ธมฺมํ ปสฺสโต มโน สุขํ.
เมื่อมองเห็นธรรม ใจย่อมเป็นสุข ฯ
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2558
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
17 กุมภาพันธ์ 2558
 
All Blogs
 

เครื่องมือทำกรรม

เครื่องมือทำกรรม

เมื่อมีคำถามว่าเครื่องมือทำกรรมคืออะไร? หลายคนคงจะตอบว่า คือ อาวุธ เช่นระเบิด ปืนมีดเป็นต้น เราขอคัดค้านว่า อาวุธเหล่านั้นเป็นสิ่งที่คนเราสร้างมามิใช่หรือเพราะเหตุนั้น อาวุธเหล่านั้นจึงไม่น่ากลัวที่สุดแม้กระทั่งระเบิดนิวเคลียร์ที่สามารถสังหารมนุษย์ได้มากมายด้วยการยิงเพียงครั้งเดียวถามว่า ถ้าอย่างนั้น อะไรเป็นเครื่องมือทำกรรม? ตอบว่าคือร่างกายของเรา ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เวลาใดกายทำกรรมที่น่ากลัวที่สุด? ตอบว่า ตอนที่มีดวงจิตสั่งการด้วยอำนาจความโกรธความโลภ ความหลง

อธิบายว่า อาวุธทุกอย่างถูกสร้างมาเพื่อสังหารคนที่เป็นศัตรูหรือเพื่อเอาไว้ป้องกันตนเอง ป้องกันประเทศ และผู้สร้างขึ้นมาก็คือร่างกายของคนเรานั่นเองเป็นผู้สร้างลองคิดดูเถิดนะว่า ถ้าคนเราไม่มีร่างกาย มีแต่ดวงจิต จะสามารถสร้างสิ่งต่างๆได้หรือดูตัวอย่าง เช่น คนที่เป็นคนพิการ แขนขาขาดหมด เขาจะสร้างเครื่องมือสังหารคนได้หรือหรือคนที่เป็นอัมพาต นอนอยู่กับที่ จะมีความสามารถสร้างอะไรได้ เพราะร่างกายของเขายังเอาตัวไม่รอดถึงแม้จะมีดวงจิตครอบครอง มีแต่ร่างกายก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะเหตุนั้น เราจึงบอกว่า ร่างกายของเรานี่เองที่เป็นอาวุธที่น่ากลัวที่สุดดวงจิตยังน่ากลัวเป็นรอง เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า มนุษย์ที่เกิดมาแล้วต้องรักษาศีลเพื่ออบรมกายวาจาและใจให้เรียบร้อย ถ้าไม่มีศีลไว้ประดับใจ มนุษย์เราก็คืออมนุษย์นั่นเอง คือ ทำอะไรตามใจตนเองเช่น แย่งชิงอาหารของผู้อื่น แย่งชิงที่อยู่อาศัยของผู้อื่น หรือแย่งชิงคู่ครองของผู้อื่นเพราะเหตุนั้น มนุษย์เราจึงต้องมีศีลธรรมไว้ประพฤติปฏิบัติเพื่อความอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกศีล ๕ คือ

๑. ปาณาติปาตา เวรมณีงดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป

๒. อทินนาทานา เวรมณีงดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้

๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณีงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม

๔. มุสาวาทา เวรมณีงดเว้นจากการกล่าวเท็จ

๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณีงดเว้นจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

เพราะไม่มีศีล ๕ ข้อนี้แหละที่นำให้มนุษย์โลกฆ่าแกงกันมากที่สุดที่ออกข่าวกันโครมๆอยู่แทบทุกวัน ก็เพราะไม่มีศีลไว้ประดับจิตใจ พระพุทธเจ้าทรงมองเห็นโทษของการล่วงศีล๕ ส่วนเจ้าลัทธิอื่นไม่มีคำสั่งสอนเช่นนี้อยู่ ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งกฎ ๕ ข้อนี้ไว้ใช้ในลัทธิของพระองค์และได้เผยแพร่ไปยังลัทธิอื่นด้วยเราจะยกตัวอย่างไห้เข้าใจง่ายๆในการล่วงศีล ๕ ข้อนี้ คือ

๑.งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ คือ การทรมารสัตว์มีปรานนะ(ลมหายใจ)ที่เป็นข่าวก็คือ ชอบยกพวกตีกันจนกระทั่งถึงตายหรือพิการ

๒.งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของไม่ให้ก็คือไปยืมเงินคนอื่นมา พอเขาทวงถาม ก็ไม่ยอมให้คืนเขา บางคนถึงขนาดฆ่าลบหนี้ก็มี

๓.งดเว้นจากการประพฤติผิดในกามอันนี้ออกข่าวบ่อยๆไปยุ่งกับผัวเมียชาวบ้าน หรือมีเมียน้อย ผัวน้อยเมื่อเมียหลวงหรือผัวหลวงรู้เข้าจึงฆ่ากันตาย ข้อนี้ออกข่าวหน้าหนึ่งประจำ

๔.งดเว้นจากการพูดโกหก คือ ไปแจ้งความด้วยเรื่องไม่จริงพอตรวจสอบได้ก็ต้องถูกจับขัง(อันที่จริงเราอยากเขียนถึงอาชีพส.ส.กับอาชีพตำรวจมากกว่าแต่เพราะเรากลัวว่าจะยุ่งกับการเมืองมากไป เราก็เลยไม่กล้า ได้แต่งุงิไว้ในใจเท่านั้น)

๕.งดเว้นจากการดื่มสุราและยาเสพติดพอเมาทั้งเมาเหล้าเมายาก็ขาดสติจึงฆ่ากันตาย ออกข่าวก็มีเยอะแยะ

พระพุทธเจ้าทรงมองเห็นโทษเช่นนี้จึงทรงบัญญัติศีล ๕ ข้อนี้ไปใช้ในศาสนาของพระองค์ ทางฝ่ายกษัตริย์ของเมืองต่างๆเมื่อเห็นประโยชน์ของศีลทั้ง๕ ข้อ จึงตั้งกฏบัญญัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเพื่อใช้ควบคุมประชาชนในบ้านเมืองของตนเพื่อความสงบเรียบร้อย

แต่ทว่า ในตอนนี้ คนเรารู้จักศีลรู้จักอานิสงค์ของศีลมากมาย แต่ทำไมไม่เอาไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ชอบแต่สร้างกรรมชั่วให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อนสังเกตได้จากการมีฆ่ากันทุกวัน ทุกคืน แม้กระทั่งเรื่องเล็กน้อยก็ฆ่ากันแล้ว นี่แสดงว่าคนเราในยุดไอทีเฟืองฟู แต่ว่าจิตใจของคนเรากลับต่ำลงอย่างน่าใจหายจนเกือบเหมือนสัตว์เดรัจฉานเข้าไปทุกที เราบรรยายไว้ตอนต้นแล้วว่าร่างกายของคนเรานี่เองเป็นเครื่องทำกรรมที่น่ากลัวที่สุด ไม่ว่าจะเป็นกรรมชั่วหรือว่ากรรมดี คือ ถ้าดวงจิต(สมอง)คิดเรื่องดีๆ ร่างกายจึงทำความดีตามที่จิตใจคิดแต่ถ้าดวงจิตคิดชั่ว ร่างกายก็ทำชั่วตามที่ดวงจิตคิด ถามว่าทำไมมันเป็นอย่างนั้น? ตอบว่า เพราะดวงจิตไม่ใช่ธาตุ๔ มันเป็นแค่คลื่นพลังงาน จิตเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน แต่สามารถเรียนรู้เพราะคลื่นจิตมีความรู้สึกและมีความคิด คลื่นพลังงานของจิตสามารถตัดสินใจในการเลือกจะเอาสิ่งนี้หรือจะไม่เอาสิ่งนี้ก็ได้ คือทำให้เกิดการสร้างเหตุสร้างการณ์ สร้างผลตามมาได้ ในการกระทำของจิตจึงทำให้จิตมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ คลื่นจิตเป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตไร้พรมแดนและกว้างใหญ่ไพศาล ในปัจจุบันโลกเรามีมือถือ โทรทัศน์และดาวเทียมที่ใช้คลื่นส่งสัญญาณสื่อสารถึงกันและกันเราไม่สามารถมองเห็นคลื่นพวกนี้ได้ด้วยตาเปล่าแต่เรารู้ว่าคลื่นพวกนี้สามารถใช้เป็นพลังงานได้ จิตของเราก็เป็นเช่นนั้นถึงเราจะมองไม่เห็นคลื่นของจิตตนเองแต่เราก็ใช้คลื่นนี้อยู่เสมอในการคิดและมีความรู้สึกในอารมณ์ต่างๆ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราได้เห็นได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส ก็คือคลื่นพลังงานต่างๆนั่นเองที่กำลังกระทบกับคลื่นจิตใจของเราคลื่นข้อมูลต่างๆกระทบเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กายและคลื่นจิตเราก็สร้างความหมายให้กับคลื่นพวกนี้ที่เป็นแสง สีและเสียง ด้วยการตั้งชื่อให้กับมันและก็ตีความหมายว่ามันคืออะไรทำให้เราเห็นเป็นภาพ ตัวตน เสียง กลิ่น รสชาดและเป็นสิ่งที่เราสัมผัสดังนั้นคลื่นจิตของแต่ละบุคคลจึงเป็นตัวสร้างความเป็นจริงให้กับตนเองสร้างความหมาย ความคิด อารมณ์และความเชื่อให้เกิดขึ้นภายในใจของตนเองนั่นเอง เช่นคิดโกรธแค้นคนที่ทำให้เราเสียใจคนที่ทำให้เราคับแค้นใจ หรือคนที่ทำให้เราเจ็บตัวเป็นต้น ทั้งหมดเรียกว่าอาฆาตวัตถุ ๑๐ คือ

๑. อาฆาตเขาโดยคิดว่า เขาได้ทำความเสื่อมเสียแก่เรา(อดีต)
๒.อาฆาตเขาโดยคิดว่า เขากำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา(ปัจจุบัน)
๓.อาฆาตเขาโดยคิดว่า เขาจักทำความเสื่อมเสียแก่เรา(อนาคต)
๔.อาฆาตเขาโดยคิดว่า เขาได้ทำความเสื่อมเสียแก่ผู้ที่เรารักเราชอบ(อดีต)
๕.อาฆาตเขาโดยคิดว่า เขากำลังทำความเสื่อมเสียแก่ผู้ที่เรารักเราชอบ(ปัจจุบัน)
๖.อาฆาตเขาโดยคิดว่า เขาจักทำความเสื่อมเสียแก่ผู้ที่เรารักเราชอบ(อนาคต)
๗.อาฆาตเขาโดยคิดว่า เขาได้ทำคุณประโยชน์แก่ผู้ที่เราเกลียดเราชัง(อดีต)
๘.อาฆาตเขาโดยคิดว่า เขากำลังทำคุณประโยชน์แก่ผู้ที่เราเกลียดเราชัง(ปัจจุบัน)
๙.อาฆาตเขาโดยคิดว่า เขาจักทำคุณประโยชน์แก่ผู้ที่เราเกลียดเราชัง(อนาคต)
๑๐.ความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่สมควร เช่น เกิดโกรธขึ้นเมื่อเดินสะดุดตอไม้ล้ม เป็นต้น(ปัจจุบัน)

แต่ถ้าเรารักษาศีลได้และรู้จักปล่อยวางอย่าปล่อยให้ดวงจิตตกลงอยู่ในอำนาจความโกรธ ความโลภ ความหลงแล้ว การเบียดเบียนกันก็ไม่เกิดพระพุทธเจ้าได้ตรัสพระคาถาแรกไว้ในพระธรรมบทว่า

มโนปุพพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา

มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ภาสติ วา กโรติ วา

ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกํ ว วหโต ปทํฯ

ทุกสิ่งทุกอย่างมีใจเป็นผู้นำมีใจเป็นใหญ่ สำเร็จได้ด้วยใจถ้าคนเรามีใจชั่วเสียแล้ว

การพูด การกระทำก็พลอยชั่วไปด้วย เพราะการพูดชั่วการกระทำชั่วนั้น

ทุกข์ย่อมตามสนองเขา เหมือนล้อเกวียนหมุนตามรอยเท้าโค.

และตรัสพระคาถาที่ ๒ ว่า

มโนปุพพงฺคมา ธมฺมมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา

มนสา เจ ปสนฺเนน ภาสติ วา กโรติ วา

ตโต นํ สุขมเนฺวติ ฉายา ว อนุปายินีฯ

ทุกสิ่งทุกอย่างมีใจเป็นผู้นำมีใจเป็นใหญ่ สำเร็จได้ด้วยใจถ้าคนเรามีใจบริสุทธิ์

การพูด การกระทำก็พลอยบริสุทธิ์ไปด้วย เพราะการพูดและกระทำอันบริสุทธิ์นั้น

ความสุขย่อมตามสนองเขา เหมือนเงาติดตามตน.

ด้วย ๒ พระคาถานี้ ทำให้เรารู้ว่า จิตใจสั่งให้ร่างกายทำได้ทุกอย่างเมื่อร่างกายตกลงอยู่ในอำนาจของจิตใจเช่นนั้น เพราะเหตุนั้น เราจึงบอกว่า ร่างกายเป็นเครื่องมือฆ่าคนที่น่ากลัวที่สุดเพราะดวงจิตไม่สามารถสังหารใครได้ นอกจากท่านผู้มีฤทธิ์ แต่ว่าท่านเหล่านั้นก็ไม่กล้าฆ่าสัตว์เหมือนกัน ลองคิดดูเถิดว่า ในขณะนี้คนเราถูกฆ่าเป็นอันดับ ๑ อุบัติเหตุเป็นอันดับ ๒ ป่วยตายเป็นอันดับสุดท้าย(ป่านนี้นรกคงใกล้เต็มแล้วใครอยากไปอยู่นรกคงต้องรีบหน่อยแล้ว ช้าไป อาจจะไม่ได้อยู่นรกนะ ห้าๆๆ)ทั้งสองอันดับข้างต้น ตายเพราะร่างกายทั้งนั้น คือ อันดับแรกตายเพราะถูกร่างกายสังหาร หลายคนคงรู้แล้วส่วนที่เราบอกว่าประสพอุบัติเหตุตายเพราะกาย ก็คือ ส่วนมากตายเพราะความประมาททั้งนั้น เช่นประมาทในขณะขับรถ ถามว่าความประมาทเป็นเรื่องของจิตไม่ใช่หรือ แล้วทำไมถึงบอกว่าเป็นเรื่องของร่างกายเล่า ตอบว่าเพราะจิตทำให้กายประมาทไง เอ่อ คือ (อูย เขียนเอง อ่านเอง แล้วก็งงเองจิท่านผู้อ่านพยายามเข้าใจหน่อยนากั๊ป) คือว่า เมื่อจิตคิดจะไปที่ไหนๆ ต่อมาก็คิดว่าจะไปได้อย่างไรจิตก็คิดว่าจะไปด้วยรถ ในขณะที่คิดว่าจะไปด้วยรถ ร่างกายก็เดินไปที่รถในตอนนี้เรียกว่าร่างกายทำตามจิต แต่ว่าในขณะขับรถถ้าจิตหันเหความสนใจไปอยู่กับสิ่งอื่น เช่นคุยโทรศัพท์ ถึงตอนนี้ร่างกายไม่ได้อยู่ในอำนาจของจิตแล้ว แต่ที่ยังขับรถไปได้ก็เพราะความเคยชินเพราะจิตมิสามารถจะสั่งงาน ๒ อย่างในคราวเดียวได้(เพราะเหตุนั้น กฎหมายจึงบังคับไม่ให้คุยโทรศัพท์ในขณะขับรถ)เมื่อร่ายกายไม่ได้อยู่ในอำนาจจิตแล้ว ร่างกายก็ไม่มีอะไรสั่งงาน แต่ที่ยังขับรถไปได้ก็ด้วยความชินนั่นเอง นี่เองคือความประมาท เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระเจ้าจึงตรัส ๒ พระคาภาซึ่งเกี่ยวกับจิตไว้ดังนี้ ว่า

มกฺกโฏว อรัญฺญมฺหิ วเน ภนฺโต มิโค วิย พาโล วิย จ อุตฺรโสฺต น ภเว โลลโลจโน

อโธ ขิเปยฺย จกฺขูนิ ยุคมตฺตทสฺโส สิยา วนมกฺกฎโลลสฺส น จิตฺตสฺส วสํ วเชฯ

ไม่พึงเป็นผู้มีนัยน์ตาล่อกแล่ก เหมือนลิงในป่า เหมือนเนื้อตื่นในดง และเหมือนเด็กอ่อนสะดุ้งกลัว พึงทอดจักษุ แลดูชั่วแอก อย่าพึงไปสู่อำนาจของจิตที่หลุกหลิกเหมือนลิงป่า.

อันที่จริง จิต คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์หรือธรรมชาติที่ทำหน้าที่ ได้เห็น ได้ยิน ได้รู้กลิ่น ได้รู้รส ได้รู้สึกต่อการสัมผัสถูกต้องทางกายและได้รู้สึกนึกคิดทางใจ จิตนี้ไม่ว่าจะเกิดแก่สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดาหรือพรหมก็ตาม ย่อมมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ เหมือนกันทั้งสิ้น

จิตเป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มองไม่เห็น สัมผัสด้วยกายไม่ได้ ไม่มีรูปร่างสัณฐาน ไม่มีสีสันไม่มีวรรณะใดๆแต่เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีอยู่จริงๆเป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติฝ่ายนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ทำให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปตามกฎของธรรมชาติ

อำนาจของจิตมีอยู่มากมายเช่น มีอำนาจในการกระทำ การพูด การคิด การสั่งสมกรรมดี กรรมชั่วนอกจากนี้ยังมีอำนาจในการสร้างฤทธิ์ ทำสมาธิ ทำฌาน ทำอภิญญา และอื่น ๆให้เกิดขึ้นได้อย่างมหัศจรรย์ จิตจะเกิดดับอย่างรวดเร็วมาก ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเดียวจิตจะมีการเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะคือ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ครั้ง(หนึ่งล้านล้านครั้ง) จึงเป็นการยากที่บุคคลจะรู้เท่าทันได้

สถานที่เกิดของจิตมีอยู่ด้วยกัน ๖ แห่ง คือ

๑. ที่ตา เพื่อทำหน้าที่เห็นรูปที่ปรากฏทางตาจิตนี้จึงมีชื่อว่า จักขุวิญญาณ (จักขุ = ตา)

๒. ที่หู เพื่อทำหน้าที่ได้ยินเสียงที่ปรากฏทางหูจิตนี้จึงมีชื่อว่า โสตวิญญาณ (โสต = หู)

๓.ที่จมูก เพื่อทำหน้าที่รู้กลิ่นที่ปรากฏทางจมูกจิตนี้จึงมีชื่อว่า ฆานวิญญาน (ฆาน = จมูก)

๔. ที่ลิ้น เพื่อทำหน้าที่รู้รสที่ปรากฏทางลิ้นจิตนี้จึงมีชื่อว่า ชิวหาวิญญาณ (ชิวหา= ลิ้น)

๕. ที่กาย เพื่อทำหน้าที่รับความรู้สึกต่อการสัมผัสถูกต้องทางกายจิตนี้จึงชื่อว่ากายะวิญญาณ(กายะ = กาย) ๖.ที่ใจ เพื่อทำหน้าที่ รู้สึกนึก คิด ทางใจ จิตนี้จึงชื่อว่า มโนวิญญาณ (มโน = ใจ)

ดังนั้น จิต หรือวิญญาณ จึงหมายถึงสิ่งเดียวกัน นอกจากนี้ จิต ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น หทัย ปัญฑระ มโน มนัส มนินทรีย์ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์และมนายตนะเป็นต้น จึงขอให้เข้าใจว่าแม้จะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม ชื่อเหล่านั้นก็คือ จิต นั่นเอง หากกล่าวโดยสรุปก็คือจิต เป็นผู้รู้ อารมณ์ เป็นสิ่งที่ถูกรู้

คำว่า อารมณ์ ในที่นี้หมายถึง เครื่องยึดหน่วงจิต อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่นรส ฯลฯ ตลอดจนเรื่องราวต่าง ๆที่คิดนึก ไม่ได้มีความหมายดังที่ใช้กันทั่วไป เช่นอารมณ์ดี อารมณ์เสีย หรือมิได้หมายถึงสภาพนิสัยใจคอ เช่น อารมณ์เย็น อารมณ์ร้อน อารมณ์ขันเป็นต้น

จิตที่เกิดแต่ละขณะ และจะรับอารมณ์ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้นเช่น ในขณะที่เราดูโทรทัศน์ จิตที่เห็นภาพทางตา กับจิตที่ได้ยินเสียงทางหูเป็นคนละขณะกัน ขณะที่เห็นภาพ ก็จะไม่ได้ยินเสียง ขณะที่ได้ยินเสียงก็จะไม่เห็นภาพ แต่เพราะจิตเกิดดับสลับกันเร็วมาก จึงทำให้เราแยกไม่ออกและเข้าใจผิดว่า การได้เห็นและการได้ยินนั้นเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน จริง ๆแล้ว จิตแต่ละขณะจะรับอารมณ์ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้น ในขณะขับรถและคุยโทรศัพท์จิตจึงไม่สามารถแยกบังคับทั้ง ๒ ทางได้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ผลเสียย่อมตกลงที่กายเช่น เสียชีวิต บาดเจ็บหรือแม้กระทั่งพิการ เราเคยบอกแล้วว่าดวงจิตไม่สามารถแตกสลายไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ดวงจิตก็ยังคงอยู่ มีแต่ร่ายกายเท่านั้นที่แตกสลายหรือบาดเจ็บและพิการดวงจิตแค่ไม่มีร่างกายอาศัย หรือประสพความเจ็บทางอารมณ์เท่านั้น

กาลที่ร่างกายจะเป็นเครื่องมือทำกรรมมี๓ คือ

๑.อดีตกาล

๒.ปัจจุบันกาล

๓.อนาคตกาล

ถามว่า ในกาลทั้ง ๓ นี้ กาลไหนน่ากลัวที่สุดหลายคนคงตอบว่า ปัจจุบันกาลน่ากลัวที่สุด เพราะปัจจุบันกาลหมายถึงเวลาทำกรรม ส่วนเราตอบว่า อนาคตกาลน่ากลัวที่สุด อธิบายว่าในกาลทั้งสาม อดีตกาลคือกาลที่ผ่านมาแล้ว เราไม่สามารถจะย้อนกลับไปได้เพราะฉะนั้นการทำกรรมจึงไม่สามารถจะกลับไปแก้ไขได้ไม่ว่ากรรมนั้นจะเป็นเรื่องดีหรือไม่ดีก็ตาม ปัจจุบันกาล คือกาลที่ทำกรรมแล้วส่วนมาก คนเราก็ชอบทำกรรมในปัจจุบันมากที่สุด จะเห็นได้จากการจี้ ปล้นหรือดักยิงกันก็แล้วแต่ นั่นก็คือกรรมที่เกิดปัจจุบันกาล ซึ่งเกิดขึ้นมาด้วยสาเหตุที่เกิดเฉพาะหน้าด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น เกิดด้วยความโกรธ เกิดด้วยความคับแค้นใจหรือเกิดด้วยความโลภ ส่วนกาลในฐานะนี้ ที่เราหมายถึงกาลที่เกิดที่เป็นอนาคต คือ กาลที่จะเกิดในอนาคตหลายคนคงไม่เข้าใจ เราจะอธิบายอย่างนี้ คืออาวุธทุกอย่างสร้างมาเพื่อใช้เครื่องป้องกันตนเองในอนาคต หรือสร้างมาก็ใช้สังหารมนุษย์ในอนาคตไม่ว่าจะเป็นมีด ไม่ว่าจะเป็นปืน หรือไม่ว่าจะเป็นระเบิดนิวเคลียร์ที่มนุษย์ในอดีตสร้างไว้ล้วนถูกสร้างไว้สังหารมนุษย์ในอนาคตทั้งนั้น แล้วมนุษย์ในอนาคตเหล่านั้นก็เอามาใช้ประหัตประหารกันจนเกิดเรื่องเกิดราวในปัจจุบันก็เพราะมนุษย์ในปัจจุบันใช้อาวุธที่มนุษย์ในอดีตสร้างไว้ อีกอย่างหนึ่ง ในปัจจุบันคนเราเมื่อใช้ร่างกายทำกรรมที่ทำปัจจุบัน ส่วนมากไม่มีการวางแผนการไว้ก่อน คือ ส่วนมากทำตามเหตุการณ์เฉพาะหน้าทั้งนั้นเช่น เห็นสิ่งที่บาดตาบาดใจจนดวงจิตทนไม่ได้ เมื่อดวงจิตไม่รับ ดวงจิตจึงคิดทำลายสิ่งนั้นนั่นก็คือความโกรธ หรือเพราะเห็นสิ่งที่อยากได้ เช่น เงิน ทองดวงจิตคิดอยากได้ทั้งๆที่สิ่งของนั้นไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของดวงจิต(ของเรา)เมื่อดวงจิตอยากได้ นั่นคือความโลภ ดวงจิตจึงสั่งการให้ร่างกายทำการปล้นชิง ถ้าเจ้าของขัดขืนดวงจิตจึงสั่งการให้ร่างกายเอาสั่งของเหล่านั้นมาให้ได้ แม้กระทั่งฆ่าเจ้าของเสียเพื่อจะได้สิ่งของนั้นมาให้ได้ ทั้งหมดนี้หมายถึงการกระทำของปัจจุบันทั้งนั้นเพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระคาถาว่า

อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ

โส โสจติ โส วิหญฺญติ ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺฐมตฺตโนฯ

ผู้ทำบาปเป็นปกติ ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วย่อมเศร้าโศกย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง

เขาเห็นกรรมเศร้าหมองของตนแล้วย่อมเศร้าโศก เขาย่อมเดือดร้อน.

ด้วยพระคาถานี้ แสดงให้รู้ว่าคนเรา ชอบทำบาปทุกอย่างตามใจของตนเมื่อใช้ร่างกายทำกรรม เขาจะต้อง

เดือดร้อนเพราะกรรมที่ทำมีการจับไปคุมขังเป็นต้น เมื่อละร่างกายไปแล้วดวงจิตของเขาจะต้องเดือดร้อนเพราะกรรมนั้นอีกครั้ง

ส่วนข้อว่าร่างกายทำกรรมในอนาคตน่ากลัวที่สุด คือ จิตคิดวางแผนไว้ก่อนจะลงมือทำกรรม หมายถึงจะให้ร่างกายในอนาคตทำกรรมทุกท่านต้องรู้ไว้ก่อนว่า ร่างกายคนเรานั้นเปลี่ยนแปรได้ทุกวินาทีแต่เพราะมันเปลี่ยนแปรช้าไม่เหมือนดวงจิตที่เปลี่ยนแปรเร็วตามอารมณ์ (ย้อนไปอ่านเรื่องจิต)การเปลี่ยนแปรของร่างกายเรียกว่าไตรลักษณ์ ซึ่งแปลว่า ลักษณะ ๓ อย่าง หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกันหรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวง เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้๓ อย่าง ได้แก่

๑.อนิจจตา (อนิจจลักษณะ) อาการไม่เที่ยงอาการไม่คงที่ อาการไม่ยั่งยืน อาการที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไปอาการที่แสดงถึงความเป็นสิ่งไม่เที่ยงของขันธ์.

๒.ทุกขตา (ทุกขลักษณะ) อาการเป็นทุกข์อาการที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว อาการที่กดดันอาการฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัวเพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้อาการที่ไม่สมบูรณ์ มีความบกพร่องอยู่ในตัว อาการที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ของขันธ์.

๓.อนัตตตา (อนัตตลักษณะ) อาการของอนัตตาอาการของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน อาการที่ไม่มีตัวตน อาการที่แสดงถึงความไม่ใช่ใครไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร อาการที่แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเองอาการที่แสดงถึงความไม่มีอำนาจแท้จริงในตัวเลยอาการที่แสดงถึงความด้อยสมรรถภาพโดยสิ้นเชิง ไม่มีอำนาจกำลังอะไรต้องอาศัยพึ่งพิงสิ่งอื่นๆ มากมายจึงมีขึ้นได้ ลักษณะ ๓ อย่างนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวงและเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิยาม คือกฎธรรมดา หรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร

สันตติปิดบังอนิจจลักษณะ

สันตติ คือการสืบต่อเนื่องกันไปไม่ขาดสายของขันธ์ ๕ โดยสืบต่อเนื่องจากจิตดวงหนึ่งที่ดับไปจิตดวงใหม่ก็เกิดขึ้นต่อกันในทันที หรือรูปๆหนึ่งดับไป รูปใหม่ๆก็เกิดต่อกันไปในทันทีหรือบางที รูปเก่ายังไม่ดับ รูปใหม่ก็เกิดขึ้นมาสำทับกันเข้าไปสันตติเป็นกฎธรรมชาติ เป็นนิยาม ห้ามไม่ได้ เว้นแต่จะดับขันธปรินิพพานแล้วเท่านั้นสันตติจึงจะไม่เป็นไป แม้ในอสัญญสัตตภพและผู้เข้านิโรธสมาบัติท่านก็ยังจัดว่ามีสันตติของจิตอยู่นั่นเอง สันตติที่เกิดขึ้นสืบต่อกันไปอย่างรวดเร็วไม่ขาดสายนี้จะทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่า ขันธ์ ๕ ไม่เกิดไม่ดับ ทั้งๆที่ความจริงแล้วเกิดดับต่อกันวินาทีละนับครั้งไม่ได้ในคัมภีร์ท่านจึงกล่าวว่า "สันตติปิดบังอนิจจลักษณะ"เพราะอนิจจลักษณะเป็นเครื่องกำหนดความไม่สืบต่อของขันธ์ ๕ที่มีขอบเขตของเวลาในการดำรงอยู่จำกัดมากซึ่งตรงกันข้ามกับสันตติที่ต่อกันจนดูราวกับว่าไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลยการที่ยังพิจารณาอนิจจลักษณะว่า ขันธ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้นพอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก เป็นต้น ไม่บ่อย ไม่ต่อเนื่องหรือเพิ่งเริ่มกำหนด จึงยังไม่เกิดความชำนาญ อนิจจลักษณะที่กำหนดอยู่ก็จะไม่ชัดเจนไม่เข้าใจกระจ่างเท่าไรสันตติจึงยังมีอำนาจรบกวนไม่ให้กำหนดอนิจจลักษณะได้ชัดเจนแจ่มแจ้ง

สำหรับวิธีการจัดการกับสันตติไม่ให้มีผลกับการกำหนดอนิจจลักษณะนั้นไม่มีวิธีจัดการกับสันตติโดยตรง เพราะสันตติเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดาของขันธ์ไปห้ามกันไม่ได้ แต่ท่านก็ยังคงให้พิจารณาอนิจจลักษณะแบบเดิมเป็นต้นว่าขันธ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก ดังนี้ต่อไปโดยทำให้มาก ให้ต่อเนื่อง ให้บ่อยครั้งเข้า อนิจจลักษณะก็จะปรากฏชัดขึ้นและสันตติแม้จะยังมีอยู่ตามเดิม แต่ก็จะไม่มีอำนาจปกปิดอนิจจลักษณะหรือทำให้อนิจจลักษณะไม่ชัดเจนอีกต่อไป

อิริยาบถปิดบังทุกขลักษณะ

อิริยาบถ คือ รูปแบบกิริยาการกระทำต่างๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การแล การเหลียว เป็นต้นการเปลี่ยนอิริยาบถนั้น บางครั้งก็อาจทำเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด แต่โดยมากแล้วเราเปลี่ยนเพื่อทำกิจกรรมต่างๆโดยที่ยังไม่ต้องเกิดความทุกข์ความเจ็บปวดขึ้นมาก่อนก็ได้ เช่น นั่งสมาธิเดินจงกรม เป็นต้น อิริยาบถที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดทั้งวันนี้จะทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่า ขันธ์ ๕ไม่ได้บีบคั้นบังคับตัวเองให้ต้องเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด ทั้งที่ความจริงแล้วแม้ขณะที่เราเปลี่ยนอิริยาบถอยู่โดยไม่ได้เป็นเพราะความเจ็บปวด เช่น เดินจงกรมนั่งสมาธิ เป็นต้น ตอนนั้นขันธ์ ๕ก็ล้วนบีบคั้นบังคับตนเองให้ต้องเปลี่ยนแปลงแตกดับเสื่อมสลายไปเป็นปกติทั้งสิ้นในคัมภีร์ท่านจึงกล่าวไว้ว่า อิริยาบถปิดบังทุกขลักษณะเพราะทุกขลักษณะเป็นเครื่องกำหนดความบีบคั้นให้เปลี่ยนไปของขันธ์ ๕ที่ล้วนบีบคั้นบังคับตัวเองอยู่เป็นนิจ ซึ่งตรงกันข้ามกับอิริยาบถที่เมื่อเปลี่ยนแล้วก็ทำให้สุขต่อกันไปจนไม่รู้ตัวเลยว่า ขันธ์ ๕กำลังบีบคั้นขันธ์เองวินาทีละนับครั้งไม่ได้ ฆนะปิดบังอนัตตลักษณะ

ฆนะ คือ สิ่งที่เนื่องกันอยู่ท่านได้แบ่งฆนะ ออกเป็น ๔ อย่าง คือ สันตติฆนะ สมูหฆนะ กิจจฆนะ อารัมมณฆนะ

๑.สันตติฆนะ คือ ขันธ์ ๕ที่เกิดดับสืบเนื่องกันไปไม่ขาดสาย ซึ่งเร็วจนดูเหมือนกับว่า ขันธ์ ๕ไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับ

๒.สมูหฆนะ คือ ขันธ์ ๕ที่เกิดร่วมกันสัมพันธ์อาศัยซึ่งกันและกัน จนดูราวกะว่า ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นกลุ่มก้อนเป็นหนึ่งเดียวกัน

๓.กิจจฆนะ คือ ขันธ์ ๕ ที่มีกิจหน้าที่มากหลายรับรู้เข้าใจได้ง่ายและยากโดดเด่นแตกต่างกันไปซึ่งหากไม่มีปัญญาก็อาจดูเหมือนกับว่า ขันธ์ ๕มีกิจอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงกิจเดียว

๔.อารัมมณฆนะ คือ ขันธ์ ๔ที่รับรู้อารมณ์มากมายหลากหลายใหม่ๆ ไปเรื่อยแต่หากเราเองไม่มีความรู้พอที่จะสังเกต จะไม่ทราบเลยว่าจิตใจของเราแบ่งออกตามการรู้อารมณ์ได้มากทีเดียว การเนื่องกันเหล่านี้จะมีหรือไม่มีขึ้นอยู่กับปัจจัยของธรรมที่ร่วมกันเกิดอยู่นั้น เป็นกฎธรรมชาติ เป็นธรรมดาหากเหตุพร้อมมูล ก็ไม่มีใครไปห้ามไม่ให้ผลเกิดได้เลย ฆนะทั้งหมด โดยเฉพาะ ๓อย่างหลังที่เนื่องกันติดกันอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ จะทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่าขันธ์ ๕ บังคับบัญชาตัวเองได้ ไม่ต้องอาศัยปัจจัยอะไรเลย ราวกะมีตัวตนแก่นสารทั้งที่ความจริงแล้ว ขันธ์ไม่เคยอยู่เดี่ยวๆ เลยมีแต่จะต้องแวดล้อมไปด้วยปัจจัยและปัจจยุปบันที่ทั้งเกิดก่อน เกิดหลัง และเกิดร่วมมากมายจนนับไม่ถ้วนในคัมภีร์ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ฆนะปิดบังอนิจจลักษณะเพราะอนิจจลักษณะเป็นเครื่องกำหนดความไม่มีตัวตนอำนาจที่เป็นแก่นสารมั่นคงของขันธ์๕ ซึ่งตรงกันข้ามกับฆนะที่เนื่องกันจนทำให้เข้าใจผิดไปว่า ขันธ์เป็นหนึ่งมีเหตุคือเรา คือเขาเพียงหนึ่งที่เป็นตัวตนมั่นคงบังคับสิ่งต่างๆได้ทั้งที่ก่อนหน้านั้น และขณะนั้นเองมีเหตุให้เกิดขันธ์เหล่านั้นเกิดอยู่มากมายหลังจากนั้นโดยทั่วไปก็ยังมีผลที่จะเกิดสืบต่อไปอีกมากมายการที่ยังพิจารณาอนัตตลักษณะว่า ขันธ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้นพอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีกเป็นต้น

เราอธิบายอย่างนี้ หลายคนคงไม่เข้าใจ เอาอย่างนี้เถิด เราจะอธิบายง่ายๆ สันตติคือความสืบต่อกันตลอดเวลา ที่เราไม่เห็นก็เพราะมันสืบต่อกันเร็วมาก อีกทั้งเราจดจำรูปร่างเดิมไว้ด้วย แต่ถ้าเราไม่เห็นรูปของคนที่เรารู้จักนั้นสักปีหรือสิบปี รูปร่างของคนผู้นั้นจะแปลกตาไปมากทั้งๆที่ร่างของคนเดียวกันนั่นเองหรือเราพบเห็นเด็กอ่อนสักประมาณ ๑ เดือน ผ่านไป๑๐ปีพอมาเห็นอีกครั้งเด็กนั้นก็เติบโตจนเราจำไม่ได้แล้ว ทุกคนต้องรู้ก่อนว่าสันตติของเด็กจะเปลี่ยนแปรเร็วเหมือนของผู้ใหญ่ แต่เพราะร่างกายของเด็กจะเติบโตตามวัยส่วนของผู้ใหญ่จะเปลี่ยนแปรช้า เพราะไม่มีที่เปรียบ แต่ทว่า ผู้ใหญ่วัย ๕๐ ปีขึ้นไปจะเปลี่ยนแปรตามวัยแก่นั่นก็คือผิวหนังเหี่ยวย่น ผมเริ่มหงอกขาว เริ่มไม่ค่อยมีแรงเป็นต้น ทั้งๆที่ร่างกายของคนๆเดียวกันเพราะเหตุนั้น ที่เราว่า ร่างกายทำกรรมในอนาคตน่ากลัวที่สุด คือจิตคิดวางแผนไว้ก่อนจะลงมือทำกรรม หมายถึงคิดจะให้ร่างกายในอนาคตทำกรรม ที่เราบรรยายมาทั้งหมดนี้หมายถึงร่างกายทำกรรมที่เป็นอกุศลคือล่วงละเมิดศีล ๕ ข้อที่เรายกไว้ข้างต้น

ความจริงร่างกายเป็นเครื่องทำกรรมที่เป็นกุศลก็มีมากมาย เช่น รักษากุศลกรรมบถ ๑๐ คือการทำบุญ ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ จำแนก คือ

กายกรรม ทำทางกาย ๓ ประการ คือ

๑. ไม่ฆ่าสัตว์ด้วยตนเองไม่ยุให้คนอื่นฆ่า และไม่ยินดีเมื่อคนอื่นฆ่าสัตว์แล้ว

๒. ไม่ถือเอาทรัพย์สินของผู้อื่นโดยที่เจ้าของไม่อนุญาตด้วยตนเอง ไม่ยุยงให้คนอื่นถือเอา และไม่ยินดีเมื่อคนอื่นถือเอาของๆเขาแล้ว

๓. ไม่ละเมิดกามารมณ์ในบุตร ภรรยา สามีของผู้อื่น ไม่ยุให้คนอื่นละเมิด และไม่ยินดีเมื่อคนอื่นละเมิดแล้ว

ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นการปฏิบัติทางกายให้ละเว้นโดยเด็ดขาด

วจีกรรม กล่าวทางวาจา ๔ ประการ คือ

๑. ไม่พูดจาที่ไม่มีความจริง

๒. ไม่พูดวาจาหยาบให้เป็นที่สะเทือนใจของผู้รับฟัง

๓. ไม่พูดวาจาส่อเสียดยุยงให้ผู้อื่นแตกร้าวกัน หรือไม่นินทาคนอื่น

๔. ไม่พูดวาจาที่ไม่มีประโยชน์คือวาจาใดที่พูดไปไร้ประโยชน์จะไม่พูดวาจานั้น

ทั้ง ๔ ประการนี้ จะไม่พูดเองด้วยไม่ยุยงให้คนอื่นพูดด้วย และไม่ยินดีเมื่อคนอื่นพูดแล้วด้วย

มโนกรรม คือ การคิดทางใจ ๓ ประการ คือ

๑. ไม่คิดอยากได้ทรัพย์สินของผู้อื่นโดยที่เจ้าของไม่อนุญาตให้ด้วยความเต็มใจ คือ ไม่คิดลักขโมย ยื้อแย่ง คดโกงเป็นต้น

๒. ไม่คิดจองล้าง จองผลาญ จองเวรจองกรรม ผู้ใด คือ ไม่คิดประทุษร้ายผู้อื่นในทุกๆ กรณีนั่นเอง

๓. มีความเห็นตรงต่อคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่มีอารมณ์คัดค้านคำสอนของพระองค์ และปฏิบัติตามจนมีผลตามที่ต้องการ

ความรู้สึกนึกคิดทางใจ ๓ ประการนี้ไม่คิดเองด้วย ไม่ยุให้ผู้อื่นคิดด้วย และไม่ยินดีเมื่อมีผู้อื่นคิดแล้วด้วย

แต่ทว่าคนเราในปัจจุบันนี้ล่วงละเมิดกรรมกุศลบท๑๐ ประการนี้เป็นส่วนมาก ไม่อบรมจิตให้อยู่ทำนองคลองธรรม เพราะเหตุนั้นจึงฆ่ากันทุกวัน ทำร้ายกันทุกวัน ทำกรรมกันทุกวัน น้อยบ้าง มากบ้างตามที่จิตสั่งการ

ตามหลักพระพุทธศาสนามีการทำบุญด้วยกัน ๑๐ วิธี เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ๑๐ ประการ) คือ

๑. ให้ทาน แบ่งปันผู้อื่นด้วยสิ่งของ ไม่ว่าจะให้ใครก็เป็นบุญ (ทานมัย)การให้ทานเป็นการช่วยขัดเกลาความเห็นแก่ตัว ความคับแค้นใจ ความตระหนี่ถี่เหนียวและความติดยึดในวัตถุ นอกจากนี้ สิ่งของที่เราแบ่งปันออกไปก็จะเป็นประโยชน์กับบุคคลหรือชุมชนโดยส่วนรวม

๒. รักษาศีล ก็เป็นบุญ (ศีลมัย)เป็นการฝึกฝนที่จะ ลด ละ เลิกความชั่ว ไม่ไปเบียดเบียนใคร มุ่งที่จะทำความดีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น เป็นการหล่อเลี้ยงบ่มเพาะให้เกิดความดีงามและพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ

๓. เจริญภาวนา ก็เป็นบุญ (ภาวนามัย)การภาวนาเป็นการพัฒนาจิตใจและปัญญา ทำให้จิตสงบ ไม่มีกิเลส ไม่มีเรื่องเศร้าหมองเห็นคุณค่าสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ผู้ที่ภาวนาอยู่เสมอย่อมเป็นหลักประกันว่าจิตจะมีความสงบ ชีวิตมีความสุข คุณภาพชีวิตดีขึ้น สูงขึ้น

๔. อ่อนน้อมถ่อมตน ผู้น้อยอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ผู้ใหญ่ก็แสดงออกในความมีเมตตาต่อผู้น้อย และต่างก็อ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม รวมถึงการให้เกียรติให้ความเคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกัน ทั้งในความคิดความเชื่อและวิถีปฏิบัติของบุคคลและสังคมอื่นเป็นการลดความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตน ก็เป็นบุญ (อปจายนมัย)

๕. ช่วยเหลือสังคมรอบข้างช่วยเหลือสละแรงกาย เพื่องานส่วนรวม หรือช่วยงานเพื่อนบ้านที่ต้องการความช่วยเหลือก็เป็นบุญ (ไวยาวัจจมัย)

๖. เปิดโอกาสให้คนอื่นมาร่วมทำบุญกับเราหรือในการทำงาน ก็เปิดโอกาสให้คนอื่นมีส่วนร่วมทำ ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วยก็เป็นบุญ (ปัตติทานมัย)

๗. ยอมรับและยินดีในการทำความดีหรือทำบุญของผู้อื่น การชื่นชมยินดีหรืออนุโมทนา ไม่อิจฉาหรือระแวงสงสัยในการกระทำความดีของผู้อื่นก็เป็นบุญ (ปัตตานุโมทนามัย)

๘. ฟังธรรม บ่มเพาะสติปัญญาให้สว่างไสวฟังธรรมะ ฟังเรื่องที่ดีมีประโยชน์ต่อสติปัญญาหรือมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดีของตนเอง ก็เป็นความดี เป็นความงาม เป็นบุญ(ธรรมสวนมัย)

๙. แสดงธรรมให้ธรรมะและข้อคิดที่ดีกับผู้อื่น แสดงธรรมนำธรรมะไปบอกกล่าวเผื่อแผ่ให้คนอื่นได้รับฟัง ให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดีเป็นเรื่องของความจริง ความดี ความงามก็เป็นบุญ (ธรรมเทศนามัย)

๑๐. ทำความเห็นให้ถูกต้องและเหมาะสมมีการปรับทิฏฐิ แก้ไขปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น ความเข้าใจให้ถูกต้องตามธรรมให้เป็นสัมมาทัศนะอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาปัญญาอย่างสำคัญ ถือเป็นบุญด้วยเช่นกัน(ทิฏฐุชุกรรม)

ทิฏฐุชุกรรมหรือสัมมาทิฐฐิเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำบุญทุกชนิดและทุกโอกาส จะต้องประกอบเข้ากับบุญกิริยาวัตถุข้ออื่นทุกข้อเพื่อให้งานบุญข้อนั้น ๆ เป็นไปอย่างถูกต้องตามความหมายและความมุ่งหมายพร้อมทั้งได้ผลถูกทาง

การทำบุญ ๑๐ ประการนี้สามารถสรุปเป็นข้อความว่า

๑. แบ่งปันกันกิน           

๒. รักษาศีล คือ กาย วาจา

๓. เจริญสมาธิภาวนา     

๔. กาย วาจา ใจอ่อนน้อม

๕. ยอมตนรับใช้                         

๖. แบ่งให้ความดี

๗. มีใจอนุโมทนา                       

๘. ใฝ่หาฟังธรรม

๙. นำแสดงออกไม่ได้เว้น    

๑๐. ทำความเห็นให้ถูกต้อง

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการนี้เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้คนเราหลงใหลกับวัตถุภายนอกทั้งยังเป็นเครื่องป้องกันไม่ให้ดวงจิตของเราเดือดร้อนเพราะการกระทำของตนเอง ทั้งในโลกนี้และในโลกหน้าด้วย สมพระคาถาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ธรรมบทว่า

อิธ โมทติ เปจฺจ โมทติ กตปุญฺโญ อุภยตฺถ โมทติ

โส โมทติ โส ปโมทติ ทิสฺวา กมฺมวิสุทฺธิมตฺตโน.

ผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมบันเทิงในโลกนี้ละไปแล้ว ก็ย่อมบันเทิง ย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง

เขาเห็นความหมดจดแห่งกรรมของตนย่อมบันเทิง เขาย่อมรื่นเริง.

ด้วยพระคาถานี้ทำให้เรารู้ว่าพระพุทธทรงสรรเสริญบุคคลผู้กระทำบุญ แม้กระทั่งในมงคลสูตร ๓๒ ประการในมงคลข้อที่ ๕ ก็บรรยายไว้ว่า

ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตาเคยทำบุญไว้ในกาลก่อน

คำว่า บุญหมายถึงคุณงามความดี คำว่ากุศล หมายถึงความสุข สิ่งที่จะช่วยชำระล้างความชั่วร้ายของมนุษย์ให้ดีงามและเป็นที่พึ่งของมนุษย์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าดุจเสบียงของคนที่จะออกเดินทางไกลฉะนั้น

คุณสมบัติของบุญคือ นำความสุขมาให้ เป็นเสบียงเดินทางแห่งชีวิตเป็นทรัพย์ที่จะสามารถติดตามตัวไปได้ทุกหนแห่ง เป็นคุณสมบัติที่สั่งสมภายในจิตใจ คอยให้ความอุปถัมภ์ตามโอกาสต่างๆ จนกว่าบุญจะหมดเป็นที่พึ่งของเหล่าสัตว์ผู้ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร ทำให้ได้มนุษย์สมบัติสวรรค์สมบัติและนิพพานสมบัติ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุมรรคผลนิพพาน ที่ตั้งแห่งการทำบุญทางแห่งการทำความดีและเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ชีวิตมีความดีงามขึ้นเรื่อยๆนั้น มีอยู่๑๐ อย่าง คือ ๑. ทำบุญด้วยการให้สิ่งของ ๒.ทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดีทางกายวาจาใจ ๓.ทำบุญด้วยการเจริญภาวนาเพื่ออบรมจิตใจ ๔. ทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน ๕.ทำบุญด้วยการขวนขวายรับใช้กิจที่เป็นกุศล ๖. ทำบุญด้วยการแบ่งปั่นความดีให้กับผู้อื่น๗. ทำบุญด้วยการร่วมยินดีในความดีของผู้อื่น ๘.ทำบุญด้วยการฟังธรรมหมั่นศึกษาหาความรู้ ๙.ทำบุญด้วยการสั่งสอนวิชาความรู้แก่ผู้อื่น ๑๐. ทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ถูกต้อง

การสั่งสมบุญเป็นการสั่งสมความพร้อมในการที่จะเผชิญต่อชะตาชีวิตซึ่งจะต้องพบกับความเกิดแก่เจ็บตายเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสารเสบียงสำคัญที่จะต้องสั่งสมไว้ในตนก็คือ บุญและบุญนั่นเองที่จะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เราสามารถเผชิญกับปัญหาชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อนสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ที่เลวร้ายให้กลายเป็นดีได้ด้วยอำนาจของบุญ

การสั่งสมบุญที่มีอานิสงส์มากนั้นต้องทำไว้ในพระพุทธศาสนาการสละทรัพย์ของตนเองไว้ในพระพุทธศาสนาก็เหมือนกับการตั้งทุนมูลนิธิไว้เพื่อเป็นประกันให้ชีวิตมีความมั่นคงราบรื่น ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกหน้าเพราะว่าพระพุทธศาสนาเป็นที่รวมแห่งพระอริยบุคคลผู้เว้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองต่างๆ(เว้นอนาริยบุคคลคือบุคคลชอบทำกรรมชั่ว ถึงแม้จะบวชในพระศาสนาแล้ว ก็ยังทำชั่วอยู่นั่นเองเรื่องนี้ ทุกคนคงได้ยินเรื่องพระทำผิดมามาก ทั้งที่ได้อ่านตามหนังพิมพ์ทั้งที่ได้ยินมาจากผู้อื่น)

บุญวาสนาไม่ใช่อภินิหารแต่สามารถอธิบายด้วยหลักเหตุผลได้ดังนี้ คนที่จิตสั่งสมแต่บาปหรือความชั่ว จะทำให้ใจมืดมัว กิเลสต่างๆ เข้ายึดครองใจได้ง่าย ทำให้เกิดผลร้ายต่อตนเอง เช่นเวลาโกรธจัด ความโกรธเข้ายึดครองใจ ทำให้หัวใจเต้นแรงผิดปกติระบบสูบฉีดเลือดผันแปร โลหิตมีการเผาไหม้มากเกิดอาการร้อนผ่าวตั้งแต่หน้าอกจรดใบหน้า ความร้อนจะทำให้ผิวหยาบกร้านไม่มีน้ำมีนวล เกิดความเครียดคนโกรธง่าย จึงเป็นคนเจ้าทุกข์หงุดหงิด พูดจาห้วนแบบมะนาวไม่มีน้ำ เวลาโกรธจะขาดสติคิดอ่านการใดก็ผิดพลาดได้ง่าย

ส่วนคนที่จิตสั่งสมแต่บุญหรือความดี จะทำให้ใจผ่องใสอยู่เป็นปกติกิเลสต่างๆ เข้ายึดครองใจได้ยาก เพราะมีสติคอยควบคุมใจไว้ สามารถสอนตนเอง และตักเตือนตนเองไม่ให้ทำความชั่วได้จึงมีจิตใจที่สงบเยือกเย็น สดชื่น ผ่องใส ระบบการทำงานของร่างกายก็เป็นปกติมีผิวพรรณงาม เสียงไพเราะ กิริยาน่ารัก คิดอ่านการใดก็แจ่มใส ส่งผลให้มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิตได้ง่าย

เมื่อทราบว่าการทำบุญเป็นการสั่งสมความดีไว้เพื่อตนเองแล้วเราจึงไม่ควรประมาทในการใช้กายทำบุญ ควรทำบุญเท่าที่กำลังความสามารถจะอำนวยผู้ที่ได้สั่งสมบุญมาดีแล้ว คือ มีร่างกายสมบูรณ์ มีฐานะดี แต่เพิกเฉยในการทำบุญเพิ่มเปรียบเสมือนชาวนาที่เก็บเกี่ยวผลิตผลแล้วแจกจ่ายขายกินหมดไม่เหลือไว้ทำพันธุ์ต่อไปภายหน้าเลย เขาย่อมเดือดร้อนในฤดูกาลทำนาครั้งต่อไป ความดีทุกอย่างที่เราทำไว้แม้จะไม่ให้ผลในปัจจุบันทันตา ก็ไม่สูญเปล่าความดีเหล่านั้นจะรวมกันเข้าปรุงแต่งจิตใจให้ดีขึ้นและยังเป็นต้นทุนไปยังอนาคตชาติด้วย สิ่งนี้แหละคือ บุญวาสนา ดังนั้น เราจึงควรเร่งสร้างความดีเสียแต่บัดนี้โดยหมั่นศึกษาวิชาการ ฝึกฝนตนเองทั้งทางด้านการปรับปรุงคำพูด ความขยันขันแข็งทำการงานให้ดีขึ้น และพยายามฝึกใจให้ผ่องใส ด้วยการหมั่นทำทาน รักษาศีลเจริญภาวนาอย่างสม่ำเสมอ คนเช่นนี้จึงเป็นคนมีบุญวาสนาที่แท้จริงอานิสงค์ของการที่ได้เคยทำบุญเอาไว้ก่อนนั้น มีดังต่อไปนี้คือ มีมงคลอยู่กับตัว เพราะบุญคอยค้ำชูชีวิตไม่ให้ตกอยู่ในสภาพที่เลวร้ายทำให้ถึงพร้อมด้วยปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต มีความสุขอันเกิดแต่ผลบุญสามารถเผชิญกับปัญหาชีวิตได้ดีเพราะมีบุญคอยเกื้อหนุนและเป็นเสบียงทั้งในชาตินี้ทั้งในชาติหน้า เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสว่าการเคยทำบุญไว้ก่อนเป็นมงคลสูงสุดในชีวิต ( เรื่องนี้ ขอเราอธิบายแค่นี้นะหลายแผ่นแล้ว กลัวจะอัพไม่หมดจิ )

สรุปความ ปัญหาว่า เครื่องมือทำกรรมคืออะไร?ตอบว่า คือร่างกายของเรานี่เอง ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ตอนใด กายทำกรรมที่น่ากลัวที่สุด?ตอบว่าตอนที่มีดวงจิตสั่งการด้วยอำนาจความโกรธ ความโลภ ความหลงเป็นต้นฯ ถามว่า บรรดากาลทั้งสามคือ อดีตกาล ปัจจุบันกาล อนาคตกาล กายทำกรรมตอนใด น่ากลัวที่สุด? ตอบว่า ในอนาคตกาลน่ากลัวที่สุดเพราะเป็นการกระทำโดยมีการวางแผนไว้ก่อน

เอกมฺปิ ปาปํ กโรติ ปาโปเยวาติวุจฺจติ.

บุคคลทำความชั่วแม้ครั้งเดียวเขาก็เรียกว่าคนชั่วเหมือนกัน

บรรยายโดย...ปีศาจน้อยจอมซน..(คืนฝันปีศาจน้อย)

*หมายเหตุ วันนี้เป็นวันพระขอให้บุญรักษาทุกท่าน




 

Create Date : 17 กุมภาพันธ์ 2558
16 comments
Last Update : 17 กุมภาพันธ์ 2558 13:14:33 น.
Counter : 5737 Pageviews.

 

คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ คืนฝันปีศาจน้อย เรียบร้อยแล้วนะคะ

คุณเหลือ อีก 7 ดวง สำหรับวันนี้ค่ะ


สีนี้สิ เหมาะกับคุงผี สอบเป็นอย่างไรบ้าง? มีสิทธิ์กินแห้วอีกไหม5555

 

โดย: ญามี่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 13:30:23 น.  

 

คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ คืนฝันปีศาจน้อย เรียบร้อยแล้วนะคะ

คุณเหลือ อีก 1 ดวง สำหรับวันนี้ค่ะ


 

โดย: ญามี่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 8:25:12 น.  

 

จะพยายามเติมจนมันอ้วนๆนาคุงผี555เหลืออีกไม่กี่วันไม่รู้ทันไหมสิ


คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ คืนฝันปีศาจน้อย เรียบร้อยแล้วนะคะ

คุณเหลือ อีก 4 ดวง สำหรับวันนี้ค่ะ

 

โดย: ญามี่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 16:39:02 น.  

 

คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ คืนฝันปีศาจน้อย เรียบร้อยแล้วนะคะ

คุณเหลือ อีก 1 ดวง สำหรับวันนี้ค่ะ


 

โดย: ญามี่ 21 กุมภาพันธ์ 2558 7:25:18 น.  

 

คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ คืนฝันปีศาจน้อย เรียบร้อยแล้วนะคะ

คุณเหลือ อีก 6 ดวง สำหรับวันนี้ค่ะ

 

โดย: ญามี่ 22 กุมภาพันธ์ 2558 17:43:35 น.  

 

มาส่งหัวใจจ้า

คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ คืนฝันปีศาจน้อย เรียบร้อยแล้วนะคะ

คุณเหลือ อีก 8 ดวง สำหรับวันนี้ค่ะ

 

โดย: ญามี่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 5:48:00 น.  

 

คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ คืนฝันปีศาจน้อย เรียบร้อยแล้วนะคะ

คุณเหลือ อีก 3 ดวง สำหรับวันนี้ค่ะ

 

โดย: ญามี่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 17:10:38 น.  

 

คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ คืนฝันปีศาจน้อย เรียบร้อยแล้วนะคะ

คุณเหลือ อีก 4 ดวง สำหรับวันนี้ค่ะ

 

โดย: ญามี่ 25 กุมภาพันธ์ 2558 13:12:16 น.  

 

คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ คืนฝันปีศาจน้อย เรียบร้อยแล้วนะคะ

คุณเหลือ อีก 4 ดวง สำหรับวันนี้ค่ะ

 

โดย: ญามี่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 9:23:11 น.  

 

เล่นได้อีกวันเองสิคุงผี แหมสงกรานต์น่าจะมีอะไรเล่นบ้างนะ5555

คุณได้ทำการแปะ ให้กับคุณ คืนฝันปีศาจน้อย เรียบร้อยแล้วนะคะ

คุณเหลือ อีก 6 ดวง สำหรับวันนี้ค่ะ

 

โดย: ญามี่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 8:42:22 น.  

 

สวัสดีต้นเดือนที่เหงาๆค่ะคุงผี อิอิ


 

โดย: ญามี่ 3 มีนาคม 2558 11:43:34 น.  

 

ก็ยังดีนา คุงผีมีวิชาต่อสู้กับโรคแห้วแล้ว ครั้งนี้คงไม่ป่วยอีกนา

 

โดย: ญามี่ 12 มีนาคม 2558 11:43:13 น.  

 

ลืมไปสุขภาพตอนนี้ไปถึงไหนแล้วคุงผี พูดได้หรือยัง?

สวัสดีค่ะ วันเริ่มหนาวเย็น
เพราะฝนมาตอนอากาศยังไม่ร้อนค่ะ


 

โดย: ญามี่ 14 มีนาคม 2558 14:18:53 น.  

 

คุงผีเคยดูหมอปลาไหม?

รายการมือปราบสัมภเวสีน่ะ

แล้วเคยมีคนมาใช้พระช่วยไหม?5555อยากกินเผือกสิ

 

โดย: ญามี่ 24 มิถุนายน 2558 19:43:46 น.  

 

สวัสดีค่ะคุงผี

มี่ก็เปลี่ยนงานใหม่ค่ะ ต้องหาเงินช่วยยายใช้หนี้อีก 1แสน จ่ายผ่อนกับธนาคาร 2ปี แย่ตรงต้องจ่ายทุกวันที่30 แต่เงินเดือนมี่ออกทุกวันที่6 จ่ายถึง75,00 เหรียญ แต่มี่มีเงินจากงานใหม่แค่ 11,000 เหรียญเอง(ภาคลงสนามไม่ได้เจอคอมเลย18ชั่วโมง) เลยเข้าบล็อกน้อยมาก แล้วยังจ่ายค่าเช่าห้องอีก 15,00 เหรียญ

ทำให้ต้องขยันหาเงิน-งานก่อน ไม่ค่อยเข้าเล่นจิ55555 จะเลิกก็ไม่มีที่เขียนปล่อยอารมณ์เลย (ยายผ่าตัดหัวใจรั่วจิ)ตอนนี้แค่พักผ่อนเฉยๆ (เล่นไพ่บ้างนิดหน่อยเองจิ5555)
ขอให้คุงผีสอบผ่านนา หวังมานาน แบบข้าวคอยฝนเลยใช่ไหม?

 

โดย: ญามี่ 14 เมษายน 2559 8:05:34 น.  

 

555มี่ก็นานๆเข้ามาทีจิ พักนี้งานเยอะมันเหนื่อยจนอยากนอนมากว่ามาเล่นสิ

 

โดย: ญามี่ 11 มิถุนายน 2560 21:48:11 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


คืนฝันปีศาจน้อย
Location :
สมุทรสาคร Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




web stats
free counters
Friends' blogs
[Add คืนฝันปีศาจน้อย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.