เทคนิคพัฒนา "ความจำ"


1. ใส่ใจกับสิ่งที่เรียนมากกว่าสิ่งอื่นต้องมีสมาธิเพราะเป็นสิ่งสำคัญที่ส่ง ผ่านความจำระยะสั้นเข้าส่ความจำระยะยาว จึงเลือกมุมการเรียนที่ปราศจากสิ่งรบกวนใดๆ

2. สร้างนิสัยรักการอ่านอย่างสม่ำเสมอ มีผลจากการวิจัยพบว่าการอ่านอย่างต่อเนื่องนั้นผลที่ออกมาดีกว่าคนที่รีบ เร่งอ่านหนงสือช่วงสอบ

3. สร้างโครงสร้างและจัดระบบของเนื่อหาที่ศึกษา เมื่อเนื้อหาถูกจัดเป็นกล่ม เช่น จัดเป็นภาพแผนภูมิ โมเดล หัวข้อ จัดกล่มส่วนที่เหมือนเข้าด้วยกัน หรือแยกส่วนที่ต่างออกจากกัน จะช่วยให้การจดบัญทึกมีระบบระเบียบ และเมื่อนำไปใช้ในการเรียนรู้ระดับสูง เช่น การวิเคราะห์ สังเคราะห์ ก็จำทำได้ดีขึ้น

4. ใช้เครื่องมือช่วยจำ เช่น ตัวย่อ หรือบัญทึกเป็นเพลง หรือกลอน เช่น KUSA - Knowledge - Uderstanding - Skll - Appearance= สิ่งสำคัญในการเตรียมตัวสมัครงาน

5. ใช้ตัวอย่างอธิบายช่วยจำ เมื่อจดจำคำศัพท์เฉพาะ หรือนิยาม บางที่เราอาจจำคำจำกัดความทั้งหมดไม่ได้ แต่หากอ่านคำอธิบายหรือตัวอย่างที่ประกอบซ้ำก็จะช่วยให้เข้าใจความหมายหรือ คำจำกัดความของคำเฉพาะเหล่านั้นได้ดีขึ้น

6. สร้างความหมาย หรือสัมพันธ์กับบางสิ่งที่เรียนรู้แล้ว เมื่อเริ่มเรียนเรื่องใหม่ ใช้เวลาย้อนทบทวนเรื่องที่เคยรู้มาก่อน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องใหม่ความคิดใหม่ กับความรู้ที่มีแล้ว จะช่วยให้สามารถระลึกเนื้อหาออกมาได้อย่างจำนวนมาก




7. ใช้ภาพในการสื่อความหมาย มีคำพูดว่า "รูปภาพ 1 ภาพ สื่อความหมายได้มากกว่า 100 คำ" บางคนใช้ประโยชน์ได้ดีกับความจำแบบกล้องถ่ายรูป เมื่อศึกษาลองให้ความสนใจกบรูปภาพแผนภูมิ และภาพวาดประกอบในหนังสือ หรืออาจวาดภาพของตนเอง ใช้สีที่แตกต่างเพื่อแสดงถึงองค์ประกอบที่แตกต่าง ความจำแบบกล้องถ่ายรูปที่นักศึกษาเก็บไว้ เมื่อจะระลึกถึงเนื้อหาก็สามารถจะนำเป็นภาพออกมาทั้งโครงสร้างและนำมาขยาย ความ และเชื่อมโยงให้ชัดเจนเพิ่มขึ้น

8. แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อน การวิจัยเสนอแนะว่า การอ่านหนังสือเสียงดังๆให้คนอื่น จะช่วยส่งเสริมความจำ นักจิตวิทยาพบว่าถ้าให้นักเรียน"สอน" เพื่อน ก็จะช่วยให้เขาเข้าใจบทเรียนได้ดี และพัฒนาความจำได้ด้วย

9. ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับเนื้อหาส่วนที่ยาก

10. พยายามฝึกตัวเองให้เรียนที่ไหนก็ได้ อ่านเมื่อไหร่ก็ได้ พยายามปรับเปลี่ยนช่วงเวลาอ่านหนังสือบ้าง จะทำให้นักศึกษามีลักษณะยืดหยุ่น และมีความฉับไวมากขึ้นในการดึงความจำระยะยาวออกมาใช้งาน

หากเราสามารถรู้จักวิธีการเปลี่ยนระหัสข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจ เป็นความจำ และมีการเก็บสะสมข้อมูลหรือความจำได้อย่างเป็นระบบ มีกระบวนการเรียกความจำที่เป็นประโยชน์มาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราก็สามารถพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม



ข้อมูลจากsanook.com



Create Date : 23 มิถุนายน 2553
Last Update : 23 มิถุนายน 2553 19:34:39 น.
Counter : 921 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Caffein Dog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



Group Blog
มิถุนายน 2553

 
 
2
4
5
7
8
9
10
13
15
16
17
18
20
22
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog