัดแย้งงานของ Annales นั้นก็ไม่ได้เป็นที่ต้อนรับในวงการประวัติศาสตร์ในอังกฤษเท่าที่ควร การวิจารณ์งานของ Annales ก็ดูจะเป็นไปอย่างสาดเสียเทเสียมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีว่าการเขียนแบบ Annales ที่น่ารำคาญ ไปจนถึงการกล่าวว่า ศัพท์แสงต่างๆ ที่พวก Annales ใช้นั้น คงเอาไว้สื่อสารกันเองเท่านั้น อย่างไรก็ดี สิ่งที่น่าสนใจคือนักประวัติศาสตร์ในอังกฤษที่เริ่มต้อนรับ Annales นั้น กลับเป็นพวกมาร์กซิสต์อย่าง Eric Hobsbawm และ Rodney Hilton

- สำหรับในเอเชีย การรับ Annales ของแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกัน ในกรณีของอินเดียนั้นเริ่มมีนักวิชาการรุ่นใหม่ๆ สนใจ Annales แต่ส่วนใหญ่ก็ดูจะนิยมในมาร์กซิสต์มากกว่า

- ทางด้านญี่ปุ่นนั้นมีนักประวัติศาสตร์จำนวนมากที่ได้มาเรียนที่ฝรั่งเศส และรับเอาแนวคิดแบบ Annales ไป ทว่าพวกนี้ก็ทำงานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ยุโรปเป็นหลัก. ส่วนในประเทศอื่นๆ ในเอเชียนั้น โดยภาพรวมแล้วความสนใจที่มีต่อ Annales นั้นต่ำมาก เช่นเดียวกับอิทธิพลของ Annales ในแอฟริกาซึ่งแทบจะไม่พบเลย

- ทางด้านอเมริกาเหนือ มีการรับอิทธิพลของ Annales ต่ำมาก การหันมาใช้แนวคิดทางมานุษยวิทยาในการศึกษาประวัติศาสตร์ช่วงอาณานิคม เกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับอิทธิพลของ Annales แต่อย่างใด. ในขณะเดียวกันในอเมริกาใต้นั้นกลับมีนักวิชาการที่สนใจแนวคิดแบบ Annales อย่างเป็นกอบเป็นกำทีเดียว ในจำนวนนี้มีงานที่สำคัญและโดดเด่นมากๆ คืองานของ Nathan Wachtel คือ The Vision of the Vanquished (1971/1977) ที่ศึกษายุคเริ่มแรกของอาณานิคมเปรู จากมุมมองของอินเดียนด้วยลีลาที่แบบ Annales ที่ครบเครื่องและรอบด้าน

เมื่อย้อนกลับมาในฝรั่งเศส ข้อสังเกตที่สำคัญคือแนวคิดแบบ Annales นั้นมีอิทธิพลหลักๆ กับการศึกษาประวัติศาสตร์เฉพาะยุโรปในช่วงยุคกลางและสมัยใหม่ช่วงต้น (Early Modern) เท่านั้น อย่างไรก็ดี นักประวัติศาสตร์ที่สนใจเรื่องราวยุคโบราณอย่าง Jean-Pierre Vernant และ Paul Veyne นั้น ทำการศึกษาประวัติศาสตร์ของกรีกและโรม ด้วยการหยิบยืมแนวคิดจากจิตวิทยา, สังคมวิทยา, และมานุษยวิทยามาใช้ในการวิเคราะห์ในทำนองเดียวกับ Annales เช่นกัน

จุดบอดของ Annales ในเชิงมาตรฐานนั้น คงจะเป็นประวัติศาสตร์ร่วมสมัย (ในฝรั่งเศสเริ่มนับตั้งแต่หลังปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789) ที่ยากจะปฏิเสธความสำคัญของบุคคลและเหตุการณ์ได้ อย่างไรก็ดี สิ่งเหล่านี้ได้รับการคลี่คลายไปมากแล้วในกรณีของคนรุ่นที่สาม สิ่งเหล่านี้เป็นกระบวนการคลี่คลายซึ่งเชื่อมโยงกับการคลี่คลายแนวคิดภูมิศาสตร์กำหนดของ Braudel และเศรษฐกิจกำหนดของ Labrousse ซึ่งทำให้ภาพของมนุษย์ที่เป็นผู้กำหนดชะตากรรมตนเองเผยออกมา

Peter Burke มีความเห็นว่า Annales ไม่ว่าจะเป็นในฐานะกลุ่มหรือขบวนการ (Movement) นั้น ถือว่าได้จบลงไปเรียบร้อยแล้ว พร้อมๆ กับอิทธิพลที่กระจัดกระจายไปอย่างล้นหลาม. อย่างไรก็ตาม เขาก็ได้ยกย่อง Annales ว่า "A remarkable amount of the most innovative, the most memorable and the most significant historical writing of the twentieth century has been produced in France."

เก็บความและเรียงเรียงใหม่จาก
The French Historical Revolution: The Annales School, 1929-89 ของ Peter Burke




 

Create Date : 28 ตุลาคม 2550
1 comments
Last Update : 20 ตุลาคม 2552 3:27:41 น.
Counter : 1107 Pageviews.

 

ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นมากที่ทุกคนต้องศึกษาหาความรู้

 

โดย: นิด IP: 203.172.213.17 22 มกราคม 2551 10:58:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


PPpIRCU
Location :
LonDoN~ United Kingdom

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




LSEist '11

( ^^)爻(^^ )

~ขอสงวนลิขสิทธิ์ในภาพถ่ายและบทความทุกชิ้น~
Piang Phanprasit

Créez votre badge
Photobucket

Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket
Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket
Friends' blogs
[Add PPpIRCU's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.