|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
กฎใหม่ F1 กับการพัฒนาแอโรไดนามิกส์
กฎใหม่เรื่องหนึ่งที่น่าสนใจในปี 2021 คือการกำหนดจำนวนการทดสอบแอโรไดนามิกส์แบบลดหลั่นไปตามผลงานของทีมในปีก่อน เรามาดูกันว่ากฎนี้มีกลไกอย่างไรค่ะ
ในอดีตฟอร์มูล่าวันไม่เคยกำหนดจำนวนชั่วโมงการทดสอบแอโรไดนามิกส์ บางทีมจึงทดสอบในอุโมงค์ลมกันแบบ 24 ชม./วัน และ 7 วัน/สัปดาห์ หรือบางทีมทดสอบในอุโมงค์ลมมากกว่า 1 ตัว ซึ่งการทดสอบเหล่านี้ช่วยให้ทีมได้คำตอบในการทำเวลาลดลงในสนามได้ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายสูงมาก กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ F1 จึงต้องเริ่มกำหนดจำนวนการทดสอบในอุโมงค์ลม จนปัจจุบันกำหนดให้แต่ละทีมทดสอบในอุโมงค์ลมได้ไม่เกิน 65 ครั้งต่อสัปดาห์
แต่ในฤดูกาล 2021 ซึ่ง F1 จะเริ่มบังคับใช้การกำหนดวงเงินงบประมาณทำรถ (cost cap) พร้อมกันนี้ได้กำหนดจำนวนการทดสอบในอุโมงค์ลมด้วย โดยมีจำนวนเริ่มต้นอยู่ที่ 40 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือลดลงจากที่อนุญาตในปีนี้มากกว่า 30% แต่จำนวนครั้งของการทดสอบในอุโมงค์ลมรวมทั้ง CFD (Computational Fluid Dynamics) จะแปรผันได้ตามผลงานจบในอันดับคะแนนสะสมจากฤดูกาลก่อน และจะมีการล้างตัวเลขในวันที่ 30 มิถุนายนของทุกปี เพื่อให้เป็นไปตามสถานะการแข่งขันปัจจุบัน
หากว่าฤดูกาล 2021 อันดับคะแนนสะสมเหมือนปีที่แล้ว เมอร์เซเดสจะได้รับการจัดสรรจำนวนการทดสอบ 90% คิดเป็น 36 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือต่ำกว่าปีนี้ครึ่งหนึ่ง และจำนวนดังกล่าวจะเพิ่มให้กับทีมตามอันดับจบเรียงลงไป ดังตารางที่แสดงด้านล่างนี้ ซึ่งเมื่อมองด้านท้ายตาราง ทีมอันดับที่ 10 คือวิลเลียมส์ (หรือถ้ามีทีมเข้าแข่งขันใหม่) จะได้รับโควต้าจำนวนครั้งในการทดสอบมากขึ้นอย่างชัดเจนเป็น 112.5% หรือ 45 ครั้งต่อสัปดาห์ และนับตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นไป จำนวนการจัดสรรให้กับทุกทีมจะลดลง ยกเว้นทีมอันดับที่ 9 และ 10 โดยทีมแชมป์จะได้รับโควต้าลดลงเหลือ 70% หรือ 28 ครั้งต่อสัปดาห์ ทีมอันดับที่ 9 ได้รับอนุญาตเท่าเดิม ส่วนทีมอันดับที่ 10 ได้รับการจัดสรรเพิ่มขึ้นเป็น 115% หรือ 46 ครั้งต่อสัปดาห์ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะส่งผลกระทบอย่างไร?
เจสัน ซัมเมอร์วิล หัวหน้าแผนกแอโรไดนามิกส์ของ F1 กล่าวว่าการกำหนดจำนวนครั้งสำหรับทดสอบในอุโมงค์ลมไม่ได้ส่งผลต่อการแข่งขันระหว่างฤดูกาล แต่เมื่อการแข่งขันผ่านไปสัก 2-3 ฤดูกาลก็จะเห็นว่าการแข่งขันในกริดสูสีกันมากขึ้น โดยปี 2022 เป็นต้นไป เราน่าจะเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เพราะเป็นปีที่มีการล้างไพ่ ทุกทีมต้องแข่งขันภายใต้กฎเทคนิคชุดใหม่ ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อให้การแข่งขันสนุกยิ่งขึ้น และแม้ว่าทีมแข่งเริ่มพัฒนารถใหม่ไปบ้างแล้ว แต่ตามกฎพวกเขายังเริ่มงานอย่างจริงจังไม่ได้จนกว่าจะถึงเดือนมกราคม 2021 โดยระหว่างนี้ F1 อาจเปลี่ยนแปลงกฎเพิ่มเติมด้วย เมื่อถึงมกราคมปีหน้า ทีมก็เกือบต้องทำงานที่เริ่มจากศูนย์อีกครั้ง และต้องคำนวณการใช้โควต้าการทดสอบให้ดี
ถ้าถามถึงผลกระทบต่อทีมใหญ่ ซัมเมอร์วิลคิดว่าเมื่อมีเวลาทดสอบน้อยลง ทีมอย่างเมอร์เซเดสหรือเฟอร์รารี่ต้องได้รับผลกระทบในระดับใดระดับหนึ่งแน่นอน ในขณะที่ทีมเล็กจะได้อัตราการพัฒนาเพิ่มขึ้น แต่เราต้องเข้าใจด้วยว่าความสามารถของอุโมงค์ลมแต่ละทีมไม่ได้เท่ากันทั้งหมด การทำงานของอุโมงค์ลมเมอร์เซเดสมีประสิทธิภาพมากกว่าเพราะมีทุนที่ดีและทีมงานฝ่ายแอโรไดนามิกส์ที่แข็งแกร่ง ระหว่างฤดูกาลพวกเขาถึงมีการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนทีมเล็กที่จบในอันดับล่างมากเท่าไหร่จะยิ่งได้ชั่วโมงทดสอบเพิ่มขึ้น ทำให้ทีมมีโอกาสใช้ความคิดในการทดสอบทางแอโร่ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าทำได้สำเร็จ ทีมเล็กก็มีสิทธิ์ไต่อันดับขึ้นไปด้านบนเช่นกัน
การมีเวลาทดสอบในอุโมงค์ลมมากขึ้นไม่ได้ทำให้รถเร็วขึ้น แต่อยู่ที่ว่าทีมแข่งจะใช้เวลาที่ได้เพิ่มขึ้นมาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างไร
-------------------------------------------------
ข้อมูลเพิ่มเติม: สมัยก่อนที่ F1 ยังไม่ได้กำหนดเวลาการทดสอบในอุโมงค์ลมและ CFD ทีมจึงใช้งานอุโมงค์ลมของตนเองเต็มที่ไม่มีวันหยุด ซึ่งบางทีมมีอุโมงค์ลม 2 ตัวทำงานพร้อมกัน ดังนั้นในกรณีใช้งานสูงสุดถ้าทีมมีอุโมงค์ลม 2 ตัว ทีมจะทดสอบในอุโมงค์ลมได้มากถึง 70 ครั้งต่อวัน เท่ากับ 500 ครั้งต่อสัปดาห์โดยประมาณ
*ข้อมูลและภาพจาก formula1.com
Create Date : 05 มิถุนายน 2563 |
Last Update : 5 มิถุนายน 2563 16:57:51 น. |
|
0 comments
|
Counter : 857 Pageviews. |
 |
|
|
| |
|
|
|
Location :
กรุงเทพฯ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 110 คน [?]

|
ในประเทศไทยหาข่าวฟอร์มูล่าวันอ่านได้ยากเหลือเกิ๊นนนน...เขียนเองเลยดีกว่า!
**เจ้าของบล็อกเขียนข่าวขึ้นจากการรวบรวมข้อมูลข่าวและแปลจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือของต่างประเทศเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ที่ชื่นชอบกีฬาชนิดนี้ ท่านใดที่นำข้อความในบล็อกไปเผยแพร่ต่อ ขอความกรุณาให้เครดิตบล็อกด้วยนะคะ**
|
|
|
|
|
|
|
|