|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
Here Comes Metal: Nothing But Metal
Venom Metal Black
การกลับมาจากขุมนรกของวงดนตรีที่ได้รับการสักการะว่าเป็นวง black metal วงแรกของโลกเพียงด้วยอัลบั้มที่ชื่อ Black Metal ของวง น้า Cronos ยังคงเป็นเจ้าของวงเช่นเคยครับ เสริมทัพด้วย Antton กับ Mykvs ตามประวัติศาสตร์เมทัลนั้นจริง ๆ แล้วพวกเขาไม่ได้เล่นดนตรีแบล็คเมทัลหรอกครับ เป็นแค่ดนตรีในแบบ New Wave OF British Heavy Metal (NWOBHM) ผสมผสานแธรชนิด ๆ มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ดนตรีเบาบางกว่าพวกแบล็คเมทัลในปัจจุบันคนละเรื่องราวกันเลยครับ แต่เพียงแค่ attitude เท่านั้นครับที่ไปในทางเดียวกันจึงกลายเป็นต้นแบบให้กับเหล่าสาวกเมทัลที่สวามิภักดิ์ต่อซาตานทั้งหลายทั้งปวงทั่วโลกไปโดยปริยาย
ชื่ออัลบั้มใหม่ Metal Black นี้ดูเหมือนจะขี้เกียจอย่างไรไม่ทราบได้ จนกลายเป็นหัวข้อให้ discuss กันอย่างกว้างขวางไปแล้วครับ ขณะที่รายชื่อเพลงและเนื้อหาสาระในแต่ละเพลงก็ดูเรียบง่ายย่ำอยู่กับที่ ดูน่าเบื่อมากครับ อย่าง Antechrist, Burn In Hell, House Of Pain, Death & Dying, A Good Day To Die, Lucifer Rising
..วลีพวกนี้ เคยเห็นเคยได้ยินมาจนบ่อยครั้งเกินไปแล้วครับ วงร็อค/เมทัลนับไม่ถ้วนใช้กันจนเกร่อ ขณะที่ cover ก็เน้นบรรยากาศแบบเดิม ๆ อาจดูทันสมัยมากขึ้นมาหน่อยครับ
ในด้านภาคดนตรีนั้น อัลบั้มนี้มีการผสมผสานกันระหว่างดนตรีของ Venom ในยุค old school ครับ โดยเฉพาะเพลงอย่าง Antechrist ซึ่งดูเหมือนจะเป็นแทร็คเปิดอัลบั้มสำหรับเอาใจแฟน ๆ โดยเฉพาะ ด้วยซาวน์ดในแบบยุคสมัย Black Metal กับ Welcome To Hell เสียงแหกปากของ Cronos ยังคงทรงพลังอยู่เช่นเคย แต่เพลงอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่ในอัลบั้มกลับกลายเป็นซาวน์ดใหม่ ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิมเกือบสิ้นเชิง คุณจะได้ยินท่อนริฟหนา ๆ ในทุก ๆ เพลง ด้วยซาวน์ดในแบบที่ Black Label Society กับ Pantera ใช้ครับ ซาวน์ดกีตาร์ในแบบ Zakk Wylde มีให้ได้ยินหลายครั้งหลายครา ส่วนท่อนโซโล่มีให้ฟังกันบ้างแต่ไม่ได้หวือหวาอะไรนัก เน้นท่อนริฟในแบบเฮฟวี่เป็นหลัก กลองหวดหนักเจ๋งเป้งครับ เพลงที่ผมชอบที่สุดเพราะฟังแล้วเข้าหูก็คงเป็น Assassin กับไตเติ้ลแทร็ค ครับ ออกไปทางแธรชเมทัลมันส์ ๆ หน่อย แต่ไม่แปลกใหม่อะไรนัก ส่วน Lucifer Rising ก็........อืมโอ เคใช้ได้ครับ ท่อนโซโล่ในเพลงนี้ฟังดูดีที่สุดในอัลบั้มแล้วมั๊งครับ แต่วงรุ่นหลัง ๆ ทำมาหมดแล้ว Venom อาจจะช้าตามไม่ทันแล้วครับ
อัลบั้ม Metal Black อาจเป็นของมีค่าทางจิตใจสำหรับสาวกตัวจริงที่รอคอยการกลับมาของ Cronos ครับ หลังจากที่ Venom หายไปหลายปี แต่ใครที่เฉย ๆ กับวงนี้แล้วล่ะก็ใช้วิจารณญาณหน่อยครับ การกลับมาของวงเมทัลระดับตำนานที่สมศักดิ์ศรีมีหลายวงครับอย่าง Exodus, Annihilator, Dismember, Paladise Lost แต่ Venom สอบไม่ผ่านครับ บางทีชื่อเสียงก็อาจจะยังขายได้อยู่ แต่ถ้าอยากฟังดนตรีแบล็คเมทัลจริง ๆ ในตอนนี้ไม่ขอแนะนำ Metal Black ล่ะครับ
Amorphis Eclipse
จากเดธเมทัลแบนด์ มาเป็นดูมเทัล กระทั่งเข้าสู่ความเป็นโพรเกสซีฟที่ยังคงยึดติดกับรากเหง้าของตัวเองอยู่ แม้ว่าโลโก้ในสไตล์เดธเมทัลจะถูกเปลี่ยนเป็นอะไรที่มันเรียบง่ายเกินกว่าที่วงเมทัลทั่วไปจะยอมให้เป้น นี่หมายถึงวง Amorphis จากฟินแลนด์ครับ การจากไปของ Pasi Koskinen นักร้องนำในยุคก่อตั้งไม่ได้ทำให้พวกเขาต้องแยกทางกันแต่อย่างใด เพราะได้ Tomi Joutsen อดีตสมาชิกวง Finnish goth metal ชื่อว่า Sinisthra มารับหน้าที่แทน ในปีนี้พวกเขากลับมาอยู่กับสังกัด Nuclear Blast อีกครั้ง ด้วยอัลบั้มที่เก้า Eclipse ซึ่งยังคงยึดถือซาวนด์ในยุคปัจจุบันของพวกเขาไว้เช่นเคย ประมาณ progressive death/doom/metal ที่มีส่วนผสมของ gothic แบบอึมครึมอยู่ทั่วไปครับกับเนื้อหาสาระในเชิงปรัชญา ลองนึกถึงวงอย่างKatatonia+Opeth+Sentenced ครับ เครื่องดนตรีพื้นบ้านและกีตาร์อะคูสติคยังคงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญเช่นกันครับ นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ Amorphis ยังถูกจัดเข้าไปสู่วงที่มีอิทธิพลต่อพวก Folk metal อีกด้วยครับ Joutsen เองก็รับหน้าที่ร้องนำได้ดีครับ สำเนียงในแบบก็อธและเดธผสมผสานกัน โดยมี Tomi (guitar) ช่วยแหกปากด้วยอีกแรงทำให้เพาเวอร์ของภาคดนตรีมีเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ส่วนคีย์บอร์ดนั้นก็เป็นแรงขับเคลื่อนตัวโน๊ตในสไตล์ psychedelic ได้ดีครับ ทำให้แบล็คกราวน์ดเปี่ยมไปด้วย emotion ในแแบบที่ทางวงยึดถือมาหลังจากสิ้นสุดอัลบั้มเดธสุดคลาสสิค Tales Of The Thousand Lakes นั้นแหละครับ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็เพลง Shame Flesh เลยครับ Eclipse อาจจะไม่ถูกใจพวกขาโหดเลือดสาดเท่าไหร่ครับ แต่ใครที่ชื่นชอบโพรเกสซีพและก็อธล่ะก็ถือว่าเป็นงานที่ใช้ได้เลยครับ และน้อง ๆ ชาวอีโมเองก็ไม่ควรพลาดครับ แฟนเก่า ๆ ก็อาจได้ยิ้มกันบ้างเพราะพวกเขาไม่ได้ทิ้งดนตรีเมทัลหนัก ๆ ในแบบยุคดั้งเดิมไปเสียหมดครับ
Cephalic Carnage Anomalies
วงอเมริกัน brutal-grindcore ที่กำลังมาแรงติดอันดับวงยอดขายพุ่งกระฉูดจากค่าย Relapse ออกผลงานนี้เมื่อปีที่แล้วครับ ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นอัลบั้มที่สี่แล้วครับ เป็นอีกอัลบั้มหนึ่งสำหรับพวก mosher เถื่อน ๆ ทั้งหลาย ภายในอัลบั้มบรรจุแน่นเปรี๊ยะด้วยไกรน์ดระดับพระกาฬ เจือปนด้วยจังหวะเร่าร้อนแบบแธรชและความคึกคักของฮาร์ดคอร์ในบางเม็ดโน๊ต Piecemaker คือแทร็คที่ทางวงสร้างซาวน์ดที่แตกต่างออกไปด้วย ท่อนอินโทรในแบบ grind n roll ชวนให้นึกถึงวง Blood Duster ขึ้นมาตะหงิด ๆ ก่อนจะผ่อนสายคลายสปีดให้หย่อนยานด้วย sludge/doom กดประสาท เช่นเดียวกับ Sleeprace ที่เน้นจังหวะขึ้นมาหน่อย ในบางเพลงฟังดู Jazzy เข้าข่ายวงอย่าง The Dillinger Escape Plan ครับแต่โหดกว่าเยอะ เอาเป็นว่าอัลบั้มนี้เจ๋งครับ เหมาะสำหรับคอเมทัลที่ชอบความโหดแบบโชว์กึ๋นมีเทคนิคลีลาเข้าท่าล่ะก็ อัลบั้มนี้ของ Cephalic Carnage โดยใจแน่ ๆ ครับ
BalSagoth The Chthonic Chronicles
อัลบั้มลำดับที่หกใหม่เอี่ยมของวง Epic-Symphonic black metal จากเกาะอังกฤษ เป็นงานดนตรีเมทัลที่มีเนื้อหาสาระมากมายเหลือเกินขึ้นชื่อว่าเป้น epic metal แล้วล่ะก็ใช่เลยครับเมื่อได้ฟัง The Chthonic Chronicles นั้นเหมือนได้ดูภาพยนต์ในแนวแฟนตาซีเรื่องนึงเลยล่ะครับ ปรัชญา ประวัติศาสตร์ สงคราม ที่เกี่ยวข้องกับพวก Barbarian เป็นคอนเซปต์ของ Bal-Sagoth เค้าล่ะครับ ตลอดทั้งอัลบั้มตั้งแต่แทร็คแรก โหมโรงด้วยเรื่องเล่าแบบนิยายปรัมปราในชื่อของ The Sixth Adulation Of His Chtonic Majesty ผสมผสานกับเครื่องดนตรีของวงซิมโฟนีอลังห์กาลเหลือหลายยาวยืดถึง 4.19 นาที แทร็คที่สอง Invocations Beyond The Outer-World Night นั้นแหละครับจึงมาเริ่มอัดกันกระจายด้วย Symphonic black metal ที่กล่าวไว้ข้างต้นล่ะครับว่ามีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะเหลือเกิน จะจัดให้เป้น progressive black metal ก็ไม่ผิดกติกาครับ แค่ชื่อเพลงแต่ละเพลงก็ยาวเฟื้อยเพื่อให้เห็นภาพคร่าว ๆ ก่อนฟังภาคดนตรีแล้วล่ะครับ ดนตรีประเภทนี้ในปุจจุบันส่วนใหญ่จะพบได้ในแถบสแกนดิเนีเวียครับ แต่ Bal-Sagoth นั้นไม่ได้เพิ่งมาเอาดีทางนี้ครับ พวกเขายึดคอนเซ็ปต์แบบนี้มานานแล้ว นอกจากภาค lyrics จะน่าสนใจแล้วภาคดนตรีของพวกเขาก็น่าหลงไหลเช่นกันครับ ไม่ได้โหดเหี้ยมเกรียมอำมหิตซะทีเดียว มีผ่อนหนักผ่อนเบาโชว์ฝีมือกันเต็มที่เช่นกันครับ หลาย ๆ ท่อนหลายช่วงในบางเพลงฟังแล้วทำให้เดาเอาว่าพวกเขาคงได้รับอิทธิพลจากวงอย่าง Death, Pestilence หรือ Atheist มาไม่น้อยครับ อย่างทำนองในเพลง The Hammer Of The Emperor เป็นต้นครับ ส่วนพลงที่หนักกบาลที่สุดน่าจะเป็น Shackled To The Trilithon Of Kutulu ใครอยากลองงานเมทัลในรูปแบบของซาวนด์แทร็คภาพยนต์แฟนตาซีล่ะก็ ใช่เลยครับเข้าท่าดีนะ
Decapitated Organic Hallucinosis
หวนกลับมาสู่วงการหนักกระโหลกอีกครั้งหลังจากอัลบั้ม ที่แล้ว The Negation เป้นบันไดสู่ความสำเร็จอีกขั้นของวงเดธเมทัลจากโปแลนด์วงนี้ ปัจจุบันพวกเขาได้รับการตอบรับอย่างล้นหลามในระดับสากล จึงกลายเป็นวงหัวหอกที่สำคัญไม่แพ้วงรุ่นพี่อย่าง Vader และ Behemoth ครับ อัลบั้มนี้เหล่าสมาชิกทุกคนยังคงเอาใจคอ technical brutal death เหมือนเคยครับ ดนตรีที่ซับซ้อนบดขยี้กันมันส์หยด โหดและเถื่อนแม้จะด้วยซาวน์ดที่คมชัดแต่ก็และไม่หนักหน่วงเหมือน The Negation ผมยังคงต้องเงี่ยหูฟังอย่างตั้งใจจดจ่อ ยากที่จะเดาได้เพราะว่าแต่ละท่อนแต่ละภาคนั้นพวกเขายัดรายละเอียดของเม็ดโน๊ตแห่งเมทัลเอาไว้อย่างละเอียดยิบ แม้แต่เนื้อร้องก็ยากที่จะเข้าถึงได้ เสียงร้อง ของนักร้องนำคนใหม่ Covan (เข้ามาแทน Sauron) ทรงพลังใช้ได้เลยทีเดียว ภาคดนตรีโดยรวมยืนพื้นด้วยกลองและเบสที่กระหน่ำกันอย่างดุเดือดเลือดพล่าน ผสมผสานกับริฟและโซโล่แบบเทคนิคัลเดธ เป็นอัลบั้มที่น่าเสาะหามากระแทกรูหูของคุณอย่างแน่นอนครับ หากชอบใจแล้วก็ลองหาอัลบั้มเก่า ๆ มาฟังด้วย บอกได้อย่างเดียวว่าอัลบั้มนี้ มันส์หยดแน่นอนครับ
1349 Hellfire
อัลบั้มเต็มลำดับที่สามของ 5 สาวกซาตานผู้สร้างตำนานอีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ให้กับวงการ Norwegian Black Metal ด้วยดนตรีที่โหดดิบเร็วและบ้าระห่ำในแบบโอสคูลแบล็คพันธ์แท้ มีท่อนริฟสวย ๆ คลอเคลียร์ไปกับเมโลดี้บาง ๆ ให้หายใจกันนิดหน่อย แต่ยังคงความเป็น pure black ที่ไม่สนใจใยดีต่อการพาณิชย์เท่าไรนัก พวกสาวกที่เรียกว่าตัวจริงทั้งหลายคงใคร่กระหายในอัลบั้มนี้อย่างไม่ต้องสงสัย อิทธิพลของแธรชเมทัล มีให้เหล่าเฮดแบงเกอร์ได้เสพย์กันอยู่ทั่วทั้งอัลบั้ม จะเด่นหน่อยก็แทร็คที่สอง (Sculptor of Flesh ) ครับ ส่วน From The Deep ที่ขึ้นด้วยท่อนโซโล่จัด ๆ สั้น ๆ คิดว่าจะเป็นเพลงช้าซะอีกสุดท้ายก็สับกันละเอียดยิบอีกจนได้ เพลงแต่ละเพลงยาว ๆ ทั้งนั้นรวม 8 บทเพลงมรณะด้วยเวลา 52:12 นาที รอคุณมาสัมผัสได้หากคิดว่าใจถึงพอเพียง ทุกเพลงในอัลบั้มกลั่นเพาะพันธ์มาจากความชั่วร้ายล้วน ๆ ส่วนใครที่หวังว่าแบล็คเมทัลต้องเลิศหรูอลังห์กาลอย่าง Dimmu Borgir หรือCOF หรือต้องการฟังแบล็คเมทัลเพียงแค่อยากได้ยินเสียงนักร้องสาวสวยหน้าอกสะบึมฮึ่ม ให้ห่างไกลจากอัลบั้มนี้ไปเลยครับ เพราะมันหนักหนาสาหัสกว่านั้นร้อยพันเท่าจนอาจทำให้คุณเสียจริตได้ครับ
The Berzerker World Of Lies
ในอดดีตนั้น The Berzerker เป็นวงประเภทหน้ากากปีศาจ แต่ไม่ได้ทำดนตรีเอาใจเด็ก ๆ นูเมทัลนะครับ พวกเขาเคยถูกแซวว่าเป็น G-War on Grind อัลบั้มล่าสุดนี้พวกเขาถอดหน้ากากเก็บไว้บ้านกันหมดแล้ว และหันมาซีเรียสกับเรื่องดนตรีเพียงอย่างเดียว จริง ๆ แล้วสมาชิกส่วนใหญ่ของวงนี้มีพื้นเพมาจากเมลเบิร์น ออสเตรเลียแต่ไปโด่งดังและเติบโตเอาที่เมืองนอกเมืองนาครับ พวกเขาเล่นดนตรี grindcore+death metal+industrial ที่อัดกันสับสนอลหม่านอัดกันหูดับตับใหม้ด้วย beat ที่ติดสปีดเร็วจี๋ท่อนริฟกีตาร์ซับซ้อนเป็นเข่ง ๆ ผสมเครื่องสังเคราะห์และ drum machine โคตรพ่อโคตรแม่ซาดิสต์ครับ ฟังนาน ๆ พาลจะอ๊วกและปวดหัวเอามาก ๆ ขอเรียกแนวดนตรีเมทัลของ The Berzerker ว่าเป็นประเภทคนไม่ใช่คนก็คงจะเหมาะสมครับ World Of Lies คืองานดนตรีสุดแท้แห่งความบ้าดีเดือดร่วม ๆ ชั่วโมง มีเพียงภาคดนตรีในตอนจบของแทร็คสุดท้าย (Farewell จากความยาว 20:08 นาที) ที่เป็นดูมเมทัลอืด ๆ หนืด ๆ วนเวียนไปมา เหมือนมียาหม่องมาทาขมับ ให้ได้ผ่อนคลายจากอาการวิงเวียนมึนตึ๊บครับ
Kataklysm In The Arms Of Devastation
อัลบั้มลำดับที่เท่าไหร่ก็จำไม่ได้แล้วของวงเจ้าพ่อเดธเมทัลจากแคนาดา ออกผลงานใหม่มาติด ๆ กับอัลบั้มที่แล้ว Serenity Of Fire (2004) สงสัยคงมีของดีเก็บไว้กันเป็นกระตั้ก อดใจไม่ไหวต้องออกมาให้แฟน ๆ ได้เสียตังค์กันว่างั้น กีตาร์เวิร์ค และพาร์ทกลองที่โดดเด่นในสไตล์บรูทัลเดธผสมผสานรากเหง้าในแบบโอลสคูล ยังคงเป็นแบบฉบับดั้งเดิมของ Kataklysm ไม่เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก ท่วงทำนองชวนให้ขาเดธโยกหัวมีให้ฟังกันเยอะหน่อยครับ อย่างเพลง Crippled and Broken และ Open Scars ที่ให้ทุกรสชาติอารมณ์ เหมาะแก่การ mosh อย่างยิ่ง ดนตรีในอัลบั้มนี้ของพี่ ๆ เค้าไม่ได้อัดกันเร็วจี๋ไปรษณีย์จ๋ากันอย่างเดียวครับ มีการผ่อนหนักผ่อนเบาโชว์ฝีมือกันด้วยจังหวะจะโคนเนียน ๆ กันหลายท่อนหลายตอน บทจะช้าก็ช้าได้แน่นจุกอกดีครับ ทำให้นึกถึงซาวน์ดในแบบ Obituary กับ Bolt Thrower ไปจนถึงเมโลดิกดูมเมทัลตึ๋งหนืดอันเศร้าสร้อยครับ In The Arm Of Devastation เป็นอัลบั้มเดธเมทัลที่ชาวเดธทุกรุ่นควรที่จะเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนตัวเพื่อไว้ศึกษาครับ
Dismember The God That Never Was
ผมรู้จักวงเดธเมทัลวงนี้ตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ม.ปลายครับตอนที่ Quite Strom Magazine ยังวางแผงอยู่ และร้าน เจ๊ JU. พันธ์ทิพย์ยังมีเทปของค่าย VMP ขาย ทำให้ผมหางานชุดเก่า ๆ ของ Dismember มาฟังให้หายเซี่ยนจากคำล่ำลือว่าเจ้าพวกสวีดิชกลุ่มนี้มันเจ๋งแค่ไหน ในสมัยนั้นใคร ๆ ต่างก็ต้องหาเสื้อทัวร์ของวงนี้มาไว้ในครอบครองไว้ใส่โชว์เก๋าครับ เพราะใส่แล้วแม่งโคตรขลัง ดูโหดโคตรจะเดธเลย ผมเองเป็นแฟนของ Dismember มาตั้งแต่สมัยนั้นครับ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอ่านงานรีวิวอัลบั้มและบทความ ใครจะเป็นเจ้าแห่งสวีเดน ของ QS นั่นแหละครับ (ขออภัยครับ จำชื่อพี่คนเขียนไม่ได้)
Dismember คือวงสวีดิชเดธเมทัลวงแรก ๆ ของโลกที่ออกอัลบั้มแรกกันตั้งแต่พวกเขายังหนุ่ม ๆ (Like an Ever Flowing Stream เมื่อปี 1991) จนกลายเป็นอิทธิพลให้กับวงรุ่นหลัง ๆ ต่อมา ด้วยซาวน์ดในแบบเฉพาะตัวของพวกเขาเองและเนื้อหาในด้านมืดและสงครามฆ่าล้างบาง บวกกับอิเมจโหดเถื่อนดุดัน วงเมโลดิกเดธ/แบล็คเมทัลนับไม่ถ้วนที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวงปีศาจวงนี้ เมื่อปลายปีที่แล้วพวกกลับมาแล้วลุยออกทัวร์อย่างหนักทั่วโลกหลังจากออกอัลบั้ม Where Ironcrosses Grow เมื่อ 2004 ตอนนี้วัยของพวกพี่ ๆ ขึ้นเลขสามกันแล้วรูปกายภายนอก อาจดูแปลกตาไป แต่พลังฝีมือยังคงสดเหมือนเดิม ผมเองได้มีโอกาสดูพวกเขาเล่นโชว์เมื่อปลายปีที่แล้วนี้โคตรมันส์ ประทับใจ และเป็นบุญตามากครับ สมาชิกดั้งเดิมอย่าง Matti Kärki, David Blomqvist และ Fred Estby โดยความจริงแล้วป็นผู้ที่มี musicianship สูง เรียบง่ายยิ้มแย้มแจ่มใสเป็นกันเองมาก
The God That Never Was เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่เจ็ดที่มาลงตัวกับ Candlelight Records ด้วยซาวนด์ในแบบยุคดั้งเดิมของแท้แน่นอนอย่างสมัย Indecent & Obscene (1993) ตั้งแต่ไตเติ้ลแทร็คที่เปิดอัลบั้มขึ้นมา โดยเพิ่มเมโลดี้มากขึ้น และซับซ้อนขึ้นอย่างเห็นได้ชัดครับ กีตาร์คู่ประสานยังคงทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเคย เสียดายที่อัลบั้มนี้มีความยาวแค่สามสิบนาทีกว่า ๆ ตลอดทั้งอัลบั้มคือสวีดิชเดธเมทัลแบบดั้งเดิมที่เป็นต้นกำเนิดของวงดัง ๆ ต่าง ๆ ในยุคนี้ครับ ดนตรีเมโลดิกแธรช/เดธเมทัลจากสวีเดนในปัจจุบันแม้ว่าจะถูกนำไปใช้กันจนเกร่อเลอะเทอะเปอะเปื้อนเข้าท่าบ้างห่วยแตกบ้างเป็นจนกลายเป็นแฟชั่นของพวกเด็กวัยรุ่นเมทัลวัยกระเตาะกันไปแล้ว แต่ร้อยพ่อพันแม่ก็ไม่เก๋าเท่าวงนี้ครับ Dismember และ อัลบั้มนี้คงต้องกลายเป็นอัลบั้มยอดเยี่ยมของปีนี้อย่างแหง๋ม ๆ
Dawn OF Azazel Sedition
อีกวงดนตรีสามชิ้นจาก Auckland ประเทศ New Zealand ที่เล่นดนตรี technical brutal death metal ได้โหดและเก๋าเกมส์ที่สุดในโลกตั้งแต่ผมเคยพบเห็นจากประสบการณ์จริง เป็นวงที่บ้านระห่ำอย่างยิ่งครับ เครื่องดนตรีแค่สามชิ้นแต่อัดแน่นด้วยดนตรีเดธเมทัลพันธ์โหดเปี่ยมไปด้วยเทคนิคชั้นยอดเหนือคำบรรยาย เคยออกอัลบั้มเต็มมาแล้วชุดหนึ่งชื่อว่า The Law Of The Strong และSedition คือผลงานล่าสุดถัดมาที่เพิ่งคลอดแบบสด ๆ ร้อน ๆ อัลบั้มที่มีความยาวเพียงแค่ประมาณ 40 นาที แต่ทุกวินาทีนั้นคุณจะได้อึ้งไปกับเครื่องดนตรีทุกชนิด เสียงร้องที่สุดโหดเปี่ยมพลัง สำรอกโดย เจ้ายักษ์ Rigel หัวโล้น ขณะที่เขาแยกประสาทไปสู่ปลายนิ้วที่ขยี้เส้นลวดหนา ๆ สี่สายผ่านดิสทอร์ชั่นนั้นราวเครื่องจักรกล และลองนึกภาพ Bonnett ยืนในท่วงท่าที่สงบนิ่งแล้วโยกหัวตามจังหวะของท่อนริฟแบบเทคนิคัล ขณะที่ double kick ของ Martin ก็ประสานกันได้อย่างลงตัวยิ่ง Spare None คือแทร็คเปิดอัลบั้มที่เป็นจุดเริ่มแห่งความหฤโหดครับ เพลงในลำดับต่อมานั้นก็ต่อเนื่องกันดีเหมือนรีบ ๆ เล่นกลับ ๆ กลับบ้านยังงัยไม่รู้แต่ก็ถือว่าเป็นไอเดียที่ดีครับ หลายเพลงเช่น Violence And Uncleanliness ฟังแล้วนึกถึงซาวน์ดเดธเมทัลในแบบ New York ครับ แทบทุก ๆ เพลงอัดกันเร็วจี๋ซีเรียสสมองเหลือเกิน ถือได้ว่าเป็นอัลบั้มที่คุ้มค่าแก่การฟัง 100% เต็ม ซาวน์ดเนียน ฝีมือดี โปรดักชั่นเจ๋ง หาฟังยากในแวดวงอันเดอร์กราวน์ดนะครับ จับตามองวงนี้ไว้ให้ดีนะครับ ใครที่จะไปดูคอนเสิร์ต Disgorge ในวันที่ 18 เดือนหน้านี้พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งในงานด้วยครับ มีตังค์ก็เตรียมหาซื้อซีดีมาฟังกันเลยครับไม่ผิดหวังแน่นอน และครับ.... อย่าพลาดดูโชว์ของพวกเขาเด็ดขาด ไม่งั้นคุณอาจจะต้องรอไปอีกนานจนถึงชาติหน้าก็ได้ครับ
Axxis Paradise In Flames
วงเยอรมันเมโลดิกเพาเวอร์เมทัลที่ออกผลงานมานับจากอดีตจนปัจจุบันร่วม 16 ปี และกับผลงานล่าสุด Paradise In Flames นี้คืออีกก้าวที่ยังคงยืนหยัดอยู่บนเส้นทางเดิม สมาชิกในอัลบั้มนี้มีทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ครับ แต่ frontman และหัวเรือใหญ่ของวงยังคงเป็น Bernhard Weiss ครับ อาร์ตเวอร์ของคัฟเวอร์ก็บ่งบอกได้แล้วครับว่าดนตรีของพวกเขาประมาณไหน เพลงอินโทร ชื่อเดียวกับอัลบั้ม ความยาว 1.5 นาที คือการเปิดตัวในแนวแฟนตาซีทำให้นึกถึงมหากาพย์อย่าง The Lord of the Ring ครับ ก่อนที่จะวาดลวดลายกัน ด้วยเมโลดิกเพาเวอร์เมทัลแบบเยอรมันเจ้าตำรับ เพียงแค่ฟังสองเพลงแรกอย่าง Dance with the Dead กับ Tales of Glory Island ก็ทำให้คุณเคลิ้มแล้วล่ะครับ ซาวน์ดของวงนี้ออกไปทาง Helloween, Gamma Ray, Stratovarious ประมาณนั้นครับ มีเสียงนักร้องสาว (Lakonia) มาร้องคอรัสให้ทำให้ดนตรีสละสลวยและฟังดูอลังห์กาลยิ่งขึ้นครับ เพลงบัลลาดมีให้ได้ยินกันหลายเพลงเพราะ ๆ ครับเช่น Take My Hand กับ Dont Leave Me ครับ ผมว่าอัลบั้มนี้ครบถ้วนสมบูรณ์แบบมาก ๆ สำหรับดนตรีเมทัลสาขานี้ครับ น่าจะเป็นอัลบั้ม must have สำหรับคอแนวนี้ครับ
The Witchery Dont Fear The Reaper
หายหน้าหายตากันไปนานถึงห้าปีหลังจากอัลบั้ม Symphony For The Devil ยังคงเป็น Swedish thrash/death metal ที่เข้มข้นเหมือนเคยครับ โดยเฉพาะฝีมือกลองของ Martin Axenrot ตีโคตรหนักหน่วงสะใจดีแท้ ๆ อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มแรกกับสังกัด Century Media ครับ สมาชิกของวงเนี้นั้นมีประสบการณ์โชกโชนมาแล้วกับหลาย ๆ วงดังด้วยกันเช่น The Haunted, Arch Enemy, Mercyful Fate, Opeth, Satanic Slaughter, Dismember ดังนั้นเรื่องฝีมือคงไม่ต้องพูดถึง Disturbing The Beast คือ Instrumental track เรียกน้ำย่อย Draw Blood ติดกลิ่นไอเมโลดี้ได้รสชาตยิ่งครับ The Ritual กับ Ashes ท่อนริฟดุดัน ประสานกับซาวน์ดคีย์บอร์ดแบบนี้นั้นเข้าข่ายแบล็คเมทัลเลยทีเดียวครับ โดยเฉพาะในเพลงหลัง นั้นโชว์โซโล่เรียน ๆ ง่าย ๆ แต่ฟังดูขลังดีแท้ Plague Rider คืโอลสคูลเดธแธรชสุดมันส์ เครื่องดนตรีทุกชิ้นขับเคลื่อนกันเต็มเหนี่ยวครับ กีตาร์ในเพลงนี้โคตรเฮฟวี่ในแบบยุคคลาสสิคครับ The Wait Of The Pyramids นั้นลดเทมโปช้าลงมาหน่อยแต่ยังคงดุดันด้วยกระเดื่องกลองเนียน ๆ และกีตาร์เวิร์คแจ่ม ๆ ครับ ส่วน Immortal Death นั้นเป็นเพลงฟาสต์แบล็คเมทัลคัพเวอร์วง Satanic Slaughter โดยรวมแล้วอัลบั้มนี้เป็นงานเมทัลที่น่าฟังอย่างยิ่งครับ มีความหลากหลายทางดนตรีไม่ซ้ำซากอารมณ์แม้ว่าพวกเขาจะเป็นพวกโอสคูลก็ตามครับ น่าจะลองหามาลิ้มรสกันสักหน่อยนะครับ
Create Date : 08 มีนาคม 2549 |
Last Update : 8 มีนาคม 2549 5:22:32 น. |
|
11 comments
|
Counter : 1989 Pageviews. |
|
|
|
โดย: ID.2.CU IP: 203.188.54.52 วันที่: 8 มีนาคม 2549 เวลา:11:07:40 น. |
|
|
|
โดย: ก๊วกกี้ IP: 210.246.73.62 วันที่: 8 มีนาคม 2549 เวลา:20:57:14 น. |
|
|
|
โดย: 666 IP: 68.108.103.82 วันที่: 11 มีนาคม 2549 เวลา:15:27:05 น. |
|
|
|
โดย: saak12 IP: 203.209.38.72 วันที่: 13 มีนาคม 2549 เวลา:13:10:46 น. |
|
|
|
โดย: Noratrooper IP: 158.108.87.217 วันที่: 14 มีนาคม 2549 เวลา:12:49:19 น. |
|
|
|
โดย: Dark Secret วันที่: 21 มีนาคม 2549 เวลา:20:34:47 น. |
|
|
|
โดย: แร้ไฟ วันที่: 9 เมษายน 2549 เวลา:13:03:03 น. |
|
|
|
โดย: Hellblazer IP: 202.183.233.27 วันที่: 22 เมษายน 2549 เวลา:10:06:25 น. |
|
|
|
โดย: หงา คารูวาน IP: 61.90.223.34 วันที่: 4 พฤษภาคม 2549 เวลา:10:35:27 น. |
|
|
|
โดย: DarkLord IP: 125.26.238.80 วันที่: 24 พฤษภาคม 2550 เวลา:23:29:08 น. |
|
|
|
|
|
|
|