วิธิป้องกันถูก"ขโมยข้อมูล" โพสต์ทำลาย

"ใส่ร้ายป้ายสี" ภัยรูปแบบใหม่บนโลกไซเบอร์ นักวิชาการแนะตั้งรหัสผ่านด้วยตัวอักษรผสมตัวเลขและสัญลักษณ์อย่างน้อย 8 ตัว พร้อมล็อกเอาต์ทุกครั้งที่ใช้คอมพิวเตอร์-บริการเว็บไซต์ ป้องกันถูกล้วงข้อมูลหรือสวมรอยกระทำความผิด

ทุกวันนี้อาชญากรรมในโลกอินเทอร์เน็ตไม่ได้จำกัดอยู่แค่การจารกรรมข้อมูล สร้างความเสียหายต่อองค์กร หรือการทำธุรกรรมทางการเงินแทนเจ้าของเงินเท่านั้น แต่ยังถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อกระทำการใส่ร้ายบุคคลอื่นให้ได้รับความเสียหายอย่างคาดไม่ถึง โดยการขโมยข้อมูลทั้งภาพ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ ไปใช้ประกอบกับข้อความที่ถูกตัดต่อ พร้อมทั้งนำไปโพสต์ในเว็บไซต์ต่างๆ จนมีผู้ได้รับเสียชื่อเสียง

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน รศ.ดร.บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ให้ความรู้เรื่องการจารกรรมข้อมูลว่า แบ่งเป็น 2 ประเด็นหลักคือ

1.การเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย เช่น แฮ็กเกอร์หรือนักเจาะระบบข้อมูล ลักลอบเข้าสู่ระบบเพื่อล้วงความลับ แอบดูข้อมูลข่าวสาร หรือการพยายามล็อกอินในชื่อบัญชีของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพื่อปลอมแปลงเป็นบุคคลนั้นในการกระทำความเสียหาย

2.การนำข้อมูลที่ผู้ใช้เปิดเผยไว้ไปใช้ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งจะมีความผิดในเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่แล้ว เช่น นำภาพหรือข้อความไปใช้โดยที่เจ้าของไม่ยินยอม แต่ปัจจุบันเริ่มมีการกระทำผิดรูปแบบใหม่ด้วยการนำข้อมูลส่วนตัว ภาพ หรือข้อความที่เราไปโพสต์ไว้ในเว็บไซต์ต่าง ๆ ไปตัดต่อและอ้างอิงให้เกิดความเสียหาย รวมไปถึงขั้นนำภาพและข้อมูลส่วนตัวของเราไปสมัครใช้บริการของเว็บต่าง ๆ แล้วเข้าไปใช้บริการของเว็บไซต์ เช่น โพสต์ข้อความหมิ่นประมาท หรือเข้าดูเว็บอนาจาร ซึ่งการกระทำความผิดในกรณีนี้ป้องกันได้ยากมาก ดังนั้น หากตรวจสอบพบว่าโดนปลอมแปลงก็ต้องรีบแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ทันที ในเบื้องต้นให้แจ้งเว็บมาสเตอร์ให้ลบชื่อบัญชี หรือข้อความที่ถูกโพสต์ออกอย่างรวดเร็ว

"ตอนนี้ในด้านเทคนิคการป้องกันความปลอดภัยนั้น เว็บไซต์ต่างๆ จะนิยมป้องกันด้วยเลขบัญชีคือ ชื่อล็อกอินกับรหัสผ่าน ดังนั้น ถ้าเรามีการตั้งรหัสผ่านที่ดี คือมีอักษรอย่างน้อย 8 ตัว ที่ประกอบด้วยตัวเลข ตัวอักษร และหากมีการผสมสัญลักษณ์อื่นๆ จะยิ่งมีความปลอดภัยมากขึ้น โดยบางคนอาจจะใช้เทคนิคใช้คำภาษาไทย แต่เวลากดแป้นพิมพ์กำหนดเป็นภาษาอังกฤษ ก็จะได้รหัสที่มีความหลากหลาย" รศ.ดร.บุญญฤทธิ์

อาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ข้อควรระวังที่ไม่ควรประมาทคือ การตั้งล็อกอินถาวร โดยเฉพาะในกลุ่มบุคคลที่มีคอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ๊กส่วนตัว หรือใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับผู้อื่นที่ไม่อยากเสียเวลาในการเข้ารหัสผ่านทุกครั้ง ทำให้เวลาที่โน้ตบุ๊กหาย หรือการลืมล็อกเอาต์ออกจากระบบเมื่อเลิกใช้ ก็จะถูกขโมยข้อมูลได้ง่าย เพราะการล็อกอินถาวรจะทำให้ระบบจดจำรหัสผ่านไว้ แม้จะปิดเครื่องและเปิดใหม่แล้วก็ตาม ทางที่ปลอดภัยคือการกดล็อกเอาต์ทุกครั้งที่เสร็จภารกิจกับเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่มาใช้ต่อสวมรอยกระทำความผิดได้

รศ.ดร.บุญญฤทธิ์กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ดี ด้วยโลกแห่งการสื่อสารยุคใหม่ที่ทำได้ง่าย รวดเร็ว ส่งผลให้ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับผ่านการตรวจสอบความถูกต้องได้น้อยลง จึงอยากฝากถึงประชาชนที่ใช้บริการเว็บไซต์ต่างๆ ให้มีความระมัดระวังในการรับข้อมูลข่าวสารมากขึ้น ฟังหูไว้หู อย่าเชื่อทั้งหมด 100% ในทันที แต่ควรมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ ด้วยการเปรียบเทียบกับข้อมูลจากองค์กร หรือสถาบันที่น่าเชื่อถือ รวมถึงสำนักพิมพ์ เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ได้รับการยอมรับ ขณะเดียวกันประชาชนเองก็ต้องระมัดระวังการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนให้มากขึ้น เพื่อความปลอดภัยของตนเองด้วย


ข้อมูลจากไทยโพสต์



Create Date : 03 มิถุนายน 2553
Last Update : 3 มิถุนายน 2553 20:42:12 น.
Counter : 831 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Caffein Dog
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]



Group Blog
มิถุนายน 2553

 
 
2
4
5
7
8
9
10
13
15
16
17
18
20
22
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog