Bloggang.com : weblog for you and your gang
Welcome __ to __ LadyGonkrua
Talk To Friends
International Cuisine
International Light & Snacks
Thai Cuisine
Thai Light & Snacks
Thai Dessert
Pastry & Sweet
Bakery Bread & Dough
Guru Recipe
Dining Out
Travel around Thailand
Travel around the World
Various Design
Good to Know
Herb & Spice
Stock & Sauce
Content & Guestbook
สารกัมมันตรังสี - กัมมันตภาพรังสี
เหตุการณ์ภัยพิบัติที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา นอกจากจะทำให้คนไทยมีความสนใจด้านแผ่นดินไหว ภูมิศาสตร์ การเกิดคลื่นยักษ์สึนามิแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่กำลังเป็นประเด็นสำคัญในขณะนี้คือเหตุการณ์วิกฤตโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ฟุคุชิม่า ไดอิจิ ที่ตั้งอยู่ที่เมืองฟุคุชิม่า ที่เกิดเหตุการณ์อาคารเตาปฏิกรณ์ระเบิด ทำให้มีกัมมันตภาพรังสีบางส่วนกระจายออกมาสู่บรรยากาศ ซึ่งสร้างความกังวลไม่น้อยต่อคนญี่ปุ่น และนานาประเทศ
เพื่อให้การ ติดตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นของเราคน ไทย ทันเหตุการณ์ ได้ความรู้ความเข้าใจ เรามาทำความรู้จักกับคำศัพท์ทั้ง 3 นี้กันอย่างคร่าวๆ กัน
พลังงานนิวเคลียร์ สารกัมมันตรังสี และกัมมันตภาพรังสีคืออะไร?
พลังงานนิวเคลียร์คืออะไร ถ้าจะกล่าวแบบสั้นๆ เข้าใจง่ายๆ ก็ต้องตอบว่า คือพลังงานที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์
ปฏิกิริยานิวเคลียร์นี้เป็นปฏิกิริยาที่เกิดในระดับนิวเคลียสของอะตอม โดยเกิดได้จากหลายลักษณะดังนี้
1. พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิซชั่น (Fission) ซึ่งเกิดจากการแตกตัวของนิวเคลียสธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม พลูโทเนียม เมื่อถูกชนด้วยนิวตรอนหรือโฟตอน ธาตุหนักเหล่านี้นี่เองที่เราสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า สารกัมมันตรังสี หรือธาตุกัมมันตรังสี
2. พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิวชั่น (Fusion) เกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียสธาตุเบา เช่น ไฮโดรเจน
3. พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี (Radioactivity) ซึ่งให้รังสีต่างๆ ออกมา เช่น อัลฟา เบตา แกมมา และนิวตรอน เป็นต้น
4. พลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากการเร่งอนุภาคที่มีประจุ (Particle Accelerator) เช่น อิเล็กตรอน โปรตอน ดิวทีรอน และอัลฟา เป็นต้น
สำหรับ ปฏิกิริยาในโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จะเป็นปฏิกิริยาจาก พลังงานนิวเคลียร์แบบฟิซชั่น พลังงานที่ได้จะทำให้น้ำกลายเป็นไอน้ำที่มีแรงดันสูง แล้วไอน้ำแรงดันสูงจะไปหมุนกังหันไอน้ำที่ต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อผลิตไฟฟ้า และส่งต่อไปยังผู้บริโภค
แต่หลายคนยังสับสนระหว่างคำ ว่ากัมมันตรังสี และกัมมันตภาพรังสีอยู่ว่าทั้ง 2 คำนี้ควรใช้อย่างไร และแตกต่างกันอย่างไร ถ้าจะให้อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ
สารกัมมันตรังสี คือสารที่สามารถปลดปล่อย กัมมันตภาพรังสี
ดัง นั้นสารกัมมันตรังสี ก็คือ สารหรือธาตุพลังงานสูงกลุ่มหนึ่งที่สามารถแผ่รังสี ออกมาได้ เมื่อแผ่รังสีออกมามันจะก็จะกลายสภาพไปเป็นธาตุชนิดอื่นหรือธาตุชนิดเดิมที่ มีความเสถียรมากขึ้น รังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุกลุ่มนี้ เราจึงเรียกว่า กัมมันตภาพรังสี นั่นเอง
ตัวอย่างสารกัมมันตรังสีที่เราคุ้นชื่อ เช่น ยูเรเนียม-238, ยูเรเนียม-235, เรเดียม-226, เรดอน-222, โคบอลต์-60, ไอโอดีน-131 และซีเซียม-137 เป็นต้น
สารเหล่านี้เนื่องจากมีพลังงาน มากและไม่เสถียรจึงต้องมีการปลดปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกมา เพื่อให้อะตอมของธาตุเสถียรขึ้น การแผ่รังสีจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา โดยอัตราการแผ่รังสีของธาตุแต่ละชนิดนั้นเป็นสมบัติเฉพาะตัวและมีค่าคงที่ เราเรียกการอัตราการสลายตัวของสารเหล่านี้ว่า ครึ่งชีวิต หรือ Half life คือระยะเวลาที่สารกัมมันตรังสีใช้เวลาสลายตัวจนเหลือปรมาณครึ่งหนึ่งของสาร ตั้งต้น
กัมมันตภาพรังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการสลายตัวมี 3 ชนิด คือ
1. รังสีแอลฟ่า (Alpha-a)มีอำนาจทะลุทะลวงต่ำเพียงแค่กระดาษ อากาศ น้ำที่หนาประมาณ 2- 3 cm หรือโลหะบาง ๆ ก็สามารถกั้นอนุภาคแอลฟาได้
2. รังสีบีต้า(Beta-b) มีอำนาจทะลุทะลวงสูงกว่ารังสีแอลฟาประมาณ 100 เท่า ทะลุผ่านกระดาษบาง ๆ เสื้อผ้า มือ น้ำที่หนา 2 cm. แผ่นอะลูมิเนียมหนา 1 cm. ได้ และมีความเร็วใกล้เคียงกับความเร็วแสง
และ 3. รังสีแกมมา (Gamma-g) เป็นรังสีที่มีพลังงานสูงมีความเร็วเท่ากับความเร็วแสง และมีอำนาจทะลุทะลวงสูง ผ่านแผ่นตะกั่วหนา 1.5 mm. หรือแผ่นคอนกรีตหนาๆ ได้ แต่ถ้าใช้ตะกั่ว และคอนกรีต ผสมเข้าด้วยกันสามารถกั้นรังสีแกมมาได้
นิวเคลียร์
ด้วยความรู้ความเข้าใจในด้านนี้ มนุษย์เราจึงนำสารกัมมันตรังสี และกัมมันตภาพรังสีที่ได้มาใช้ประโยชน์นานัปการ เช่น การใช้คาร์บอน-14 ในการคำนวณอายุของวัตถุโบราณหรือซากดึกดำบรรพ์ ในทางการแพทย์ใช้ไอโอดีน -131 ในการติดตามเพื่อศึกษาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ใช้โคบอลต์ -60 เรเดียม -226 รักษาโรคมะเร็ง และโซเดียม -24 (Na-24) ใช้ศึกษาการหมุนเวียนเลือดในร่างกาย และการใช้ ยูเรเนียม -238 ในเตาปฏิกรณ์ของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ เป็นต้น
แต่สารเหล่านี้ มีประโยชน์ ก็มีโทษเช่นเดียวกัน สำหรับกรณีของโรงไฟฟ้าฟุคุชิมา ไดอิจิ สารกัมมันตรังสีที่แพร่ออกมา และสร้างความกังวลต่อผู้ที่เกี่ยวข้องคือ ไอโอดีน-131 และ ซีเซียม-137
ไอโอดีน -131 แม้จะมีครึ่งชีวิตเพียง 8 วัน แต่ก็สามารถถูกดูดซับเข้าไปในอาหารได้ โดยเฉพาะในนมและผลิตภัณฑ์จากนม เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะสะสมในต่อมไทรอยด์ ยับยั้งการเจริญเติบโตและเมตาบอลิซึ่มของร่างกาย และอาจก่อให้เกิดมะเร็ง โดยไอโอดีน-131 จะมีอันตรายกับเด็กมาก เนื่องจากเด็กอยู่ในช่วงวัยเจริญเติบโต และต่อมไทรอยด์กำลังพัฒนาและขยายตัว หากได้รับในช่วงนี้ อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายได้
แต่ที่ อันตรายไปกว่านั้นคือ ซีเซียม-137 ซีเซียมมีองค์ประกอบทางเคมีคล้ายๆ กับโปแตสเซียม ทำให้ร่างกายเข้าใจผิดนึกว่าเป็นโปแตสเซียมจึงดูดซึมเข้าไปสะสมไว้ ซึ่งจะส่งผลให้การทำงานของเซลล์ผิดปกติ ก่อให้เกิดมะเร็ง หากได้รับในปริมาณมาก หรือเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดความผิดปกติในระดับโครโมโซมหรือระดับพันธุกรรม ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคได้อีกหลากหลาย และหากมีได้รับซีเซียมในปริมาณที่มากๆ ในระยะเวลาอันสั้นก็อาจทำให้เกิดการลวกไหม้อย่างรุนแรงบริเวณที่สัมผัสหรือ กับร่างกาย จนกระทั่งอาจเสียชีวิต
และที่สำคัญคือ ซีเซียม-137 มีครึ่งชีวิตที่ยาวนานกว่าไอโอดีน-131 คือ 30 ปี ดังนั้นหากต้องการให้สารกัมมันตรังสีชนิดนี้สลายตัวจนเหลือเพียง 1% ของปริมาณตั้งต้นจะต้องให้เวลายาวนานกว่า 200 ปี
หน่วยวัดรังสีที่มีอันตรายต่อมนุษย์
หน่วย สำหรับวัดอัตราการเสี่ยงภัยจากสารกัมมันตภาพรังสีที่นานาชาติใช้กันนั้นมี หน่วยเป็น "มิลลิซีเวิร์ตส์" หรือ "เอ็มเอสวี-MSV" ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งตามนามสกุลของศาสตราจารย์โรล์ฟ มักซิมิเลียน ซีเวิร์ต ชาวสวีดิช ผู้บุกเบิกการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอันตรายจากสารกัมมันตภาพรังสีต่อสิ่งมี ชีวิต
ซึ่งโดยปกติมนุษย์เรามีโอกาสได้รับรังสีชนิดต่างๆในชีวิตประจำ วันอยู่แล้ว มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันออกไป โดยประเทศไทยได้มีกฎหมายกำหนดปริมาณรังสีสำหรับผู้ปฏิบัติงานทางรังสีจะรับ รังสีได้ 20 มิลลิซีเวิร์ตต่อปีโดยเฉลี่ยในช่วง 5 ปีติดต่อกัน ทั้งนี้ในแต่ละปีจะรับรังสีได้ไม่เกิน 50 มิลลิซีเวิร์ต และตลอดในช่วง 5 ปีติดต่อกันนั้นจะต้องได้รับรังสีไม่เกิน 100 มิลลิซีเวิร์ต
นิวเคลียร์
ปริมาณรังสีรวมที่ได้รับจากทั้งภายในและภายนอกร่างกาย กำหนดปริมาณรังสีทั่วร่างกายใช้กับการได้รับรังสีของแขน ขาและศีรษะ ที่สามารถผ่านเนื้อเยื่อได้ลึก 1 เซนติเมตรซึ่งเป็นระดับความลึกที่เริ่มมีเนื้อเยื่อเกี่ยวกับระบบเลือด
จาก เหตุการณ์โรงไฟฟ้าฟุคุชิม่าไดอิจิ ที่ผ่านมา ทำให้นานาชาติ ซึ่งรวมทั้งคนไทยต้องกลับมาทบทวนถึงความจำเป็นในการนำพลังงานนิวเคลียร์มา ใช้ในประเทศ สำหรับประเทศไทย แม้จะไม่ได้ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนสำคัญของโลก และความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว และสึนามิก็ไม่สูงเท่ากับประเทศญี่ปุ่น แต่หากเกิดอุบัติเหตุ หรือภัยพิบัติที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้เกิดขึ้น เราจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้หรือไม่ และความเสียหายที่เกิดขึ้นจะคุ้มกับสิ่งที่ได้มามากน้อยแค่ไหน นั่นคือคำถามที่คนไทยทุกคนจะต้องช่วยกันหาคำตอบ
*จากการรายงาน สถานการณ์โดยรัฐบาลญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านได้รายงานว่าเจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้าสามารถยับยั้งการแพร่กระจาย ของสารกัมมันตรังสีจากโรงไฟฟ้าได้แล้ว แต่เจ้าหน้าที่ยังต้องเฝ้าระวังสถานการณ์อยู่เป็นระยะ และจากการตรวจวัดปริมาณรังสีไม่พบการเปลี่ยนแปลงของระดับรังสีอย่างมีนัย สำคัญ (ประกาศ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เรื่องการเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์ที่ประเทศญี่ปุ่นจากเหตุแผ่นดินไหว ฉบับที่17วันที่ 20 มีนาคม 2554 )
3 เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ อุบัติเหตุโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์
1. โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ประเทศยูเครน (สหภาพโซเวียตเดิม) เมื่อ วันที่ 26 เมษายน 2529 นับเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ คือเกิดการระเบิดของไอน้ำที่รุนแรงดันทะลุหม้อปฏิกรณ์และอาคารปฏิกรณ์ นิวเคลียร์ ทำให้สารกัมมันตภาพรังสีแพร่กระจายในวงกว้าง มีผู้เสียชีวิต 31 คน และบาดเจ็บ 203 คนทันที และหลายแสนคนต้องอพยพออกจากพื้นที่แห่งนั้นในทันทีหลังเกิดเหตุการณ์ ผลที่ตามมาหลังเหตุการณ์ได้ทำให้ยูเครน เบลารุส และรัสเซีย ได้รับผลกระทบเรื่องการปนเปื้อนจากสารกัมมันตภาพรังสี ด้านเยอรมนี นอร์เวย์ สวีเดน ออสเตรีย อิตาลี ฝรั่งเศส และอังกฤษ ได้รับผลกระทบจากเมฆกัมมันตภาพรังสี
2. โรงงานสกัดเชื้อเพลิงที่มายัค ในสหภาพโซเวียต (ปัจจุบันอยู่ในประเทศรัสเซีย) เมื่อวันที่ 29 ก.ย.2500 โดยเกิดจากระบบหล่อเย็นในถังเก็บกากนิวเคลียร์นับหมื่นตันทำงานผิดพลาด ทำให้เกิดระเบิดที่มีความรุนแรงเทียบเท่ากับการระเบิดของระเบิดทีเอ็นที จำนวน 75 ตัน และส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 200 คน จากการถูกกัมมันตภาพรังสี และอีกกว่าหมื่นคนต้องอพยพจากบ้าน ขณะที่อีก 450,000 คนไม่มีที่กำบังกัมมันตภาพรังสี
3. โรงไฟฟ้าทรีไมล์ ไอซ์แลนด์ ที่ตั้งอยู่ในรัฐ เพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2522 โดยมีสาเหตุจากขาดน้ำหล่อเย็นในแกนเครื่องปฏิกรณ์ ทำให้เชื้อเพลิงหลอมละลาย มีรังสีรั่วไหลออกจากอาคารคลุมปฏิกรณ์สู่ภายนอก แม้รังสีที่รั่วออกมาจะมีปริมาณเล็กน้อยแต่ยังนับว่าเป็นอุบัติเหตุใน อุตสาหกรรมพลังงานนิวเคลียร์สหรัฐที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์
ขอบคุณ...
***ข้อมูล มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
***ภาพโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุคุชิม่า ไดอิจิ จาก //www.abc.net.au
Create Date : 21 มีนาคม 2554
Last Update : 21 มีนาคม 2554 19:01:03 น.
Counter : 4367 Pageviews.
0 comments
Share
Tweet
ชื่อ :
Comment :
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
LadyGonkrua
Location :
กรุงเทพฯ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [
?
]
LadyGonkrua
(สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย. ©.)
หิริโอตัปปะ
Welcome
to
LadyGonkrua
อะ_ อ่ะ_อย่าเพิ่งวางใจ
โปรดใช้วิจารณญาณ
ในการรับชม
และขอได้โปรด
ชิมก่อนปรุง
LadyGonkrua
น้อมรับทุกความคิดเห็น
ขอบคุณทุกกำลังใจ
ไม่เคยมาดมั่นว่าถูกและดี
แต่สิ่งที่มี คือความตั้งใจ
และหลงใหลในสิ่งที่ทำ
พร้อมปรับปรุงในสิ่งที่พลาด
เพราะไม่ได้เป็นปราชญ์อย่างใครๆ
หากแต่ ใฝ่ฝันที่จะทำดี
เพื่อตอบแทนทุกความดีที่เคยได้รับ
...จากโลกใบใหญ่...ใบนี้...
What's new in
LadyGonkrua
Find me on
...หลวงพระบาง...
...คมธรรม คำสอน...
...ร้อยเรื่องเล่า...
...Rhyme or Reason...
Krua Thai
by
LadyGonkrua
...เที่ยวล่อง ท่องธรรม...
...Contemplation...
Since April 2nd 2009
Please do not change this code for a perfect fonctionality of your counter
hobbies
free counter
New Comments
Group Blog
สนทนาประสาเพื่อน
Talk To Friends
อาหารนานาชาติ
International Cuisine
อาหารว่างนานาชาติ
International Light & Snacks
อาหารไทย
Thai Cuisine
อาหารว่างไทย
Thai Light & Snacks
ของหวานไทย
Thai Dessert
ขนมอบและของหวาน
Pastry & Sweet
Bakery
Bread & Dough
ร้อยล้านตำรับ
Guru Recipe
อร่อยนอกบ้าน
Dining Out
ท่องเที่ยวไทย แบบคนต่างถิ่น
Travel around Thailand
ท่องต่างแดน แบบคนต่างด้าว
Travel around the World
หลากสไตล์ หลาย อารมณ์
Various Design
สาระชวนรู้
Good to Know
Herb & Spice
Stock & Sauce
Content & Guestbook
Geheimnis
มีนาคม 2554
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
21 มีนาคม 2554
สารกัมมันตรังสี - กัมมันตภาพรังสี
All Blog
สารกัมมันตรังสี - กัมมันตภาพรังสี
ครื้นเครงกับเพลงของคุณยาย
อาหารคือยา
การพับผ้าเช็ดปาก
ทุเรียนเมืองนนท์
Food Preparation 2/2
Food Preparation 1/2
Kitchen Utensils
วีธีการคำนวณราคา
Friends Blog
ป้ามด
Webmaster - BlogGang
[Add LadyGonkrua's blog to your weblog]
Link
LadyGonkrua
Martha Stewart
มูลนิธิหนังสือเพื่อเด็ก
Bloggang.com
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.