“ทำวัตรเย็น”คำแปล หรือ ความหมายแปลจากภาษาบาลี
(ตัดภาษาบาลี) ออกเพื่อการอ่านที่สามารถเข้าถึงความหมายได้โดยง่าย เน้นการอ่านเพื่อเข้าใจ เพราะบทสวดมนต์พร้อมคำแปลคงจะมีมากอยู่แล้ว กล่าวง่ายๆคือ
ตัดภาษาบาลีออก คงไว้อ่านง่ายเข้าใจง่าย
“เพื่อคนรักการอ่าน”
ทำวัตร หมายถึง การทำกิจที่พึงทำตามหน้าที่ หรือตามธรรมเนียม
เป็นคำย่อมาจากคำว่าทำกิจวัตรประจำอันเป็นธรรมเนียมปกติ
เรียกการไหว้พระสวดมนต์ของพระตามปกติในตอนเช้าและตอนเย็นหรือตอนค่ำว่า
ทำวัตรเช้า และ ทำวัตรเย็น
วันนี้เราจะมาอ่านคำแปลง่ายๆแบบเข้าใจโดยภาษาไทย ที่แปลจาก บาลีมาแล้ว
โดยส่วนตัวเวลาสวดมนต์ เราเข้าถึง(ความหมายของคำว่าเข้าถึง ก็คือ เข้าใจ)
คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดย ภาษาที่แปลมาแล้ว จึงอยากจะบันทึกไว้อ่าน
อาจมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย สำหรับคนชอบอ่านเช่นเดียวกัน แต่หากมิได้ละทิ้งภาษาบาลี หรือละทิ้งการสวดมนต์แต่อย่างใด แต่เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น
หากผิดพลาดทางความคิดและการนำเสนอ ขอกราบอภัยมา ณ ที่นี้
“ทำวัตร เย็น ฉบับบแปลแล้ว”
คําบูชาพระรัตนตรัย
พระพุทธ
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลส, เพลิงทุกข์สิ้นเชิง,
ตรัสรู้ชอบได้ โดยพระองค์เอง,
พระธรรม
พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจา้ พระองค์ใด, ตรัส ไว้ดีแล้ว,
พระสงฆ์
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจา้ พระองค์ใด, ปฏิบัติดีแล้ว,
ข้าพเจ้าทั้งหลาย,ขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
พร้อมทั้งพระธรรมและ พระสงฆ์, ด้วยเครื่องสักการะทั้งหลายเหล่านี้,
อันยกขึ้นตามสมควรแล้วอย่างไร,
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ, พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ ปรินิพพานนานแล้ว,
ทรงสร้างคุณอันสําเร็จประโยชนไ์ว้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย,
ทรงมีพระหฤทัยอนุเคราะห์แก่พวกข้าพเจ้า ,อันเป็นชนรุ่นหลัง,
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงรับเครื่อง สักการะ, อันเป็นบรรณาการของคนยากทั้งหลายเหล่านี้,
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้า ทั้งหลาย, ตลอดกาล นาน เทอญ.
ความหมายของ :อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลส เพลิง ทุกข์สิ้นเชิง,
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
พระพุทธ
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน, (กราบ)
พระธรรม
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว,ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)
พระสงฆ์
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว, ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)
ความหมายของ : นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต,สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.
พระพุทธ
ก็กิตติศัพท์อันงามของพระ ผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ได้ฟุ้งไปแล้ว, อย่างนี้ว่า,เพราะเหตุอย่างนี้ ,
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น,เป็นผู้ไกลจากกิเลส,เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง,
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ,เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี,เป็นผู้รู้โลกอย่างแจม่ แจ้ง,
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษท่ีสมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า,
เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ,เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม,
เป็นผู้มีความจําเริญ จําแนกธรรมส่ังสอนสัตว์ ดังน้ี.
พระพุทธเจ้าประกอบด้วยคุณ, มีความประเสริฐแห่ง อรหันตคุณ เป็นต้น,
มีพระองค์อันประกอบด้วยพระญาณ,และพระกรุณาอัน บริสุทธิ์,
พระองค์ใด ทรงกระทําชนที่ดีให้เบิกบาน,ดุจอาทิตย์ทํา บัวให้บาน,ข้าพเจา้ ไหว้พระชินสีห์,
ผู้ไม่มีกิเลส พระองค์นั้น, ด้วยเศียรเกล้า,
พระพุทธเจ้าพระองค์ใด, เป็นสรณะอัน เกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย,
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น, อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่หนึ่งด้วยเศียรเกล้า,
ข้าพเจ้าเป็นทาส ของพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าเป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า,
พระพุทธเจ้าเป็นเครื่องกําจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้ แด่พระพุทธเจ้า,ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม,
ซึ่งความตรัสรู้ดีของพระพุทธเจ้า,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี,พระพุทธเจ้าเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า,ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ข้าพเจ้าพึงเจริญ ในพระศาสนา ของพระศาสดา,ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ ซึ่ง พระพุทธเจ้า ,
ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้,อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าด้วยเดช แห่งบุญนั้น.
(กราบหมอบลงว่า)
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี,
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจา้ กระทําแล้ว ในพระพุทธเจ้า,
ขอพระพุทธเจ้า จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,
เพื่อการสาํ รวมระวัง ในพระพุทธเจ้า ในกาลต่อไป.
พระธรรม
พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ได้ตรัสไว้ดีแล้ว,
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง,เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ ไม่จํากัดกาล,
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า, ท่านจงมาดูเถิด,เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว,
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้
พระธรรมเป็นสิ่งที่ประเสริฐเพราะประกอบด้วยคุณ,
คือ ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเป็นต้น,
เป็นธรรมอันจําแนก เป็นมรรค ผล ปรัยัติ และนิพพาน,เป็นธรรมทรงไว้ซึ่งผู้ทรงธรรม,
จากการตกไปสู่โลกที่ชั่ว,ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมอันประเสริฐนั้น,
อันเป็นเครื่องขจัดเสียซึ่งความมืด,
พระธรรมใด เป็นสรณะอันเกษมสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย,ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น,
อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สองด้วยเศียรเกล้า,
ข้าพเจ้าเป็นทาสของพระธรรม, พระธรรมเป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า,
พระธรรมเป็นเครื่องกําจัดทุกข์, และทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า,
ข้าพเจ้ามอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระธรรม,
ข้าพเจ้า ผู้ไหว้อยู่ จักประพฤติตาม, ซึ่งความดีงามของพระธรรม,
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มีพระธรรมเป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า,ด้วยการกล่าวคําสัตย์นี้, ข้าพเจ้าพึงเจริญในพระศาสนา ของพระศาสดา,ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ ซึ่งพระธรรม,
ได้ขวนขวายบุญใดในบัดนี้,
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า, ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.
(กราบหมอบลงว่า)
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี,
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทาํ แล้ว ในพระธรรม,
ขอพระธรรม จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,
เพื่อการสํารวมระวัง ในพระธรรม ในกาลต่อไป.
พระสงฆ์
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, หมู่ใด, ปฏิบัติตรง แล้ว,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด,ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด,ปฏิบัติสมควรแล้ว
ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ,คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่,นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ,
นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานํามาบูชา,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ,เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน,
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทําอัญชลี(ไหว้),เป็นเนื้อนาบุญของโลก,ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้
พระสงฆ์ที่เกิดโดยพระสัทธรรม, ประกอบด้วยคุณมีความ ปฏิบัติดีเป็นต้น,
เป็นหมู่แห่งพระอริยบุคคลอันประเสริฐแปดจําพวก,มีกายและจิต อันอาศัยธรรมมีศีลเป็นต้นอันบวร,
ข้าพเจ้า ไหว้หมู่แห่งพระอริยเจ้าเหล่านั้น, อันบริสุทธิ์ด้วยดี,พระสงฆ์หมู่ใด,
เป็นสรณะอันเกษมสูงสุด ของสัตว์ทั้งหลาย,ข้าพเจา้ ไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น,
อันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกองค์ที่สาม ด้วยเศียรเกล้า,
ข้าพเจ้า เป็นทาสของพระสงฆ์, พระสงฆ์ เป็นนาย มีอิสระเหนือข้าพเจ้า,
พระสงฆ์เป็นเครื่องกําจัดทุกข์, และ ทรงไว้ซึ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า,
ข้าพเจ้า มอบกายถวายชีวิตนี้แด่พระสงฆ์,ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่จักประพฤติตาม,
ซึ่งความปฏิบัติดี ของพระสงฆ์,สรณะอื่นของข้าพเจ้า ไม่มี,
พระสงฆ์ เป็นสรณะอันประเสริฐของข้าพเจ้า,ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้,
ข้าพเจ้าพึงเจริญ ในพระศาสนา ของพระศาสดา,
ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ ซึ่งพระสงฆ์, ได้ขวนขวายบุญใด ในบัดนี้,
อันตรายทั้งปวง อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า, ด้วยเดชแห่งบุญนั้น.
(กราบหมอบลงว่า)
ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี,
กรรมน่าติเตียนอันใด ที่ข้าพเจ้ากระทาํ แล้ว ในพระสงฆ์,
ขอพระสงฆ์ จงงดซึ่งโทษล่วงเกินอันนั้น,
เพื่อการสํารวมระวัง ในพระสงฆ์ ในกาลต่อไป.
สำหรับ พระภิกษุ – สามเณรสวด
จีวรใด อันเเรานุ่งห่มแล้วไม่ทันพิจารณา ในวันนี้
จีวรนั้น เรานุ่งห่มแล้ว เพียงเพื่อบําบัดความหนาว,
เพื่อบําบัดความร้อน,
เพื่อบําบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ
ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย,
และเพียงเพื่อปกปิดอวัยวะ อันให้เกิดความละอาย,
บิณฑบาตใด อันเราฉันแล้วไม่ทันพิจารณาในวันนี้,
บิณฑบาตนั้น เราฉันแล้ว ไม่ใช่เป็นไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน,
ไม่ให้เป็นไปเพื่อคววามเมามัน เกิดกําลังพลังทางกาย,
ไม่ให้เป็นไปเพื่อประดับ,ไม่ให้เป็นไปเพื่อตกแต่ง ,
แต่ให้เป็นไปเพียงเพื่อการตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้,
เพื่อความเป็นไปได้ของอัตภาพนี้ด้วย,
เพื่อความสนิ้ ไปแห่งความลําบากทางกาย,
เพื่ออนุเคราะห์แก่การประพฤติพรหมจรรย์,
ด้วยการทาํ อย่างนี้, เราย่อมระงับเสียได้ซึ่งทุกข์เวทนาเก่าคือความหิว,
และไม่ทําทุกข์เวทนาใหม่ให้เกิดขึ้น,
อนึ่ง ความเป็นไปโดยสะดวกแห่งอัตภาพนี้ด้วย, ความเป็นผู้หาโทษมิได้ด้วย,
และความเป็นอยู่โดยผาสุกด้วย, จักมีแก่เราดังนี้
เสนาสนะใด อันเราใชส้ อยแล้ว ไม่ทันพิจารณา ในวันนี้,
เสนาสนะนั้น เราใช้สอยแล้ว เพียงเพื่อบําบัดความหนาว,
เพื่อบําบัดความร้อน,เพื่อบําบัดสัมผัสอันเกิดจากเหลือบ
ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย,เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายอันจะพึงมี
จากดินฟา้ อากาศ, และเพื่อความเป็นผู้ยินดีอยู่ได้, ในที่หลีกเร้นสําหรับภาวนา,
คิลานเภสัชบริขารใด อันเราบริโภคแล้ว ไม่ทันพิจารณา ในวันนี้,
คิลานเภสัชบริขารนั้นเราบริโภคแล้ว, เพียงเพื่อบําบดั ทุกข์เวทนาอันบังเกิดขึ้นแล้ว,
มีอาพาธต่างๆ เป็นมูล, เพื่อความเป็นผู้ไม่มีโรคเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง, ดังนี้.
บทอุทิศ(กรวดน้ํา)*ในวัดป่าจะไม่มีการกรวดน้ำ
ด้วยบุญนี้ อุทิศให้
อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ
และอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน
ทั้งพ่อแม่ และปวงญาติ (ผู้เป็นที่รักของข้าพเจ้า) สุริโย จันทิมา ราชา สูรย์จันทร์ และราชา
ผู้ทรงคุณ หรือสูงชาติ
พรหมมาร และอินทราช
ทั้งเทวยเทพและโลกบาล
ยมราช มนุษย์มิตร
ผู้เป็นกลาง ผู้จองผลาญ
ขอให้เป็นสุขศานติ์ ทุกทั่วหน้าอย่าทุกข์ทน
บุญผองที่ข้าพเจ้าทํา จงช่วยอํานวยสุภผล
ให้สุข สามอย่างล้น ขิปปงั ปาเปถะ โว มะตัง ให้ลุถึงนิพพานพลัน
ด้วยบุญนี้
แลอุทิศให้ปวงสัตว์
เราพลันได้ซึ่งการตัด
ตัวตัณหาอุปาทาน
สิ่งชั่ว ในดวงใจ
กว่าเราจะถึงนิพพาน
มลายสิ้น จากสันดาน
ทุกๆ ภพที่เราเกิด
มีจิตตรง และสติทั้งปัญญาอันประเสริฐ
พร้อมทั้งความเพียรเลิศเป็นเครื่องขูดกิเลสหาย
โอกาส อย่าพึงมีแก่หมู่มารสิ้นทั้งหลาย
เป็นช่องประทุษร้าย ทําลายลา้ ง ความเพียรจม
พระพุทธผู้บวรนาถ
พระธรรมที่พึ่งอุดม
พระปัจเจกะพุทธสมบท
พระสงฆ์ที่พึ่งผยอง
ด้วยอานุภาพนั้น
ขอหมู่มาร อย่าได้ช่อง
ด้วยเดชบุญทั้งสิบป้อง
อย่าเปิดโอกาสแก่มารเทอญ.
(บทสวดทําวัตรเย็น จบ)