JyHorseman
Group Blog
 
 
กันยายน 2553
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
18 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
2010m09d12: Training with World Camera-Ladpraw

Sunday 12 September 2010
Training with World Camera, Ladpraw
(อบรมการถ่ายภาพกับเวิร์ด คาเมร่า)


ซีือกล้องจากที่ร้านนี้มาระยะเวลาพอสมควร โดยเขาจะมีการฝึกอบรมการใช้กล้องให้ด้วย
ได้คอยติดตามกำหนดการ และเวลาที่จะสามารถเข้าร่วมได้อยู่
ครั้งนี้ ดูว่าทุกอย่างน่าจะไม่ติดธุระอะไร
เลยได้ลงทะเบียนการเข้าร่วมไว้

ขับรถมา กลัวว่าจะเลยซอยตรงทางเข้าที่จอดของร้าน
พยายามขับช้าๆ แล้วนะ กำลังมองว่าใช่ซอยนี้หรือเปล่า
โดนแท็กซี่บีบแตรไล่ เลย เลยซอยที่เข้าร้านจนได้

ไปกลับรถมาอีกหนึ่งรอบ Ha! Ha!

ห้องอบรมของที่ร้าน อยู่ที่ชั้น 3
เดินขึ้นไปนึกว่ายังไม่ต่อยมีคนมา
พอเข้าไปในห้อง นั่งกันเกือบเต็มห้องแล้ว
รอสักครู่หนึ่งก็ได้เริ่มกัน มีเอกสารแจกให้ด้วยนะ ดีเลย





ทีมงานเขาจัดการเป็นเรื่องเป็นราว ในระดับดีเลย
ทีมงานมีค่อนข้างมาก ไม่ใช่แต่ Instructor หรือผู้บรรยาย กับผู้เข้าอบรม
ต้องขอขอบคุณมากๆ ด้วยนะครับ
โดยเฉพาะทีมผู้ช่วย ที่คอยเดินไปเดินมา
ช่วยเหลืออย่างทันที และเป็นกันเองอย่างมากๆ

ขอบคุณจริงๆ

โดยส่วนตัวแล้ว การที่เราได้จับกล้องอุปกรณ์มาระยะหนึ่ง
เป็นการดีมากกว่า ที่เราเริ่มรู้ และ คุ้นเคยกับอุปกรณ์พอสมควร
เรื่องขั้นต้นๆ จึงไม่ต้องใช้เวลามากนัก

การอบรมเริ่มต้นด้วยการอธิบายปุ้มและการทำงานของอุปกรณ์
ซึ่งก็มีหลายยี่ห้อกล้อง ก็ฟังไว้ได้เป็นข้อมูลเปรียบเทียบด้วย

พอเข้าเรื่องเทคนิค เลยได้รู้ความสำคัญของเรื่องนั้นๆ อย่างจริงๆ
เช่น การปรับค่า F เป็นต้น

เริ่มด้วยการถ่ายภาพ
"สีขาวให้เป็นสีขาว และ สีดำให้เป็นสีดำ"



เวลาเราถ่ายภาพโดยให้กล้องจัดการให้
สีขาวกับสีดำมักไม่ใช่สีนั้นจริงๆ
เราเลยต้องมีการชดเชยปรับลด/เพิ่ม ค่าแสง
ซึ่งเรื่องนี้ พอได้ยินมาบ้าง แต่วิธีการเพิ่งมาทำได้ถนัดๆ ในครั้งนี้

การฝึกถ่ายภาพกระดาษสีขาว ให้ออกมาเป็นสีขาว








การฝึกถ่ายภาพวัตถุสีดำ ให้ภาพวัตถุนั้นออกมาเป็นสีดำ







เรื่องต่อไป คือ ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed)

ตามเอกสารการฝึกอบรม จะอธิบายไว้ว่า

"สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับค่าความเร็วชัตเตอร์ก็คือ
ความเร็วชัตเตอร์สูง ระยะเวลาเปิดรับแสงสั้น แสงเข้าน้อย
และถ้า
ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ระยะเวลาเปิดรับแสงนาน แสงเข้ามาก

ดังนั้น
ความเร็วชัตเตอร์จะมีผลต่อการถือกล้องถ่ายด้วยมือ

ส่งที่ต้องระวัง คือ
ความเร็วชัตเตอร์ที่ถือกล้องได้
คือ เท่ากับ 1/ทางยาวโฟกัสที่ใช้ ณ ขณะนั้น



ขนาดของช่องรับแสง หรือ F No.
ช่องรับแสงทำหน้าที่หลักๆ อยู่ 2 ประการ คือ

ประการที่ 1.
ควบคุมปริมาณแสงที่ตกลงยัง Image Sensor


ขนาดช่องรับแสงกว้าง
แสงจะตกลง Image Sensor มากกว่า ขนาดช่องรับแสงแคบ

ประการที่ 2.
ควบคุมความชัดของวัตถุด้านหน้าและหลังของตำแหน่งที่ปรับความชัด
ซึ่งเรียกว่า ความชัดลึก (Depth of Field: DOF)








ขนาดช่องรับแสงจะระบุเป็นตัวเลข เรียกว่า F-Number หรือ F-Stop
ซึ่งจะมีค่าต่างๆ ดังนี้
1, 1.4, 2, 2.8, 4, 5.6, 8, 11, 16, 22, 32, 45, 64

ตัวเลข F-Number น้อย
ขนาดช่องรับแสงจะกว้าง แสงเข้าได้มาก และให้ภาพชัดลึกต่ำ (เบลอมาก)

ตัวเลข F-Number มาก
แสงเข้าได้น้อย มีความชัดลึกสูง

เช่น
การถ่ายภาพบุคคลเดี่ยว ต้องการฉากหลังเบลอๆ
ก็ให้ใช้ค่า F น้อย (ช่องรับแสงกว้าง)

หากต้องการถ่ายภาพหมู่ ภาพวิว หรือภาพระยะใกล้
มักเปิดช่องรับแสงแคบ (F มากๆ)
เพื่อให้ฉากหน้าและหลังมีความคมชัดสูง เป็นต้น


ปัจจัยที่มีผลต่อระยะชัดของภาพ (Depth of Field: DOF)



ประการที่ 1. ขนาดของช่องรับแสง (F No.)
ค่าของช่องรับแสงนั้นมีผลโดยตรงต่อ DOF
นั่นคือ F 2.8 จะมีระยะชัดที่น้อยกว่า F 8

ประการที่ 2. ระยะวัตถุ
ระยะห่างจากวัตถุถึงระนาบฟิล์มหรือเซนเซอร์ จะมีผลโดยตรง
เมื่อระยะวัตถุเพิ่มขึ้น(ไกลขึ้น) เป็นสองเท่าตัว ระยะชัดจะเพิ่มเป็น 4 เท่าตัว และจะมีผลทำให้วัตถุเล็กลง และ Perspective ของภาพเปลี่ยนไปด้วย

ประการที่ 3. ทางยาวโฟกัสของเลนส์
หากทางยาวโฟกัสลดลงเท่าตัว ระยะชัดจะเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่าตัว
แต่อย่าลืมว่า
การเปลี่ยนความยาวโฟกัสจะทำให้ขนาดวัตถุเปลี่ยนไปด้วย
(หากระยะวัตถุคงที่)



ทางยาวโฟกัสของเลนส์ และ องศารับภาพ












เรื่องต่อไป คือ ระบบวัดแสง (Metering Mode)

ระบบวัดแสงในกล้อง จะใช้หลักๆ อยู่ 4 ระบบ คือ

1. แบบเฉลี่ยทั้งภาพ (Average Light Metering Mode)
(Nikon= Matrix Metering, Olympus= Digital ESP, Pentax= Evaluative)

การวัดแสงแบบเฉลี่ยทั้งภาพ เป็นการวัดแสงโดย
การเฉลี่ยความสว่างของวัตถุในภาพทั้งหมด
แล้วใช้ค่าเฉลี่ยที่ได้ในการเปิดรับแสง

เหมาะสำหรับการถ่ายภาพตามแสง ไม่มีส่วนมือหรือสว่างมากเกินไป
ใช้งานได้ดีกับภาพทิวทัศน์

2. แบบเฉลี่ยหนักกลาง (Center Weight Metering Mode)
คล้ายๆ กับระบบเฉลี่ยทั้งภาพ
แต่มีการเน้นความสำคัญในบริเวณกลางภาพมากกว่าส่วนอื่นๆ
ทำให้วัตถุที่อยู่กลางภาพมีผลต่อการวัดแสงมากกว่าส่วนอื่นๆ

เหมาะสำหรับการใช้งานที่มีสภาพแสงไม่ยุ่งยากมากนัก
ไม่มีส่วนมือหรือสว่างมากจนเกินไป
ใช้ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ ภาพบุคคล หรือถ่ายภาพตามแสง ได้ดี

3. แบบเฉพาะจุด (Spot Metering Mode)
เป็นการวัดแสงจากพื้นที่ส่วนกลางภาพมากๆ
ใช้งานค่อนข้างซับซ้อน
แต่มีความแม่นยำสูงมาก หากใช้งานได้ถูกต้อง

4. แบบเฉพาะส่วน (Partial Metering Mode)
เป็นการวัดแสงคล้ายระบบวัดแสงเฉพาะจุด
(ประมาณ 6 - 9 % ของพื้นที่ทั้งหมด) ให้ความแม่นยำสูง


$$$ ระบบวัดแสง (metering Mode) $$$
การปรับเลือกระบบวัดแสงนั้น เราต้องสังเกตุว่า
รูปที่เราถ่ายนั้นมีสภาพแสงอย่างไร
และระบบวัดแสงแบบใดเหมาะกับสถานการณ์นั้นๆ

และในการชดเชยแสงนั้น ถ้าตำแหน่งที่เราต้องการดูมืดเกินไป
ก็ชดเชยแสงไปทางบวก เพื่อให้ภาพสว่างขึ้น
ถ้าสว่างเกินไปก็ชดเชยไปทางลบให้ภาพดูมืดลง
$$$ $$$

White Balance และการใช้งาน




ISO นั้น สำคัญไฉน
ISO สำหรับกล้องดิจิตอล คือ ความไวต่อแสงที่มีในกล้อง
ถ้าเราปรับให้กล้องมีค่าความไวแสง หรือ ISO ที่สูงขึ้น
เราก็จะสามารถถ่ายรูปในที่สภาพแสงน้อยได้เหมือนแสงปกติ

การใช้งานในสภาพปกติ จะใช้ได้ตั้งแต่ ISO 100 - 400
แต่มีบางกรณีที่เราสามารถบูสต์ค่า ISO สูงๆ เช่น

ISO 800 ในสภาพที่แสงปกติได้นั้นก็คือ
เวลาที่เราใช้เลนส์เทเลโฟโต้ ที่มีทางยาวโฟกัสสูง
เราสามารถบูสต์ ISO เพิ่มขึ้นมาได้ เพื่อเร่งชัตเตอร์สปีดขึ้น
เพื่อป้องกันภาพสั่นไหว

แต่การปรับค่า ISO ขึ้นสูงมากๆ สิ่งที่พึงระวัง คือ
ความคมชัดของภาพจะลดน้อยลง
และจะมี Noise หรือ สัญญาณรบกวน เพิ่มมาแทน

ดังนั้น การใช้ค่า ISO ที่สูง ควรวัดแสงในภาพให้พอดี

Tip:
ถ้าต้องการให้ "ภาพมืด"
..... ISO = -
..... F No. = +
..... Speed = +

ถ้าต้องการให้ "ภาพสว่าง"
..... ISO = +
..... F No. = -
..... Speed = -



การใช้งานแฟลชเบื้องต้น











การจัดองค์ประกอบภาพ
สิ่งสำคัญที่ควรนึกถึง สำหรับการจัดองค์ประกอบภาพ 10 อย่าง คือ

1. รูปทรง
2. รูปร่างลักษณะ
3. ความสมดุลย์ที่สมมาตรกัน
4. ความสมดุลย์ที่ไม่เท่ากัน
5. ฉากหน้า (Foreground)
6. ฉากหลัง (Background)
7. กฎ 3 ส่วน
8. เส้นนำสายตา
9. กรอบภาพ (Frame)
10. รูปแบบซ้ำซ้อน หรือ Pattern














ได้ข้อมูลแนวทางการถ่ายภาพเบื้องต้นแล้ว
จากนี้ ก็จะเป็นกิจกรรม การฝึกหัดถ่ายภาพ
เริ่มจาก "นางแบบ" มาแนะนำตัวเองก่อนเลย
จากนั้น ก็แบ่งกันเป็นสองกลุ่ม เพื่อไม่ให้จำนวนคนมากเกินไป

ระหว่างที่กลุ่มหนึ่งไปฝึกถ่ายภาพ
อีกกลุ่มหนึ่ง ก็จะฟังคำอธิบายเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ
ที่ควรมี หรือ ถ้าจะมี ควรจะเลือกอย่างไร แบบไหน





นับเป็นครั้งแรก ที่ถ่ายภาพแบบมีนางแบบ มายืนให้ถ่ายภาพ

การถ่ายภาพแบบนี้ คือการจำลองสถานการณ์ เรื่องสภาพแวดล้อม การถ่ายภาพตามแสง หรือย้อนแสง จำนวนช่างภาพที่มาก อะไรประมาณนี้ ว่า ผู้ถ่ายภาพจะต้องทำอย่างไร เตรียมกล้องอย่างไร





















โดยส่วนตัว เห็นผู้เข้าอบรมด้วยกัน ซึ่งน่าจะเป็นผู้เริ่มถ่ายภาพ
เวลาเขาถ่ายภาพแล้ว ชอบภาพที่ถ่ายนั้น ดูดีมากเลย ประทับใจ







[Source: //www.WorldCamera.co.th]

Let's go !!!!
Click Link: ภาพกิจกรรมอบรมถ่ายเบื้องต้น
สำหรับลูกค้า World Camera
on 12 September 2010



[Source: //www.WorldCamera.co.th]

More Reference Link:

Click Link: ภาพกิจกรรมอบรมถ่ายเบื้องต้น
สำหรับลูกค้า World Camera
on 14 November 2010








Create Date : 18 กันยายน 2553
Last Update : 1 มีนาคม 2554 10:03:10 น. 0 comments
Counter : 4392 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

yoadjarust
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




:Users Online
Jy Horseman
New Comments
Friends' blogs
[Add yoadjarust's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.