ทำทุกวันให้มีค่าแล้วชีวิตจะมีแต่ได้กับเสมอตัว~ (・Ω・)ノ(ノω-ヾ) (ゝω´・)b U,,・ω・) ( 'Θ')
Group Blog
 
<<
มกราคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
2 มกราคม 2551
 
All Blogs
 
.....~~มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : Welfare state III~~.....

2.3 Left-libertarianism (ลัทธิเสรีนิยมฝ่ายซ้าย)
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่นักเสรีนิยมทั้งมวลที่ให้การรับรองหลักการเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของตนเอง(self-ownership) - หรือเห็นด้วยกับทฤษฎีการเข้าถือสิทธิ์อย่างที่เราพบในบรรดานักเขียนทั้งหลาย เช่น Nozick. ในความคิดของนักปรัชญาบางคน บางครั้งอ้างถึงบรรดานักเสรีนิยมฝ่ายซ้าย. หลักการเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของตนเอง ควรถูกนำไปรวมกับหลักการอันหนึ่งเกี่ยวกับความเท่าเทียมกันในเรื่อง "ทรัพยากรภายนอกที่ไม่มีเจ้าของ". ด้วยเหตุนี้ หากเราจินตนาการถึงคนกลุ่มหนึ่งซึ่งพบว่า ตัวของพวกเขาเองได้ถูกขนย้ายไปสู่ดาวเคราะห์ที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ นักเสรีนิยมฝ่ายซ้ายถือว่า แต่ละคนเหล่านี้มีสิทธิ์ใน"ความเป็นเจ้าของตนเอง" บวกกับ "สิทธิอันหนึ่งที่เสมอภาคกัน" แต่ละคนจะได้ปันส่วนทรัพยากรภายนอกที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของมาแต่แรกของดาวเคราะห์ดวงนี้ (ดูตัวอย่างใน, Steiner, 1994, และ Vallentyne และ Steiner, 2000a, 2000b) (*)
(*) Steiner, Hillel, An Essay on Rights (Oxford, Blackwell, 1994).
Vallentyne, Peter, and Steiner, Hillel, eds., Left-Libertarianism and Its Critics (Basingstoke, Palgrave, 2000a).

มีการถกเถียงอย่างออกรสชาติในท่ามกลางนักเสรีนิยมฝ่ายซ้ายเกี่ยวกับเรื่องทรัพยากรภายนอก สำหรับวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการปันส่วนกันอย่างเสมอภาค แต่โดยแท้จริงแล้ว ทุกคนต่างเห็นร่วมกันว่า ทรัพยากรเหล่านี้จักต้องรวมเอา"การรับช่วงสืบทอดเกี่ยวกับผืนดินของสังคม"เข้าไปด้วย. บางคนให้เหตุผลว่า กองกลางทรัพยากรสำหรับการปันส่วนอย่างเท่าเทียม ควรรวมเอาทุนสะสมเข้าไปด้วย ที่คนรุ่นหนึ่งได้รับช่วงมาจากคนในรุ่นอดีต. เมื่อไม่นานมานี้ มีการเสนอว่า งานที่มีค่า และคุณค่าของข้อมูลพันธุกรรมที่พวกเรามีในฐานะปัจเจกชน ควรได้รับการนำมารวมเข้ากับกองกลางของการปันส่วนที่เท่าเทียมกันนี้ด้วย (ดูงานของ Van Parijs, 1991, 1995, และ Steiner, 1994 ตามลำดับ) (**)
(**) Vallentyne, Peter, and Steiner, Hillel, eds., Left-Libertarianism and Its Critics (Basingstoke, Palgrave, 2000a).

มาถึงตอนนี้ คนเหล่านั้นที่กังวลใจเกี่ยวกับคนยากจนจำนวนมากในสังคมตลาด ลัทธิเสรีนิยมฝ่ายซ้ายดูเหมือนจะยึดถือคำมั่นสัญญามากกว่าลัทธิเสรีนิยมแนวอนุรักษ์. แน่นอน ระบอบเสรีนิยมฝ่ายซ้ายจะไม่ยินยอมให้มีการกระจายรายได้แรงงานกันใหม่โดยรัฐ เพราะนี่จะไปละเมิดแกนข้อผูกพันเสรีนิยมต่อการเคารพในสิทธิต่างๆ เกี่ยวกับความเป็นเจ้าของตนเอง. แต่ข้อผูกมัดคู่ขนานเกี่ยวกับเรื่องการปันส่วนอย่างเท่าเทียมในทรัพยากรภายนอกที่ไม่มีเจ้าของ จะให้ความมั่นใจกับทุกๆ คนว่า, อย่างน้อยที่สุด, ทุกๆ คนเริ่มต้นชีวิตด้วยการมีทรัพยากรภายนอกต่างๆ ซึ่งมันอาจช่วยได้หากย้อนกลับไปชั่วขณะ สู่บรรดาผู้คนซึ่งเราเพิ่งจินตนาการว่าได้ถูกขนส่งไปยังดาวเคราะห์ใหม่ดวงหนึ่ง

สำหรับการมาถึง ผู้คนต่างพบว่า บนดาวเคราะห์ดวงนั้นมีทรัพยากรภายนอกอยู่เพียงสิ่งเดียว นั่นคือ ผืนดินที่ไม่สามารถเพาะปลูกได้ ทั้งหมดมีคุณภาพเหมือนกันหมด. ประชากรของพวกเขาถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม. กลุ่มที่มีจำนวนมากมีความสามารถในเชิงการผลิต ส่วนอีกกลุ่มซึ่งมีจำนวนน้อยเป็นพวกด้อยโอกาสหรือพิการที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถเกี่ยวพันกับการผลิตได้. มาถึงตอนนี้จะเห็นว่า ในการสนทนากันของพวกเราเกี่ยวกับลัทธิเสรีนิยมข้างต้น, ภายใต้ระบอบที่เป็นแบบฉบับของ Nozick, สมาชิกของคนกลุ่มใหญ่กับคนด้อยโอกาสอย่างรุนแรง อาจไร้ซึ่งข้ออ้างที่มีพื้นฐานอยู่บนความยุติธรรมใดๆ ที่จะให้การช่วยเหลือ หรือให้การชดเชยต่อความสามารถในเชิงการผลิต และผลที่ตามมาเป็นไปได้ว่าจะเกิดความอดอยากหรือแม้กระทั่งอดตาย

แต่อย่างไรก็ตาม ภายใต้ระบอบเสรีนิยมฝ่ายซ้าย รัฐบาลได้ถูกบีบบังคับให้ต้องปันส่วนอย่างเท่าเทียมแก่แต่ละคนบนผืนแผ่นดินดาวเคราะห์ดวงนี้. คนเหล่านั้นที่ไม่สามารถเกี่ยวพันกับกิจกรรมการผลิต(บนผืนดินที่ได้รับการปันส่วน) จะสามารถขายหรือให้เช่าการปันส่วนของพวกเขาแก่สมาชิกคนอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มซึ่งมีความสามารถในการผลิตได้ และพวกเขาจะมีรายได้จากแหล่งต้นตอนี้. ดังนั้น พวกเขาจึงมีความเสี่ยงน้อยลงเกี่ยวกับการอดตาย ยิ่งกว่าอยู่ภายใต้ระบอบอันเป็นแบบฉบับของเสรีนิยมแบบ Nozick.

ในเชิงปฎิบัติ นักเสรีนิยมฝ่ายซ้ายมิได้เสนอให้เราแบ่งสันผืนดินและทรัพยากรอื่นๆ ในวิธีการตามจริงนี้แต่อย่างใด แทนที่จะดำเนินรอยตามข้ออ้างหรือเหตุผลของแนวคิดเกษตรกรรมสุดขั้ว อย่าง Thomas Spence และ Tom Paine, พวกเขาให้เหตุผลว่า ปัจเจกชนควรได้รับเงินช่วยเหลือที่สะท้อนมาจากการปันส่วนที่ยุติธรรมของพวกเขาเกี่ยวกับทรัพยากรภายนอกของสังคม อย่างเช่น ผืนดิน (เรื่องของ Spence และ Paine, ดู Vallentyne และ Steiner, 2000b)(***). ระดับของเงินช่วยเหลือนี้ขึ้นอยู่กับความเป็นเจ้าของปัจจัยต่างๆ แต่เป็นไปได้ที่ว่า มันจะเท่าเทียม - หรือกระทั่งสูงกว่า - ในเชิงมูลค่ากับกองทรัพยากรต่างที่ต้องการหรือจำเป็นต่อการมีความสุขในชีวิตขั้นต่ำตามสมควรในสังคมนั้นๆ. ด้วยเหตุนี้ การขึ้นอยู่กับสถานการณ์แวดล้อมของสังคมดังกล่าว หลักความยุติธรรมของนักเสรีนิยบมฝ่ายซ้าย จึงสามารถสนับสนุนนโยบายนี้ที่เป็นเรื่องความเท่าเทียมกับการประกาศมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมอย่างเต็มรูปแบบ
(***)Vallentyne, Peter, and Steiner, Hillel, eds., The Origins of Left-Libertarianism (Basingstoke, Palgrave, 2000b).

อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องสำคัญอย่างชัดเจนที่จะเน้นในเรื่องก่อนหน้านี้ว่า มันไม่มีเหตุผลอันใดที่ว่า ทำไมการช่วยเหลือขั้นพื้นฐานซึ่งเราต่างมี จะต้องมีค่าเท่าเทียมกันในเรื่องมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมเต็มรูป อันที่จริง ถ้าเผื่อทรัพยสินภายนอกที่สำคัญเป็นสิ่งที่มีอยู่มากมายอย่างล้นเหลือ หากเป็นเช่นนั้น ราคาในตลาดของพวกมันจะต้องต่ำลง ดังนั้น ระดับของความช่วยเหลืออาจไปไม่ถึงไหนที่จะเข้าใกล้ระดับดังกล่าว. ในสถานการณ์นั้น การเคารพในการเป็นเจ้าของตนเอง(self-ownership) จะตัดเรื่องการนำเอารายได้แรงงงานที่อยู่บนสุดของการช่วยเหลือออก. เหล่านั้น ในฐานะตำแหน่งหนึ่งซึ่งคล้ายคลึงกับผู้ด้อยโอกาสที่เราจินตนาการมาแล้ว ที่จะถูกทอดทิ้งให้อยู่กับระดับของทรัพยากรต่างๆ ที่ค่อนข้างต่ำที่จำเป็นต่อการน้อมนำไปสู่ชีวิตตามสมควรขั้นต่ำสุด(ดู Cohen, 1995, chapter 4, โดยเฉพาะ หน้า 102-105) (*-*)
(*-*) Cohen, G. A., Self-Ownership, Freedom and Equality (Cambridge, Cambridge University Press, 1995).

ด้วยเหตุนี้ ขณะที่ลัทธิเสรีนิยมฝ่ายซ้ายได้ให้การส่งเสริม การประกาศมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมอย่างแข็งขันกว่าลัทธิเสรีนิยมแนวอนุรักษ์ แต่การสนับสนุนนี้ก็ยังคงเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน และในหลายๆ กรณี ลัทธิเสรีนิยมฝ่ายซ้ายเป็นไปได้ว่าจะตัดเรื่องที่ไม่ยุติธรรมออกไป กล่าวคือ แนวทางที่ต้องการบัญญัติให้มีมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมเต็มรูป (หรือการจัดเก็บภาษีรายได้ต่างๆ จากแรงงาน). ยิ่งไปกว่านั้น แม้ว่าการช่วยเหลือด้านทรัพยากรจะสูงมากพอต่อการการมีมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมเต็มรูป แต่นักเสรีนิยมฝ่ายซ้ายบางคนก็ถกเถียงว่า ปัจเจกชนทั้งหลายควรได้รับการช่วยเหลือขั้นพื้นฐานในฐานะเงินก้อนหนึ่ง - ณ จุดเริ่มต้นของชีวิตวัยเติบใหญ่ มากกว่าที่จะเป็นรายได้ประจำเป็นช่วงๆ เพื่อการใช้จ่าย และ/หรือ ในฐานะบริการต่างๆ ที่ใช้ได้อย่างอิสระ. อันนี้ได้ส่งเสริมความเป็นไปได้ที่ว่า คนบางคนอาจใช้จ่ายเงินช่วยเหลือของพวกเขาอย่างฟุ่มเฟือย นับจากช่วงแรกของความเป็นผู้ใหญ่ และด้วยเหตุนี้ อาจขาดความพร้อมในการเข้าถึงมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม

2.4 Egalitarian liberal perspectives (มุมมองเสรีนิยมความเสมอภาค)
ในปรัชญาการเมืองร่วมสมัย ลัทธิเสรีนิยมความเสมอภาคพยายามนำเสนอทางเลือกอีกทางหนึ่งจากลัทธิประโยชน์นิยมและลัทธิเสรีนิยมสองแนวทางดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น. นักเสรีนิยมความเสมอภาคเห็นด้วยกับบรรดานักเสรีนิยมทั้งหลายที่ว่า ลัทธิประโยชน์นิยมล้มเหลวที่จะไม่ล่วงละเมิดต่อบุคคลอย่างจริงจัง แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่เหมือนกับเสรีนิยมทั้งหลาย เพราะเสรีนิยมความเสมอภาคไม่คิดว่า การเคารพโดยการไม่ล่วงละเมิดต่อบุคคลจะผูกมัดเราให้เข้าสู่หลักการความเป็นเจ้าของตนเอง. ผลที่ตามมา พวกเขารู้สึกเสียใจน้อยมากต่อการส่งเสริมแผนการโยกย้ายภาษี ซึ่งบรรดานักเสรีนิยมค่อนข้างคัดค้านและไม่พอใจ เพื่อที่จะทำให้มาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมเต็มรูปมีความมั่นคงขึ้น. อันที่จริง พวกเขาได้ให้เหตุผลว่า ความยุติธรรมเรียกร้องให้เรานำเสนอแผนการดังกล่าว. ในที่นี้ ขอให้เรามาสำรวจกันอย่างสังเขปในทฤษฎีเสรีนิยมความเสมอภาค 2 ทฤษฎีด้วยกัน เกี่ยวกับความยุติธรรม และความเกี่ยวพันที่มีนัยยะของพวกมันสำหรับความสมเหตุสมผลในการบัญญัติให้มีมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม

2.4.1 Rawls, ฉากแห่งความไม่รู้ และแบบฉบับต่างๆ ของข้อผูกมัด
ทฤษฎีความยุติธรรมของ John Rawls ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1971 (โดยได้มีการปรับปรุงต่อมาในปี ค.ศ.1999) ได้ตั้งคำถามในเชิงอุบายขึ้นมาคำถามหนึ่งคือ "หลักการอะไรบ้างที่คุณยอมรับให้ปกครองสังคมของคุณ ถ้าเผื่อว่าคุณไม่รู้สถานะตำแหน่งของคุณจริงๆ หรือฐานะที่เป็นไปได้ในสังคมนี้ ?" ในเชิงปฏิบัติ เราทั้งหมดต่างรู้เกี่ยวกับศาสนาต่างๆ ที่เรายึดถือ, เราสัมผัสรับรู้บางอย่างเกี่ยวกับความสามารถในการผลิตโดยธรรมชาติที่เรามี และเกิดมาพร้อมกับมัน, และอะไรที่เราได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ที่เราได้รับจากภูมิหลังของสังคม. แต่ชั่วขณะหนึ่งลองจินตนาการว่า เราไม่รู้ถึงสิ่งเหล่านี้เลย และครอบครองเพียงข้อมูลทั่วไปมากๆ เกี่ยวกับสังคมที่เรากำลังดำรงอยู่. เบื้องหลังของฉากแห่งความไม่รู้นี้ กล่าวคือ ไม่รู้เกี่ยวกับศาสนาของเรา, ไม่ทราบถึงความสามารถโดยธรรมชาติ, หรือภูมิหลังของสังคม, หากเป็นเช่นนี้ หลักการอะไรบ้างที่เราควรจะเลือกให้ปกครองสถาบันต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกระจายสิ่งจำเป็นเบื้องต้น อย่างเช่น รายได้และทรัพย์สินต่างๆ ?

อย่างที่รู้กันทั่วไป, Rawls ให้เหตุผลว่า ในสถานะเดิมของเรื่องนี้ ผู้คนจะเลือกจัดการหรือปรับปรุงเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อว่าพวกเขาจะได้รับ, 1. ผลประโยชน์สูงสุดเกี่ยวกับข้อได้เปรียบน้อยที่สุด และ 2. การยึดติดกับที่ทำงานและตำแหน่งที่เปิดให้กับทุกคนภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ของความเท่าเทียมที่เป็นธรรมในเรื่องโอกาส (Rawls, 1999, p. 72) ส่วนที่ 1. เกี่ยวกับเรื่องนี้บอกเราว่า ความไม่เท่าเทียมของสิ่งจำเป็น อย่างเช่น "รายได้"และ"ทรัพย์สิน"… เป็นผลลัพธ์ของความไม่เท่าเทียม, Rawls เรียกสิ่งนี้ว่า "หลักความแตกต่าง" (difference principle)

นักวิจารณ์จำนวนมากพบว่า ข้ออ้างเหตุผลของ Rawls เกี่ยวกับ"หลักความแตกต่าง" เป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือ (ดูตัวอย่าง Kymlicka, 2001, pp. 60-70). พวกเขาตั้งคำถามว่า ทำไมผู้คนที่อยู่เบื้องหลังฉากแห่งความไม่รู้จึงไม่เลือกที่จะใช้วิธีการพนันขันต่อ… การเลือกหลักการนั้นเป็นที่น่าชื่นชมน้อยมาก ซึ่งเราควรจะปล่อยให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับช่วงชั้นต่างๆ ทางสังคมที่น่าชื่นชมกว่า. อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามันจะมีเหตุผลดังที่มีการวิจารณ์เกี่ยวกับข้ออ้างของ Rawls ในเรื่องหลักความแตกต่าง แต่มันก็สามารถนำมาถกได้ว่า การทดลองทางความคิดของ Rawls ได้ให้การสนับสนุนที่แข็งขันของตนสำหรับคนเหล่านั้นที่เชื่อว่า "ความยุติธรรม", อย่างน้อยที่สุด, เรียกร้องต้องการการบัญญัติเรื่องมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม

ขณะที่คนส่วนใหญ่วางตัวอยู่เบื้องหลังฉากของความไม่รู้ อาจไม่เสี่ยงมากนัก แม้จะไม่สมัครใจที่จะเลือกหลักการดังกล่าวเพื่อปกครองสังคมของพวกเขา แต่มันมีเหตุผลทีเดียวที่จะสันนิษฐานว่า อย่างน้อยคนส่วนใหญ่ก็ให้ความเอาใจใส่ต่อหลักค้ำประกันในตัวของพวกเขาเอง ที่สวนทางกับอันตรายของความยากจนข้นแค้น และด้วยเหตุนี้ จึงต้องการหลักการต่างๆ เกี่ยวกับความยุติธรรม ที่จะให้ความมั่นใจหรือรับรองกับทุกคนอย่างมีเหตุผลที่จะเข้าถึงมาตรฐานขั้นต่ำนั้นได้. อย่างน่าสนใจ ความพยายามหลายหลากของบรรดานักจิตวิทยาจำนวนมากได้สร้างแบบจำลองการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ขึ้นมา ซึ่งได้ไปเกี่ยวข้องกับสถานะหรือตำแหน่งเดิมๆ ที่แสดงให้เห็นว่า ผู้คนทั้งหลายในเชิงปฏิบัติ มีแนวโน้มที่จะเลือกหลักการอันหนึ่ง ที่เรียกร้องความเป็นอยู่โดยค่าเฉลี่ยที่ดีที่สุด เพื่อยับยั้งหรือป้องกันไม่ให้ใครก็ตาม ต้องตกลงบนพื้นล่างสุดดังกล่าว

การสนับสนุนต่อมาในเรื่องการบัญญัติให้มีมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม จากภายในทฤษฎีของ Rawls มาจากการสนทนาของเขาเกี่ยวกับความสำคัญของแบบฉบับต่างๆ เกี่ยวกับข้อผูกมัดหรือความรับผิดชอบในการกำหนดว่า "อะไรคือความยุติธรรม ?" (Rawls, 1999, pp. 153-160). (*)
(*) Rawls, John, A Theory of Justice, Revised Edition (Cambridge: MA, Harvard University Press, 1999 [1971]

บรรดาพวกที่อยู่หลังฉากแห่งความไม่รู้จักต้องตระหนักว่า พวกเขากำลังเลือกหลักการความยุติธรรม, ในการเลือกนั้น พวกเขาจะต้องผูกติดกับชีวิตทางสังคมสำหรับสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์… อีกครั้ง มันเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันได้เกี่ยวกับข้อพิจารณาดังกล่าว ซึ่งชี้อย่างชัดเจนถึงหลักความแตกต่าง(difference principle) สู่หลักการที่เหมาะสมซึ่งจะมาดูแลการกระจายรายได้และทรัพย์สิน. แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนเป็นไปได้ว่าข้อพิจารณานี้ แย้งกับหลักการทั้งหลายที่จะไม่มีการรับรองหรือหลักประกันใดๆ ต่อผู้คนในการเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นอย่างมีเหตุผล เพื่อมีชีวิตตามสมควรขั้นต่ำสุด. เราจะผูกพันอย่างซื่อสัตย์กับแบบฉบับของความเป็นอยู่อย่างไรในสังคมที่ไม่รับประกันเรากับเรื่องเหล่านี้ ข้อพิจารณาดังกล่าวแข็งแรงขึ้นโดยข้อถกเถียงที่ว่า ผู้คนที่อยู่หลังผ้าคลุมแห่งความไม่รู้จะเลือกหลักการต่างๆ เกี่ยวกับความยุติธรรมที่รับรองหรือสร้างความมั่นใจให้กับทุกคนว่า จะสามารถเข้าถึงมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมได้อย่างมีเหตุผล

ยิ่งกว่านั้น มันอาจได้รับการอ้างว่า แม้ใครสักคนจะปฏิเสธเรื่องผ้าคลุมแห่งความไม่รู้ที่เป็นการทดลองทางควาามคิดนี้ ในฐานะที่เป็นวิธีการหนึ่งเกี่ยวกับการสำรวจถึงสิ่งที่ความยุติธรรมดำรงอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม แบบแผนเกี่ยวกับความคิดเรื่องข้อผูกมัดก็ยังคงมีพลัง ในฐานะที่เป็นข้อพิจารณาหนึ่งที่ชื่นชมต่อการบัญญัติให้มีเรื่องมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม…

2.4.2 Dworkin และสมมุตคิฐานเกี่ยวกับตลาดประกันภัย
ทฤษฎีเกี่ยวกับ"ความเสมอภาคในทรัพยากร"ของ Ronald Dworkin (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดู Dworkin, 1985, 2000) (**) เริ่มต้นจากสถาบันหนึ่งที่เรียบง่ายธรรมดา นั่นคือ ในเชิงอุดมคติ ไม่มีบุคคลใดได้ส่วนแบ่งทรัพยากรน้อยกว่าอีกคนหนึ่ง เว้นแต่เนื่องมาจากทางเลือกเกี่ยวกับแบบแผนการใช้ชีวิตที่เขาหรือเธอสร้างขึ้น
(**) Dworkin, Ronald, Sovereign Virtue: The Theory and Practice of Equality (Cambridge: MA, Harvard University Press, 2000).

ขั้นแรกในการวางแผนแนวคิดนี้อย่างละเอียดเกี่ยวกับความยุติธรรม, Dworkin ขอให้เราจินตนาการถึงคนกลุ่มหนึ่งที่ประสบกับภัยพิบัติทางเรือ และต้องไปอยู่บนเกาะซึ่งไม่เคยมีใครอาศัยอยู่มาก่อน. เกาะแห่งนี้เต็มไปด้วยทรัพยากรหลากหลาย - ต้นไม้, ลำธาร, ผืนดิน, และอื่นๆ. ทรัพยากรเหล่านี้จะถูกแบ่งสรรกันอย่างไร ท่ามกลางคนกลุ่มนี้ที่มาถึงเกาะ ? ในที่นี้ Dworkin เสนอความคิดเกี่ยวกับการเริ่มประมูล(initial auction) (Dworkin, 2000, pp. 65-71). เราจินตนาการว่า แต่ละคนบนเกาะได้รับการปันส่วนเงินเท่าๆ กัน (หอยกาบถูกนำมาใช้ในฐานะเงินตรา) และได้รับความยินยอมให้นำมาใช้ประมูลทรัพยากรของเกาะแห่งนี้ได้. การประมูลจบลงเมื่อผู้มีส่วนร่วมทุกคน ได้ครอบครองกำลังซื้อเท่าๆ กัน มีความพอใจกับทรัพยากรทั้งหลายที่เขาหรือเธอได้ซื้อมาด้วยราคาที่ตนเสนอ

แต่ละคนบนเกาะได้รับสิทธิในทรัพยากรกองหนึ่งโดยเฉพาะที่เขาหรือเธอได้ซื้อหามา. ผลของการกระจายมิได้สะท้อนความไม่เท่าเทียมเกี่ยวกับการได้มาต่างๆ เพราะแต่ละคนที่อยู่บนเกาะมีการจัดสรรแบ่งปันเงินเหมือนๆ กันในการซื้อทรัพยากรทั้งหลาย. ในเวลาเดียวกัน การกระจายเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนต่อทางเลือกวิถีชีวิตของแต่ละคน เพราะทรัพยากรแต่ละอย่างที่ผู้คนทั้งหลายมีในกองของตน จะสะท้อนทางเลือกดังกล่าวที่พวกเขาได้ทำเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินที่ได้มาเท่ากันของพวกเขา. จากเรื่องดังกล่าว ทฤษฎีของ Dworkin โดดเด่นในทำนองเดียวกับบรรดานักเสรีนิยมฝ่ายซ้ายที่พูดถึงมาก่อนหน้านี้ นั่นคือ โดยแท้จริงเขากำลังยืนยันสิทธิที่แต่ละบุคคลมีความเสมอภาคกัน การปันส่วนในเชิงซื้อขายเกี่ยวกับทรัพยากรที่ถูกสืบทอดมาของสังคม

แต่อย่างไรก็ตาม, Dworkin มิได้หยุดอยู่เพียงแค่ประเด็นนี้ ผู้คนที่มีการปันส่วนในทรัพยากรที่มีในสังคมเท่าๆ กัน อย่างไรก็ตาม อาจจะไม่เสมอภาคหรือเท่าเทียมกันอย่างมากในกรณีของความสามารถในการผลิตและความพิการหรือด้อยโอกาสต่างๆ ที่พวกเขามี. อันนี้เช่นกัน ในทัศนะของ Dworkin เป็นความไม่เสมอภาคอันไม่น่าพอใจ และเราจะตัดสินใจอย่างไรเกี่ยวกับระดับที่เหมาะสมของการชดเชยให้กับคนที่เสียเปรียบต่างๆ เหล่านี้ ?

สำหรับ Dworkin ได้เสนอความคิดริเริ่มเกี่ยวกับสมมุติฐานในเรื่องตลาดประกันภัย (Dworkin, 2000, pp. 76-83, 92-99). ในชีวิตจริง คนจำนวนมากในหมู่พวกเราสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าถึงความโชคร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยการทำประกันกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในทางร้าย อย่างเช่น ขโมยขึ้นบ้าน หรือความเสียหายต่างๆ ที่เกิดกับทรัพยสินโดยเหตุสุดวิสัย. ถ้าเราสามารถทำประกันกับการเกิดจากครรภ์มารดา ที่กำเนิดมาพร้อมกับความสามารถโดยธรรมชาติที่มีอยู่น้อย ยกตัวอย่างเช่น ด้วยความพิการที่ไม่อาจเคลื่อนไหวได้ เราจะทำประกันอะไร ?

ในทางปฏิบัติ แน่นอน เราไม่สามารถทำได้ แต่จินตนาการว่าคนที่อยู่บนเกาะซึ่งเรากำลังพิจารณา ไม่อาจทราบเลยว่าพวกเขามีความพิการหรือไร้ความสามารถหรือไม่ แม้ว่าจะรู้ถึงการกระจายตัวของความพิการต่างๆ ในท่ามกลางประชากร. ในสถานการณ์ดังกล่าว (ซึ่งเป็นบางสิ่งที่เกี่ยวโยงกับเรื่องผ้าคลุมแห่งความไม่รู้ของ Rawls), ตลาดประกันภัยจะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้. บริษัทประกันต่างๆ อาจให้คนบนเกาะทำประกันในเรื่องความพิการหรือการไร้ความสามารถ และใช้การแบ่งสรรเกี่ยวกับความมั่งคั่งมาแต่ต้นของพวกเขามาเป็นเบี้ยประกัน. คนบนเกาะแต่ละคนสามารถซื้อหาหลักประกันดังกล่าวได้ตามที่พวกเขาต้องการ. แต่ละคนต้องตัดสินใจว่า พวกเขาต้องการใช้จ่ายทรัพย์สินที่มีมาแต่เดิมของตนส่วนใหญ่ไปกับหลักประกันที่มีราคาแพงหรือไม่ ซึ่งจะตระเตรียมการชดเชยให้อย่างงาม หากว่าพวกเขาต้องประสบกับความพิการหรือไร้ความสามารถ

หรือเขายินดีที่จะเสี่ยงด้วยการซื้อหลักประกันที่ราคาถูก ซึ่งจะตอบแทนหรือชดเชยต่ำกว่าในเหตุการณ์ที่นำมาซึ่งความพิการแก่พวกเขา. แต่นั่นจะทำให้พวกเขามีทรัพย์สินเหลือเก็บจำนวนมากเพื่อจะได้ใช้จ่ายไปกับสิ่งอื่นๆ ตามที่ตนปรารถนา. ตามความคิดของ Dworkin ระดับความยุติธรรมเกี่ยวกับการชดเชยในการไร้ความสามารถ เป็นระดับของการทดแทนที่ถูกกำหนดโดยนโยบายหลักประกัน ซึ่งแต่ละคนในหมู่พวกเราจะเลือกตลาดประกันภัยนี้. Dworkin ยอมรับว่า ในการปฏิบัติที่เป็นจริง ไม่อาจเป็นไปได้ที่เราจะรู้แน่ชัดว่าระดับใดที่คนแต่ละคนควรเลือก เพื่อเป็นหลักประกันเกี่ยวกับตัวของเขาเอง แต่เขาอ้างว่าเราสามารถที่จะประเมินเกี่ยวกับสำรับการประกันภัย(insurance package) ที่สมาชิกโดยเฉลี่ยของชุมชนซื้อได้(Dworkin, 2000, pp. 78-79)

เขาเสนอว่า โดยเหตุนี้เราจึงสามารถใช้หลักการดังกล่าวเป็นมาตรฐานสำหรับการออกแบบนโยบายผลประโยชน์ด้านภาษีเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ อย่างเช่น การไร้ความสามารถและความป่วยไข้. เขาเสนอการทดลองทางความคิดในทำนองเดียวกัน เพื่อครอบคลุมเหตุบังเอิญต่างๆ อย่างเช่น การตกงาน และความไร้สมรรถภาพเกี่ยวกับความสามารถในเชิงการตลาด. Dworkin ให้เหตุผลว่า คนโดยเฉลี่ย เป็นไปได้ที่จะทำประกันชีวิตตัวของพวกเขาเองในระดับหนึ่ง ซึ่งทำให้พวกเขามั่นใจเกี่ยวกับมาตรฐานของการดำรงชีวิตอย่างมีเหตุผล หากเขาต้องกลับกลายสภาพสู่ความพิการหรือไร้ความสามารถ, มีทักษะต่ำ, หรือถูกเลิกจ้าง. ด้วยเหตุนี้ เพื่อลอกเลียนผลลัพธ์เกี่ยวกับความยุติธรรมนี้, สมมุติฐานตลาดประกันภัย, สังคมของเราเองควรจะประกาศแผนการโยกย้ายภาษีที่มาให้การชดเชยแก่เหตุการณ์อันไม่แน่นอนซึ่งอาจเกิดขึ้นมาได้

ตอนนี้ความคิดเกี่ยวกับมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม ไม่ได้แสดงบทบาทใดๆ ดังในทฤษฎีของ Dworkin (และในคำประกาศของตนเองในฐานะที่เป็น"นักทรัพยากร" ซึ่งเขาได้คัดค้านต่อแนวคิดความสามารถต่างๆ ที่ระบุไว้ในมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม ที่เราได้สำรวจมาตั้งแต่ตอนแรก) อย่างไรก็ตาม การทดลองทางความคิดเกี่ยวกับสมมุติฐานเรื่องตลาดประกันภัย ได้ตระเตรียมเราให้มีข้ออ้างที่เข้มแข็งเกี่ยวกับว่า ทำไมเราควรจะบัญญัติบางสิ่งบางอย่างขึ้นมาคล้ายๆ กับมาตรฐานขั้นต่ำอย่างเต็มรูป. ข้อเท็จจริงคือ ในสถานการณ์ที่สมเหตุสมผลเกี่ยวกับตลาดประกันภัยในเชิงสมมุติ โดยแบบแผนแล้ว เราจะต้องถอนเรื่องประกันออกในกรณีที่เป็นเรื่องของความพิการ, ความเจ็บป่วย, การตกงาน และอื่นๆ. โดยเสนอว่า มันยุติธรรมสำหรับสังคมเราที่จะบัญญัตินโยบายต่างๆ ที่จัดหามาตรการป้องกันต่อเหตุอันไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้เหล่านี้ และชุดนโยบายดังกล่าว มองดูแล้วจะมีความคล้ายคลึงกันมากกับนโยบายมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม ที่ปรับเปลี่ยนสู่ความปลอดภัยของหลักความสามารถต่างๆ

ความคิดร่วมกันในงานทฤษฎีของ Rawls และ Dworkin คือ ในสถานการณ์ต่างๆ นั้นได้สะท้อนจุดยืนเท่าๆ กันอย่างเหมาะสมของแต่ละบุคคล ผู้คนต่างเห็นด้วยกับนโยบายทั้งหลายที่จะให้มีการบัญญัติมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมอย่างหนึ่งขึ้นมาอย่างมีประสิทธิภาพ (Dworkin), หรือมีหลักการต่างๆ ที่เรียกร้องนโยบายเหล่านั้น (Rawls). โดยเหตุนี้ ทั้งสองทฤษฎีจึงดูเหมือนได้ให้สิ่งที่เราอาจเรียกว่า "การสนับสนุนหลักการในการบัญญัติเกี่ยวกับการมีมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม". ตามความคิดของลัทธิเสรีนิยมความเสมอภาค การประกาศเรื่องของมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม ไม่ใช่เรื่องของความบังเอิญ แต่ค่อนข้างเป็นแก่นสารมาก ในการเรียกร้องเกี่ยวกับความยุติธรรม

2.5 Democratic perspectives (มุมมองทางประชาธิปไตย)
เราใช้ศัพท์คำว่าประชาธิปไตยในที่นี้ เพื่ออ้างถึงมุมมองต่างๆ ในทางปรัชญาสังคม ที่ได้ให้สิทธิพิเศษแก่ความสำนึกเรื่องตัวตน เพื่อส่งเสริมเกี่ยวกับความเสมอภาคในความสัมพันธ์เชิงอำนาจ. แนวทางการพิจารณาหนึ่งได้เพ่งลงไปที่เรื่องของหลักประกันหรือการรับรองคุณค่าและความมีประสิทธิผลเกี่ยวกับเสรีภาพทางการเมืองของพลเมือง. ในระบอบประชาธิปไตยทางการเมือง พลเมืองทุกคนมีสิทธิออกเสียง มิสิทธิในการรณรงค์ และเชื่อถือหรือยอมรับในสถาบันทางการเมืองเกี่ยวกับการแข่งขันการเลือกตั้ง

ดูเหมือนจะเป็นที่ชัดเจนพอสมควรว่า ความยากจนสามารถทำให้ความมีประสิทธิผลของปัจเจกชนทั้งหลายที่มีสิทธิต่างๆ เหล่านี้ลดลงไปได้อย่างมีนัยยะสำคัญ. ใครบางคนซึ่งถูกบรรจุอยู่ในห่อของการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีในทางวัตถุขั้นพื้นฐาน อาจขาดเสียซึ่งเวลาและพลังงานที่ต้องการต่อการเพ่งความสนใจลงไปที่ประเด็นปัญหาทางการเมือง. นอกจากนี้ เขาหรือเธออาจมีความสามารถน้อยลงในการใช้จ่ายเงินที่สัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมือง ยกตัวอย่างเช่น จ่ายค่าธรรมเนียมในฐานะสมาชิกพรรคการเมือง, การให้ความช่วยเหลือในการรณรงค์ต่างๆ และอื่นๆ หากว่าเขาเป็นคนยากจน. อันนี้ถือเป็นเรื่องเลวร้ายสำหรับการเมืองประชาธิปไตย. หมายความว่า ทัศนะหรือความคิดเห็นบางอย่าง และผลประโยชน์ต่างๆ จะไม่ถูกได้ยิน, ดังนั้นนโยบายจึงอาจเอนเอียง ไม่ตรงไปตรงมาต่อข้อคิดเห็นหรือผลประโยชน์เหล่านี้ได้

หรือมันอาจเพิ่มอันตรายที่ว่า คนบางคนออกเสียงเลือกตั้งโดยปราศจากการมีเวลามากพอที่จะรับฟังข่าวสารเกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่างๆ ซึ่งจะไปลดทอนคุณภาพของการตัดสินใจเชิงนโยบายได้. เพราะฉะนั้น จึงสามารถอ้างได้ว่า มันเป็นสิ่งที่ดีโดยตรงสำหรับการเมืองระบอบประชาธิปไตย ที่จะบัญญัติให้มีมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมขึ้น. โดยการบรรเทาแรงกดดันเกี่ยวกับความยากจนลง. การบัญญัติให้มีมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม จะสามารถทำให้พลเมืองทั้งหมดได้มีส่วนร่วมในกระบวนการประชาธิปไตยอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงทำให้มั่นใจว่า กระบวนการนี้เป็นที่ต้องการในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

แต่อย่างไรก็ตาม อำนาจไม่เพียงปฏิบัติการภายในและโดยผ่านกระบวนการทางการเมืองที่เป็นทางการเท่านั้น แต่อำนาจยังปฏิบัติการภายในและผ่านลำดับการอันกว้างขวางของความสัมพันธ์อื่นๆ ทางสังคมด้วย ยกตัวอย่างเช่น บรรดานายจ้างทั้งหลายสามารถปฏิบัติการเชิงอำนาจเหนือลูกจ้างของพวกเขาได้. ตามประวัติศาสตร์ บรรดาสามี บ่อยครั้งมักจะกวัดแกว่งอำนาจอันยิ่งใหญ่เหนือภรรยาของพวกเขา ความสัมพันธ์เชิงอำนาจเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องได้รับการสถาปนาในการแสดงออก และนิยามลงในตัวบทกฎหมายแต่อย่างใด. หลายต่อหลายครั้ง พวกมันเกิดขึ้นเนื่องจากความไม่เสมอภาคในฐานะทางเศรษฐกิจระหว่างฝ่ายต่างๆ นั่นเอง (สำหรับการสนทนาที่เป็นประโยชน์ในเชิงลึกเรื่องดังกล่าว ดู Goodin, 1986, 1988; และดู Okin, 1989, chapter 7, โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างสามี-ภรรยา) (*)
(*) Goodin, Robert E., Protecting the Vulnerable (Chicago, University of Chicago Press, 1986).
Goodin, Robert E., Reasons for Welfare (Princeton, Princeton University Press, 1988).
Okin, Susan Moller, Justice, Gender and the Family (New York, Basic Books, 1989).

ฝ่ายหนึ่ง - นายจ้าง, สามี - อาจมีความเป็นอยู่ที่สมบูรณ์ทางเศรษฐกิจโดยปราศจากอีกฝ่ายหนึ่ง. ในทางตรงข้าม ฝ่ายที่สอง - คนงานเป็นคนๆ, ภรรยา - อาจให้ความไว้วางใจทางเศรษฐกิจต่อฝ่ายแรก. หากว่าฝ่ายแรกเดินออกจากความสัมพันธ์นี้ ฝ่ายแรกจะเจ็บปวดหรือทุกข์ร้อนต่อกรณีดังกล่าวไม่มากนัก ขณะที่ฝ่ายที่สองจะต้องทุกข์ร้อนอย่างรุนแรง เป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงหรือหายนะในมาตรฐานความเป็นอยู่เลยทีเดียว. แน่นอน ทั้งนี้เนื่องมาจากความไม่เสมอภาคกันในต้นทุนการละจากความสัมพันธ์ดังกล่าว เพราะฝ่ายแรกมีอำนาจที่จะก่อรูปร่างความสัมพันธ์ในกรณีต่างๆ ของเขา.

คนงาน /ภรรยาไม่อยู่ในฐานะที่จะถกเถียงกับคำสั่งของนายจ้างหรือสามีได้ เพราะการข่มขู่ของนายจ้าง / สามีที่จะตัดความสัมพันธ์ เว้นแต่ต้องเชื่อฟังคำสั่งอย่างเต็มใจเท่านั้น (เพราะฝ่ายแรกยืนอยู่บนความสูญเสียทางเศรษฐกิจเพียงเล็กน้อยในความสัมพันธ์) และเป็นไปในเชิงบีบบังคับ (เพราะคนงาน / ภรรยา ยืนอยู่บนความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่กว่า ถ้าเผื่อว่านายจ้าง / สามี ได้ตัดความสัมพันธ์นี้ลง). ความไม่เท่าเทียมกันเชิงอำนาจชนิดนี้เป็นที่กังวลใจ ด้วยเหตุผลหลายประการ. โดยเหตุข้างต้นจึงสามารถอ้างได้ว่า สิ่งเหล่านี้ได้มาบั่นทอนอิสรภาพของฝ่ายที่อ่อนแอกว่าโดยตรง (Pettit, 1997) (**). และมันยังเป็นการสุ่มเสี่ยงของฝ่ายที่อ่อนแอกว่าที่จะถูกตักตวงผลประโยชน์ และกระทำชำเราโดยฝ่ายที่แข็งแรงกว่าด้วย (ดู Goodin, 1986, 1988).
(**)Pettit, Philip, Republicanism: A Theory of Freedom and Government (Oxford, Oxford University Press, 1997).

ข้อถกเถียงหนึ่งที่สำคัญสำหรับการประกาศให้มีมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมคือ อันนี้ช่วยให้เกิดการลดทอนการละจากต้นทุนต่างๆ ของความสัมพันธ์สำหรับฝ่ายต่างๆ ที่อยู่ตรงข้ามซึ่งเปราะบาง ไม่มั่นคงดังกล่าวลงได้ และยังบรรเทาความกังวลใจในความไม่เท่าเทียมกันเชิงอำนาจด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเผื่อคนงานรู้ว่า ชุมชนจะให้หลักประกันเขาให้คงไว้ซึ่งรายได้ตามสมควร แม้ว่าเขาจะพ้นจากงานที่ทำอยู่ อันนี้ทำให้ง่ายสำหรับเขาในการยืนหยัดขึ้นมาปะทะกับนายจ้างและปฏิเสธคำสั่งที่ไร้เหตุผลได้. ในทำนองเดียวกัน ถ้าภรรยารู้ว่าชุมชนจะช่วยเหลือเธอในเรื่องการเงินถ้าเธอเลิกกับสามี โอกาสในการเลิกล้างไปจากเขาเพราะการกดขี่ข่มเหงเธอ ก็จะกลายเป็นเรื่องที่กระทำได้มากขึ้น. อันนี้สามารถเปลี่ยนแปลงพลวัตทั้งหมดของความสัมพันธ์เหล่านี้ แทนที่ฝ่ายหนึ่งจะบงการอีกฝ่ายหนึ่ง ความสัมพันธ์กันนี้ก็จะกลายเป็นการสนทนาพูดจากันมากยิ่งขึ้นด้วยความเท่าเทียม เสมอภาค และเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้ มุมมองหรือทัศนียภาพประชาธิปไตยบนความยุติธรรมของสังคม จึงให้การส่งเสริมอย่างแข็งขันต่อการบัญญัติให้มีมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม. อันที่จริง โดยเหตุที่มันค่อนข้างยากที่จะเห็นถึงสังคมใดสามารถธำรงรักษาความสัมพันธ์ที่มีพลังประชาธิปไตยดังกล่าวมานานแล้ว ในการไม่มีอยู่ของผู้คนซึ่งสามารถเข้าถึงมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคมได้อย่างมีเหตุผล ดังนั้นมุมมองประชาธิปไตยอาจไดรับการกล่าวว่า จะให้ในสิ่งซึ่งเราอ้างถึงข้างต้น ในฐานะที่เป็นการสนับสนุนเชิงหลักการในการบัญญัติให้มีมาตรฐานขั้นต่ำทางสังคม นั่นคือ สังคมจะต้องประกาศมาตรฐานขั้นต่ำดังกล่าว เพื่อคงไว้ซึ่งความเป็นประชาธิปไตย และในแง่มุมนี้ จะนำมาซึ่งความยุติธรรมตามสมควร

**********



Create Date : 02 มกราคม 2551
Last Update : 20 ตุลาคม 2552 3:23:16 น. 3 comments
Counter : 816 Pageviews.

 
เรื่องศาสนานี่ก็พูดยากนะครับ แต่สำหรับชาวไทย บางทีผมก็คิดว่า หากใครที่ชอบพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่คิดจะพึ่งพาตัวเอง การเลือกนับถือศาสนาพุทธ ไม่ใช่ทางเลือกที่ถูก เพราะศาสนาพุทธของเรา สอนให้มนุษย์รู้จักพึ่งพาตัวเอง หาหนทางของการดับทุกข์ด้วยตัวเอง สมเด็จพระสัมมาสุมพุทธเจ้า ท่านไม่ใช่พระเจ้า แต่ตอนนี้พระองค์ท่านก็เสด็จดับขันปรินิพพานไปแล้ว ไม่ได้มาอยู่ดูสาวกของท่านอีก ที่เหลือเราก็ต้องพึ่งพาตัวเอง

ดังนั้นศรัทธาในศาสนาของเรา จึงน่าจะอยู่ที่ การปฏิบัตตามคำสอนของพระองค์เป็นพอ ผมว่านะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัด หรือเรื่องพระสงฆ์ล้วนเป็นแค่ส่วนประกอบของศาสนาเราทั้งนั้น เราควรจะเข้าให้ลึกถึงแก่นมากกว่าจะมาใส่ใจกับเรื่องที่เป็นเพียงแค่องค์ประกอบ

บทความยังยาวอยู่เหมือนเดิม ตาลายเลยย


โดย: BrettAnderson วันที่: 2 มกราคม 2551 เวลา:16:16:15 น.  

 
อิอิ ปรับตรงที่เขียนคอมเมนท์ด้วยก็ดีนะครับ สีชมพูมันกลืนไปกับพื้นสีขาวน่ะครับ ทำให้อ่านยากอยู่เหมือนกัน


โดย: BrettAnderson วันที่: 2 มกราคม 2551 เวลา:21:08:05 น.  

 
โห เต็ดสิบปี เป็นผมคงไม่กล้าจะหยิบมาอ่านแล้วแหละ เพราะกลัวว่า เวลาหยิบเวลาจับ กระดาษมันจะหลุดตามมือเราออกมาเป็นชิ้นๆเล็กๆ เหมือนหนังสือเก่าบ้านเรา ที่กระดาษแทบจะกรอบไปหมด


แต่อ่านหนังสือจากหนังสือนี่ ยังงัยๆ การอ่านในเน็ทก็มาทดแทนไม่ได้เสียทีเดียวนะครับ เพราะเราไม่สามารถยกคอมเข้าห้องน้ำ หรือนอนอ่านสบายๆบนเตียงได้


โดย: BrettAnderson วันที่: 4 มกราคม 2551 เวลา:10:46:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

PPpIRCU
Location :
LonDoN~ United Kingdom

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




LSEist '11

( ^^)爻(^^ )

~ขอสงวนลิขสิทธิ์ในภาพถ่ายและบทความทุกชิ้น~
Piang Phanprasit

Créez votre badge
Photobucket

Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket
Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket Photobucket
Friends' blogs
[Add PPpIRCU's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.