จันทร์ทมิฬ : ไม่ใช่ครั้งแรก ไม่ใช่ครั้งสุดท้าย
ข่าวหุ้น วันอังคารที่ 27 กันยายน 2011

ถือเป็นอีกวันหนึ่งที่เข้าข่ายโลกาวินาศของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อดัชนีตลาดตกลงต่ำสุดเป็นอันดับ 2 ของประวัติศาสตร์ตลาด สำหรับการซื้อขายวันเดียว ทั้งที่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นความผิดปกติอย่างยิ่งสำหรับตลาด เพราะการร่วงอย่างต่อเนื่องจากการขายอย่างตื่นตระหนกของนักลงทุนไม่ได้เกิดจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศไทยแม้แต่น้อย

จะบอกว่า การถล่มทลายของตลาดหุ้นเมื่อวานนี้ ถึงขนาดที่ตลาด mai และตลาด TFEX (silver) ต้องหยุดซื้อขายเพราะใช้เซอร์กิต เบรกเกอร์ เนื่องจากร่วงแรงเกินกว่า 10% โดยเฉพาะตลาดหลังนั้น ร่วงติดต่อกัน 2 วันซ้อนเลยทีเดียว มีสาเหตุมาจากการพึ่งพาเงินลงทุนจากเงินลงทุนในตลาดต่างประเทศมากเกินจำเป็น และนักลงทุนก็อาศัยข้อมูลอ้างอิงจากตลาดต่างประเทศมากเกินจำเป็น โดยไม่ได้พิจารณาพื้นฐานของผลประกอบการของกิจการบริษัทจดทะเบียนในตลาดแม้แต่น้อย

ข้อเท็จจริงนี้ ถือเป็นความไร้สมดุลของตลาดหลักทรัพย์ฯไทยอย่างแท้จริง ยิ่งหากนำไปเปรียบเทียบกับการพังทลายของตลาดเก็งกำไรในระดับโลกด้วยแล้ว จะยิ่งเห็นได้ชัดถึงความแตกต่าง

สิ่งที่ค่อนข้างตรงกันมีอยู่ข้อเดียวและไม่ใช่สาระสำคัญก็คือ การถล่มทลายของตลาดหุ้นในอดีตนั้น มักจะเกิดขึ้นในวันจันทร์มากกว่าวันอื่นๆ เท่านั้นเอง เป็นที่มาของคำว่า Black Monday หรือจันทร์ทมิฬ

การถล่มทลายของตลาดเก็งกำไรในอดีต ที่เด่นดังในระดับโลกมีตัวอย่างที่ยกมาให้เห็นได้ดังนี้คือ

- ทิวลิปมาเนีย ชาวดัตช์ได้ค้นพบในปลายคริสต์ศตวรรษว่า ไวรัสที่ไม่ร้ายแรงในหัวทิวลิป ทำให้เกิดสีสันของดอกใหม่ๆ ขึ้นมา อย่างหลากหลาย ทำให้เกิดการผสมพันธุ์ทิวลิปใหม่ๆ และเก็งกำไรหัวทิวลิปที่มีคนอ้างว่าผสมได้สีใหม่ๆ ที่มีราคาแพงลิ่วขึ้นไปต่อเนื่อง กลายเป็นการเก็งกำไรหัวทิวลิปครั้งใหญ่ทั่วยุโรป จนกระทั่งวันหนึ่งคนเริ่มพบว่ามีการปลอมปนที่ผิดข้อเท็จจริง ความเชื่อมั่นตลาดจึงตกต่ำลง และราคาหัวทิวลิปพังพินาศลงไปในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637 เป็นการล่มสลายของตลาดเก็งกำไรครั้งแรกในโลก

- เซาท์ซี บับเบิ้ล รัฐบาลอังกฤษระดมทุนหาเงินสร้างกองทัพเพื่อเตรียมทำสงครามกับฝรั่งเศสครั้งใหม่ จึงให้สัมปทานผูกขาดการค้ากับบริษัทเซาท์ซี อำนาจผูกขาดจูงใจให้มีการออกตราสารหนี้แล้วเอามาระดมทุนในตลาด ผลลัพธ์คือการปั่นราคาหุ้นขึ้นไปหลายสิบเท่า ก่อนที่จะพบว่า บริษัทนี้ไม่ได้ประกอบธุรกิจอะไรเลย แล้วก็พังพินาศไป

- ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ฟลอริด้า ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐฯเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจอย่างมาก จนกระทั่งคนมีเงินเหลือเฟือจากรัฐสวัสดิการพากันเข้าไปเก็งกำไรจากอสังหาริมทรัพย์อย่างมากเกินขนาดจนพบว่ามีการสร้างโครงการจอมปลอมมหาศาล เมื่อพายุเฮอร์ริเคนถล่มฟลอริด้า จนล้มระเนระนาด

- ตลาดหุ้นวอลล์สตรีท พังพินาศ (ผลพวงของฟองสบู่เศรษฐกิจที่ยาวนานหลังสงครามโลกครั้งแรก ทำให้คนอเมริกันนำเงินออมในครัวเรือนออกมาเก็งกำไรในตลาดหุ้น ด้วยความเชื่อว่าไม่มีความเสี่ยง ก่อนที่โลกจะกลับหัวฟองสบู่แตกกะทันหัน ในวันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1929 เป็นจันทร์ทมิฬครั้งแรก เริ่มต้นการตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ระดับโลก

- จันทร์ทมิฬครั้งที่สอง ค.ศ. 1987 จากการตั้งโปรแกรมซื้อขายผิดพลาดของโบรกเกอร์

- วิกฤตต้มยำกุ้ง ค.ศ. 1997 เริ่มขึ้นที่กรุงเทพฯ ผลพวงของโลกาภิวัตน์หลังยุคสงครามเย็น

- ฟองสบู่ดอทคอม ค.ศ. 2000 เกิดขึ้นเมื่อหุ้นบริษัทไอทีล่มสลายเพราะไม่เป็นจริงตามฝัน

- ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ ซับไพรม์ ค.ศ. 2009

ทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า การพังตลาดของตลาดหุ้นระดับโลกนั้น จะพ่วงโยงเข้ากับภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงเสมอ ไม่มีการพังของตลาดเพราะอาการวิตกจริตดังที่กำลังเกิดขึ้นในไทยยามนี้เลยแม้ครั้งเดียว เหตุเกิดในตลาดหุ้นไทยหลายวันนี้ รวมทั้งจันทร์ทมิฬล่าสุด จึงเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ปกติอย่างยิ่ง หาคำอธิบายได้ยากเต็มที



Create Date : 28 กันยายน 2554
Last Update : 28 กันยายน 2554 5:28:43 น.
Counter : 731 Pageviews.

0 comments

Depulis
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]



กันยายน 2554

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
29
30
 
 
All Blog