|
|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
|
 |
|
เสาไฟฟ้าบริการในโครงการก่อสร้างตามชุมชน |
|

ถ้าว่ากันด้วยเรื่องการเดินสายไฟ หรือการเดินไฟฟ้าสำหรับการใช้ในชีวิตประจำวันของผู้คน แน่นอนว่าปัจจุบันมีชุมชนน้อยใหญ่ ขยับยายกับหลากหลายตามมุมเมือง ทั่วทุกจังหวัดในประเทศเรา การขยายเพิ่มแรงดันไฟฟ้า ก็ต้องมาซึ่งการเพิ่มขนาดของเสาไฟฟ้า ให้มีความแข็งแรงเหมาะสมกับการรองรับน้ำหนักจากสายไฟ และอุปกรณ์ติดพ่วงเสริมต่างๆ เพื่อช่วยในการกระจายไฟฟ้าให้ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งยังไม่นับรวมในการเพิ่มกำลังไฟให้เพียงพอต่อการใช้งานต่อบ้านเรือน นั่นก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของความจำเป็น ที่ต้องเกิดขึ้นอยู่ตลอดอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นหนึ่งในปัจจัยที่น่าสนใจ ที่ทำให้การพัฒนาระบบการใช้ไฟฟ้าของผู้คนนั้นมีความสมดุลมากขึ้น ก็คือเรื่องของเสาไฟฟ้า ที่ต้องมีความพร้อมทั้งในด้านความแข็งแรง และความสะดวกในการติดตั้ง ซึ่งส่วนนี้จะเป็นองค์ประกอบหลักของการเพิ่มความสมบูรณ์แบบให้กับการใช้ชีวิตของผู้คนในยุคนี้เลยทีเดียว เสาคอนกรีตที่ต้องรับแรงได้หลากหลายมิติกว่า คุณสมบัติของเสาไฟฟ้า นอกจากจะต้องมีความแข็งแรง สามารถรับแรงในแนวตั้งได้แล้วนั้น ต้องไม่ลืมในเรื่องของที่มาจากด้านข้างของตัวเสา เพราะเปรียบเสมือนกับพื้นฐานของโครงสร้างการติดตั้งสายไฟฟ้า ที่ต้องมีแรงดึงจากด้านข้างที่เกิดขึ้นจากการรั้งของสายไฟนั่นเอง ดังนั้นเสาคอนกรีตที่ถูกผลิตขึ้นมาเป็นเสาไฟฟ้านั้น ผู้ผลิตจะต้องมีการคำนวณในด้านความจำเป็น ที่จะต้องมีความสามารถในการรับแรงที่หลากหลายให้ได้ด้วยเช่นกัน โดยแรงดึงจากสายไฟ ถือว่าสามารถทำให้มีการหักโค่นของเสาไฟฟ้าได้ ถ้าหากว่าผู้ผลิตไม่ได้ออกแบบมาให้รองรับในส่วนนั้น ถือได้ว่าเป็นจุดบอดของการจัดการเรื่องความแข็งแรงของเสาคอนกรีตเลยทีเดียว แต่ทุกท่านสามารถวางใจได้ เพราะมีข้อกำหนดที่ชัดเจน จากการไฟฟ้าฯอยู่แล้ว ที่จะต้องดูแลในเรื่องมาตรฐานของเสาคอนกรีต ที่ต้องมีความรัดกุมในการรับแรงได้หลากหลายมิติ ซึ่งถือว่าเป็นตัวกฏหมายที่ต้องทำอย่างเด็ดขาด จึงจะได้ใบอนุญาตหรือได้รับอนุญาตให้ผลิตและจำหน่ายนั่นเอง วัตถุดิบหรือวัสดุในการผลิตเสาไฟฟ้า จากใจความสำคัญ ของคุณสมบัติที่เป็นเหมือนข้อบังคับ ที่เสาไฟฟ้าคอนกรีตต้องมีจากหัวข้อที่ผ่านมา แน่นอนว่าถ้าต้องให้มีความรัดกุมในด้านการผลิตอย่างสมบูรณ์แบบนั้น ต้องว่ากันด้วยเรื่องของวัตถุดิบ หรือวัสดุของการที่จะมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิต ซึ่งการใช้คอนกรีตอัดแรง เป็นส่วนผสมที่ถือว่าเป็นสูตรสำเร็จในขั้นตอนการผลิตเสาไฟฟ้า และยังต้องมีเหล็กเสริม และมีสารส่วนผสมอื่นๆ ที่จะเข้ามาเติมเต็มความแข็งแรงให้กับเสาคอนกรีตมากขึ้น แต่ละระดับความสูงที่เริ่มตั้งแต่ 6 เมตร ไปจนถึง 10 เมตรขึ้นไป ถือว่ามีความสำคัญและความเข้มข้นของส่วนผสม ที่ต้องดูแลจัดการกันอย่างเป็นพิเศษ ซึ่งในส่วนนี้จะถือว่ามีการดูแลในระดับอุตสาหกรรม ที่มีมาตรฐาน มอก. รับรองอย่างชัดเจน ในหลักการด้านวิศวกรรมก็จะมีกฏข้อบังคับของหน่วยงานรัฐ ที่เข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้แน่ใจว่าเสาไฟฟ้าที่นำมาใช้งาน เป็นเสาบริการหรือเป็นเสาไฟฟ้าแรงสูง จะมีมาตรฐานและไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งที่อยู่ล้อมรอบนั่นเอง บทสรุปตอนท้าย เรื่องของคุณภาพและมาตรฐาน ของการผลิตเสาไฟฟ้า เชื่อว่าตอนนี้น่าจะเป็นบทพิสูจน์แล้วว่า ในบ้านเรานั้นสามารถจัดการกับเรื่องของคุณภาพต่างๆ ของเสาไฟฟ้าได้อย่างลงตัว เพราะสถิติของการทรุดหรือแตกหักของเสาไฟฟ้า แทบจะไม่มีให้เห็นเลยในรอบหลายปีมานี้
Create Date : 02 กันยายน 2566 |
Last Update : 2 กันยายน 2566 16:26:26 น. |
|
0 comments
|
Counter : 673 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|