กรกฏาคม 2556

 
1
3
4
6
9
11
14
16
17
19
20
21
22
23
25
26
27
28
29
30
 
 
ว่าด้วยการอ่าน (๑) อินทรวิเชียรฉันท์
สวัสดีค่ะ.... แฮ่... อาจจะแปลกๆ วันนี้มาอะไรที่ดูแบบมีสาระขึ้นมาจากปกติ เหตุเกิดการอยู่ดีๆ ก็นึกขึ้นมาได้ว่า เอ... เราแต่งกลอนแล้วนะ หลายท่านเคยถามด้วยว่าแต่งกลอนได้อย่างไร บางท่านคิดว่าอายุสักเลข 3 อีกต่างหาก ฮา...

ก่อนอื่นเฟิร์นไม่ได้เริ่มต้นจากการแต่งกลอนค่ะ โดยปกติเรียกว่าเป็น "นักอ่าน" จะเหมาะกว่า เริ่มตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ นู่น... แลไกลเนอะว่าไหม? ฮี่ๆๆ

ก็มีหลายๆ อย่าง (แกมบังคับ) ทำให้ต้องหัดอ่านกลอนสุภาพ หรือกลอนแปด แน่นอนว่าบทนั้นคือ "เด็กเอ๋ย เด็กน้อย" จำได้เลยว่าตอนนั้นป่วยเป็นภูมิแพ้ ไปแข่งระดับจังหวัดแล้วเตอแอร์เข้าไปน็อค... อ่านไม่ได้ คือตอนออกไปอ่านไม่มีเสียงออกจากปากเลย แข่งเสร็จร้องไห้โฮ... (นึกแล้วก็ขำตัวเอง) ไม่ได้อะไรหรอกนะที่แข่งแพ้ (ร้องตั้งแต่ผลยังไม่ออก) แต่เจ็บใจที่ไม่มีเสียงซะได้นี่สิเรื่องใหญ่

ตั้งแต่นั้นก็พยายามจะเอาชนะแอร์ (มาหายเอาจริงๆ ช่วงมัธยมปลายที่บ้านติดแอร์ในห้องนอนให้) แต่ก็มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจมาตั้งแต่เด็ก ปอดอักเสบบ้าง อะไรต่อมิอะไรนักก็สุดจะสาธยาย เอาเป็นว่าอับอายก็ตอนราวมัธยมต้นยังไปนั่งพ่นยากับเด็กน้อย ๕ ขวบที่มองเราตาแป๋ว... น้องเขาคงคิดล่ะ... นั่นพี่ทำบ้าอะไร เขาให้เด็กพ่นมิใช่หรือไง? ฮี่ๆๆ

เข้าเรื่องดีกว่า... มีคนหลายคน (เชื่อแบบนั้นนะ ฮี่ๆๆ) งง...และสับสนกับฉันทลักษณ์ของกลอน กาพย์ โคลง และฉันท์ แน่นอนว่ารวมถึงการอ่าน ถ้าถามว่าจำฉันทลักษณ์อย่างไร อ่านอย่างไร ก็จะขอเอาความรู้ที่เคยได้เรียนมาจากท่านครู และอาจารย์ทุกท่านที่ได้สั่งสอนศิษย์คนนี้มาตลอดจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ มาถ่ายทอดให้ได้พอเป็นแนวทางในการอ่าน เผื่อมีใครใคร่สนใจศิลปะแขนงนี้ เพื่อธำรงค์ไว้ห้อยู่คู่สืบไปเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย

ก่อนอื่นขอเริ่มต้นด้วยการนำฉันทลักษณ์ เบื้องต้นของฉันท์... ที่ตัวเฟิร์นเองพออ่านได้และยังไม่ลืมวิธีอ่านมาลง เพื่อให้ได้ทราบแนวทางคร่าวๆ ในการอ่าน และอาจรวมไปถึงการเขียนอีกประการ


อินทรวิเชียรฉันท์ มีความหมายว่า "ฉันท์ที่มีลีลาดุจสายฟ้าของพระอินทร์" เป็นฉันท์ที่นิยมแต่งกันมากที่สุด มีลักษณะและจำนวนคำคล้ายกับกาพย์ยานี 11 แต่ต่างกันเพียงที่ว่าอินทรวิเชียรฉันท์ มีข้อบังคับ ครุและลหุ

หนึ่งบทมี 2 บาท บาทละ 11 พยางค์ แบ่งเป็น 2 วรรค วรรคแรก 5 พยางค์ วรรคหลัง 6 พยางค์ ส่งสัมผัสแบบกาพย์

ลักษณะครุ-ลหุ เหมือนกันทุกบาท คือ ครุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ     ลหุ-ลหุ-ครุ-ลหุ-ครุ-ครุ

ตัวอย่างคำประพันธ์

บงเนื้อก็เนื้อเต้น พิศะเส้นสรีร์รัว
ทั่วร่างและทั้งตัว ก็ระริกระริวไหว
แลหลังก็หลั่งโล- หิตโอ้เลอะหลั่งไป
เพ่งผาดอนาถใจ ตละล้วนระรอยหวาย
— สามัคคีเภทคำฉันท์ชิต บุรทัต
ที่มา...Wikipedia

มาดูการอ่านกันนะคะ...

จะแบ่งวรรค และคำอ่านออกได้เป็น

บงเนื้อ / ก็เนื้อเต้น                               พิ-ศะ เส้น / สะ-รี รัว
ทั่วร่าง / และทั้งตัว                               ก็ระริก / ระริวไหว
แลหลัง / ก็หลั่งโล                                หิ-ต โอ้ / เลอะหลั่งไป
เพ่งผาด / อนาถใจ                               ตะ-ละ ล้วน / ระรอยหวาย

เนื่องมาจาก คำบังคับสัมผัส ครุ-ลหุ ทำให้การอ่านออกมาในรูปแบบนี้ค่ะ ขั้นตอนแรกคือเราต้องหาแม่บท เพื่อการจดจำสัมผัสบังคับเหล่านี้ (กรณีนี้ใช้ได้กับททั้งกลอน กาพย์ โคลง และฉันท์อื่นๆ ค่ะ) ต่อมาก็เริ่มอ่านออกเสียง (ยังไม่ต้องใส่ทำนอง) เพื่อการแบ่งวรรคอย่างถูกต้อง รวมถึงการอ่านออกเสียงให้ถูกอักขระวิธี จะทำให้การอ่านทำนองเสนาะในลำดับถัดไปจะง่าย และสามารถนำไปใช้แข่งขัน หรือเพื่อเรียนรู้ไว้ได้ในลำดับต่อไปค่ะ

เริ่มแรกขออนุญาตอธิบายในแบบความเข้าใจของเฟิร์นเองที่อ่านทำนองเสนาะมานะคะ

คือการอ่านฉันท์ มักจะขึ้นด้วยเสียงโทนเดียวกับการอ่านกาพย์... คือเสียงต่ำ... ใน 2 วรรคแรก หรือบาทแรกของบท ซึ่งจากตัวอย่าง ช่วงที่ขีดเส้นใต้คือช่วงที่ต้องอ่านเสียงต่ำ (อาจจะเป็นเสียงกลาง หรือโทนปกติของเสียงเราเองก็ได้ค่ะ)

และ 2 วรรคหลัง หรือบาทหลัง ของบทจะขึ้นเสียงสูงเพื่อความไพเราะค่ะ

บงเนื้อก็เนื้อเต้น พิศเส้นสะรีย์รัว 
 ทั่วร่างและทั้งตัว ก็ระริกริวไหว 
แลหลังก็หลั่งโล- หิตโอ้เลอะหลั่งไป
เพ่งผาดอนาถใจ   ตละล้วนระรอยหวาย



มาลองดูบทต่อจาก 2 บทที่กล่าวมาแล้วนะคะ ลองแบ่งวรรคก่อนเน้อ....

          เนี่องนับ / อเนกแนว  ระยะแถว / ตลอดลาย
 เฆี่ยนครบ / สยบกาย  ศิระพับ / พะกับคา
         ทั้งหลาย / สหายมิต  ตะอมัจ / จะเสนา
 ทัศน์เหตุ / ทุเรศสา  หศะแสน / สลดใจ
สุดที่ / จะกลั้นโท  มนะโศ / กะอาลัย
 ถ้วนหน้า / มิว่าใคร  ขณะเห็น / บเว้นคน
แก้ไข / และได้คืน  สติฟื้น / ประทังตน
 จึ่งราช / บุรุษกล  ปกกรณ์ / ก็โกนหัว
เสื่อมศี / ศะผมเผ้า  พิศะเปล่า / ประจานตัว
 เปนเยี่ยง / ประหยัดกลัว  ผิมะลัก / จะหลาบจำ
        เสร็จอา / ชะญาทัณฑ์  กิจะพลัน / ประกาศทำ
 ปัพพา / ชนีย์กรรม  ดุจะรา / ชโองการ


มาต่อน้อ... ใครสังเกตบ้างเอ่ยว่า ช่วงบทหลังเฟิร์นอ่านอะไรผิดแผกไปกันเอ่ย?

อาชญา = อาด-ชะ-ยา

ปัพพาชนีย์ = ปับ-พาด-ชะ-นี

ราชโองการ = ราด-ชะ-โอง-กาน

ทำไมอ่านแบบนี้เพราะดูจากบริบท คำแวดล้อมเอาฮะ... จาด "ประกาศ" และดูแล้วว่ากวีน่าจะลงที่แม่กด มากกว่าจะเป็นที่แม่กอกา ทำให้เฟิร์นลากเชื่อมเสียงดูสละสลวย และอ่า่นถูกขระวิธีในแบบปกติ ที่ไม่บังคับ อีกอย่างถือไม่ได้ผิดฉันทลักษณ์ คุ-ลหุของอินทรวิเชียรฉันท์ค่ะ

อ้อ... หากถามเรื่องการเอื้อน... มีเทคนิคเล็กน้อยค่ะ

สังเกตไหมเอ่ย... ตรงที่เอื้อนมักจะเป็นเสียง "จัตวา" นี่ล่ะหนาเหตุผลว่าทำไมเราถึงต้องมีเสียงจัตวาเวลาแต่งกลอนแต่ละครั้ง เพราะมันทำให้นักอ่านนั้นเอาไปอ่านออกเสียงได้อย่างไพเราะ

หากถามว่าถ้าอ่านเป็นได้ประโยชน์อย่างไร...

อ่านเป็น จะจำได้ เขียนได้ เพราะอ่านได้ เวลาเขียนเสร็จแล้วมาลองอ่านของตนเองจะทราบได้เลยทันทีว่า "เสียง" ตรงจุดไหนที่อ่านแล้วสะดุด ดูแล้วไม่สละสลวย...

ขอบคุณที่ติดตามกันมาตลอดค่ะ... ถ้ามีโอกาสจะมาต่อเรื่องอื่นๆ ให้ได้ลองเอาไปใช้ดูนะคะ สำหรับวันนี้ก็ขอจบการพร่ำเพ้อเพียงเท่านี้ (ฮี่ๆๆ จะว่าเวิ่นเว้อแบบศัพท์วัยรุ่นก็ได้มังคะ)



...พบกันใหม่โอกาสหน้าค่ะ... 

ฆโนทัย               


ปล. ขออภัยค่ะ เค้าแทรกโค้ดของ SoundClound ลงไม่ได้อ่ะ... กดไปเอาแล้วกันเนอะ T T ฮือ....



Create Date : 15 กรกฎาคม 2556
Last Update : 19 กรกฎาคม 2556 15:27:54 น.
Counter : 10878 Pageviews.

2 comments
  
ขอบคุณสำหรับความรู้เรื่องกลอนค่ะคุณเฟิร์น
นุ่นไม่เป็นเลยแหละ
คุณเฟิร์นเรียนมาแน่นปึ๊กนี่เอง
ถึงแต่งเก่งขนาดนี้
ชื่นชมๆๆ
โดย: lovereason วันที่: 16 กรกฎาคม 2556 เวลา:0:04:35 น.
  
แฮ่... ไม่แน่นเท่าไหร่ค่ะคุณนุ่น ออกแนวพยายาม (ต้องแข่งตอนนั้น) หลายๆ อย่างประกอบกันเลยออกมาเป็นเช่นนี้ค่ะ

กอด... ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมนะคะ
โดย: ฆโนทัย วันที่: 16 กรกฎาคม 2556 เวลา:8:30:03 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

S_Maple
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



Welcome



กรุ่นไอดินกลิ่นอายฝนคลายหม่นหมอง

ดังทำนองร้องรับขับขานเสียง

ดุจดนตรีธรรมชาติเคล้าคลอเคียง

ฟังสำเนียงเพียงระรื่นชื่นวิญญาณ์



...ฆโนทัย...