พิพิธภัณฑ์หอยกรุงเทพฯ(Bangkok Seashell Museum)





เราไปตัดแว่นกับร้านเพื่อนที่ตั้งอยู่บนนถนนเจริญกรุงมาค่ะ พอลงทางด่วนสีลมก็เห็นพิพิธภัณฑ์หอยกรุงเทพฯ ตั้งตระหง่านอยู่ค่ะ และพอดีกันกับที่ปีนี้คุณแม่กำลังวางแผนให้ลูก ๆ โดยเฉพาะลูกคนโตในวัยสิบสองปีเรียนรู้เรื่องภูมิศาสตร์ ในส่วนของธรณีวิทยา ไม่ว่าจะเป็น ดิน หิน หรือแร่ธาตุ ก็เลยได้โอกาสพาลูก ๆ แวะเข้าไปชมกันค่ะ พิพิธภัณฑ์หอยกรุงเทพฯ นั้นตั้งอยู่ปากซอยสีลม 23 ค่าบัตรเข้าชมคนไทย ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท ค่ะ ส่วน 1-4 ขวบฟรีค่ะ เปิดทำการทุกวัน จันทร์ – อาทิตย์ (ไม่หยุดนักขัตฤกษ์) เวลาทำการคือ 10.00 น. - 19.00 น. ค่ะ และมีที่จอดรถให้ด้านข้างอาคารค่ะ
(ท่านสามารถเข้าไปชมรายละเอียดที่มาที่ไปของพิพิธภัณฑ์หอยฯ รวมทั้งรายละเอียดของหอยที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ ได้ที่พิพิธภัณฑ์หอยกรุงเทพฯ ค่ะ)









“หอย” เป็นสัตว์โบราณที่สุดอีกกลุ่มหนึ่ง เกิดขึ้นบนผืนโลกครั้งแรกอย่างน้อยที่สุดเมื่อกว่า 550 ล้านปีก่อนในยุคแคมเบรียน โดยมีการปรับตัวผ่านการวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง และในปัจจุบันเราสามารถพบหอยอาศัยอยู่ได้ตั้งแต่ก้นมหาสมุทร ภายใต้ผืนทราย ริมชายหาด ในลำธาร ตามแนวไม้ในป่าดิบ ไปจนถึงยอดเขาสูงที่มีหิมะปกคลุมแทบทั้งปี รวมถึงในทะเลทรายที่ร้อนระอุ สภาพแหล่งอาศัยอันหลากหลายเหล่านี้ หอย สามารถปรับรูปทรง และการดำรงชีวิต ตามการเปลี่ยนแปลงของธรณีวิทยา และสิ่งแวดล้อมจนมีความแตกต่างของขนาด และรูปทรงที่สวยงาม น่าตื่นเต้น เช่น เราอาจพบปลาหมึกกล้วยยักษ์ขนาดยาวกว่า 20 เมตร หอยกาบมือเสือยักษ์น้ำหนักหลายร้อยกิโลกรัม ไปจนถึงหอยจิ๋ว ทั้งบนบกและในทะเลที่มีขนาดโตเต็มวัยเล็กกว่าเสี้ยวของมิลลิเมตร

หอยและเปลือกหอยนั้นมีความเกี่ยวพันกับชีวิตมนุษย์ ทั้งในแง่มุมแห่งศิลปะ เป็นสัญลักษณ์แทนการค้าขายแลกเปลี่ยนในประวัติศาสตร์ เป็นอัญมณีและเครื่องประดับจากธรรมชาติ เป็นแหล่งอาหารสำคัญ เป็นที่มาของแหล่งพลังงานปิโตรเลียม เป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา เป็นสัตว์เลี้ยง และเป็นแหล่งสกัดยารักษาโรคที่มนุษย์ยังไม่สามารถคิดค้นได้เองอีกมากมาย รอการค้นพบจากนักวิทยาศาตร์ โดยยังมีพื้นที่ทั้งบนบกและภายใต้ผืนน้ำที่มนุษย์ยังสำรวจไม่ทั่วถึงอีกมากมาย จึงมีการคาดคะเนกันว่าเราอาจค้นพบชนิดของหอยได้รวมกันมากถึง 200,000 ชนิดในวันข้างหน้า วิชาการศึกษาเปลือกหอย และวงจรชีวิตของหอยจึงนับเป็นเรื่องที่สำคัญต่อมนุษย์ และวิวัฒนาการของโลก





พิพิธภัณฑ์แบ่งเป็นสามชั้นด้วยกันค่ะ ขอนำภาพแบบรวม ๆ มาให้ชมกันนะคะ






ด้านหน้ามีมุมขายของที่ระลึกจากเปลือกหอยค่ะ
เด็ก ๆ ซื้อเปลือกหอยมาเล่นกับกระบะทรายที่บ้านคนละอันค่ะ






ชั้น ที่ 1 ทำความรู้จักกับวิธีการสร้างเปลือกของหอย “เปลือกหอยเกิดขึ้นได้อย่างไร” ท่านจะได้พบกับเปลือกหอยที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมาก เช่น หอยมือเสือยักษ์ ซึ่งเป็นหอยสองฝาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีน้ำหนักถึง 300 กิโลกรัม รวมไปถึง เปลือกหอยโข่งที่มีผิวด้านในเป็นผิวมุกสวยงาม หอยเท้าช้างชนิดต่างๆ ที่ล่าเม่นเพื่อเป็นอาหารรวมไปถึง หอยกระต่าย หอยเปลือกบางขนาดเล็ก ที่มีพิษรุนแรงทำให้ได้ชื่อว่า เพชรฆาตทางเรียบ































หอยมือเสือยักษ์ ซึ่งเป็นหอยสองฝาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก







ชั้นที่ 2 ตื่นตากับสีสันของเปลือกหอยที่สวยงามจนได้ชื่อว่า อัญมณีแห่งท้องทะเล ไฮไลท์ ของชั้นนี้อยู่เปลือกหอยสองฝาที่มีสีสันสวยงาม เช่น หอยเชลล์จักรพรรดิ หอยเชลล์โซมาเลีย ที่เด่นที่สุดของหอยสองฝาชั้นนี้ คือ หอยแครงที่มีลักษณะเป็นรูปหัวใจ รวมไปถึงหอยฝาเดี่ยวที่น่าสนใจในชั้นนี้คือ กลุ่มหอยแต่งตัวมีลักษณะการสร้างและตกแต่งเปลือกเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สำหรับกลุ่มหมึก จัดแสดงฟอสซิลแอมโมไนต์ อายุ 160 ล้านปี และหมึกที่เป็นที่รู้จักกันในนามหอยงวงช้าง ด้วยโครงสร้างของเปลือกที่ซับซ้อนจึงเป็นต้นกำเนิดของเรือดำน้ำในปัจจุบัน

































สังข์หลายชนิด












ซากฟอสซิลแอมโมไนต์






ชั้นที่ 3 ศึกษาพฤติกรรมการล่าเหยื่อ และการเอาตัวรอด ของหอยชนิดต่างๆ รวมไปถึงหอยทากต้นไม้ ที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน หอยเต้าปูน ซึ่งเรารู้จักกันในนามของหอยมรณะ ไม่เพียงแต่มีอันตรายต่อหอย หรือปลาเท่านั้น ยังสามารถฆ่าชีวิตมนุษย์ได้ภายในเวลา 5 นาที เท่านั้น สำหรับหอยน้ำจืด เช่น หอยกาบแม่น้ำน้อยคนนักจะรู้ว่าภายในเปลือกดำๆ สีน้ำตาลสกปรกนั้นภายในจะอุดมไปด้วยสารเคลือบมุก มีผิวมุกที่สวยงามไม่แพ้มุกจากทะเล สุดท้ายที่หอยทากหากท่านมาพบหอยทากที่จัดแสดงที่นี่ท่านจะหลงรักในสีสัน และลวดลายที่น่ารัก ซึ่งการแพร่ขยายพันธ์ของหอยทากนี้สามารถเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่าป่านั้นยังสมบูรณ์อยู่หรือไม่






















หอยนมสาว
เปลือกหอยทากมรกต จากเกาะมานัส ซึ่งสูญพันธ์ไปแล้วในปัจจุบัน
เปลือกหอยทากชมพู และหอยทากเหลือกปากชมพู จากเกาะปาปัว ซึ่งสูญพันธ์ไปแล้วในปัจจุบัน






เป็นอีกหนึ่งความรู้ทางธรณีวิทยา และวิวัฒนาการของโลก โดยคุณแม่ก็มีความคิดว่าจะพาลูก ๆ ไปชมพิพิธภัณฑ์ดิน พิพิธภัณฑ์หิน และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา รวมทั้งภูเขาหินปูน เป็นลำดับต่อไป เพื่อให้เด็ก ๆ ได้สัมผัสและรวบรวมความรู้ ความเข้าใจทางธรณีวิทยา แล้วบูรณาการให้เห็นภาพอย่างลึกซึ้งของวิวัฒนาการของโลก ของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม มิได้เพียงท่องจำจากหนังสือเท่านั้น







ขอขอบคุณ bg สวย ๆ จากคุณ ลักกี้ค่ะ
และขอขอบคุณรายละเอียดคำบรรยาย รวมทั้งภาพอาคารพิพิธภัณฑ์หอย จากเวป //www.bkkseashellmuseum.co.th/


Create Date : 28 มิถุนายน 2556
Last Update : 7 เมษายน 2557 15:25:49 น. 2 comments
Counter : 1449 Pageviews.

 
thx u crab


โดย: Kavanich96 วันที่: 29 มิถุนายน 2556 เวลา:7:48:28 น.  

 
ยินดีค่ะ คุณ Kavanich96


โดย: chinging วันที่: 29 มิถุนายน 2556 เวลา:10:11:23 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

chinging
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 22 คน [?]








INVITING THE BELL TO SOUND


Body, speech, and mind in perfect oneness-
I send my heart along with the sound of the bell,
May the hearers awaken from forgetfulness
and transcend all anxiety and sorrow.


HEARING THE BELL


Listen, listen,
this wonderful sound
bring me back
to my true self.


THICH NHAT HANH






9 Latest Blogs
ขอขอบคุณ คุณSevenDaffodils
ในคำแนะนำวิธีการทำ Latest Blogs ค่ะ



New Comments
Group Blog
 
 
มิถุนายน 2556
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
28 มิถุนายน 2556
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add chinging's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.