space
space
space
<<
เมษายน 2566
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
space
space
20 เมษายน 2566
space
space
space

การถมดินให้ถูกต้องตามกฎหมาย พ.ร.บ.การขุดดินและถมดิน

ตามพื้นที่ใหม่ๆ ในนอกชานเมือง ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดใดๆ ก็ตาม ปัจจุบันเริ่มมีผู้คนเริ่มมองหาที่อยู่อาศัย มองหาการปลูกบ้านหลังใหม่ เพื่อให้อยู่ห่างไกลจากความวุ่นวายของวิถีแบบตัวเมือง เพราะแน่นอนว่าทั้งรถติด ทั้งฝุ่นควันนั้น คือสิ่งที่เป็นปัญหาของผู้คนในยุคนี้ การบุกเบิกที่ดินใหม่ๆ ในการสร้างบ้านจึงเกิดขึ้นให้เห็นเป็นประจำ บางท่านถึงกับต้องยอมสร้างบ้านขึ้นจากที่ดิน ที่เคยเป็นหนองน้ำมาก่อนด้วยซ้ำไป ถ้าหากว่าทำเลที่ได้ เป็นที่ดิน ที่ไม่ได้ห่างจากตัวเมืองนัก แต่ก็ไม่ใกล้จนเกินไป ออกแนวเหมือนกับการพักอาศัยในชานเมือง ที่ยังพอมีอากาศบริสุทธิ์ให้หายใจนั่นเอง และเมื่อพูดถึงเรื่องการบุกเบิกที่ดิน การยอมสร้างบ้านจากที่เดิมที่เคยเป็นหนองน้ำ ก็ต้องมีการถมดินในพื้นที่นั้นๆ ด้วยเช่นกัน แต่การถมดินขึ้นใหม่นั้น ใช่ว่าจะสามารถทำได้เลยทันที เพราะประเทศไทยเรามีกฏหมายควบคุมการถมดินที่เรียกว่า พ.ร.บ.การขุดดินและถมดิน  พ.ศ. 2543 มาควบคุมอยู่ ดังนั้นวันนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ พ.ร.บ.นี้กันให้มากขึ้น เพื่อให้ปลอดภัยกับการสร้างบ้านหลังใหม่ของทุกท่าน ซึ่งต้องมั่นใจว่า ไม่ได้กำลังทำผิดต่อกฎหมายนี้อยู่ ที่สำคัญการถมดินนั้นยังส่งผลถึงปัจจัยความแข็งแรงของรั้วบ้านท่านด้วยเช่นกัน 
 
พ.ร.บ.การขุดดินและถมดินคืออะไร
ในปีพุทธศักราช 2543 รัฐบาลมีการคำนึงถึงปัญหา ของการถมดินที่ของประชาชน ซึ่งอาจจะมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นไปได้ว่าจะสร้างความเดือนร้อนทั้งตัวของเจ้าของที่ดินเองและเพื่อนบ้าน ที่อาศัยอยู่มาก่อนแล้ว จึงมีการออกกฎหมายมาควบคุม ซึ่งพระราชบัญญัตินี้ มีข้อกฏหมายต่างๆ ออกมาเพื่อป้องกันข้อพิพาทต่างๆ โดยหลักใหญ่ใจความของพ.ร.บ.การขุดดินและถมดินนั้น มีดังต่อไปนี้
1.หากจำเป็นต้องขุดที่ดิน  / ในข้อนี้ จะเป็นกฎหมายมากำหนด ในกรณีที่เจ้าของที่ดินนั้น ต้องการที่จะขุดที่ดินให้ลึกลงไป โดยระดับความลึกที่มีความลึกเกิน 3 เมตรนั้น จำเป็นที่จะต้องแจ้งทางการเพื่อขออนุญาต โดยหน่วยงานที่จะรับเรื่องนี้ หากเป็นต่างจังหวัด ก็จะอยู่ในส่วนของสำนักเทศบาล ในพื้นที่ของที่ดินที่จะขุด โดยเจ้าของที่ต้องดูบ้านเลขที่อ้างอิงว่า ขึ้นตรงกับตำบลใด อำเภอใด และเข้าทำการขออนุญาตกับเจ้าหน้าที่ก่อน หากความลึกในปริมาณที่มากกว่าสามเมตรดังกล่าว
 
2.หากพื้นที่ที่จะขุดมีความลึกน้อยกว่า 3 เมตร  /  ในการขุดดินที่น้อยกว่า 3 เมตร ก็มีความจำเป็นเช่นกันที่จะต้องขออนุญาตกับสำนักเทศบาลในเขตพื้นที่ของท่าน เพราะว่าต้องมีการคำนึงถึงความปลอดภัยในแง่ของการพังทลายของดินที่ขุดขึ้นมา ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นกรณีความลึกเท่าใดก็ตาม การขออนุญาตถือว่าจำเป็นต้องทำอย่างยิ่ง ซึ่งในรายละเอียดของข้อนี้ คือการป้องกันการพังทลายของดิน ที่จะต้องไม่ส่งผลกับที่ดินข้างเคียงนั่นเอง
 
3.ความสูงจากพื้นที่ใกล้เคียง  /  และเป็นประเด็นหลักของการถมดิน เพราะความสูงของเนินดินที่ท่านถมขึ้นนั้น เป็นปัจจัยที่เกิดเป็นปัญหามาแล้ว ดังนั้นจึงมีกฏหมายพ.ร.บ.การขุดดินและถมดิน พ.ศ 2543 มาควบคุมป้องกันปัญหาที่จะบานปลาย โดยในรายละเอียดการถมดิน จะต้องพิจารณาพื้นที่โดยรวมทั้งหมดของเนินดิน ที่ต้องไม่เกิน 2000 ตรม. นั่นเอง การระบายน้ำบริเวณรอบๆ ที่ดิน ต้องมีการดูแลอย่างสมบูรณ์ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะส่งผลเดือดร้อนให้ที่ดินข้างเคียงนั่นเอง
 
สรุป
พ.ร.บ.การขุดดินและถมดิน ผู้เขียนได้ยก 3 ข้อควรระวัง และจำเป็นอย่างยิ่งของท่านที่มีแพลน อยากจะถมดินในพื้นที่ของท่าน ซึ่งจริงๆ แล้วในส่วนของพระราชบัญญัตินี้ ยังมีดีเทลอื่นๆ อีกมากพอสมควร เพื่อให้มั่นใจที่สุดว่าท่านจะไม่ทำผิดกฎหมายนี้ ก่อนจะเริ่มการถมดิน แนะนำว่าปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนน่าจะปลอดภัยที่สุด
 
 




 

Create Date : 20 เมษายน 2566
0 comments
Last Update : 20 เมษายน 2566 0:31:40 น.
Counter : 494 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

space

สมาชิกหมายเลข 2029665
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 2029665's blog to your web]
space
space
space
space
space