ได้แชร์ประสบการณ์ย่อมดีกว่าการเก็บไว้คนเดียว
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2562
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
5 กรกฏาคม 2562
 
All Blogs
 
เจ้าเมืองอุบลคนแรก พระประทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) ณ วัดหลวง อุบลราชธานี

เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงษ์


เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) หรือ พระปทุมวรราชสุริยวงษ

ในจารึกพระเจ้าอินแปงออกนามว่า เจ้าพระปทุม

ดำรงตำแหน่งเจ้าประเทศราชครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช

คนแรก (ปัจจุบันคือจังหวัดอุบลราชธานีในภาคอีสานของประเทศไทย)

นามเดิมว่า เจ้าคำผง หรือ ท้าวคำผง



ด้วยการที่พระประทุมราชวงศา(เจ้าคำผง) 

ร่วมมือกับเจ้าฝ่ายหน้าผู้อนุชาซึ่งไปตั้งกองนอกเก็บส่วย

อยู่ที่บ้านสิงห์โคกสิงห์ท่า(เมืองยโสธร)


และถูกบังคับให้ช่วยเหลือกองทัพเมืองนครราชสีปราบปรามกบฏอ้ายเชียงแก้ว

ได้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงโปรดเกล้าฯ

ให้พระประทุมราชวงศาเป็นที่พระปทุมวรราชสุริยวงษทรงยกเมืองอุบล

ขึ้นเป็นอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช

ยกฐานะเมืองอุบลราชธานีเป็นเมืองประเทศราช



และสถาปนาพระปทุมราชวงศาเป็นเจ้าเมืองอุบลองค์แรกเมื่อพ.ศ. 2321



พระปรมาภิไธย

เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงษ์


พระอิสริยยศ

เจ้าประเทศราช


ราชวงศ์สุวรรณปางคำ


รัชกาลถัดไป


เจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์(เจ้าทิดพรหม)



พระประทุมวรราชสุริยวงศ์

ครองเมืองอุบลราชธานีเป็นเวลารวมได้17 ปี

จนถึงพ.ศ. 2338 จึงถึงแก่ พิราลัย สิริรวมชนมายุได้ 85 ปี

มีการประกอบพระราชทานเพลิงศพด้วยเมรุนกสักกะไดลิงก์ 

 ณ ทุ่งศรีเมือง

แล้วเก็บอัฐิธาตุบรรจุในพระธาตุเจดีย์ไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง

ณ บริเวณที่เป็นธนาคารออมสินสาขาอุบลราชธานีทุกวันนี้ 

ต่อมาภายหลังเมื่อมีการสร้างเรือนจำขึ้นในบริเวณดังกล่าวจึงย้ายอัฐิ

ไปประดิษฐาน ณ วัดหลวง เมืองอุบลราชธานีจนทุกวันนี้

 ปัจจุบันมีอนุสาวรีย์ของพระปทุมวรราชสุริยวงศ์(เจ้าคำผง) 

ประดิษฐาน2 ที่หนึ่ง

คือวัดหลวงโดยมีพระเจ้าใหญ่องค์หลวงเป็นพระประธานนานมานับแต่สร้างเมือง



และเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาสืบไปได้มีการจัดสร้างพิธีเททองหล่อพระ

อันมีชื่อว่า หลวงพ่อปากดำ องค์จำลองจากองค์จริงที่มีอายุนับร้อยปีขึ้น

เพื่อประดิษฐานณพระอุโบสถหลังใหม่เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

และเพื่ออุทิศบุญทั้งหมดอันเกิดจากการสร้างพระประธา

หลวงพ่อปากดำ 


องค์นี้ให้แด่เจ้าเมืองทุกๆพระองค์ผู้ซึ่งล่วงลับและผู้ที่เสียสละเลือดเนื้อและชีวิต

เพื่อแลกกับผืนแผ่นดินจนมีปัจจุบันทุกวันนี้









และอีกที่หนึ่ง ณ  ทุ่งศรีเมือง  กลางเมืองอุบลราชธานี


สกุลที่สืบเชื้อสาย


เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์เป็นต้นกำเนิดของสายสกุลต่างๆ

ในเมืองอุบลราชธานีหลายสกุลเช่น


ณอุบล สกุลนี้สืบเชื้อสายเจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์

ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุลสายนี้คือพระอุบลเดชประชารักษ์(เสือณอุบล)

กรมการเมืองพิเศษเมืองอุบลราชธานีในสมัยรัชกาลที่5

สุวรรณกูฏ สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางพระพรหมราชวงศา(กุทองสุวรรณกูฏ)

เจ้าเมืองอุบลราชธานีลำดับที่3 พระราชโอรสในเจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศา


สิงหัษฐิตสกุลสายนี้สืบเชื้อสายมาจากพระเกษโกมลสิงห์ขัตติยะพระนัดดา

ในเจ้าเมืองอุบลราชธานีองค์ที่3 

ผู้ขอรับพระราชทานนามสกุลคือพระวิภาคย์พจนกิจบิดาของ

นายเติมวิภาคย์พจนกิจผู้เขียนหนังสือประวัติศาสตร์อีสาน


ทองพิทักษ์ สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางเจ้าอุปฮาด(สุดตา) 

เป็นผู้ขอรับพระราชทานนามสกุล


อมรดลใจสกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางพระอมรดลใจอดีตบรรดาศักดิ์

ที่ท้าวสุริยวงศ์เจ้าเมืองตระการพืชผลองค์แรกท่านนี้

เป็นบุตรในพระพรหมราชวงศาเจ้าเมืองอุบลราชธานีองค์ที่3


โทนุบล สกุลนี้สืบเชื้อสายผ่านทางเจ้าเมืองมหาชนะชัยหรือท้าวคำพูนสุวรรณกูฏ

ผู้เป็นบุตรในพระพรหมราชวงศาเจ้าเมืองอุบลราชธานีองค์ที่3

 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามท้าวคำพูนว่า

พระเรืองชัยชนะเจ้าเมืองมหาชนะชัยขึ้นตรงต่อเมืองอุบลราชธานี

ต่อมาภายหลังเมืองมหาชนะชัยได้ถูกลดฐานะเป็นอำเภอภายใต้การปกครอง

ของเมืองอุบลราชธานี

บุตโรบล สายนี้สืบมาจากเจ้าราชบุตร(สุ่ย)และเจ้าราชบุตร(คำ) 

โอรสในเจ้าสีหาราชทั้งสองพระองค์เป็นพระราชอนุชา

ในเจ้าพระปทุมวรราชสุริยวงศ์

ผู้รับพระราชทานสกุลคือพระอุบลกิจประชากรสายสกุลนี้เป็นสายสกุลของอัญญา

นางเจียงคำบุตโรบล(หม่อมเจียงคำชุมพลณอยุธยา) 

ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าชุมพลสมโภชกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์


"อนึ่งทายาทบุตรหลานสายใดก็ดีหรือสกุลใดก็ดีหรือมิได้สืบเชื้อสายก็ดีมิได้มีราชสกุลหรือนามสกุลโดยตรงกับท่านก็ดีชาวอุบลราชธานีทุกๆคน ที่ระลึกถึงท่าน
ก็ถือเป็นลูกหลานของท่านมิผิดแท้"









ด้วยการนี้การนี้จึงขอเผยแพร่ชื่อเสียงของท่านโดยสังเขป

ให้เป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลผู้ต่างบ้านต่างเมืองหรือผู้อาจยังมิเคยล่วงรู้มาก่อนว่า

ชื่อเจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงษ์คือผู้ใดกัน

ทั้งนี้มิได้มีการกล่าวถึงประวัติของท่านโดยละเอียด

หากแต่เพียงแค่เป็นเกร็ดความรู้เล็กๆที่เราในฐานะลูกหลานชาวอุบลฯ

ได้ถูกบอกเล่ากล่าวมาตั้งแต่เล็กแต่น้อยจนพลอยทราบซึ้งเคารพ

และระลึกถึงบุญคุณของท่านที่ทำให้มีจังหวัดอุบลราชธานีมาจนจวบทุกวันนี้



และในการนี้ หลวงพ่อ(โดยศักดิ์เราต้องเรียกท่านว่าหลวงปู่) 

ท่านได้เมตตา มอบรูปหล่อองค์จำลอง 

เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงษ์

มาเพื่อเป็นที่เคารพ เป็นสิริมงคล และเพื่อสักการะ ระลึกถึงท่าน


จากนี้ไป

ให้เรียกองค์ท่านว่า “พ่อใหญ่”

  

[พ่อ-ใหญ่] ในภาษาอีสาน แปลว่า คุณตา/คุณปู่/คำเรียกขานผู้ชายอาวุโส

  

วัดหลวง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 

      ตั้งอยู่ที่ถนนพรหมเทพ ด้านหน้า ติดถนน ด้านหลัง ติด ริมฝั่งแม่น้ำมูล

ระหว่างท่ากวางตุ้นกับท่าจวน (ตลาดใหญ่)สมัยนี้ที่เรียกกัน 


 



Create Date : 05 กรกฎาคม 2562
Last Update : 15 สิงหาคม 2563 18:00:43 น. 0 comments
Counter : 2624 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 5236191
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เข้าใจว่าการเขียนบล็อก ก็คงเป็นการแชร์ประสบการณ์ รวมไปจนถึงความสนใจของแต่ละคน กระมัง? ประสบการณ์เล็กๆ ของฉัน บนโลกใบใหญ่ๆ
ยังมีเรื่องราวอีกมากมายบนโลกใบใหญ่ๆใบนี้ ซึ่งเราสามารถรู้ได้เพียงแค่เรารู้จัก "Google" แต่ทว่า "Google" ไม่สามารถบอกความรู้สึกของมันได้
เรื่องราวบางเรื่องถึงแม้ว่าเราไม่ได้ประสบมาเอง หรือ อาจไม่ได้เป็นสิ่งที่เราสนใจ
มาก่อน แต่เมื่อเราบังเอิญได้สัมผัสผ่านการบอกเล่าของแต่ละท่าน มันเปิดโลกทัศน์ของเราได้อย่างดีเลยทีเดียว และมันดีตรงที่ เราไม่ต้องสร้างภาพ และ เราไม่สามารถรู้จักทุกๆคนบนโลก แต่เราสามารถรู้ตัวตนของแต่ละคนตามเรื่องราวในแต่ละ Blog เราไม่ต้องรู้จักกัน แต่เราสามารถท่องโลกอินเตอร์เน็ตอย่างสนุกและเพลินไปได้ในประสบการณ์ของคนอื่น และ บางครั้งที่เราได้เข้าไปอ่านบล็อคของท่านอื่นๆ มันก็เป็นการเปิดประสบการณ์ของเราอย่างดียิ่งเลยทีเดียว และเผื่อว่า ประสบการณ์และความสนใจของเราเอง อาจจะมีประโยชน์บ้างเล็กๆน้อยๆของใครบางคนที่ได้ผ่านเข้ามาอ่านเช่นกัน”มองโลกผ่านเลนส์ บันทึกความทรงจำผ่านตัวอักษร"
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5236191's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.