วัดทองนพคุณ จังหวัดอุบลราชธานี ชมพิธีลำดับภาพพุทธาภิเษกพร้อมถวายพระแก้วมรกต
พิธีพุทธาภิเษกพร้อมถวายพระแก้วมรกต องค์จำลอง
ณ วัดทองนพคุณ อุบลราชธานี
การทำพิธีพุทธาภิเษก เริ่มต้นเมื่อใด ไม่สามารถให้ข้อมูลที่ชัดเจนได้
แต่คงเริ่มทำกันมานานแล้ว
พิธีพุทธาภิเษก จะเป็นประเพณี พิธีกรรมของที่ใดมาก่อนก็ตาม
แต่ปัจจุบันนั้น เรียกได้ว่าเป็นของพุทธไปแล้วด้วย
แม้จะมีพื้นฐานเป็นพรามณ์บ้างก็ไม่ควรไปถือว่าเป็นเรื่องเสียหายอะไร
แต่การใดก็ตามเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่คนที่รู้จักใช้อยู่
แม้จะเป็นของที่ใดมาก่อนไม่เห็นสำคัญอะไร
ประวัติของการทำพิธีพุทธาภิเษก
พุทธาภิเษก ในแง่ของเจตนารมณ์ จะพบว่า
คือการประชุมกันเพื่อตกลงยอมรับวัตถุที่นำเข้าสู่พิธี
ให้เป็นวัตถุที่เคารพสักการะ เป็นเครื่องหมายแห่ง ขวัญ กำลังใจ และเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความเลือมใส ของคนที่ยอมรับถือสมมุติสัจจะเหล่านั้น ทำนองเดียวกับเงื่อนไขต่างๆ อาทิเช่น ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ขึ้นเป็นประธานาธิบดี อย่างนี้เป็นต้น ตำแหน่งของท่านเหล่านั้นจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมือ ได้ผ่านกรรมวิธี ขั้นตอนตามหลัก
การที่กำหนดไว้ ท่านจะเป็นอะไรมาก่อนไม่สำคัญ แต่เมื่อผ่านขั้นตอนต่างๆ ที่กำหนดขึ้นกันโดยถูกต้องแล้ว ทุกคนจะต้องยอมรับนับถือ
ฐานะที่สมมุติแต่งตั้งนั้น
พุทธาภิเษก น. อีกชื่อพิธีในการปลุกเสกพระพุทธรูปหรือวัตถุมงคล โดยมีพระเถระผู้เชี่ยวชาญในการทำสมาธิจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า คณะปรก
นั่งภาวนาส่งกระแสจิตเพ่งคุณพระรัตนตรัยเข้าไปสู่องค์พระหรือวัตถุมงคลนั้น ๆ
พิธีพุทธาภิเษก อีกนัยยะหนึ่ง เรียกการสมโภชน์
หรือการเฉลิมฉลองก็ว่าได้มิผิด
เป็นส่วนหนึ่งของพิธีหล่อพระพุทธรูป เพื่อเกิดสิริมงคล
เทียนและธูปในพิธี
๑. เทียนชัย ๑ เล่ม สูงเท่าตัวเจ้าภาพ หรือสูงเท่าพระประธาน ใช้ผึ้งแท้น้ำหนักเท่าอายุเจ้าภาพ หรือเท่าพระชนมายุของพระพุทธเจ้า
เฉลี่ยปีละ ๑, ใส้เทียนนับให้ได้ ๘๐ เส้น เท่ากับพระชนมายุของพระพุธเจ้าเช่นกัน ๒. เทียนมงคล สูงเท่ากับความยาววัดโดยรอบศรีษะเจ้าภาพ
ใช้ผึ้งหนักเล่มละ ๙ บาท, ใส่ใส้เล่มละ ๔๕ เส้น ๒ เล่มตั้งใส่เชิงเทียนใหญ่
วางลงตั้งไว้ในโอ่งน้ำมนต์ ๒ โอ่ง, ที่ตั้งอยู่สองข้างตู้เทียนชัย ๓. เทียนวิปัสสี ๒ เล่ม ความยาววัดเล่มละ ๑ ศอก ใส้เทียน ๔๕ เส้น
ตั้งใส่เชิงเทียนวางไว้ตู้เทียนชัย พร้อมแจกันดอกไม้ ๑ คู่, ถางธูป ๑ อัน,
ธูปหอม ๓ ดอก ๔. เทียนนพเคราะห์ ๓ เล่ม หนักเล่มละ ๑ บาท
ใช้เทียนผึ้งธรรมชาติก็ได้ สำหรับจุดที่โต๊ะบวงสรวง
๕. เทียนน้ำมนต์ ๑๐๘ เล่ม ใส่พาน ๔ ใบ, แบ่งเทียนใส่พานสี่ใบเท่า ๆ กัน นำไปวางไว้ตามโอ่งน้ำมนต์ ๔ โอ่ง, เพื่อจุดเวลาพระสวดพุทธาภิเษก
จำนวนพระที่นิมนต์ในงานพุทธาภิเษก ๑. พระเจริญพระพุทธมนต์ ๙ รูป
๒. พระสวดพุทธาภิเษก ๒ ชุด ชุดละ ๔ รูป,รวม ๘ รูป ๓.พระนั่งปรก ๒ ชุด ชุดละ ๔ รูป
เมื่อพราหมณ์อ่านโองการเสร็จ ก็ให้กราบอาราธนา
ประธานในพิธีจุดเทียนชัย เทียนมงคล เทียนพุทธาภิเษก
พระธรรมพิธี ๔ รูป สวดคาถาจุดเทียนชัย
คาถาจุดเทียนไชยพิธี
พุทโธ สัพพัญญุตะญาโณ ธัมโม โลกุตตะโร วะโร
สังโฆ มัคคะผะลัฏโฐ จะ อิจเจตัง ระตะนัตตะยัง
เอตัสสะ อานุภาเวนะ สัพพะทุกขา อุปัททะวา
อันตะรายา จะ นัสสันตุ สัพพะโสตถี ภะวันตุ เตฯ
ฯลฯ จากนั้น พระสงฆ์ที่นิมนต์มาสวดพุทธาภิเษกก็จะเริ่มสวดพุทธาภิเษก ผลัดกับ ชีพราหมณ์ที่มาร่วมพิธีก็เริ่มสวดพุทธคุณ ธัมมคุณ สังฆคุณ จนครบ
กำหนดที่สัญญากันไว้ แล้วจึงเรียกว่าพิธีแล้วเสร็จ พระผู้สวดพุทธาภิเษกก็จะเริ่มสวดต่อไปสลับกันกับชีพราหมณ์
ในการนี้ สวด อิติปิโส 108 จบ สลับกันไป ตลอดทั้งคืน
เสริมด้วย
บทสวดมงคลและแผ่เมตตา
อาทิ
คาถาบารมี ๓๐ ทัศ
เมตตาพ๎รัห๎มะวิหารคาถา
ฯลฯ พุทธาภิเษก การที่พระ 4 รูปมาสวดนั้นท่านเรียกว่า พุทธาภิเษก อันเป็นการแสดงถึง ความรู้สึกศรัทธาเชื่อมั่นในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ของผู้ร่วมพิธี
พร้อมกับพรรณาพุทธประวัติ อานุภาพของพระพุทธเจ้า จากนั้นจะเป็นการสวด
ภาณวาร ก็คือสูตรที่มีประวัติความเป็นมา ในทางขลัง ศักดิ์สิทธิ์ มีอานุภาพ
ในการช่วยเหลือคนให้หลุดพ้น จากทุกข์ ภัย โรค ท่านที่นั่งบริกรรมนั้น ท่านจะว่าอะไรก็เป็นเรื่องของแต่ละท่าน
สรุปแล้วคือท่านนั่งทำความสงบด้วยการบริกรรม สมาธิเพื่อแผ่พลังจิต คาถา มนตร์ ที่ท่านสาธยาย ให้เป็นอานุภาพแก่วัตถุมงคล
ที่นำมาทำพิธี ท่านที่บริกรรมอาจเรียกว่า ปลุกเสก ก็ได้ แต่ปลุกเสก
ส่วนมากเน้นไปที่ปลุกเสกผลงาน ชิ้นงาน ที่ผ่านการทำพิธีพุทธาภิเษกมาแล้ว
สรุปว่า ปลุกเสกบางอย่างมีอยู่ในพุทธาภิเษก แต่พุทธาภิเษกบางอย่างไม่ใช่การปลุกเสก
คาถาดับเทียนชัย
(ทุกพระราชพิธี )
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
ฯลฯ
เสร็จพิธี ร่วมกันกล่าวคำถวายพระพุทธปฏิมา
แผ่เมตตา ฯลฯ
และถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์
เป็นลำดับต่อไป
และในการนี้ มิได้มีการจำหน่าย เช่า หรือบูชาวัตถุมงคลใดๆ
มีแต่แจกฟรีเป็นที่ระลึกร่วมกัน
"โชคดีหนักหนาเกิดมาเป็นคน"
Create Date : 23 มิถุนายน 2562 |
Last Update : 9 มีนาคม 2563 15:33:30 น. |
|
1 comments
|
Counter : 2132 Pageviews. |
|
|