<<
เมษายน 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
14 เมษายน 2554
 

รู้หลักนิติธรรมกับการบริหารงานมหาวิทยาลัยกันคะ

เตือนใจ เจริญพงษ์
มุมมองเรื่อง Hotๆๆ กันคะ ของวงการศึกษาบ้านเรา
ว่าด้วย "หลักนิติธรรมกับการบริหารงานมหาวิทยาลัย"
ของกูรูหนุ่ม....นักกฎหมาย ผู้พิพากษา "สราวุธ เบญจกุล"
ของศาลยุติธรรม ซึ่งได้เปิดมุมมองเรื่องนี้ไว้อย่าง............
......................................................................................
ว่าจากงานสัมมนา......
เรื่อง การพัฒนาสภามหาวิทยาลัย : บท บาท ภารกิจ ของ
เลขานุการสภามหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติ
ได้จัดให้มีการบรรยายภายใต้หัวข้อ .....
“ข้อกฎหมายกับเลขานุการสภามหาวิทยาลัย”
......................................................................................
ในช่วงถามตอบมีผู้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายจำนวนหนึ่ง
ตั้งคำถามเกี่ยวกับ.....
.....การใช้อำนาจบังคับบัญชาของผู้บริหารหน่วยงาน....
เพราะผู้บริหารบางส่วนไม่เข้าใจหลักนิติธรรมทางบริหาร
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมาย
ของการกระทำทางปกครอง....
......................................................................................
ฉะนั้น......
การบริหารมหาวิทยาลัย.....
จึงต้องเข้าใจหลักนิติธรรมว่า....
หมายถึง....
การตรากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และกติกาต่าง ๆ
ให้ทันสมัยและเป็นธรรม ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคม
และสมาชิก โดยมีการยินยอมพร้อมใจและให้ถือปฏิบัติร่วมกัน
อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม
...................................................................................... มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสถาบันหนึ่งที่มีความสำคัญแก่สังคม
เพราะ...
เป็นสถาบันหลักในการให้ความรู้ การศึกษาแก่นิสิต นักศึกษา
ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ จึงควรให้ความสำคัญ
และนำหลักนิติธรรมมาใช้ในการบริหารงานมหาวิทยาลัยเช่นกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยของรัฐ
...................................................................................... ซึ่งมี.....
พระราชบัญญัติกำหนดวิธีดำเนินการไว้โดยเฉพาะ
ฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัย....
มีหน้าที่บริหารกิจการของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามกฎหมาย
กฎ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการและของมหาวิทยาลัย
โดยมี “สภามหาวิทยาลัย” ทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไป
ของมหาวิทยาลัย
และ...... ”อธิการบดี”
เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบการบริหารงานของมหาวิทยาลัย
...................................................................................... การแบ่งอำนาจออกเป็น 2 ส่วน.... เช่นนี้
เพื่อให้มีการถ่วงดุลการใช้อำนาจ
......................................................................................
ปัญหาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาอภิปรายมากที่สุด
คือ...
ปัญหาว่าหาก ”อธิการบดี” ในฐานะผู้บังคับบัญชา
ของ...อาจารย์ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย
ใช้อำนาจบังคับบัญชาในทางที่ไม่ชอบธรรม
คือ.... ให้คุณโดยไม่ชอบ
เช่น ส่งเสริมแต่พรรคพวกของตนเอง หรือ ให้โทษโดยไม่ชอบ
เช่น....แก่ผู้หนึ่งผู้ใดนั้น
ทางมหาวิทยาลัยมีมาตรการใดในการป้องกัน
และแก้ไขปัญหาดังกล่าว
เพราะหากไม่มีมาตรการป้องกันอาจเกิดข้อพิพาท เช่น.....
......................................................................................
คดีแรก....
......................................................................................
ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า .....ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นใบสมัครเข้ารับการคัดเลือก
เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 ตามประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 (คณะกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9)แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนในการคัดเลือก ตลอดจนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการดังกล่าวไม่ถูกต้องตามมติของคณะรัฐมนตรีและไม่สอดคล้องกับหนังสือของสำนักงาน ก.พ.
......................................................................................
นอกจากนั้นการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ได้รับเลือกได้ดำเนินการภายหลังจากการประชุมพิจารณาคัดเลือกแล้ว
......................................................................................
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และที่ 3 ให้การว่า.....
การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งได้ระบุไว้ชัดเจนในประกาศรับสมัครคัดเลือกที่ผู้สมัครได้ทราบก่อนสมัครแล้ว การพิจารณาคัดเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
......................................................................................
ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาว่า.....
คำสั่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดี
(นักบริหาร9) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
......................................................................................ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น
เป็นให้เพิกถอนหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9
ตั้งแต่วันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น โดยวินิจฉัยว่า
" คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการได้เห็นชอบกับระบบนักบริหารระดับสูงที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ และได้เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้นำระบบนักบริหารระดับสูงมาใช้ในราชการพลเรือน ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2543 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 โดยสำนักงาน ก.พ. จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 แจ้งหน่วยราชการต่างๆ เพื่อทราบและถือปฏิบัติ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 0701/ว 9 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 โดยให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการข้างต้น ตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป โดยที่การฟ้องคดีนี้เป็นหลักเกณฑ์ที่ส่วนราชการต้องถือปฏิบัติในการเลือกสรรบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูง เมื่อผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า หลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้เข้ารับการคัดเลือกนักบริหาร 9 ไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี แม้การยื่นฟ้องคดีนี้จะเป็นการยื่นฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีตามมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ก็ตาม
...................................................................................... แต่การฟ้องคดีนี้....
จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ศาลปกครองจึงรับไว้พิจารณาได้ตามมาตรา 52 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
......................................................................................
นอกจากนี้.....
ประกาศรับสมัครคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการเลือกสรรว่าจะพิจารณาจากพฤติกรรมหรือคุณลักษณะใดของผู้สมัคร และจะใช้วิธีการใดในการประเมินเพื่อจะทราบถึงความรู้ ความสามารถ และความเหมาะสมของผู้สมัครในตำแหน่งที่จะพิจารณาแต่งตั้ง ตลอดจนมีขั้นตอนดำเนินการในการคัดเลือกอย่างไร ซึ่งถือเป็นรูปแบบ ขั้นตอน และวิธีการอันเป็นสาระสำคัญในการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 ที่มีลักษณะพิเศษกว่าการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ 9 โดยทั่วไป การสรรหาดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ต้องการให้มีความโปร่งใสและเป็นธรรมตลอดจนได้นักบริหารที่มีความรู้และมีทักษะในการบริหารอย่างแท้จริง ตามวัตถุประสงค์ของมติคณะรัฐมนตรี (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ (อุทธรณ์) คดีหมายเลขแดงที่ อ. 89/2549)
......................................................................................
คดีที่สอง.......
...................................................................................... การที่สภาวิชาการของมหาวิทยาลัยทั้ง 9 แห่ง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และอธิการบดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มีมติให้ปิดหลักสูตรและงดรับนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิตวิชาเอกจัดการงานก่อสร้างตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 เป็นต้นไป นั้น ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมติและคำสั่ง คือ ผู้ที่จะสมัครเข้าศึกษาหลักสูตรดังกล่าวตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นไป เท่านั้น ผู้ฟ้องคดีทั้งสองซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4 ของหลักสูตรเดิมมิได้รับผลกระทบจากมติและคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 แต่อย่างใด เพราะสามารถศึกษาต่อไปจนจบหลักสูตร ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ที่จะมีสิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครองตามมาตรา 42 วรรคหนึ่งแห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองอ้างในคำร้องอุทธรณ์ว่า การงดรับนักศึกษาหลักสูตรดังกล่าวทำให้ตลาดแรงงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสูญเสียความเชื่อมั่นต่อสาขาวิชานี้ การพัฒนาการเรียนการสอนต้องหยุดลง นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ไม่มีความมั่นใจในอนาคต ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และมหาวิทยาลัย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ไม่เพิ่มอัตราอาจารย์ผู้สอนให้แก่สาขาวิชานี้ส่งผลให้ขาดแคลนอาจารย์ผู้สอน โดยเจตนาต้องการลดคุณภาพการศึกษาของสาขาวิชานี้นั้น เห็นว่า ข้ออ้างดังกล่าวเป็นเพียงความรู้สึกและความเข้าใจของผู้ฟ้องคดีทั้งสองเท่านั้น และมิได้มีผลกระทบต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองแต่อย่างใด
......................................................................................ศาลจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 130/2549)
......................................................................................
และคดีที่สาม..........
......................................................................................
ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือถึงมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ขอไปช่วยราชการสัปดาห์ละ 2 วัน โดยไม่ผ่านความเห็นชอบของผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 2 แต่มหาวิทยาลัยแห่งนั้นได้มีหนังสือสอบถามมายังอธิการบดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ว่าจะขัดข้องหรือไม่ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้พิจารณาเรื่องการขออนุญาตไปช่วยราชการของผู้ฟ้องคดีและมีคำสั่งไม่อนุญาตโดยมีหนังสือแจ้งให้มหาวิทยาลัยดังกล่าวทราบแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ว่าละเลยต่อหน้าที่ไม่ดำเนินการนำเรื่องขอช่วยราชการของผู้ฟ้องคดีเข้าสู่วาระการประชุมของสภาสถาบัน ซึ่งตามมาตรา 26 และมาตรา 29(2) แห่ง พ.ร.บ. สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. 2547 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีที่ 2 ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบการบริหารงานของสถาบันโดยการควบคุมดูแล บุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่และทรัพย์สินอื่นของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับของทางราชการและของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับของทางราชการและของสถาบัน
...................................................................................... ดังนั้น....
......................................................................................อำนาจในการพิจารณาเรื่องการขอไปช่วยราชการต่างสถาบันจึงเป็นอำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่จะพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาต แล้วรายงานผลการพิจารณาให้คณะกรรมการสภาสถาบันฯ เพื่อทราบเท่านั้น ฉะนั้นในกรณีนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องมาจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ไม่ดำเนินการนำเรื่องการขอไปช่วยราชการของผู้ฟ้องคดีเข้าสู่วาระการประชุมของสภาสถาบัน และโดยที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้มีหนังสือถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เพื่อขอไปช่วยราชการที่มหาวิทยาลัยดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งผลการพิจารณาการขอไปช่วยราชการให้ผู้ฟ้องคดีทราบ ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ประกอบกับข้อ 25 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ฯว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543
......................................................................................ศาลจึงมี.....
คำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 131/2549)
......................................................................................
จากคดีตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่ารูปแบบ ขั้นตอน วิธีการ หลักเกณฑ์และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องเป็นระเบียบวิธีพิจารณาเบื้องต้นที่จะต้องปฏิบัติเท่านั้น นอกจากหลักเกณฑ์และข้อบังคับของสภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่งแล้ว การใช้ดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาและอธิการบดียังต้องอยู่ภายใต้หลักนิติธรรมทางบริหาร เพื่อให้การบริหารงานและดำเนินการต่างๆของมหาวิทยาลัยชอบด้วยกฎหมาย
......................................................................................
ขอขอบพระคุณ.... ท่านสราวุธ เบญจกุล
รองเลขาธิการ สนง. ศาลยุติธรรม
ไว้ ณ ที่นี้เป็นอย่างสูงนะคะ
ที่ได้ให้ความรู้เรื่องนี้
คงมีประโยชน์สำหรับ... ท่านครู... อาจารย์
เพื่อจะได้เข้าใจในจ้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมากข้อง
......................................................................................




Create Date : 14 เมษายน 2554
Last Update : 14 เมษายน 2554 19:12:19 น. 1 comments
Counter : 613 Pageviews.  
 
 
 
 
Are almost universities in our country especially the Rajabhat universities taken over my favoritism or neopotism seeingly not aware of the related laws and orders but the interests of them come first?
 
 

โดย: Nick IP: 223.206.222.140 วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:18:54:45 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

justice0009
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




[Add justice0009's blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com