|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
 |
|
กฏระเบียบของเสาไฟฟ้าและระยะห่างระหว่างสิ่งปลูกสร้าง |
|
 นอกเหนือจากประเภทและเรื่องของคุณภาพ ของเสาไฟฟ้าที่เราได้อธิบายไปจำนวนมาก ในหลากหลายเรื่องราวที่ผ่านมานั้น จริงๆ แล้วสำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับเสาไฟฟ้า ยังคงมีในด้านของปัจจัย ที่ต้องมีการปลูกสร้างเพื่อให้เกิดความปลอดภัย หรือไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับชีวิตและทรัพย์สินของผู้คน ซึ่งความจำเป็นของการใช้ชีวิตของผู้คนส่วนใหญ่ แน่นอนว่ายังคงต้องมีการอยู่ใกล้กับส่วนของเสาไฟฟ้าอยู่แล้วเป็นเรื่องปกติ แต่ด้วยความเป็นไปได้ของอันตราย ที่จะเกิดขึ้นทุกเมื่อ หากมีข้อผิดพลาดบางอย่าง ไฟฟ้าลัดวงจร หรือเสาไฟฟ้ามีการชำรุดหักโค่นขึ้นมาโดยบังเอิญ แม้ว่าจะเป็นเปอร์เซ็นต์ที่น้อยที่จะพบเห็น แต่ด้วยหลักการที่ต้องปลอดภัยไว้ก่อน จึงมีเรื่องของระยะห่าง ของเสาไฟฟ้า กับสิ่งปลูกสร้างที่เป็นบ้านเรือน หรือทรัพย์สินของประชาชนโดยรอบด้วยเช่นกัน การไฟฟ้านครหลวงมีการระบุชัดเจนพอสมควร กับกฏระเบียบของการสร้างหรือการเดินสายไฟ การปักเสาไฟฟ้าในบริเวณที่ใกล้แหล่งชุมชน กฏบางข้อมีความเคร่งครัดเป็นพิเศษ โดยเฉพาะด้านของเสาไฟฟ้าแรงสูงที่อาจจะสร้างผลเสียในหลานปัจจัย ให้กับชีวิตและทรัพย์สินของผู้คน ถือว่ามีความละเอียดอ่อนพอสมควร ดังนั้นโดยรวมเราได้นำเอากฏที่สำคัญจากการไฟฟ้าฯ เกี่ยวกับระยะห่างเสาไฟฟ้า กับสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมีข้อกำหนดดังนี้ 1.ในกรณีของเสาไฟฟ้าที่เดินสายไฟหรือลำเลียงกระแสไฟฟ้าแรงสูง จะต้องมีระยะห่างจาก อาคาร , ระเบียง , บ้านพักอาศัยทั่วไป อย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่าระยะ 1.8 เมตร ซึ่งระยห่างนี้จะใช้กับเสาไฟฟ้าแรงสูง ที่รองรับกระแสไฟตั้งแต่ 12,000 - 14,000 โวลต์ 2.ในส่วนของเสาไฟฟ้าแรงสูง ที่ลำเลียงกระแสไฟฟ้าที่มีแรงดันตั้งแต่ 69,000 โวลต์ขึ้นไปนั้น ระยะห่างที่การไฟฟ้าฯกำหนดไว้ จะต้องมีไม่ความห่างจากสิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นอาคาร บ้านพักอาศัย อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2.13 เมตร 3.และท้ายสุดอีกข้อที่สำคัญพอสมควร กับระยะห่างของเสาไฟฟ้าแรงสูง ที่มีการเดินไฟฟ้าแรงดันตั้งแต่ 115,000 โวลต์ขึ้นไปนั้น ต้องมีระยะห่างที่เหมาะสม จากตัวบ้าน อาคารทุกชนิด และยังรวมไปถึงระเบียงบ้านก็ตาม ซึ่งระยะที่กำหนดไว้ชัดเจนจะอยู่ที่ 2.30 เมตรนั่นเอง 4.หากว่าบ้านเรือนของประชาชน หรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ ที่มีการเว้นระยะห่างระหว่างเสาไฟฟ้าและเสาไฟฟ้าแรงสูง ไว้ตามกำหนดกฏเกณฑ์ของมาตรฐานการไฟฟ้าแล้ว แต่เมื่อผ่านไปสักระยะ ทางด้านเจ้าของมีการต่อเติม หรือมีการก่อสร้างเพิ่มเติมนั้น จะต้องมีการดูแลระยะให้ยังคงอยู่ในตามที่กำหนดไว้ก่อน เพื่อความปลอดภัย 5.นอกจากจะมีเรื่องของกฏกติการะยะห่างสิ่งปลูกสร้างกับเสาไฟฟ้าแล้ว ยังมีการกำหนดข้อห้าม ในการที่จะประกอบกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ที่อาจจะทำให้เกิดความเสียหายแก่เสาไฟฟ้าและยังรวมไปถึงสายไฟฟ้าบนเสาด้วยเช่นกัน เป็นการคุ้มครองทรัพย์สินราชการไปในตัวนั่นเอง สรุปตอนท้าย จริงๆ ในเชิงลึกของคนสร้างบ้าน บางท่านอาจจะมีการกำหนดในด้านของฮวงจุ้ย ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีไว้เป็นสิริมงคลของการสร้างบ้าน ซึ่งเสาไฟฟ้ายังมีความเกี่ยวเนื่องกับแง่ของฮวงจุ้ยด้วยเช่นกัน ดังนั้นทั้งระยะห่างตามความเหมาะสมจากหลักการของการไฟฟ้า และยังคงต้องยึดถือกับตามหลักความเชื่อกันในทางโบราณด้วยเช่นกัน
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง : เสาไฟฟ้าบริการในโครงการก่อสร้างตามชุมชน
Create Date : 27 พฤศจิกายน 2566 |
Last Update : 27 พฤศจิกายน 2566 3:57:39 น. |
|
0 comments
|
Counter : 6833 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|