ขันธ์ ๕ กับ จิต เจตสิก รูป
ผมได้มีโอกาสเข้าไปศึกษาพระอภิธรรมจากเว็บ พระอภิธรรม online คำที่จะพบบ่อยๆในเนื้อหาของพระอภิธรรมก็คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ซึ่งแต่ละบทก็จะมีการพูดถึงในแง่มุมที่ต่างกัน ก็เลยเกิดความคิดว่าอยากจะลองสรุปรวบรวมมาไว้ เพื่อที่จะได้เห็นความเกี่ยวข้องต่อเนื่องได้ชัดเจนขึ้น ก็เลยเป็นที่มาของ blog group นี้ครับ ถ้าอ่านเจออะไรเพิ่มก็จะมี add blog ใหม่เป็นระยะๆครับ
ขันธ์ แปลว่ากอง พวก หมวด หมู่
ขันธ์ ๕ (เบญจขันธ์) จึงจะหมายถึงสถาวะธรรมห้าอย่าง

คนหรือสัตว์ทั้งหลาย ประกอบด้วยธรรมชาติ 3 อย่างคือ
1. รูป หรือ รูปขันธ์ เป็นอวัยวะน้อยใหญ่ หรือกลุ่มรูปที่มีอยู่ในร่างกาย 2. จิต คือ วิญญาณขันธ์ คือ ธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มาปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อยาตนะภายใน) 3. เจตสิก ได้แก่
- เวทนาขันธ์ ความรู้สึก ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ ดีใจ เสียใจ เฉยๆ
- สัญญาขันธ์ ธรรมชาติที่มีหน้าที่ในการจำ
- สังขารขันธ์ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตให้มีลักษณะต่างๆ เป็นดีบ้าง ไม่ดีบ้าง
สรุปว่า ขันธ์ 5 ก็คือ รูป จิต และเจตสิก นั่นเอง การเกิดขึ้นของจิต (วิญญาณขันธ์) จะเกิดขึ้นโดยไม่มีเจตสิก (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์) นั้นไม่ได้ ลำพังจิตอย่างเดียว ไม่สามารถรับรู้หรือนึกคิดอะไรได้เลย จิตและเจตสิก จะแยกจากกันไม่ได้ ต้องเกิดร่วมกันอิงอาศัยกัน จิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้น จะต้องมีเจตสิกประกอบปรุงแต่งด้วยเสมอ
อ้างอิง : รูป-นามกับขันธ์ ๕ สัมพันธ์กันอย่างไร
Create Date : 29 มกราคม 2549 |
|
4 comments |
Last Update : 3 พฤษภาคม 2549 2:10:26 น. |
Counter : 7243 Pageviews. |
|
 |
|
ผมจะเข้ามาติดตาม
ขอบคุณข้อความดีๆและมีประโยชน์ ครับ
ขอให้คุณมีความสุขได้รับสิ่งดีจากเจตนาดีที่ได้ทำครับ