Group Blog
 
<<
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
27 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
ภาพสกุล RAW ต่างกับ jpeg ยังไงน๊อ...













กล้องถ่ายภาพดิจิตอลสามารถบันทึกเป็นไฟล์ภาพได้หลายรูปแบบ การเลือกใช้ไฟล์ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ในแต่ละไฟล์มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน การบันทึกไฟล์สำหรับการถ่ายภาพนิ่งมีอยู่ 3 ชนิด คือ Jpeg, Tiff และ Raw




Jpeg / Tiff / Raw




JPEG (Join Photographic Experts Group) เป็น ไฟล์บันทึกภาพที่กล้องดิจิตอลทุกรุ่นสามารถบันทึกได้ เป็นไฟล์รูปภาพที่นิยมกันมาก สามารถบีบอัดไฟล์ประเภทรูปภาพให้มีขนาดเล็กลงได้มาก เช่น กล้องดิจิตอลที่ถ่ายภาพได้ 3.2 ล้านพิกเซล บันทึกเป็นไฟล์ภาพ Jpeg จะมีขนาดประมาณ 1 MB ถ้าใช้การ์ด 64 MB สามารถบันทึกได้ประมาณ 60 รูป แต่การที่ Jpeg สามารถบีบอัดรูปให้มีขนาดไฟล์เล็กลงนั้น ทำให้คุณภาพลดลงตามไปด้วย เพราะ Jpeg ใช้เทคโนโลยี Lossy Compression ซึ่งเป็นการบีบอัดไฟล์ที่ยอมให้มีการสูญเสียคุณภาพได้ตามที่กำหนด







การบันทึกภาพด้วยไฟล์ Jpeg สามารถกำหนดค่าการบีบอัดไฟล์ได้หลายระดับ โดยทั่วไปกล้องดิจิตอลสามารถเลือกได้ 3 ระดับ คือ Fine, Normal, Low การเลือกแบบ Fine ภาพจะมีคุณภาพสูงสุด แต่ไฟล์มีขนาดใหญ่ ถ้าเลือกไฟล์ที่มีขนาดเล็กแบบ Low ความละเอียดมีน้อย ขยายภาพใหญ่ไม่ได้ สามารถบันทึกภาพได้เป็นจำนวนมาก แต่ภาพที่ได้จะสูญเสียรายละเอียดไปมาก

ควรเลือกบันทึกไฟล์ Jpeg ในโหมด Fine เพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีที่สุด สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย และเป็นการใช้ประสิทธิภาพของกล้องอย่างคุ้มค่า







การบันทึกภาพแบบ Jpeg แล้วนำไปแก้ไขด้วยโปรแกรมการตกแต่งภาพ Photoshop ควรเซฟไฟล์เป็นไฟล์ใหม่ โดยเลือกคำสั่ง Save As ไม่ ควรเซฟทับไฟล์เดิมเพราะจำทำให้คุณภาพของภาพลดลง หากเซฟทับไฟล์เดิมบ่อยๆ ก็ยิ่งทำให้คุณภาพลดลงมากเท่านั้น หรือแม้แต่การหมุนภาพกลับไป กลับมา ก็ทำให้คุณภาพลดลงได้เช่นกัน ดังนั้นควรตัดสินใจให้แน่ก่อนลงมือทำ





Tiff (Tagged Image File Format) เป็น รูปแบบการบันทึกไฟล์ภาพคุณภาพสูงไม่สูญเสียคุณภาพของภาพขณะบันทึก เหมาะสำหรับการทำงานกับรูปภาพที่มีขนาดใหญ่เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ กล้องดิจิตอลระดับกลางขึ้นไปเท่านั้นที่สามารถบันทึกไฟล์ Tiff ได้ ข้อดีของไฟล์ Tiff คือ สามารถบันทึกภาพได้ด้วยคุณภาพสูง เก็บข้อมูลและรายละเอียดไป แม้ว่าจะนำไปแก้ไขในโปรแกรม Photoshop แล้ว บันทึกซ้ำก็ไม่สูญเสียข้อมูลและรายละเอียดไป แต่ไฟล์ที่ได้มีขนาดใหญ่มาก เช่น ภาพถ่ายจากล้องดิจิตอล 3.2 ล้านพิกเซลหากเซฟเป็นไฟล์ Tiff จะมีขนาดเกือบ 10 MB ทำให้ไม่เป็นที่นิยมกันมากนัก เพราะเป็นไฟล์ขนาดใหญ่และใช้เวลาในการบันทึกนานเกินไป







ในปัจจุบันเริ่มมีกล้องระดับกลางที่มีคุณสมบัติบันทึกไฟล์ Tiff ได้บ้าง แต่ในความเป็นจริงในการใช้งานทั่วๆ ไป โอกาสที่จะใช้ไฟล์ Tiffบันทึก ภาพมีน้อยมาก หรือไม่จำเป็นต้องใช้เลย เพราะทำงานได้ช้ามาก เปลืองเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลอย่างมาก เหมาะสำหรับงานถ่ายภาพในสตูดิโอเท่านั้น






Raw เป็นการบันทึกข้อมูลภาพที่แตกต่างไปจากไฟล์ Jpeg และ Tiff เนื่อง จากไฟล์ทั้งสองแบบนั้นเป็นการประมวลผลจากเซ็นเซอร์ในตัวกล้อง แล้วเปลี่ยนเป็นข้อมูลในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ สำหรับการบันทึกไฟล์แบบ Raw เป็นข้อมูลดิบ ที่ไม่ผ่านกระบวนการแปลงข้อมูลใดๆ แต่จะเป็นข้อมูลจากกล้องดิจิตอลโดยตรง ไม่มีการปรับความคมชัด การปรับค่าสี หรือแม้แต่การลบรอยใดๆ ภาพที่ได้จึงมีคุณภาพสูง ไฟล์มีขนาดเล็กกว่า Tiff ใช้เวลาในการบันทึกไฟล์รวดเร็วกว่า Tiff แต่ไฟล์ Raw เป็นข้อมูลดิบ คอมพิวเตอร์ไม่สามารถอ่านได้โดยตรงต้องใช้โปรแกรมเฉพาะ เช่น Capture One DSLR และ Camera Raw & Jpeg 2000 Plug-in เพื่ออ่านข้อมูลภาพแล้วจึงบันทึกเป็นไฟล์ที่ต้องการในเครื่องคอมพิวเตอร์ภายหลัง





การใช้ไฟล์ Raw เป็น เรื่องค่อนข้างยากมากสำหรับผู้เริ่มต้น หรือแม้แต่มืออาชีพบางคนยังใช้ไม่ค่อยถนัดนัก เพราะไฟล์ภาพแบบนี้เปรียบเสมือนฟิล์มที่ยังไม่ได้ล้าง/อัด/ขยาย ผู้ใช้ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องอุณหภูมิสี แสง และความชำนาญในการใช้โปรแกรมสูง จึงจะได้ภาพที่คุณภาพสูงได้ แต่ถ้ามีความเข้าใจในการบันทึกภาพด้วยไฟล์ Raw แล้วจะพบว่า เป็นไฟล์ที่มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพสูงมาก











การจัดเตรียมไฟล์บนกล้องดิจิตอล

การ ถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลนั้น สำหรับผู้ที่จริงจัง การจัดการกับไฟล์ดิจิตอลนั้นถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นอยู่พอสมควร จะให้ดีทำเองให้เป็นจะดีกว่าครับ โดยวันนี้ผมจะมาพูดเรื่องพื้นๆ ให้มือใหม่ หรือคนไม่เคยใช้กล้องดิจิตอลมาก่อนได้คุ้นเคยกับระบบเสียก่อนที่ ว่าแล้ว เอาเลยดีกว่าครับ

การ ถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลนั้น ภาพจะออกมาเป็นไฟล์ โดยกล้องแบบธรรมดาทั่วไปจะสามารถถ่ายภาพออกมาเป็นไฟล์ JPEG และกล้องอย่าง D-SLR นั้นนอกจากจะถ่ายภาพจาก JPEG ไฟล์ได้แล้ว ตัวกล้องจะสามารถถ่ายภาพเป็นแบบ RAW ไฟล์ หรือไฟล์ที่เป็นข้อมูลดิบ (raw) ได้ ซึ่งไฟล์ทั้งสองแบบนั้นแตกต่างกันอย่างไรบ้าง???






1. JPEG ไฟล์นั้นเป็นไฟล์ที่เรียกได้ว่า เป็นไฟล์สำเร็จ หรืออยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการถ่ายภาพแล้ว เรียกว่า ถ่ายมาอาจจะนำภาพไปอัดเป็นรูป หรือว่าจะเอามาปรับแต่งอะไรแค่นิดหน่อย ไม่มากมายนัก และไม่ได้หวังผลในด้านจะจัดการภาพต่อไปแต่อย่างใด เราก็ควรจะเลือกถ่ายภาพด้วยไฟล์แบบนี้
2. RAW สำหรับนิคอนแล้วเขาจะเรียกว่า NEF หรือ Nikon Electronic File ซึ่งเป็นไฟล์ดิบจากกล้อง ไฟล์ในแบบนี้จะสามารถปรับแต่งได้มาก ให้คุณภาพที่สูง แต่จะมีขนาดไฟล์ใหญ่ และประมวลผลได้ช้ากว่า สิ้นเปลืองแบตเตอร์รี่ของกล้องมากกว่าการถ่ายภาพเป็นไฟล์แบบ JPEG แต่สำหรับผู้ที่จริงจังกับการถ่ายภาพแล้วจะเลือกถ่ายภาพเป็นแบบ RAW ทุกคน





แล้วถามว่าเราจะถ่ายภาพด้วยไฟล์แบบไหนดี?

คำตอบ คุณก็คงต้องเป็นคนใช้ความคิดตรงนี้แล้วหล่ะ ผมจะแนะนำให้นิดหน่อย คือ แรกๆ ให้ถ่ายเป็น RAW + JPEG เพื่อไว้ก่อนเลย แล้วก็ลองใช้ประสบการณ์ของตัวเอง คือ ทดลองทำด้วยตัวเอง แล้วคุณจะได้คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับตัวคุณเอง

พอเรารู้จักกับไฟล์ดิจิตอลแล้ว เราลองมาดูสิ่งที่ใช้จัดเก็บมันเป็นอันดับต่อไป ก็คือ การ์ดหน่วยความจำ หรือที่เรียกกันติดปากว่า "เมมโมรี่ การ์ด" (Memory Card) หน่ะเอง เจ้าการ์ดนี้ถ้าเล่น Nikon เราต้องทำความรู้จักกับการ์ดเพียงสองอย่าง คือ






1. CF card หรือ ซีเอฟ การ์ด (CF : Compact Flash) การ์ดชนิดนี้นิยมใช้กันในกล้องระดับโปรฯ เพราะรุ่นท็อปสุดจะมีความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลที่สูงกว่าการ์ดอีกประเภท มาก
2. SD card หรือ เอสดี การ์ด (SD : Secure Digital) เป็นการ์ดที่นิยมใช้กันมากในกล้องดิจิตอลคอมแพค ปัจจุบันนิคอนนำมาใช้กับกล้องรุ่นเล็กอย่าง D40, D40X, D60 และ D80 แล้ว SD card นั้นดูแล้วภาษีดีกว่า CF หลายด้าน เช่น ราคาถูก, ทนกว่า, ขนาดเล็กกว่า แต่ SD การ์ดนั้นจะมีสองชนิด คือ SD ธรรมดา และ SDHC การ์ด SD ทั้งสองชนิดนี้จะมีหน้าตาภายนอกเหมือนกัน โดยการ์ด SDHC จะมีความจุเริ่มต้นตั้งแต่ 4GB ขึ้นไป และไม่สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์ที่ไม่สนับสนุนได้ (เช่น D50 จะไม่สามารถใช้ SDHC ได้)

note : กล้องที่ใช้ SD card สามารถนำ MMC card มาใช้ได้







การ์ด หน่วยความจำจะเป็นส่วนที่เก็บภาพทั้งหมดที่เราถ่ายจากกล้อง โดยเมื่อเราจะนำภาพไปอัดที่ร้าน เราก็จะสามารถนำการ์ดไปที่ร้าน และเลือกรูปที่ต้องการจะอัดภาพได้เลย เพียงแต่ว่าปัจจุบัน ถ้าหากเป็นไปได้ ผมแนะนำให้เขียนใส่แผ่น CD-RW จะดีกว่า เพราะเครื่องที่ร้านนั้นเป็นเครื่องสาธารณะ ดังนั้น จึงมีโอกาสที่จะติดไวรัสมาจากเครื่องที่ร้าน ไวรัสบางชนิดจะสามารถทำลายข้อมูลภาพทั้งหมดของเราได้ และไม่สามารถกู้คืนไม่ว่าจะวิธีใดก็ตาม (เคยโดนกับตัวมาแล้วครั้งนึง)

วิธี ป้องกันที่ดูตลกๆ หน่อย อีกวิธีก็คือ เลือกร้านที่ไม่ได้ใช้ระบบปฎิบัติการแบบ Windows เช่น Mac หรือ Linux ไปเลย รับรองไม่เจอไวรัสครับ (ฮา)





ส่วนการนำข้อมูลออกจากกล้องถ่ายภาพนั้น ทำได้สองวิธี คือ

1. ใช้สาย USB ต่อกับกล้อง
2. ใช้เครื่องอ่านข้อมูลจากการ์ดหน่วยความจำ (Card reader)

วิธี แรกนั้นผมไม่แนะนำถ้าบ้านของคุณไฟตก หรือไฟกระชากบ่อยๆ เพราะไฟตก หรือไฟกระชาก อาจจะทำให้กล้องเสียหายได้ แต่ถ้าไฟที่บ้านคุณดีไม่มีปัญหา ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้การ์ดรีดเดอร์แต่อย่างใดครับ

ข้อควรระวังสำหรับการซื้อการ์ดรีดเดอร์ คือ อย่าซื้อการ์ดรีดเดอร์ที่ใช้งานกับ SDHC ไม่ได้ อิอิ






-----------------------------------------------------




สำหรับ Nikon


RAW เป็นไฟล์ (file) ชนิดหนึ่ง นิยามถึงความหมายของคำว่า "ไฟล์" นั้นคือ หนึ่งในกระบวนการดิจิตอล เพื่อเก็บข้อมูล หรือชุดคำสั่งไว้เป็นกลุ่มกลุ่มหนึ่ง ซึ่งไฟล์จะไม่มีการเสื่อมสลายหรือลดทอนลงทางด้านคุณภาพจากการเก็บรักษาเป็น ระยะเวลานาน หากไม่ได้รับการกระทำใดๆ จากมนุษย์ แต่อาจจะเสียหายได้จากการหมดอายุการใช้งานของวัสดุ, หรือเกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ทางด้านดิจิตอลที่ใช้บันทึกไฟล์นั้นๆ ดังนั้น เราควรจะศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานทางด้านวัสดุอุปกรณ์ดิจิตอลในเบื้องต้นด้วย เช่น เรื่องสื่อบันทึกข้อมูล






RAW files นั้นคือไฟล์ข้อมูลภาพทั้งหมดจากที่กล้องทำได้ แล้วนำมาบันทึกเป็นไฟล์ภาพแต่ไม่ใช่ไฟล์ภาพจริงๆ ดังนั้น ไฟล์ที่ได้จึงมีข้อได้เปรียบหลายอย่าง เช่น เมื่อเทียบกับไฟล์นามสกุล JPG หรือไฟล์แบบ JPEG (Joint Photographic Experts Group) แล้วมันมีความคมชัดที่สูงกว่าเพราะไม่มีการบีบอัดใดๆ และมีขนาดไฟล์ที่เล็กกว่าไฟล์แบบ TIFF (TIFF คือไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น TIF โดยย่อมาจาก Tagged Image File Format) โดย RAW ไฟล์นั้นจะปรากฎเป็นภาพได้ก็ต่อเมื่อใช้กล้องหรืออุปกรณ์อ่านไฟล์ที่เข้าใจ พื้นฐานของไฟล์ RAW ตัวนั้นๆ หรือเมื่อใช้งานกับคอมพิวเตอร์แล้วเราต้องใช้กับซอฟท์แวร์ที่สนับสนุน RAW ตัวนั้น ไม่เช่นนั้นเราจะไม่สามารถดูหรือแก้ไขภาพจาก RAW ไฟล์ได้ หรือได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ

และนี่คือตัวอย่างผลจากการปรับ Picture Control ด้วย Nikon View NX





ไฟล์จากกล้อง Nikon D40X เลนส์ 18-200VR

ด้วย ความที่ RAW นั้นยังไม่ได้เป็นไฟล์ภาพ ดังนั้นถ้าหากเรามีซอฟท์แวร์หรือมีกล้องที่สนับสนุน เราจะสามารถปรับแต่งโครงสร้างของไฟล์ได้มาก โดยที่ภาพนั้นถูกลดทอนคุณภาพลงน้อยกว่าไฟล์ภาพแบบอื่นๆ เช่น การปรับเปลี่ยนรูปแบบของภาพ อย่างของ Nikon จะเรียกว่า Picture Control โดยที่ระบบ Picture Control นั้นจะเปลี่ยนสีสัน ความเปรียบต่างของภาพไป เช่น Standard ก็สำหรับการถ่ายภาพเพื่อใช้งานทั่วๆ ไป, Neutral สำหรับการถ่ายภาพที่ต้องการสีสันที่เป็นกลาง, Vivid สำหรับสีสันที่ฉูดฉาดรุนแรง และอื่นๆ อีกมากมายที่จะสามารถเลือกปรับแต่ง Picture Control ได้ผ่านทางกล้องถ่ายภาพและซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ Nikon ยังมี Picture Control สำเร็จรูปให้ดาวน์โหลดอีกด้วย โดยสามารถดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้ที่ //nikonimglib.com/opc/

นอก จากนี้ สิ่งที่ RAW นั้นจะทำได้ก็คือ การปรับเปลี่ยนสมดุลย์แสง หรือ White Balance ซึ่งหากเราเข้าใจกระบวนการตรงนี้เราจะสามารถสร้างสรรค์ภาพได้มากมาย ไม่ใช่แค่ที่ผมนำมาโชว์ข้างล่าง





ไฟล์จากกล้อง Nikon D40X เลนส์ 18-200VR

แต่ จริงๆ การปรับตั้ง White balance ให้ถูกต้อง นอกจากจะมีผลเรื่องสีสันของภาพแล้ว มันยังมีผลต่อความเปรียบต่าง และรายละเอียดในส่วนมืด ส่วนสว่างของภาพด้วย เพราถ้าหากเราตั้ง WB ไม่ตรง เราอาจจะเสียส่วนมืด และส่วนสว่างในภาพไปโดยไม่จำเป็น

โดย RAW ของทาง Nikon นั้นมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า NEF หรือ Nikon Electronic Format ซึ่ง NEF ของกล้องแต่ละตัวนั้นก็มีความแตกต่างกันไป NEF จากกล้องรุ่นใหม่ บางครั้งเราจะไม่สามารถใช้โปรแกรมรุ่นเก่าๆ เปิดได้ หรือต้องใช้การปรับแต่งเพิ่มเติม ซึ่งกระบวนการนี้ขึ้นอยู่กับซอฟท์แวร์ที่เราใช้งาน แต่สำหรับ RAW ไฟล์ของกล้องรุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันแล้ว สำหรับผมแนะนำให้ใช้โปรแกรมที่พัฒนาโดย Nikon เองจะให้ผลดีที่สุด

อีกอย่างที่สำคัญ คือ RAW ยังไม่ได้ฝังโปรไฟล์ลงในภาพ

สุดท้ายผลกำไรที่ไม่ค่อยจะได้ใช้ แต่จะได้จากถ่ายเป็น RAW ก็คือ "ความคมชัด"





ภาพตัวอย่างโดย Nikon D300 ISO-800, AF 28 f1.4D f/4 1/100 เนื่องจากผมไปเที่ยวจึงไม่ได้พกขาตั้งกล้อง



ดัง ภาพ ผมแบ่งภาพแบบเปรียบเทียบ NEF + JPEG Fine ภาพแถวบน คือ ภาพที่ตัดส่วนจาก NEF ส่วนภาพแถวล่าง คือ ภาพที่ตัดส่วนมาจาก JPEG ของกล้องเอง นอกจากนี้ตัวไฟล์ NEF ยังสามารถปรับแต่งเรื่องความคมชัดของภาพได้โดยไม่ลดทอนความรายละเอียดของภาพ จนไม่สามารถแก้ไขได้ในภายหลังอีกด้วย และการมีจำนวนพิคเซลที่สูงกว่าแต่ภาพขาดความคมชัด นั้นหมายความว่า???

ชนิดของ NEF ไฟล์ อย่างย่อ
แบ่งตามการบีบอัด

* NEF Uncompress
* NEF Lossless Compress
* NEF Compress

แบ่งตาม bit

* 12-bit
* 14-bit





โดย ไฟล์แบบ Compressed นั้นจะมีขนาดเล็กกว่า เพราะถูกบีบอัดข้อมูลมา แต่จะมีข้อเสียที่ว่าถ้านำมาเปิดด้วยคอมพิวเตอร์ ไฟล์แบบบีบอัดนั้นมันจะประมวลผลได้ช้ากว่าไฟล์แบบ Uncompress ซึ่งปัจจุบันนั้นความเร็วของคอมพิวเตอร์นั้นไม่ได้เป็นปัญหากับเรื่องนี้สัก เท่าไหร่นัก และคุณภาพจะด้อยกว่าเล็กน้อย ส่วนไฟล์แบบ 12 และ 14 bit นั้นก็จะต่างกันที่ค่าความลึกของสี โดยไฟล์ที่มี bit มากกว่าก็จะสามารถเก็บรายละเอียดในเรื่องของสีและแสงเงาได้ดีกว่าไฟล์ที่มี จำนวนบิทน้อยกว่า สิ่งนี้ถือว่ามีความจำเป็นมากสำหรับผู้ที่ชอบปรับแต่งภาพแบบที่คนธรรมดาเขา ไม่ทำกัน

อ้อ JPEG = 8-bit






ส่วน การถ่าย NEF นั้นผมแนะนำว่า ถ้าไม่ได้มีความจำเป็น จริงๆ เราไม่ต้องถ่ายก็ได้ เพราะว่าสิ้นเปลืองและถึงแม้ว่า NEF นั้นจะสามารถปรับแต่งได้มาก เราก็ควรจะถ่ายภาพมาให้ดีที่สุด เท่าที่เราจะสามารถทำได้ เนื่องจากคุณภาพของไฟล์นั้นจะสูงแค่ไหนขึ้นอยู่กับการตัดสินใจก่อนการกด ชัตเตอร์เท่านั้น และ JPEG ก็ให้คุณภาพที่เพียงพอกับการใช้งานทั่วๆ ไปแล้ว เพียงแต่ว่าเราสามารถเพิ่มความเพลิดเพลินและเรียนรู้การถ่ายภาพจาก NEF ได้มากกว่า JPEG ซึ่งพูดไปก็ไม่จบสิ้นครับ

อีก อย่างหนึ่งที่สำคัญแต่ผมไม่อยากพูดถึง คือ RAW นั้นสามารถรองรับความผิดพลาดของช่างภาพได้มากกว่าการถ่ายเป็น JPG แต่แน่นอนหล่ะ ว่าถ้าคิดจะถ่ายมาแก้อย่างเดียวมันก็ไม่ช่วยให้เราถ่ายภาพได้เก่งขึ้นเท่า ไหร่ (จะหนักไปทางแต่งภาพเก่งเสียมากกว่า, ฮา)

ว่าแต่ข้อดีไปแล้ว เอาข้อเสียของการถ่าย RAW ไฟล์บ้าง...

1. กล้องทำงานช้าลง ยิ่งรุ่นเล็กยิ่งช้าลงมากเมื่อเทียบกับการถ่าย JPEG
2. ถ่ายภาพต่อเนื่องได้น้อยกว่า JPEG
3. เปลืองเมมโมรี่
4. เปลืองแบตเตอร์รี่ ไม่เชื่อลองดู
5. อาจจะมีงานให้ทำหลังถ่ายภาพเสร็จ เหอ เหอ เหอ






--------------------------------------------------------------



สำหรับ Canon


RAW เป็นชื่อของรูปแบบการจัดเก็บไฟล์ภาพที่ได้จากการบันทึกข้อมูลของภาพผ่านทาง ตัวเซ็นเซอร์ของกล้องโดยที่ไม่ผ่านการประมวลผลใดๆ สาเหตุที่ไฟล์ภาพนี้มีชื่อว่า "RAW" เป็นเพราะว่าไฟล์ภาพดังกล่าวนี้เป็นไฟล์ข้อมูลดิบ โดยไฟล์ภาพแบบ RAW จะมีขนาดไฟล์ใหญ่กว่าแบบ JPEG ซึ่งการจัดการไฟล์ RAW บนคอมพิวเตอร์นั้นต้องอาศัยซอฟท์แวร์การทำงานแบบพิเศษสำหรับไฟล์ภาพ RAW โดยเฉพาะ
เมื่อท่านใช้กล้องดิจิตอลที่มีการจัดเก็บรูปแบบไฟล์ภาพแบบ JPEG ข้อมูลของภาพจะถูกประมวลผลในกล้องเพื่อปรับคุณภาพของภาพให้มีระดับที่เหมาะ สมสำหรับให้สามารถนำไปใช้งานได้ทันทีหลังจากที่ถูกดาวน์โหลดเข้าไปในเครื่อง คอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามข้อมูลภาพ JPEG นั้นจะมีคุณภาพด้อยลงเมื่อถูกแก้ไขหรือถูกจัดเก็บ ดังนั้นการจัดเก็บไฟล์ภาพแบบ JPEG อาจมีผลทำให้คุณภาพของภาพแย่ลงได้






ในทางกลับกัน ไฟล์ภาพ RAW จะถูกประมวลผลจากซอฟท์แวร์เฉพาะก่อนที่จะนำไฟล์ภาพไปใช้กับซอฟท์แวร์การ แก้ไขภาพ ในกรณีนี้จะช่วยให้ท่านสามารถจัดเก็บภาพถ่ายที่มีคุณภาพสูงได้ โดยสามารถทำการแก้ไขหรือจัดเก็บได้หลายครั้งตามต้องการ ไฟล์ภาพ RAW จะแสดงในรูปแบบของนามสกุล [.CR2] บนคอมพิวเตอร์

ข้อควรระวัง: ไม่สามารถทำการสั่งพิมพ์ภาพโดยตรง (Direct print) หรือการพิมพ์แบบ DPOF ได้ หากมีการตั้งค่ากล้องให้จัดเก็บไฟล์ภาพแบบ RAW
อย่างไรก็ตามการสั่งพิมพ์ภาพโดยตรง (Direct print) หรือการพิมพ์แบบ DPOF นั้นสามารถใช้ได้กับรูปถ่ายที่มีการจัดเก็บไฟล์ภาพแบบ JPEG หากได้ทำการตั้งค่ากล้องให้จัดเก็บไฟล์ภาพแบบ RAW และ JPEG พร้อมกันในคราวเดียว






การใช้ไฟล์ภาพ sRAW
 
กล้องของท่านสามารถจัดเก็บไฟล์ภาพได้ทั้งแบบ RAW หรือ sRAW (small RAW) เมื่อ ทำการจัดเก็บไฟล์ภาพแบบ RAW ไฟล์ภาพ sRAW คือไฟล์ภาพที่มีขนาดหนึ่งในสี่ส่วนของไฟล์ RAW (ประมาณ 2.5 เมกะพิกเซล) ไฟล์ภาพ sRAW นั้นสามารถใช้งานได้เหมือนกับไฟล์ภาพแบบ RAW
ลักษณะของไฟล์ภาพ RAW และ sRAW มีดังต่อไปนี้




การใช้งานภาพถ่ายที่จัดเก็บในรูปแบบไฟล์ RAW บนเครื่องคอมพิวเตอร์
 
โปรแกรมที่ใช้ในการแก้ไขภาพส่วนใหญ่จะไม่สามารถเปิดไฟล์ภาพ RAW ได้ ซึ่งบางโปรแกรมนั้นจำเป็นต้องมีขั้นตอนในการประมวลผลเพื่อให้สามารถเปิดไฟล์ ภาพดังกล่าวได้ โดย “การประมวลผล” ในที่นี้หมายถึง การแปลงไฟล์ภาพ RAW ให้เป็นรูปแบบของไฟล์ที่เหมาะสม เช่น ไฟล์ภาพ JPEG เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถนำไฟล์ภาพนั้นไปใช้งานได้
เมื่อนำไฟล์ภาพ RAW ไปประมวลผลในคอมพิวเตอร์ ภาพจะถูกแปลงไปตามกระบวนการตั้งค่า (อย่างเช่น Picture Styles) ที่ได้กำหนดเอาไว้ในกล้องตอนถ่ายภาพ นอกจากนี้ ท่านยังสามารถแก้ไขภาพถ่ายโดยใช้โปรแกรมการแก้ไขและตกแต่งภาพ รวมถึงการตั้งค่าพารามิเตอร์ดังที่ได้อธิบายเอาไว้ข้างต้น
เมื่อไฟล์ภาพ RAW ถูกประมวลผล ไฟล์ใหม่จะถูกสร้างขึ้นเพิ่มจากไฟล์ภาพ RAW ที่เป็นไฟล์ต้นฉบับ แต่การแก้ไขนี้จะมีผลต่อภาพที่สร้างขึ้นใหม่เท่านั้นเพื่อให้ท่านยังสามารถ เก็บไฟล์ภาพ RAW ต้นฉบับเอาไว้ได้ ดังนั้นท่านจึงสามารถประมวลผลภาพได้เรื่อยๆจนกว่าท่านจะพอใจ
 
ในการประมวลผลไฟล์ภาพ RAW ท่านจำเป็นต้องใช้โปรแกรม Digital Photo Professional, ZoomBrowser EX (สำหรับ Windows) หรือ ImageBrowser (สำหรับ Macintosh)
การเลือกใช้งานซอฟท์แวร์นั้นขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ท่านใช้งานและจุดประสงค์ในการใช้งาน
สำหรับรายละเอียดของโปรแกรมการใช้งานต่างๆ ให้ท่านศึกษาในเอกสารที่แนบมา



* เมื่อใช้งานร่วมกับระบบ 32-บิต/64-บิต สำหรับทุกเวอร์ชั่นยกเว้น Starter Edition







โดยสรุป


RAW: เป็นชื่อชนิดไฟล์ภาพที่ได้จากการบันทึกข้อมูลของภาพผ่านเซ็นเซอร์ภาพ ของกล้องโดยไม่ผ่านการประมวลผลใดๆ สาเหตุที่ไฟล์ภาพนี้มีชื่อว่า "RAW" เพราะว่าไฟล์ภาพนี้เป็นไฟล์ดิบ ไฟล์ RAW จะมีขนาดของไฟล์ใหญ่กว่าไฟล์ JPEG นอกจากนี้ไฟล์ RAW ยังต้องอาศัยกระบวนการบางอย่างจากโปรแกรมเฉพาะสำหรับไฟล์ภาพ RAW หรือจากซอฟท์แวร์การแก้ไขภาพอีกด้วย

เมื่อ เราใช้กล้องดิจิตอลบันทึกภาพ JPEG ข้อมูลของภาพจะถูกประมวลผลในกล้องเพื่อปรับคุณภาพของภาพให้มีระดับที่เหมาะ สมสำหรับให้สามารถนำไปใช้ได้ทันทีหลังจากที่ถูกอิมพอร์ทเข้าไปในคอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตามข้อมูลภาพ JPEG จะเสื่อมลงไปทุกครั้งเมื่อถูกแก้ไขหรือถูกจัดเก็บ ดังนั้นการใช้ฟังก์ชั่นดังกล่าวบ่อยๆอาจทำให้คุณภาพของภาพแย่ลงได้






ในทางกลับกัน ไฟล์ภาพ RAW จะถูกประมวลผลจากซอฟท์แวร์ก่อนที่จะนำไฟล์ภาพไปใช้กับซอฟท์แวร์การแก้ไขภาพ เท่านั้น ในกรณีนี้ถ้าเราจะจัดเก็บภาพ คุณภาพของภาพก็จะไม่เสื่อมลง เราจึงสามารถแก้ไขและจัดเก็บภาพได้บ่อยครั้งเท่าที่เราพอใจ ไฟล์ภาพ RAW จากกล้องจะปรากฏบนคอมพิวเตอร์ในรูปของไฟล์นามสกุล [.CR2]

ข้อควรระวัง: ถ้าเราเลือกบันทึกเป็นไฟล์ RAW เราจะไม่สามารถตั้งค่าให้พิมพ์โดยตรงหรือพิมพ์แบบ DPOF ได้
อย่างไรก็ตามการตั้งค่าให้พิมพ์โดยตรงหรือพิมพ์แบบ DPOF สามารถใช้ได้กับไฟล์ภาพ JPEG เมื่อกล้องถูกตั้งค่าให้บันทึกทั้งไฟล์ภาพ RAW และ JPEG พร้อมกัน







การใช้ไฟล์ภาพ RAW บนคอมพิวเตอร์

บันทึกภาพด้วย raw format ให้เทียบก็พอจะเปรียบได้กับ ฟิล์ม เพราะภาพที่เข้ามาเป็น raw ก่อนจะนำไปใช้ก็ต้อง develop เช่นเดียวกับฟิล์มที่ต้องล้างก่อน แล้วถึงนำไปอัดภาพได้

ข้อดีของ raw ก็ดัง คห บนๆ ว่า เรายังสามารถปรับแต่งได้มากมาย ตั้้งแต่ ปรับ Histogram
Curve
Contrast
Exposure
๊USM (หรือ unsharp mask)
Distortion (ปรับแก้ distort) สำหรับบางระบบ
Color aberration (ปรับแก้ความคลาดสี) สำหรับบางระบบ
Vignet (เช่นใน camera raw ของ adobe)
color noise เพื่อช่วยลด moire pattern
White Balance / Neutralization
Temperature control

เป็นต้น

ประโยชน์ของ raw ก็ช่วยให้เราสามารถมีต้นฉบับไว้ปรับแก้ไขได้ตลอดเวลา
โดย ไม่ลดคุณภาพของภาพ สมมติลองเปิดไฟล์ภาพสักภาพบน photoshop แล้วเข้าไปดูที่ level จากนั้นให้ลองปรับอะไรก็ได้เช่น brightness หรืออะไรก็แล้วแต่ จากนั้นเข้าดูใน level อีกครั้ง จะเห็น histogram มีเส้นดรอปลงมาเป็นบั้งๆ การปรับแก้สีต่างๆถ้าทำบน raw file จะไม่เกิดปัญหานี้ หรือเกิดน้อยกว่า





raw file ส่วนมากมีจำนวน bit ต่อ channel สี มากกว่า เช่น
12 bit per channel
14 bit per channel
16 bit per channel
ลองนึกว่า ภาพต่างๆ จะมี 3 channel คือ Red Green Blue
อยากทราบว่าเราจะมีจำนวนสีมากเท่าไรที่ 12 bit per channel ก็เอา ไปคูณกัน 3 ที 12x12x12 =?
ในขณะที่ไฟล์ jpg เป็น แบบ 24 bit (8 bit per channel หรือ 8x8x8=?)

ความต่างก็จะเป็นในเรื่องของการไล่โทนสีจากสว่างมามืด อาจเรียกได้ว่า gradation ซึ่ง raw มีระดับมากกว่า jpg มาก

ส่วน อื่นคือเรื่อง การเสียคุณภาพเนื่องจากอัตราการบีบอัดของ jpg ที่สามารถบีบที่สูงสุดได้ถึง 100:1 (ขึ้นกับการเลือกระดับการบีบอัด) แต่ใน raw ส่วนมากเป็น lossless คุณภาพของภาพก็มาเต็มที่กว่า

raw จะมีขนาดใหญ่โตกว่า jpg มาก เปลืองเนื้อที่จัดเก็บ






ประโยชน์ของไฟล์ RAW กัน

- ภาพ RAW เสียรายละเอียดน้อยกว่าภาพ JPEG

เนื่องจากการจัดเก็บแบบ JPEG จะทำการบีบอัดข้อมูลทำให้ข้อมูลบางส่วนของภาพสูญหายไป

- ภาพ RAW สามารถปรับแต่งแสงและเงาได้ง่าย

ทำให้สามารถปรับแต่งรายละเอียดแสงและเงาเพื่อเพิ่มความลึกของรูปภาพ

- สามารถเลือกที่ใช้ sRGB หรือAdobe rgb ก็ได้

- ไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้องจำพวก contrast และ saturation

ซึ่งสามารถปรับได้ในภายหลัง (เพียงแค่จัดแสงและตั้งโฟกัสให้ถูกต้องเท่านั้นเอง)

รวมไปถึงพวกสมดุลสีขาวและพารามิเตอร์อื่นๆก็สามารถปรับได้ในภายหลังเช่นกัน

- ภาพแบบ RAW จะเก็บรายละเอียดไว้ทั้งหมด แต่ภาพแบบ JPEG จะทิ้งบางส่วนไป

RAW ไม่สามารถบีบอัดไฟล์ได้แบบ JPEGs เพราะมีรายละเอียดมากทำให้ขนาดใหญ่ขึ้นไปด้วย เมมโมรี่การ์ดขนาด 4 GB อาจถ่ายได้แค่ ร้อยกว่ารูปเท่านั้น

- ที่ ไฟล์ RAW สามารถบันทึกเป็นแบบ TIFFs ซึ่งเสียข้อมูลน้อยกว่าแบบ JPEGs

ส่วน มากช่างกล้องที่เก็บไฟล์แบบ RAW มักจะมาปรับแต่งเพิ่มเติมไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ลงไป จึงต้องการภาพที่มีรายละเอียดและคุณภาพมากที่สุดตามไปด้วย



ที่มา


//www.taklong.com/
//support-th.canon-asia.com/
//nikonkrab.multiply.com/journal/item/30/30
สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์



























Create Date : 27 เมษายน 2552
Last Update : 27 เมษายน 2552 15:48:59 น. 6 comments
Counter : 8770 Pageviews.

 

แหล่มค่ะ
ขอบคุณที่นำสิ่งดีดีมาฝากเสมอเน๊าะ
หลับฝันดีจ้า


โดย: อุ้มสี วันที่: 27 เมษายน 2552 เวลา:1:42:37 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้น่ะครับ


โดย: เจ้าชายฟลุค วันที่: 27 เมษายน 2552 เวลา:5:15:31 น.  

 
ขอบคณคะฮันนี่


โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 27 เมษายน 2552 เวลา:5:47:47 น.  

 
ปกติก็จะเซฟเป็น jpeg อ่ะคะเพราะว่ามันไม่หนักดี
เพราะว่าเราไมได้เอาภาพไปทำอะไรเยอะ เซฟด้วยไฟล์
นี้ก็เรียกว่าโอเคสำหรับเราแล้วล่ะคะ แต่สำหรับคุณภาพ
ยอมรับเลยว่า RAW เก็บรายละเอียดได้ดีจริงๆ ค่ะ
แต่ว่าใช้ไม่บ่อยเลย ...


โดย: JewNid วันที่: 27 เมษายน 2552 เวลา:11:07:46 น.  

 
ดีมาก่เลยครับ เอ่อ แต่ผมมีปัญหานะครับ คือไฟร์ RAW นามสกุล เป็น NEF วินโดว์ มองเห็นภาพ ตอนแสดง thrumneil แต่เวลาจะเปิดภาพ ด้วย capture nx บางภาพทำไมถึงเปิด เพื่อ edit ไม่ได้ครับ หรือว่าไฟร์นั้นๆเสีย ช่วยด้วยครับใครพอมีวิธีแก้ไข ขอบคุณครับ


โดย: ชาย IP: 118.173.154.119 วันที่: 30 พฤษภาคม 2552 เวลา:16:17:13 น.  

 
ความรู้เพียบเลยค่ะ ขอบคุณนะคะ


โดย: น้ำเงี้ยว วันที่: 14 มิถุนายน 2552 เวลา:19:39:12 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นอกลู่นอกทาง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]








ภาพถ่ายดาวเทียมด้านอุตุนิยมวิทยา
ภาพสดๆจากที่ต่างๆทั่วมุมโลก
Ban Na Song BKK, Thailand
Karon Beach , Phuket , Thailand
Federal Highway, Angkasapuri ,Pantai Valley , Malaysia
Delta Estate , Singapore
Malate ,Manila , Philippines
Bandar Seri Begawan , Brunei
Guangxi Guilin, China
달빛무지개분수(Banpo Bridge Fountain )Sin’gilsa-dong , Seoul , South Korea
Hong Kong skyline from Admiralty, China
Shiomidai , Kanagawa , Japan
Cable Beach, Broome, Western Australia, Australia
Keahua Hawaii , USA
Sacramento California, USA
Washington D.C., USA
Manhattan , New York , USA
McCulloch Kelowna, Canada
Niagara Falls , Ontario , Canada
Panama Canal , Bella Vista , Panama
Santiago de Chile , Región Metropolitana , Chile
Fairbanks, Alaska Forecast Arctic
Mar del Plata Buenos Aires , Argentina
Tasiilaq , Østgrønland , Greenland
London Skyline from the Sheraton Park Tower , Knightsbridge , United Kingdom
Trafalgar Square , London , United Kingdom
Eiffel Tower Paris, France
Harstad Nordland , Norway
Halsum , Svalbarð , Iceland
Amsterdam , Netherlands
Vatican City State, Saint Peter's Basilica Borgo , Italy
Berlin, Germany
Чебоксарский залив, Yakimovo, Chuvashia , Russia
Udaipur Lake Pichola , Rājasthān , India
Mount Everest , Junbesi , Sagarmāthā , Nepal
Cape Town Sanddrift, South Africa
Orpen , Richmond , South Africa
Abū Hayl Dubai , United Arab Emirates
Kairo, Egypt
Medhufushi, Maldives
Mawson station Antarctica

Profile Visitor Map - Click to view visits
หนังทุกเรื่องหรือเพลงทุกเพลงในบล็อกนี้ เป็นเจ้าของ ของลิขสิทธินั้นๆตามเจ้าของเดิม นำมาเพื่อแบ่งปันชมกันในหมู่เพื่อนพ้อง ชาวบล็อกแก้งค์เท่านั้นครับ....
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 หากผู้ใดคิดจะ ลอกเลียน หรือนำส่วนใดส่วนหนื่ง ของข้อความใน Blog แห่งนี้ไปเผยแพร่ ให้นำไปได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาต จขบ. แต่ต้องคัดลอกแจกจ่ายให้ครบ 50 ก็อปปี้ ไม่เช่นนั้น จะมีอันเป็นไป ต่างๆนานา ถึงขั้นชีวิตตกอับ อิอิ หากแต่ว่า..นำชื่อ จขบ. ไปใช้ในทางเสียหายหรือประจาน จะถูกดำเนินคดี ตามที่ กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด นะจ๊ะ
Friends' blogs
[Add นอกลู่นอกทาง's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.