|
|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
 |
|
เสาเข็มสี่เหลี่ยมตันและลักษณะ ของวิธีการตอกเสาเข็มตันที่นิยมใช้ |
|

การตอกเสาเข็ม ถือว่าเป็นการวางรากฐาน สำหรับงานก่อสร้างของสิ่งปลูกสร้างทุกรูปแบบ และอีกหนึ่งเสาเข็มที่ถือว่าสามารถ เข้ากับสิ่งปลูกสร้างทุกรูปแบบได้มากที่สุด ก็คือเสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน เสาเข็มชนิดเดียวที่ยังคง อยู่ในกระบวนการผลิต จากคอนกรีตระบบอัดแรง และเสริมความแข็งแรง ด้วยลวดพีซีไวร์ ซึ่งนั่นคือที่มา ของความทนทานที่ถือว่าพิเศษที่สุด ที่โดดเด่นเหนือกว่าเสาเข็มในทุกๆ รูปแบบ ยิ่งถ้าหากว่าเทียบกันที่ราคาด้วยนั้น เสาเข็มตันถือว่ามีความได้เปรียบ และเป็นที่ต้องการและเป็นการตัดสินใจที่ไม่ยากนัก หากจะเลือกเสาเข็มชนิดนี้ ในการก่อสร้างแต่ละรูปแบบของสิ่งปลูกสร้าง อาทิเช่น งานสร้างสะพาน งานฐานราก ที่ได้ตั้งแต่ขนาดกลาง ไปจนถึงขนาดใหญ่ หรือ สิ่งปลูกสร้างประเภท อาคาร บ้านเรือนทุกรูปแบบ เป็นต้น รูปแบบการตอกเสาเข็ม 2 แบบที่นิยมใช้กับเสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน
 ในปัจจุบัน ขั้นตอน หรือวิธีการของการตอกเสาเข็ม จะถูกแยกประเภทหลักๆ ทั้งหมด 2 รูปแบบด้วยกัน โดยทั้ง 2 แบบนี้จะถูกพิสูจน์ ตามหลักการเชิงวิศวกรรมแล้วว่า สามารถทำงาน ร่วมกับการใช้เสาเข็มสี่เหลี่ยมตันได้อย่างลงตัว โดยจะมีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้
1.การตอกเสาเข็มตันแบบ Drop Hammer ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น ของงานตอกเสาเข็มทั่วโลกเลยก็ว่าได้ สำหรับการตอกเสาเข็มแบบดร็อปแฮฺมเมอร์ โดยขั้นตอนของการทำงาน ก็จะมีหลักการที่อาศัยน้ำหนัก ของตุ้มถ่วง ที่ถูกกำหนดไว้แล้วว่า จะต้องมีน้ำหนักของตุ้มอย่างน้อย 50 % ของน้ำหนักเสาเข็ม โดยจะอยู่ในกระบวนการทำงาน ร่วมกับลวดสลิง และเครื่องยนต์ ที่จะมีติดตั้งในปั้นจั่น เพื่อยกลูกตุ้มขึ้น เพื่อกระแทกเสาเข็มสี่เหลี่ยมตันลงไปยังชั้นผิวดินอีกที สำหรับการตอกเสาเข็มแบบ Drop Hammer กับการใช้งานร่วมกับเสาเข็มตัน และยังครอบคลุม กับทุกรูปแบบของเสาเข็มอีกด้วย และยังมีข้อดีในด้านของงบประมาณ ที่ถือว่ามีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง เมื่อเทียบกับวิธีการตอกเสาเข็มแบบอื่นๆ 2.การตอกเสาเข็มแบบ Steam Hammer สตีมแฮมเมอร์ ถือว่าเป็นขั้นตอน ของการตอกเสาเข็ม ที่มีการพัฒนาต่อยอด มาจากแบบดร็อปแฮมเมอร์ มีการลดควาเสียหาย จากแรงกระแทกของการตอก ที่จะส่งผลด้านแรงสั่นสะเทือนพื้นที่ข้างเคียง ที่วิธีการตอกในแบบนี้ จะลดความเสี่ยงเหล่านั้นไปทั้งหมด ด้วยขั้นตอน การบังคับตุ้มถ่วง ด้วยระบบกระเบิดของไอน้ำ หรือเป็นลักษณะหนึ่ง ของการสร้างแรงดันไฮดรอลิค เพื่อยกตุ้มถ่วง ให้สูงตามเพื่อให้เกิดระยะกระแทกเสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน ตามที่วิศวกรได้กำหนดไว้ มีข้อดีที่ทำให้การตอกมีระยะ หรือน้ำหนักที่คงที่ สามารถครอบคลุมเสาเข็มทุกชนิด รวมไปถึงเสาเข็มตันด้วยเช่นกัน บทสรุปตอนท้าย จากข้อมูล ของวิธีการตอกเสาเข็ม ทั้ง 2 แบบนี้ มีข้อดีที่ถือว่า เป็นมาตรฐานของการก่อสร้าง ที่จะทำให้เสาเข็มสี่เหลี่ยมตันนั้น สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในงบประมาณของการตอกเสาเข็ม ที่ไม่มีราคาสูง ซึ่งแม้ว่าจะเป็นขั้นตอน ที่เมื่อเทียบกับขั้นตอน การตอกเสาเข็มในแบบอื่นๆ จะดูเป็นวิธีที่มีมานาน อาจจะดูไม่ทันสมัยนัก แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เสาเข็มสี่เหลี่ยมตันกับ 2 ขั้นตอนของการตอกเสาเข็มนี้ ยังคงเป็นที่แพร่หลาย ใช้งานกับการก่อสร้างทุกรูปแบบอยู่อย่างสม่ำเสมอ
Create Date : 28 พฤษภาคม 2567 |
Last Update : 28 พฤษภาคม 2567 21:44:20 น. |
|
0 comments
|
Counter : 333 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|