|
|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
|
 |
|
บ้านริมแม่น้ำหรือพื้นที่ก่อสร้างในสภาวะดินต่างระดับ กับการใช้งานกำแพงกันดิน |
|
ความต้องการของผู้คนในยุคสมัยนี้ เชื่อว่ามีส่วนใหญ่เลยทีเดียว ที่ต่างก็ต้องการที่จะอยากใช้ชีวิตในแบบที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติกันมากขึ้น การสร้างพื้นที่พักอาศัย สร้างบ้านพักอาศัย สร้างบ้านพักตากอากาศของผู้คนในยุคนี้ ที่มีการสร้างในสภาพพื้นดินต่างระดับ หรืออยู่ใกล้กับพื้นที่ราบลุ่ม หรือตามริมแม่น้ำ เป็นอีกช่องทางของการสร้างบ้านที่จะทำให้ได้ใกล้ชิดธรรมชาติในแบบที่พวกเขาต้องการ แต่แน่นอนว่าอุปสรรคที่ตามมาของการปลูกสร้างสิ่งก่อสร้าง ที่อยู่ในสภาวะเหล่านั้น การเกิดดินถล่มหรือดินสไลด์ นับว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยทีเดียว ดังนั้นการติดตั้งหรือการฝังกำแพงกันดินในบริเวณที่มีจุดเสี่ยง หรือสร้างเป็นแนวคล้ายกับกำแพงบ้าน สำหรับการวางตำแหน่งกำแพงกันดินนั้น จึงกลายเป็นเรื่องที่นิยมทำกันเป็นอย่างมากในยุคนี้นั่นเอง เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะลองมาขยายความ เกี่ยวกับความต้องการหรือความนิยมที่จะสร้างบ้านภายใต้สภาวะดังกล่าวนั้นไปพร้อมๆ กัน ดินสไลด์ในพื้นที่ใกล้แม่น้ำ กับการใช้งานกำแพงกันดิน เรื่องที่มักพบเห็นกันมาบ่อยครั้งตั้งแต่สมัยอดีต ก็คือการที่เกิดเหตุการณ์ที่มักจะมีการสไลด์ของหน้าดิน หรือมวลดินทั้งชั้นในตามจุดต่างๆ ที่อยู่ริมแม่น้ำ ซึ่งแน่นอนเลยว่าหากมีการปลูกสร้างสิ่งต่างๆ ในบริเวณเหล่านั้น แรงสะเทือนและความแตกต่างของระดับดินก็อาจจะเป็นตัวแปรที่ทำให้เกิดปัญหานั้นได้ ถือว่าเกิดขึ้นแทบจะร้อยละเก้าสิบเลยทีเดียว ในยุคอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ ดังนั้นวิศวกรผู้ออกแบบหรือดูแลงานก่อสร้างดังกล่าว จึงจำเป็นที่จะต้องติดตั้งกำแพงกันดิน เข้าไปช่วยในการเพิ่มความปลอดภัย และไปตัดปัญหาวงจรการถล่มของดินก่อนเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ซึ่งถือได้ว่านั่นคือการเลือกวางแผนงานก่อสร้างที่มีความรัดกุม และเป็นการตัดปัญหากันแบบตัดไฟแต่ต้นลมเลยทีเดียว เพราะด้วยรูปแบบของการทำงานของกำแพงชนิดนั้น จะเป็นตัวที่ตัดโอกาสการเคลื่อนตัวของได้ได้อย่างเด็ดขาด ซึ่งการเคลื่อนตัวของมวลดินในทุกๆ ส่วนตามชั้นหน้าดินที่แตกต่างกันจะหยุดทันที หากมีการกั้นไว้ด้วยชุดกำแพงกันดิน ความสามารถต้านทานแรงดินของกำแพงกันดิน สำหรับประสิทธิภาพของกำแพงชนิดนี้ ถือว่าในยุคนี้มีการใช้รูปแบบของความทันสมัย ในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง ที่ใช้ทั้งคอนกรีตอัดแรง และยังรวมไปถึงส่วนของความแข็งแรงของเหล็กเสริม ที่จะทำให้คุณภาพของกำแพงกันดินนั้นแตกต่างไปจากเดิม และที่สำคัญการต้านทานมวลดินนั้น สามารถประมาณค่าได้มากกว่าการเคลื่อนตัวของดินไม่ต่ำกว่าสองเท่าตัว ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความแตกต่างที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งถ้าว่ากันด้วยเรื่องของความสะดวกของการใช้งาน ปัจจุบันเสาเข็มไอ เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงที่ออกแบบจากจุดเริ่มต้นเพื่องานฐานรากในการก่อสร้าง แต่ปัจจุบันมีการประยุกต์ขนาดเพื่อทำให้สามารถเข้ามาใช้เป็นส่วนประกอบของกำแพงกันดินได้อย่างลงตัว เพราะทั้งรับหน้าที่ในการเป็นเสาเข็มเพื่อหยั่งลึกลงไปชั้นดินที่พอเหมาะ พร้อมกับทำหน้าที่เป็นเสาของกำแพงกันดินไปในตัวอีกด้วย จึงเป็นการสะดวกที่จะติดตั้งใช้งานตามจุดก่อสร้างที่เสี่ยงต่อดินสไลด์เป็นอย่างมาก บทสรุปตอนท้าย ปัจจุบันอาจจะพบว่า ส่วนใหญ่ในมาตรฐานความเป็นจริงของงานก่อสร้าง ที่ต้องป้องกันดินสไลด์กันแทบทุกพื้นที่ เพราะถือว่ามีส่วนที่น่าจะเกิดขึ้นอยู่แล้ว ด้วยลักษณะของการก่อสร้างที่ต้องขยายอาณาเขตไปยังพื้นที่ใหม่ๆ ทั้งริมแม่น้ำ หรือแม้กระทั่งในกรณีของการถมที่ขึ้นมาใหม่ สิ่งเหล่านี้จึงนับเป็นปัจจัยที่ทำให้ท่านต้องใช้กำแพงกันดินในการควบคุมความปลอดภัย และเพื่อความสวยงามของบ้านริมแม่น้ำหรือบ้านที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติเหล่านั้นอีกด้วยนั่นเอง
Create Date : 27 กันยายน 2566 |
Last Update : 27 กันยายน 2566 2:34:09 น. |
|
0 comments
|
Counter : 649 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|