Me, Myself and Formula 1
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2562
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
14 มีนาคม 2562
 
All Blogs
 
Preview: Australian Grand Prix 2019

รายละเอียดการแข่งขัน (ตามเวลาประเทศไทย)
สนามที่ 1: 15-17 มี.ค. 62
ซ้อม 1 - ศุกร์ที่ 15 มี.ค. เวลา 8.00-9.30 น.
ซ้อม 2 - ศุกร์ที่ 15 มี.ค. เวลา 12.00-13.30 น.
ซ้อม 3 - เสาร์ที่ 16 มี.ค. เวลา 10.00-11.00 น.
รอบควอลิฟาย - เสาร์ที่ 16 มี.ค. เวลา 13.00-14.00 น.
แข่งขัน - อาทิตย์ที่ 17 มี.ค. เวลา 12.10 น.

ข้อมูลสนามและการแข่งขัน


ชื่อสนาม: อัลเบิร์ตพาร์ก (สตรีทเซอร์กิต)
ทิศทางการวิ่ง: ตามเข็มนาฬิกา
จำนวนรอบแข่งขัน: 58 รอบ
จำนวนโค้ง: 16 โค้ง
ปีที่สนามเปิดใช้: ค.ศ. 1953
ปีที่เริ่มจัดการแข่งขันกรังด์ปรีซ์: ค.ศ. 1996
ความยาวของสนาม: 5.303 กม.
ระยะทางของการแข่งขันทั้งหมด: 307.574 กม.
สถิติสนามต่อรอบ: 1:24.125 (มิชาเอล ชูมัคเกอร์ / เฟอร์รารี่ - 2004)
การเลือกยางของปิเรลลี่:
ฮาร์ด - C2 (สีขาว)
มีเดียม - C3 (สีเหลือง)
ซอฟต์ - C4 (สีแดง)
DRS Zone:
1) ระหว่างโค้ง 12-13 เริ่มที่ระยะ 104 เมตรหลังโค้ง 12 โดยมีจุดตรวจจับเวลาที่ระยะ 170 เมตรก่อนโค้ง 11
2) ทางตรงหน้าพิต เริ่มที่ระยะ 30 เมตรหลังโค้ง 16
3) ระหว่างโค้ง 2-3 เริ่มที่ระยะ 32 เมตรหลังโค้ง 2
โดยมีจุดตรวจจับเวลาร่วมกันที่ระยะ 13 เมตรก่อนโค้ง 14
จำกัดความเร็วในพิตเลน: 60 กม./ชม. ตลอดสุดสัปดาห์การแข่งขัน

พยากรณ์อากาศสุดสัปดาห์ของการแข่งขัน
วันศุกร์ - ท้องฟ้าสดใส / อุณหภูมิสูงสุด 22 องศาเซลเซียส / โอกาสเกิดฝน 0%
วันเสาร์ - ท้องฟ้าสดใส / อุณหภูมิสูงสุด 27 องศาเซลเซียส / โอกาสเกิดฝน 0%
วันอาทิตย์ - ท้องฟ้าสดใส / อุณหภูมิสูงสุด 28 องศาเซลเซียส / โอกาสเกิดฝน 0%

ผู้ได้ตำแหน่งโพลในออสเตรเลียน กรังด์ปรีซ์ 3 ปีหลังสุด
2018 - ลูอิส แฮมิลตัน (เมอร์เซเดส) 1:21.164
2017 - ลูอิส แฮมิลตัน (เมอร์เซเดส) 1:22.188
2016 - ลูอิส แฮมิลตัน (เมอร์เซเดส) 1:23.837

ผู้ชนะออสเตรเลียน กรังด์ปรีซ์ 3 ปีหลังสุด
2018 - เซบาสเตียน เวทเทล (เฟอร์รารี่)
2017 - เซบาสเตียน เวทเทล (เฟอร์รารี่)
2016 - นิโค รอสเบิร์ก (เมอร์เซเดส)

เวลาต่อรอบเร็วที่สุดในออสเตรเลียน กรังด์ปรีซ์ 3 ปีหลังสุด
2018 - แดเนียล ริกเคียร์โด้ (เร้ดบูล) 1:25.945 รอบที่ 54
2017 - คิมี่ ไรค์โคเน่น (เฟอร์รารี่) 1:26.538 รอบที่ 56
2016 - แดเนียล ริกเคียร์โด้ (เร้ดบูล) 1:28.997 รอบที่ 49


Circuit Guide
 
คลิปโดย Formula1



*********************************************************

ข่าวเศร้าก่อนเริ่มการแข่งขันสนามแรกของฤดูกาล

ชาร์ลี ไวติ้ง วัย 66 ปี ผู้อำนวยการการแข่งขันฟอร์มูล่าวัน ซึ่งเป็นผู้คอยควบคุมการแข่งขันทุกสนามให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย จากไปเมื่อเช้านี้ (14 มี.ค.) ด้วยภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด (pulmonary embolism) ขณะอยู่ที่เมลเบิร์น

ไวติ้งเริ่มอาชีพในวงการฟอร์มูล่าวันเมื่อปี 1977 กับทีมเฮสเกธ และอยู่กับทีมบราบัมในช่วงทศวรรษที่ 1980s ต่อมาได้ร่วมงานกับเอฟไอเอในปี 1988 โดยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการการแข่งขัน (Race Director) ของฟอร์มูล่าวันตั้งแต่ปี 1997 กระทั่งก่อนถึงสุดสัปดาห์การแข่งขันสนามแรกของฤดูกาล 2019 เพียง 1 วันเท่านั้น
 

จากการที่ผู้อำนวยการการแข่งขันจากไปอย่างกะทันหัน แต่การแข่งขันต้องดำเนินต่อไป เอฟไอเอจึงต้องแต่งตั้งผู้ทำหน้าที่แทนในสนามนี้รวมถึงต่อจากนี้ด้วย

ตามกฎการแข่งขัน เอฟไอเอต้องแต่งตั้งผู้อำนวยการการแข่งขันและผู้ทำหน้าที่ประจำในการเริ่มการแข่งขันสำหรับทุกสนาม ซึ่งต้องปรากฏตัวตั้งแต่เริ่มสุดสัปดาห์การแข่งขันทุกครั้ง รวมถึงอีกตำแหน่งหนึ่งคือกรรมการด้านความปลอดภัย ซึ่งก่อนหน้าการเสียชีวิต ไวติ้งรับผิดชอบทั้ง 3 ตำแหน่ง

ในสนามนี้เอฟไอเอจะให้ไมเคิล แมซี่ รองผู้อำนวยการการแข่งขัน 1 ใน 2 คนของไวติ้งรับหน้าที่ทั้งสามตำแหน่งนั้นไป ซึ่งแมซี่เคยทำหน้าที่รองผู้อำนวยการให้ไวติ้งหลายสนามในการแข่งขันปีที่แล้ว โดยปีนี้เขายังรับหน้าที่ดังกล่าวร่วมกับรองผู้อำนวยการอีกคน สก็อต เอลกินส์ รวมถึงเป็นผู้อำนวยการการแข่งขันฟอร์มูล่าทูและฟอร์มูล่าทรีในฤดูกาลนี้ด้วย

หน้าที่ผู้อำนวยการการแข่งขัน นอกจากดูแลการแข่งขันทั่วไปแล้ว จะต้องเป็นผู้ตัดสินยุติการลงสนามในช่วงใดๆ ก็ตาม ควบคุมการใช้เซฟตี้คาร์ และแจ้งอุบัติเหตุหรือกรณีที่เกิดขึ้นต่อคณะกรรมการในสนามนั้นๆ ส่วนการเป็นผู้เริ่มการแข่งขันต้องรับผิดชอบในการควบคุมแผงไฟสัญญาณเริ่มการแข่งขันนั่นเอง

สำหรับบทบาทกรรมการด้านความปลอดภัย เขาต้องเป็นผู้ชี้ขาดในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนกำหนดความเร็วในพิตเลนไปจนถึงคอยควบคุมให้รถ นักขับ และความปลอดภัยในสนามเป็นไปตามกฎกติกาที่วางไว้

การให้แมซี่ขึ้นมาเป็นผู้อำนวยการการแข่งขันในสนามเมลเบิร์นทำให้ต้องมีผู้มาแทนเขาในตำแหน่งรองผู้อำนวยการเช่นกัน โดยปกติรองผู้อำนวยการการแข่งขันตัองคอยควบคุมการตั้งรถที่กริดสตาร์ท ดูแลรอบวอร์มอัพ การสตาร์ท และการแข่งขันรอบแรกๆ รวมถึงการตัดสินใจให้มีธงแดงหรือเซฟตี้คาร์ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย










*ข้อมูลจาก formula1.com และ motorsport.com
ภาพจาก formula1.com


Create Date : 14 มีนาคม 2562
Last Update : 14 มีนาคม 2562 23:43:35 น. 5 comments
Counter : 777 Pageviews.

 
ผล FP1



โดย: finishline วันที่: 15 มีนาคม 2562 เวลา:17:33:59 น.  

 
ผล FP2



โดย: finishline วันที่: 15 มีนาคม 2562 เวลา:17:35:01 น.  

 
ผล FP3



โดย: finishline วันที่: 16 มีนาคม 2562 เวลา:23:47:11 น.  

 
ผลการควอลิฟาย



โดย: finishline วันที่: 16 มีนาคม 2562 เวลา:23:48:17 น.  

 
ผลการแข่งขัน



โดย: finishline วันที่: 17 มีนาคม 2562 เวลา:14:29:20 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

finishline
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 110 คน [?]




ในประเทศไทยหาข่าวฟอร์มูล่าวันอ่านได้ยากเหลือเกิ๊นนนน...เขียนเองเลยดีกว่า!

**เจ้าของบล็อกเขียนข่าวขึ้นจากการรวบรวมข้อมูลข่าวและแปลจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือของต่างประเทศเพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ที่ชื่นชอบกีฬาชนิดนี้ ท่านใดที่นำข้อความในบล็อกไปเผยแพร่ต่อ ขอความกรุณาให้เครดิตบล็อกด้วยนะคะ**
Friends' blogs
[Add finishline's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.