Group Blog
 
<<
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
23 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
ISO คือความไวแสงนะ...ไม่ใช่มาตรฐานอุตสาหกรรม..!!
















ถ้าใครที่เคยใช้กล้องฟิล์มสมัยก่อน...เวลาที่จะซื้อฟิล์มจะต้องเห็นที่ข้างกล่องเลย
ว่าเป็นฟิล์ม 100 หรือ 200 หรือ 400 หรือ 1600

นั่นหล่ะ..คือความไวแสงของฟิล์ม หรือ ที่เราเรียกว่า ISO ในกล้องดิจิตอล

ซึ่ง ISO นี้...เป็นคนละเรื่องกับ ISO มาตรฐานอุตสาหกรรม นะคร๊าบ
ISO 9001 หรือ ISO14000 ที่พวกบริษัทหรือโรงงานมักจะบอกว่าได้กัน อันนั้นมันคนละเรื่องกันนะครับ อย่าเอามาปนกันเด็ดขาด!!






การ ที่ภาพเกิดขึ้นได้นั่นเกิดจากแสงที่ตกกระทบบนตัวรับภาพ ดังนั้นความไวต่อแสงของตัวรับภาพจึงมีผลที่จะกำหนดปริมาณของแสงที่ต้องการใน การก่อให้เกิดภาพๆ หนึ่ง ความไวแสงของฟิล์ม คือปฏิกิริยาที่ฟิล์มมีต่อสภาพแสงในระดับที่ต่างๆ กัน โดยจะแสดงค่าเป็นตัวเลขหรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า ISO ของฟิล์ม ซึ่งจะบอกให้เรารู้ว่า ฟิล์มนั้นๆ มีความไวต่อแสงมากหรือน้อยเพียงใด ตัวเลขค่า ISO มีอยู่หลายค่าด้วยกัน ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปคือ ISO 100 ISO 200 ISO 400 ISO 800 ซึ่งแต่ละค่านั้นความไวต่อแสงจะเพิ่มขึ้นหนึ่งขั้น ( หนึ่งสต็อป) เช่นฟิล์ม ISO 200 จะมีความไวต่อแสงมากกว่าฟิล์ม ISO 100 อยู่หนึ่งสต็อป ในขณะที่ฟิล์ม ISO 400 ก็จะมีความไวต่อแสงมากกว่าฟิล์ม ISO 200 อยู่หนึ่งสต็อปเช่นกัน







แต่เดิมบริษัทผู้ผลิตฟิล์มในแต่ละประเทศต่างก็กำหนดชื่อมาตรฐานและตัวเลข กำหนดอัตราความไวแสงของตน ออกมาใช้สำหรับฟิล์มที่ตนผลิตได้ เช่น ประเทศเยอรมนีใช้ชื่อมาตราว่า ไซเนอร์ (Schiener) และดิน (Din : Deutsche lndustrie Norm) อังกฤษใช้ บี.เอส. (B.S. : British Standards Exposure lndex) ญี่ปุ่นใช้ เจไอเอส (JIS : Japanese lndustrial Standards) สหรัฐอเมริกาใช้ เวสตัน (Weston) ยี.อี. (G.E. : GeneraI EIectric) และเอเอสเอ (ASA : American Standards Association) เป็นต้น โดยใช้อักษรย่อของมาตราเหล่านี้พิมพ์ไว้ข้างหน้า หรือข้างหลังตัวเลขบอกอัตราหรือระดับความไวแสงของฟิล์มนั้น ๆ ไว้ในกล่องบรรจุฟิล์มเพื่อให้ผู้ใช้ได้ทราบ ตัวเลขน้อย ความไวแสงของฟิล์มนั้นก็อยู่ในระดับช้า (ต้องการแสงมาก) ตัวเลขยิ่งมากความไวแสงของฟิล์มก็ยิ่งเร็วมาก (ต้องการแสงน้อยลง)




ปัจจุบัน มาตราต่าง ๆ ดังกล่าวมาแล้วไม่ใคร่นิยมกันบริษัทผู้ผลิตฟิล์มออกจำหน่ายทั่วโลกได้หันมา นิยมใช้มาตราเอเอสเอกับมาตราดินเท่านั้น ยิ่งกว่านั้น เมื่อเกิดมาตราสากล “ไอเอสโอ” ขององค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ (ISO : ln-ternational Organization for Standardization ) ขึ้นมาแทนมาตราเอเอสเอของสหรัฐอเมริกา ซึ่งแพร่หลายไปทั่วโลกก่อนหน้านี้แล้ว ในปัจจุบันบริษัทต่าง ๆ จึงต้องใช้มาตราไอเอสโอแทนมาตราเอเอสเอ แต่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อยังต้องใช้เอเอสเอ รวมทั้งดินของเยอรมนีวงเล็บควบไปด้วยส่วนตัวเลขที่ใช้บอกอัตราความไวแสงก็คง ใช้ตัวเลขเดิม



----------------------------------------------



ISO เป็นคำที่มาจากภาษากรีกโบราณ ความหมายเมื่อแปลเป็นไทยแปลว่า "เท่ากับ" นั่นเอง แต่เรามักจะเจอคำนี้แทนคำว่า "มาตรฐาน" ในหลายๆ ครั้ง
สำหรับคำ ว่า ISO ในเรื่องของการถ่ายภาพ ก็จะหมายถึงค่ามาตรฐานที่บอกความไวแสงของเซ็นเซอร์ของกล้องดิจิตอล ยิ่งมีค่าความไวแสงมากขึ้นเท่าไหร่ (ISO เลขสูงๆ) ก็จะยิ่งใช้แสงน้อยเท่านั้นในการเก็บภาพ พูดกันแบบภาษาชาวบ้านก็คือยิ่งค่า ISO สูงขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งถ่ายภาพในที่แสงน้อยได้ดี คือเมื่อจำเป็นต้องใช้แสงน้อยก็สามารถตั้งความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้นได้ ทำให้โอกาสเบลอของภาพน้อยลงนั่น



จากภาพ - ภาพนี้ตั้งค่ารูรับแสง F5.0 และความเร็วชัตเตอร์ 1/200 วินาทีคงที่ จะเห็นว่าเมื่อ ISO สูงขึ้นภาพจะสว่างมากขึ้น





แต่ ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ไม่ได้หมายความว่ายิ่ง ISO ยิ่งสูงจะยิ่งดี แม้ว่าที่ ISO ต่ำๆจะต้องการแสงมาก แต่ก็จะให้ภาพที่มี Noise (ที่เห็นเป็นจุดๆๆๆ) น้อยที่สุด ทำให้รายละเอียดของภาพไม่เสียไป แตกต่างจากเมื่อใช้ ISO สูงขึ้น ก็จะปรากฎ Noise มากขึ้นตามลำดับ แต่ทั้งนี้ Noise ก็ขึ้นอยู่กับรุ่น/ยี่ห้อของกล้องด้วย เช่นกล้อง dSLR ซึ่งมี sensor ขนาดใหญ่ มักจะมี Noise น้อยมาก แม้ที่ ISO สูงๆก็ตาม





จากภาพ - ภาพนี้ถ่ายด้วย ISO 1600 เมื่อขยายดูรายละเอียด จะเห็นว่าภาพเป็นจุดๆ นั่นแหละที่เรียกว่า Noise






การตั้งค่า ISO สำหรับถ่ายรูป
ปกติกล้อง จะถูกตั้ง ISO เป็น Auto ไว้ แต่ส่วนใหญ่ก็จะทำงานได้ดีเฉพาะถ่ายกลางแจ้งเท่านั้น ดังนั้นการปรับค่า ISO ให้เหมาะสมก็มีความจำเป็น เช่น ในกรณีที่ถ่ายในที่มืดแล้วไม่ต้องการใช้แฟลช โดยอย่าลืมว่าเมื่อปรับค่า ISO แล้วค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์จะเปลี่ยนไปด้วยนะครับ

AUTO ISO - อันนี้กล้องจะเป็นตัวจัดการปรับค่า ISO ให้เองโดยอัตโนมัติ โดยจะดูจากแสงที่ตัวแบบที่จะถ่าย คนถ่ายไม่ต้องไม่ยุ่งกับมัน แต่อย่างที่บอก กล้องมักจะเก่งเวลาถ่ายกลางแจ้งเท่านั้น
ISO 50 - 80 - เหมาะสำหรับถ่ายกลางแจ้งที่มีแสงจัดๆ ไม่ว่าจะเป็นถ่ายวิว ถ่ายคน ให้คุณภาพที่ดีที่สุด Noise จะปรากฏให้เห็นน้อยที่สุด แต่ไม่ใช่กล้องทุกรุ่นจะถ่ายที่ ISO นี้ได้
ISO 100 - เป็นค่าที่นิยมกันมากที่สุดสำหรับถ่ายกลางแจ้ง ว่ากันตามทฤษฏี คุณภาพขอภาพจะด้อยลงนิดหน่อย แต่เอาเข้าจริงก็ยากจะแยกออกจาก ISO 50-80
ISO 200 - เหมาะสำหรับถ่ายในวันที่ท้องฟ้าไม่ใส ในร่มที่ไม่มืดนัก คุณภาพของภาพยังจัดว่าดี แต่อาจจะเริ่มมี Noise ปรากฏให้เห็นบ้าง
ISO 400 และสูงกว่า มักจะใช้ถ่ายในร่มมากๆหรือกลางคืนเมื่อไม่ต้องการใช้แฟลช ยิ่งสูงยิ่งปรากฏให้เห็น Noise เยอะ ส่วนจะเยอะแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับกล้องยี่ห้อ/รุ่นนั้นๆด้วย
ก็หวังว่า ทุกคนคงจะพอเข้าใจและเลือกใช้ ISO ได้เหมาะสม



----------------------------------------------------




ISO สำหรับกล้องดิจิทัล
. .....หมายความถึง.......
..... ความไวต่อแสง ........ ที่มี ในกล้อง



ถ้าเราปรับกล้องให้มี.."ความไวต่อแสงสูงขึ้น" ...(ISO สูงๆ)

เราก็ยังจะสามารถถ่ายรูปได้ดี.. "ในสภาพแสงที่ค่อนข้างน้อย...ถึงน้อยมาก"
เหมือนดั่ง การถ่ายภาพในสภาพแสงปกติ


(ฟังดูแล้วเหมือนเล่นกลโกหกเลยใช่ไหมครับ)


.....พูดอีกแบบหนึ่งก็คือ....

เมื่อกล้องมีความไวต่อแสงมาก
กล้องก็ จะมองเห็นและสามารถบันทึกภาพได้ แม้นในที่ ที่ค่อนข้างมืด


ซึ่งถ้าเราไม่ปรับกล้องให้มีความไวต่อแสง มากขึ้น
หรือไม่ปรับค่า ISO ให้สูงขึ้น

ในสภาพแสงน้อย หรือในที่ที่ค่อนข้างมืด
จะทำให้ความเร็วของม่านชัดเตอร์นั้น..."ช้ามากๆ..ๆ"

(เพราะจะต้องเปิดม่านชัดเตอร์ นานๆ เพื่อรับแสงให้เข้าสู่ กล้องมากขึ้น)

นั่นหมายความว่าถ้าเราจะใช้มือเปล่าๆ ถือกล้องถ่ายรูป
จะต้องได้ "ภาพที่สั่นไหว" กลับมาแน่นอน
หรือไม่ก็ "ต้องใช้ขาตั้งกล้องเข้ามาช่วย"

แต่ถ้าเราปรับให้กล้อง มีความไวต่อแสง มากขึ้น (ปรับ ISO ให้สูงขึ้น)
...ความไวของม่านชัดเตอร์ก็จะเพิ่มเร็วขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์...
เราก็จะสามารถใช้มือจับกล้องนิ่งๆ ถ่ายรูปภายใต้สภาพแสงที่น้อยนิด
ได้..อย่างสบายๆโดยที่ ภาพ จะไม่เกิดการสั่นไหวและเบลอ






...ย้อนยุค....กลับไปอีกนิด....

เพื่อนๆ รุ่นพี่ และ ที่สำคัญคนขาย.. ตั้งแต่มีกล้องตัวแรก ..(รุ่นขุนแผน) ... ว่า...

ฟิลม์ ISO 100 ซิน้อง.. ยิ่งแดดจัดๆ.....ภาพจะเนียน...คมกริบเลยหละ...
ถ้าฟิลม์ ISO 200 เอาไปถ่ายแล้ว ภาพมันไม่ค่อยเนียน
แต่แดดร่มหน่อยก็ยังพอถ่ายได้
...แต่ก็นั่นแหละ..มันสวยเนี๊ยบสู้ ฟิลม์ 100 ไม่ได้...

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก็ปักใจว่า...

รูป ต้อง ISO 100 เท่านั้น...สีสดและเนียน..

จนเวลาผ่านไป จวบจนผมเติบใหญ่.... (เล่นแบบนิยายเลยนิ..)

ผมก็มารู้จักกับ ISO 400 ฟิลม์ไวแสง.... เขาโฆษณาว่า....
ถ่ายได้ทุกสภาพแสง แสงมากก็ถ่ายได้ แสงน้อย ก็ไม่มีปัญหามือสั่น หรือภาพไหว..
แล้วมันต่างกันอย่างไร...ผมก็ยังงงอยู่......แต่ว่าในช่วงที่ ฟิลม์ชนิดนี้ถูกผลิตออกมาขาย..

ผมก็เลิกเล่นกล้องไปแล้วหละครับ...เพราะว่า กล้องขุนแผนผมมันพังไปตั้งนานแล้ว...







จน กล้องดิจิทัล ที่มีอยู่
มันมี ฟังค์ชั่นในการปรับ ISO ค่าความไวของแสง........?

ค่า ISO ความไวแสง...ที่อยู่ในกล้องดิจิทัลของคุณ หรือฟิลม์....
คืออะไร ...? ผมไม่สามารถจะอธิบายลงลึกไปในรายละเอียด..ครับ....
เพราะผมยังรู้เกี่ยวกับทางด้านวิชาการไม่มากครับ...

รู้แต่เพียงว่า...ISO ค่ามาตราฐานตัวนี้ มันเกี่ยวกับ “ความไวของแสง”

โดยปกติเราจะถ่ายภาพโดยปรับค่า ISO เอาไว้ที่ “ISO100”
แต่ถามว่า เราจะใช้ประโยชน์อะไรกับ เจ้า ISO ค่าอื่นๆ ที่สูงขึ้นได้บ้าง.....




















1) สภาพแสงที่ค่อนข้างน้อย


ในสภาพแสงน้อย หรือ ภายใต้ร่มเงาหรือภายในอาคาร..
เราใช้ ISO สูงๆ 400 ,800,1600 เพื่อ...
ถ่ายรูป ในเวลาที่แสงน้อยมากๆ....
(ในเวลาที่ไม่มี...หรือไม่สามารถใช้ขาตั้งกล้องได้ หรือ ในที่ๆห้ามใช้ ไฟแฟลช์ยิง)
เช่นภาพวิวกลางคืนยามเย็นโพล้เพล้ ภาพในอาคาร ในโบสถ์ หรือ สถานที่ท่องเที่ยวบางแห่ง
สภาพแสงน้อย ทำให้กล้องต้องเปิดชัดเตอร์รับแสงนานขึ้น...
ดังนั้นถ้ามือคุณไม่นิ่ง .... ได้ภาพสั่น เบลอ..กลับไปแน่นอนครับ...

แทนที่จะได้ภาพมืดๆ หรือ ภาพสั่นๆมา...เราก็จะได้ภาพที่สว่าง คมชัดและสวยงามมาแทน


ยิ่งปรับ ISO สูงมากเท่าไหร่ ชัดเตอร์ก็จะเร็วมากขึ้นเท่านั้น..

อันนี้ต้องลองปรับดูครับว่า...ปรับISO แค่ไหนถึงจะพอใจ
แต่อย่าลืมว่า ISO สูง ๆ มันมีผลข้างเคียงครับ..







1 ภาพแรกท้องฟ้ามืดแล้ว ผมถ่ายใช้การปรับกล้องที่ ISO100 ซูมนิดหน่อยภาพสั่นมากครับ..
ชัดเตอร์สปีดมันช้าสุดๆมือถือถ่ายไม่ได้เลย...
เพราะว่า กล้องมันกินแสงมากๆ เวลาตั้งที่ ISO 100








2 ภาพที่สอง ที่เดียวกัน...
ผมลองปรับISO ให้สูงขึ้น... ความเร็วชัดเตอร์ ก็เร็วขึ้น
มือเปล่าๆก็พอที่จะถือนิ่งๆ ถ่ายภาพได้ ซึ่งภาพก็ไม่เบลอ อีกด้วย
เป็นเม็ดบ้างนิดหน่อย แต่ก็ยังพอคมชัด.....พอรับได้ครับ








3 ภาพสุดท้าย ขาตั้งกล้องมันใช้ไม่ได้ครับ..ไม่มีที่วาง...
ต้องใช้มือ เปล่าๆถือกล้องถ่าย
มันเป็นทางเลือกสุดท้าย ครับ คือ..ISO1600 ภาพไม่เนียน แต่ก็ชัดครับ




* เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้อง ถ่ายภาพด้วย ISO สูงๆ 800, 1600 จะต้องวัดแสงให้พอดี*
การมาปรับแต่งแสงให้สว่างขึ้นภายหลัง....รับรองว่าภาพจะไม่สวย เนื่องจากภาพจะเต็มไปด้วย เม็ดสีหยาบๆ ที่เรียกว่า..."Noise"








ISO 3200



เป็นภาพที่ถ่ายภายใน บ่อเลี้ยงปลาขนาดยักษ์
ที่มีแสงน้อยมากๆๆๆๆครับ
ถ้ายิงแฟลช..มันก็จะสะท้อนกับกระจก..มองไม่เห็นครับ



ผมก็เลยต้องปรับกล้องให้ไวแสงขึ้นจนสุด ถึง ISO 3200
ผลที่ได้ก็เป็นที่น่าพอใจครับ
ชัดเตอร์สปีดเร็วพอที่ใช้มือถือถ่ายได้และ
ก็ไวพอที่จะจับภาพปลาให้หยุดนิ่งในตู้ปลาที่มีแสงน้อยนิด









2 ในสภาพแสงปกติ กลางวัน แดดจัดๆ


2..1 เราใช้ ISO สูงๆ ในกรณี ถ่ายภาพ ในระยะไกล...(ใช้ เทเลโฟโต้ ซูมเลนส์)

เพื่อป้องกันการภาพสั่นไหว เนื่องจาก “มือไม่นิ่ง”

การปรับ ISO สูงๆ จะทำให้ ความเร็วสปีดชัดเตอร์ "สูงขึ้นกว่าปกติ"

ถึงแม้ว่ามือจะไม่นิ่ง แต่ก็ไม่ต้องกังวลว่า มือจะสั่นภาพจะเบลอครับ...
เพราะว่า ม่านชัดเตอร์ปิดเร็วมากๆ เร็วกว่าการสั่นไหวของมือ เราเสียอีก..










2 ภาพนี้ถ่ายในที่ร่มด้วยครับแถมยัง ต้องยืดซูมอีก..
พลาดแล้วพลาดเลยครับ เพราะว่านางแบบไม่ได้มายืนนานนัก..
ใจร้อนมือสั่น..แสงน้อย...ก็ปรับ ISO สูงเอาไว้ก่อน
สปีดชัดเตอร์จะได้เร็ว..กว่าเดิม..ถ่ายภาพจะได้ไม่สั่นครับ








2.2 ใช้ ISO สูงๆ เมื่อต้องการ “เพิ่มความเร็วของ Shutter Speed”ให้สูงขึ้นกว่าเดิม


ในเวลาที่ต้องการถ่ายภาพวัตถุเคลื่อนที่ให้หยุดนิ่ง...


ในสภาพแสงปกติ บางครั้งปรับรูรับแสงให้กว้างก็แล้ว..
ความเร็วของ Shutter Speed ก็อาจจะ ยังเร็วไม่พอ

การปรับISO ให้สูงขึ้นก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก..
แต่ขอให้ใช้เป็นอันดับสุดท้ายนะครับ...
ลองเพิ่มรูรับแสง เสียก่อน..ถ้าไม่ได้จริงๆ ค่อย..เพิ่ม ISO ครับ









ภาพนี้ตอนแรกใช้ ISO 100 แต่เด็กโดดน้ำเร็วมากครับ
สปีดชัดเตอร์ เร็วไม่พอ ผมก็เลยเพิ่มISO ช่วย
ตอนแรกจะเพิ่มรูรับแสงแทน แต่ก็กลัวจะหลุดโฟกัสอีก
เพราะรูรับแสงยิ่งกว้าง...ฉากหลังจะเบลอ..
จุดโฟกัสที่เด็กดูแล้วมันเล็กแล้วก็เคลื่อนที่ด้วย
ผมก็กลัวกล้องมันจับโฟกัสพลาด..
ถ้ากล้องโฟกัสพลาด...ก็จบข่าวครับ..เด็กจะเบลอฉากหลังจะชัดแทน








ภาพที่สอง เป็นภาพจับวัตถุเคลื่อนที่เร็วใน ที่แสงน้อย
ตามหลัก เราจะต้องใช้แฟลช์ แรงๆที่สามารถให้ความสว่าง
อย่างพอเพียง และ เลนส์คุณภาพดี
ถ้าไม่มีแฟลช์ดีๆ ไม่มีเลนส์สว่างๆ...
ทางเลือกสุดท้ายก็ต้อง ปรับความไวแสง เอาครับ..
ISO3200 Speed 1/1000







ภายในกล้อง ดิจิทัลทุกๆตัว จะมีฟังค์ชั่น ในการปรับ ISO ซ่อนอยู่ในเมนูปรับแต่งกล้อง...

การปรับค่าISO ทำเพื่อให้กล้องมีความไวต่อแสงมากขึ้นกว่าเดิม
แล้วถ้าจะพูดกันอีกแบบก็คือ
ถึงแม้นว่าแสงในธรรมชาติจะมีน้อย
แต่กล้องก็สามารถมองเห็นและบันทึกภาพได้


ในกรณีที่ถ่ายรูปในสภาพแสงปกติ
เราก็อาจจะปรับกล้องให้มี
ความไวต่อแสงมากๆได้้(400-800 หรือ1600 )

แต่ผลข้างเคียงของการใช้ ISO สูงๆ ก็จะตามมา
ภาพแตก..เป็นเม็ด...ๆ








ดังนั้นสิ่งที่อยากจะเน้นเรื่องการใช้ ISO สูงๆถ่ายภาพก็คือ...

ISO 400 – 800 -1600
ความคมชัดของรูปก็จะลดลง ภาพจะมีเม็ดปรากฏ(Noise)
รายละเอียดของภาพจะหยาบ ขึ้นหยาบขึ้น....
ตามลำดับของการตั้งค่าISOที่สูงขึ้น

ดังนั้น เราควรที่จะต้องถ่ายภาพ มาให้สว่างพอดี.....ๆ
ถ้าถ่ายมาอันเดอร์(มืดไป)
เวลาคุณเอามาปรับแต่ง “เร่งแสง” ในคอมพิวเตอร์
หรือเวลา ช่างที่ร้านอัดรูปเขาเพิ่มแสงให้รูปคุณสว่างขึ้น...
ภาพก็จะแตกเป็นเม็ดๆๆ และดูไม่ชัดไม่สวยเลย


ดังนั้นผมคงอยากจะแนะนำว่า...

ปรับสีให้สด ปรับคอนทราสให้จัดตามใจคุณชอบ..จากในกล้องให้เรียบร้อย
(กล้องคอมแพ็ค บางรุ่นปรับแต่งไม่ได้)
แล้วถ่ายมาให้พอดีๆ...
ถ่ายแล้วดูว่าสว่างพอดีไหม....ถ้ามืดไปก็ถ่ายใหม่...
ต้องทำใจครับ...ไม่มีอะไรดี...สมบรูณ์ โดยไม่มี “Side Effect”( ผลข้างเคียง)










สองภาพนี้เร่งแสงไม่ได้เลยครับ
โดยเฉพาะรูปที่สองพอเร่งแสงปุ๊บ เม็ดๆ (Noise)มาเพียบเลยครับ








ติดท้ายปลายนวม...


กรณีศึกษา...
ความไวของแสงในแต่ละกล้องไม่เท่ากัน....ตามผลลัพท์ที่ได้จากภาพถ่าย
(ถึงแม้ว่าบริษัทจะใช้ มาตรฐานเดียวกันในการกำหนดค่า ISO
จากองค์กรมาตรฐานสากล)
ซึ่งดูได้จาก คุณภาพของรูปที่ได้, การมองเห็น ความสามารถในการเก็บรายละเอียด
ซึ่งทั้งหมดนี้ ก็ขึ้นอยู่กับ

1 ขนาดของ CCD (เซลรับแสงภายในกล้อง)
กล้องคอมแพ็ค กับกล้อง DSLR
ขนาดของ CCD (เซลรับแสง) จะไม่เท่ากัน
ดังนั้น ความไว ต่อแสงก็ไม่เท่ากันด้วย...





2 ระบบประมวลผลของกล้องProcessor & Software วงจรอิเล็คโทรนิคและซ้อฟแวร์โปรแกรม ที่อยู่ภายในกล้อง


กล้องแต่ละยี่ห้อก็จะ มีความต่างกัน ในด้านประสิทธิภาพด้วยเหมือนกัน
ภาพที่ถ่ายได้ ยี่ห้อหนึ่ง ก็จะเกิดเม็ด(Noise) น้อยกว่าอีกยี่ห้อ
และแม้แต่ ยี่ห้อเดียวกัน เพียงแต่ข้ามรุ่นข้ามโมเดล
การเกิดเม็ด(Noise) ก็ต่างกัน ถึงแม้ว่า จะตั้ง ISO เอาไว้ เท่ากัน
ประสบการณ์ของผม ที่ผ่านมา ก็เคยเห็นกล้อง DSLR (บางยี่ห้อ)
เวลาถ่ายภาพ ด้วย ISO 800 (ในกรณีที่ปริมาณแสงมากพอ)
ถ่ายตอนกลางวันหรือถ่ายช่วงเย็น
..เราอาจจะมองไม่ค่อยเห็น เม็ดหรือNoise ภายในภาพเลย




3 ภาพมีเม็ดหรือแตก...มันก็ไม่ใช้ผลมาจาก ISO เสมอไป...
การถ่ายภาพในสภาพแสงที่น้อยมาก...ปริมาณของแสงที่เข้ากล้องมีน้อย..ไป
ถึงแม้ว่าปรับกล้องเอาไว้ที่ ISO 100 แล้ว... .
ใช้ขาตั้งกล้องกับ เปิดชัดเตอร์รับแสงแช่เอาไว้นาน
แต่ภาพที่ได้ ก็อาจจะมี Noise เกิดขึ้นได้ครับ..
เหมือนกับเราอัดเสียงนกร้อง ถ้าเราไปอัดในเมืองหลวง
เสียงนกเบา เสียงแทรกเยอะ... ถึงแม้ว่าเราจะเอาเทปมาเปิด
กับแอมป์ ขยายเสียง คุณภาพ มันก็จะไม่เหมือนกับ
การอัดเสียงนกจากป่า หรือ อัดจากห้องอัดเสียงแน่นอนครับ
ถึงแม้ว่า เครื่องอัดเสียงจะดี หรือ แอมป์ขยายเสียงจะดี..
มันก็มีส่วนบ้าง..แต่สัจจธรรมก็คือ..คุณภาพต้นฉบับ ...มาไม่ดี..
เวลามาขยาย หรือปรับแต่ง มันก็จะไม่สมบรูณ์ อย่างแน่นอนครับ









การปรับตั้ง ISO ความไวต่อแสงของกล้อง แค่ไหนถึงจะเพียงพอ...
ผมตอบไม่ได้ครับ...
เพราะว่า บางคนชอบ Noise เพราะว่าภาพแตกเป็นเม็ด..
ในกรณีถ่ายภาพขาวดำ..
เพราะมันดูเหมือนถ่ายภาพด้วยฟิลม์..
บางคนก็ไม่ชอบ Noise .... เพราะภาพไม่เนียน...
ก็ลองปรับลองเล่นดูนะครับ...


หวังว่าคงจะสนุกกับการปรับ ISO ในกล้องของเพื่อนๆครับ...
ขอให้มีความสุขในการถ่ายภาพนะครับ...


ที่มา

//www.fujifilm.co.th/forum/
สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
























Create Date : 23 เมษายน 2552
Last Update : 23 เมษายน 2552 0:00:22 น. 6 comments
Counter : 3178 Pageviews.

 
ขอบคุณมากคะ อ่านแล้วเข้าใจเพิ่มเยอะเลยคะคราวนี้ ในการใช้งานตั้งค่า


โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 23 เมษายน 2552 เวลา:2:00:50 น.  

 
ได้ความรู้มากเลยค่ะ
ชอบๆๆๆๆ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ นะค่ะ


โดย: wayoflife วันที่: 23 เมษายน 2552 เวลา:16:54:26 น.  

 
แวะมาเข้า้ห้องเรียนบทเรียนใหม่ค่ะ


โดย: นัทธ์ วันที่: 23 เมษายน 2552 เวลา:22:20:46 น.  

 
กำลังอยากรู้อยู่เลยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ


โดย: k_tickka วันที่: 2 มิถุนายน 2552 เวลา:14:26:35 น.  

 
ขอบคุณนะคะ ความรู้อย่างนี้ไม่เคยอ่านที่ไหนมาก่อนเลยค่ะ มีประโยชน์มากมายเลย


โดย: จตุพร ชมภูศรี IP: 118.172.154.88 วันที่: 21 กรกฎาคม 2552 เวลา:14:18:46 น.  

 
ขอบคุณมากนะคับ จุ๊บๆ


โดย: i3ank IP: 124.121.17.48 วันที่: 3 ตุลาคม 2552 เวลา:3:26:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นอกลู่นอกทาง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]








ภาพถ่ายดาวเทียมด้านอุตุนิยมวิทยา
ภาพสดๆจากที่ต่างๆทั่วมุมโลก
Ban Na Song BKK, Thailand
Karon Beach , Phuket , Thailand
Federal Highway, Angkasapuri ,Pantai Valley , Malaysia
Delta Estate , Singapore
Malate ,Manila , Philippines
Bandar Seri Begawan , Brunei
Guangxi Guilin, China
달빛무지개분수(Banpo Bridge Fountain )Sin’gilsa-dong , Seoul , South Korea
Hong Kong skyline from Admiralty, China
Shiomidai , Kanagawa , Japan
Cable Beach, Broome, Western Australia, Australia
Keahua Hawaii , USA
Sacramento California, USA
Washington D.C., USA
Manhattan , New York , USA
McCulloch Kelowna, Canada
Niagara Falls , Ontario , Canada
Panama Canal , Bella Vista , Panama
Santiago de Chile , Región Metropolitana , Chile
Fairbanks, Alaska Forecast Arctic
Mar del Plata Buenos Aires , Argentina
Tasiilaq , Østgrønland , Greenland
London Skyline from the Sheraton Park Tower , Knightsbridge , United Kingdom
Trafalgar Square , London , United Kingdom
Eiffel Tower Paris, France
Harstad Nordland , Norway
Halsum , Svalbarð , Iceland
Amsterdam , Netherlands
Vatican City State, Saint Peter's Basilica Borgo , Italy
Berlin, Germany
Чебоксарский залив, Yakimovo, Chuvashia , Russia
Udaipur Lake Pichola , Rājasthān , India
Mount Everest , Junbesi , Sagarmāthā , Nepal
Cape Town Sanddrift, South Africa
Orpen , Richmond , South Africa
Abū Hayl Dubai , United Arab Emirates
Kairo, Egypt
Medhufushi, Maldives
Mawson station Antarctica

Profile Visitor Map - Click to view visits
หนังทุกเรื่องหรือเพลงทุกเพลงในบล็อกนี้ เป็นเจ้าของ ของลิขสิทธินั้นๆตามเจ้าของเดิม นำมาเพื่อแบ่งปันชมกันในหมู่เพื่อนพ้อง ชาวบล็อกแก้งค์เท่านั้นครับ....
ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 หากผู้ใดคิดจะ ลอกเลียน หรือนำส่วนใดส่วนหนื่ง ของข้อความใน Blog แห่งนี้ไปเผยแพร่ ให้นำไปได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาต จขบ. แต่ต้องคัดลอกแจกจ่ายให้ครบ 50 ก็อปปี้ ไม่เช่นนั้น จะมีอันเป็นไป ต่างๆนานา ถึงขั้นชีวิตตกอับ อิอิ หากแต่ว่า..นำชื่อ จขบ. ไปใช้ในทางเสียหายหรือประจาน จะถูกดำเนินคดี ตามที่ กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด นะจ๊ะ
Friends' blogs
[Add นอกลู่นอกทาง's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.