สาระน่ารู้เกี่ยวกับ แอร์บ้าน และระบบไฟฟ้าในบ้าน
Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2556
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
29 พฤษภาคม 2556
 
All Blogs
 
รีวิว...เครื่องปรับอากาศ SAMSUNG Smart WiFi Inverter ตอนที่ 4

คำแนะนำ...สำหรับใครที่เพิ่งเปิดมาเจอหน้านี้ ซึ่งเป็นรีวิวตอนที่ 4 (ถ้าหากท่านยังไม่ได้อ่านตอนที่ 1 , 2 และ 3) แนะนำว่าให้กลับไปอ่านที่รีวิวตอนที่ 1 , 2 และ 3 ตามลิงค์ข้างล่าง

Link : รีวิวตอนที่ 1

Link : รีวิวตอนที่ 2

Link : รีวิวตอนที่ 3



หลังจากดูรีวิวในส่วนของชุดคอยล์ร้อน CondensingUnit และชุดคอยล์เย็น Fan coil Unit กันไปเรียบร้อยแล้วต่อไปจะเป็น D.I.Y. ในส่วนกระบวนการและขั้นตอนในการติดตั้ง


งานนี้ผมลงมือดำเนินการเองในช่วงวันว่างทำทุกขั้นตอนเกือบทั้งหมดเพียงคนเดียว อาศัยที่ว่าทำงานของตัวเอง จึงไม่รีบร้อนทำแบบเรื่อยๆเหนื่อยก็พัก ใจจริงก็อยากพาช่างมาช่วยงานที่นี่ด้วยแต่ไม่สะดวกในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเดินทางมานอกพื้นที่หรือความไม่สะดวกในการเก็บข้อมูลควบคู่กับการดำเนินการ หลายเหตุผลจึงสรุปว่างานนี้ตัดสินใจที่จะลุยเองคนเดียวเพราะจะสะดวกกว่าในการทำไปถ่ายรูปเก็บข้อมูลไปแต่ว่า...ในบางขั้นตอนอาจจะไม่มีภาพมาประกอบเพราะไม่สามารถถ่ายรูปมาให้ได้ในขณะนั้น ก็ต้องขออภัยด้วย


ก่อนจะติดเครื่องใหม่ จำเป็นต้องถอดเครื่องปรับอากาศเครื่องเก่าออกเสียก่อน


ในภาพ คอยล์ร้อนที่ติดตั้งด้านบนคือเครื่องที่ได้มาติดตั้งไว้เมื่อปีที่แล้ว และได้นำมาทำรีวิวไปแล้ว
ส่วนชุดคอยล์ร้อนที่ติดตั้งด้านล่าง คือเครื่องเก่าที่จะทำการถอดออกแล้วติดตั้งเครื่องใหม่ขนาดใหญ่กว่าเดิม แทนที่



เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนของการถอดย้ายเครื่องปรับอากาศ

อันดับแรกก็ต้อง เปิดฝาครอบเซอร์วิสวาล์ว และเปิดฝาครอบวาล์วลูกศรหลังจากนั้นต่อเกจวัดแรงดันสารทำความเย็นที่ตัวเครื่องปรับอากาศแล้วเริ่มเดินเครื่อง เตรียมตัวทำขั้นตอน pump down ซึ่งเป็นขั้นตอนเก็บสารทำความเย็นไว้ในชุดCondensing Unit ก่อนจะถอดย้ายเครื่องปรับอากาศ
แทนการปล่อยสารทำความเย็นทิ้งสู่บรรยากาศซึ่งเป็นสาเหตุทำให้โลกร้อน



จากนั้นเข้าไปเปิดเครื่องปรับอากาศให้ทำงาน
เมื่อคอมเพรสเซอร์ทำงาน สังเกตุที่เกจวัดแรงดัน หน้าปัดของเกจด้าน Low(สีฟ้า)ซึ่งกำลังวัดค่าแรงดันสารทำความเย็นด้านท่อทางดูด Suctionค่าแรงดันมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อแรกเริ่มเดินเครื่องใหม่ๆรอสักพักก็มาคงที่ ที่ระดับ 80 - 81 PSIG



ค่าแรงดันที่วัดได้ ที่ระดับประมาณ 80 PSIG ถือว่าเกินกว่าค่าปกติไปบ้างเพราะค่าปกติของแรงดันด้านท่อทางดูดสำหรับสารทำความเย็น R-22 คือ 68-75 PSIG แต่แรงดันยิ่งมากแอร์ก็ยิ่งทำงานหนัก คอมเพรสเซอร์ กินกระแสไฟฟ้าสูงแต่ถ้ากระแสที่วัดได้จริงไม่เกินกระแสที่ระบุบป้าย name plate ก็อาจไม่จำเป็นที่จะต้องปล่อยสารทำความเย็นที่เกินทิ้ง

ค่าแรงดัน และกระแสไฟฟ้าที่วัดได้ในตอนที่ติดตั้งเสร็จและเดินเครื่องเป็นครั้งแรก ของเครื่องนี้ ผมจำได้ว่าเคยบันทึกไว้ในสมุดโน๊ตไปรื้อมาดู เดินเครื่องครั้งแรกก็80 PSIG กระแสไฟฟ้าขณะคอมเพรสเซอร์ทำงานอยู่ที่3.0 A กระแสไฟฟ้าบนป้าย name plate 3.59 A.

ท่อที่ใช้ไปเต็มความยาว 4 เมตรพอดีตามที่ให้มาซึ่งระยะเดินท่อจริง มีไม่ถึง 4เมตร ส่วนที่เหลือในตอนนั้น ผมเลยม้วนไว้ด้านหลังเครื่องไม่ได้ตัดออก




เมื่อเครื่องเดินไปได้สักพักจนแรงดันคงที่ ก็เริ่มการpump down โดยเริ่มจากการเปิดฝาเกลียวที่ครอบช่องขันวาล์วของท่อทั้งสอง
ในขณะที่เครื่องกำลังเดิน ใช้ประแจหกเหลี่ยมหรือประแจแอลขันปิดวาล์วด้านท่อทางอัด (Discharge) หรือท่อเล็ก(รีบขันปิดให้แน่น)





เมื่อปิดวาล์วด้านท่อทางอัด (Discharge Line) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้สังเกตุหน้าปัทม์ของเกจวัดแรงดันสารทำความเย็นเพราะการปิดวาล์วด้านท่อทางอัด (Discharge Line) ทำให้สารทำความเย็นไม่ถูกอัดเข้าระบบอีกต่อไปและท่อทางดูด (Suction Line) จะรับช่วงต่อโดยการดูดสารทำความเย็นที่ค้างในระบบกลับเข้ามาในคอมเพรสเซอร์ซึ่งต้องสังเกตค่าที่แสดงบนเกจให้ดีใช้ประแจหกเหลี่ยมหรือประแจแอลไปเสียบรอไว้ก่อนที่ท่อทางดูด (Suction Line) 





จากนั้นรอดูค่าแรงดันที่เกจ เมื่อแรงดันเริ่มลดลงมาระหว่างที่หมุนปิดวาวล์วของท่อทางดูด (Suction Line) สังเกตแรงดันที่ลดลงบนเกจด้วยเมื่อค่าแรงดันตกลงมาจนอยู่ที่ประมาณ 10 PSIG ให้ทำการหมุนปิดวาล์วทันทีต้องหมุนปิดวาล์วให้เสร็จพร้อมกับค่าแรงดันที่ลดลงจนเป็น 0 PSIG





เมื่อปิดวาล์วทั้งสองสนิทแล้วจากนั้นก็รีบปิดเครื่องปรับอากาศให้คอมเพรสเซอร์หยุดทำงานอย่างรวดเร็ว


เพราะถ้าปล่อยให้คอมเพรสเซอร์ทำงานขณะที่วาล์วทั้งสองปิดสารทำความเย็นจะถูกอัดออกมาเรื่อยๆในขณะที่สารทำความเย็นไม่ได้เดินหมุนเวียนในระบบเพราะวาล์วที่ถูกปิดอยู่ถ้าระบบป้องกันภายในทำงานปกติ คอมเพรสเซอร์ก็จะตัดการทำงานก่อนจะเกิดอันตรายเพราะตัวป้องกันโอเวอร์โหลดทำงาน แต่ถ้าโอเวอร์โหลดไม่ทำงานปล่อยให้สารทำความเย็นถูกอัดออกมาขณะที่วาล์วถูกปิด อัดไปเรื่อยๆอาจจะเกิดการระเบิดได้



เนื่องด้วยผมทำงานเพียงคนเดียว หลังจากปิดวาล์วทั้งสองเสร็จจะสั่งให้คนข้างในกดรีโมทปิด ก็ทำไม่ได้วิธีการที่จะให้คอมเพรสเซอร์หยุดทำงานได้อย่างรวดเร็วที่สุด คงต้องใช้วิธีลัดผมจึงตัดสินใจปลดสายคอนโทรที่ควบคุมการตัด/ต่อของรีเลย์ภายในชุดคอยล์ร้อน

หลังจาก Pump down เก็บสารทำความเย็นเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ต้องมาทำการถอดเครื่องปรับอากาศเครื่องนี้ออกเริ่มที่ถอดท่อทั้งสองที่ต้อกับชุดคอยล์ร้อนถอดเสร็จก็ปิดปลายท่อโดยการบีบปลายแล้วใช้เทปพันอีกครั้งเพื่อกันสิ่งสกปรกเข้าท่อ



ส่วนด้านเซอร์วิสวาล์วที่ต่อเข้าคอยล์ร้อนก็เอาแฟร์นัทของเดิม ตัดออกมาให้ติดท่อสักนิด แล้วปีปลายท่อที่อยู่อีกด้านและพันเปทตามเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกเข้าท่อจากนั้นก็เอาแฟร์นัทพร้อมท่อที่บีบปลายติดมาด้วย ใส่กลับเข้าไปอย่างเดิม





หลังจากทำในส่วนที่อยู่ข้างนอกเสร็จก็เข้ามาเตรียมถอดคอยล์เย็นลงมา



คอยล์เย็นลงมาแล้ว ยังเหลือแผงยึด



หลังจากถอดแผงยึดออกมา





ปลดประจำการ ด้วยอายุการใช้งาน ประมาณ 5 ปี



รีวิวยังไม่จบ อ่านรีวิวต่อ ตอนที่ 5 Click




Create Date : 29 พฤษภาคม 2556
Last Update : 9 มิถุนายน 2556 3:26:09 น. 0 comments
Counter : 5635 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

KanichiKoong
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 275 คน [?]




ช่องทางการติดต่อผู้จัดทำ

- หลังไมค์
- E-mail : aum_tawatchai@hotmail.com
-------------------------------------
เนื้อหาที่ปรากฏ อนุญาติให้นำไปใช้เพื่อการศึกษา/หาความรู้ ซึ่งไม่เป็นการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ
-------------------------------------
New Comments
Friends' blogs
[Add KanichiKoong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.