มุมดีดี มีอยู่มากมาย อยู่ที่เราจะมองเห็นมันหรือไม่..เท่านั้น
Group Blog
 
 
มกราคม 2549
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
13 มกราคม 2549
 
All Blogs
 
วัฏฏะ 3


.....วัฏฏะ มี 3 องค์ประกอบ คือ กิเลส กรรม วิบาก
เมื่อบุคคลทำอะไรลงไป ไม่ว่าทางใด หากทำลงไปด้วยกิเลสที่อยู่ในใจ ก็จะก่อให้เกิดกรรม เมื่อเกิดกรรมก็จะเกิดวิบากกรรมคือผลตามมา วิบากหรือผลอันนี้ก็จะก่อให้เกิดกิเลสขึ้นอีก และกิเลสจะก่อให้เกิดกรรมขึ้นอีก กรรมนี้จะก่อให้เกิดวิบาก หรือผลขึ้นอีก วนเวียนไปอย่างนี้เรื่อยๆ จนกว่าคนจะดับกิเลสหมดสิ้น จึงจะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด

ผังแสดงความสัมพันธ์ของไตรวัฏฏ์ กับปฏิจจสมุปบาท (พระเทพเวที 2532 : 104)


กิเลสหรือกิเลสวัฏฏ์ (Defilements) วงจรของกิเลส เป็นตัวสาเหตุผลักดันให้คิดปรุงแต่งการกระทำต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน

กรรมหรือกรรมวัฏฏ์ (Karma or Action) วงจรกรรมเป็นกระบวนการกระทำหรือปรุงแต่งชีวิตให้เป็นไปต่าง ๆ ประกอบด้วยสังขารและกรรมภพ

วิบากหรือวิปากวัฏฏ์ (Results) วงจรวิบาก คือ สภาพชีวิตที่เป็นผลแห่งการปรุงแต่งของการกระทำและกลับเป็นปัจจัยเสริมสร้างให้เกิดกิเลสต่อไปอีก ประกอบด้วยวิญญาณ นามรูป สาฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏที่เรียกว่า อุปัตติภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น

วัฏฏะทั้ง 3 หรือไตรวัฏฏ์นี้ หมุนเวียนต่อเนื่องเป็นปัจจัยอุดหนุนแก่กัน ทำให้วงจรแห่งชีวิตดำเนินไปไม่ขาดสาย







กิเลส ได้แก่ สิ่งที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์ กิเลสทั้ง 10 ประการได้แก่
1) โลภะ (greed) ความอยากได้
2) โทสะ (hatred) ความคิดประทุษร้าย
3) โมหะ (delusion) ความหลง ความไม่รู้ ความเขลา
4) มานะ (conceit) ความถือตัว
5) ทิฏฐิ (wrong view) ความเห็นผิด
6) วิจิกิจฉา (uncertainty) ความลังเลสงสัย ความเคลือบแคลงใจ
7) ถีนะ (sloth) ความหดหู่ ความท้อแท้ถดถอย
8) อุทธัจจะ (restlessness) ความฟุ้งซ่าน
9) อหิริกะ (shamelessness) ความไม่ละอายใจตนเองในการทำความชั่ว
10) อโนตตัปปะ (lack of moral dread) ความไม่เกรงกลัวต่อผลของความชั่ว


กิเลสทั้ง 10 ประการนี้ บางครั้งท่านเรียกว่า กิเลสวัตถุ คือ สิ่งก่อความเศร้าหมองในจิต เมื่อกิเลสเกิดขึ้นในจิต ก็ปรุงแต่งให้เกิดการกระทำซึ่งเรียกว่า กรรม







กรรม (Deed or Action) ได้แก่ การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือ ทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ซึ่งเกิดได้ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ถ้าเป็นการกระทำที่ดี เรียกว่า กุศลกรรม ถ้าเป็นการกระทำที่ชั่วเรียกว่า อกุศลกรรม แต่ถ้าไม่ดีหรือชั่ว ก็เรียกว่า อัพยากตกรรม

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค กังขาวิตรณนิเทศ พระพุทธโฆษาจารย์ได้จำแนกกรรมไว้ 12 อย่าง ซึ่งแยกเป็นหมวด ๆ ได้ 3 หมวด ดังนี้

หมวดที่ 1 จำแนกตามเวลาที่ให้ผล (ว่าโดยปากกาล) คือ
1) ทิฏฐธัมเวทนียกรรม กรรมให้ผลทันตาเห็น คือ ในปัจจุบันนี้
2) อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในวันหน้า
3) อปราปรเวทนียกรรม กรรมให้ผลในโอกาสต่อ ๆ ไป
4) อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล ซึ่งมีความหมายสองนัยคือนัยที่หนึ่งให้ผลเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงเลิกแล้วต่อกัน นัยที่สองคือหมดโอกาสให้ผลเนื่องจากผู้ทำกรรมนั้นๆได้ทำกรรมอื่นทดแทนหรือเจือจางกรรมนั้นๆจนให้ผลไม่ได้

หมวดที่ 2 จำแนกการให้ผลตามหน้าที่ (ว่าโดยกิจ) คือ
1) ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิดหรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด
2) อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม
3) อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือ เข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้น ให้แปรเปลี่ยนทุเลาหรือสั้นเข้า
4) อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือ กรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมสองอย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว

หมวดที่ 3 จำแนกตามลำดับความแรงหรือความหนักเบาในการให้ผล (ว่าโดยปากทานปริยาย) คือ
1) ครุกกรรม กรรมหนัก กรรมนี้จะให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ
2) พหุลกรรมหรืออาจิณกรรม กรรมทำมากหรือทำเป็นอาจิณ ให้ผลรองลงมาจากครุกรรม
3) อาสันกรรม กรรมจวนเจียนหรือกรรมที่ทำเมื่อใกล้ตาย ถ้าไม่มีกรรม 2 ข้อแรก กรรมนี้จะให้ผลก่อน แต่จะมีกำลังอ่อนไม่นานก็สิ้นเชื้อ เปรียบเหมือนรถยนต์ที่ติดไฟแดง เมื่อมีสัญญาณไฟเขียวรถคันที่อยู่หน้าสุดก็จะได้ออกตัวก่อน
4) กตัตตากรรม กรรมสักว่าทำ มีเจตนาอ่อนหรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล








วิบาก (Results) หมายถึงผล หรือผลแห่งกรรมที่ทำไว้ ซึ่งจำแนกได้เป็น 3 ประเภทตามมูลเหตุแห่งกรรมที่ทำ เช่น กุศลวิบาก ผลแห่งกรรมดี อกุศลวิบาก ผลแห่งกรรมชั่ว และอัพยากตวิบาก ผลแห่งกรรมกลาง ไม่ดีไม่ชั่ว พระพุทธองค์ได้ตรัสถึง วิบากแห่งกรรมในภพปัจจุบันไว้ ดังนี้


1. การฆ่าสัตว์ ทำให้เกิดเป็นคนมีอายุสั้น การไม่ฆ่าสัตว์ทำให้มีอายุยืน
2. การเบียดเบียนสัตว์ ทำให้เป็นคนมีโรคมาก การไม่เบียดเบียนสัตว์ ทำให้มีโรคน้อย
3. ความมักโกรธ(โกรธง่าย) ทำให้เป็นคนมีผิวพรรณทราม หน้าตาไม่สวย การไม่มักโกรธทำให้เกิดมาเป็นคนมีผิวพรรณดี หน้าตาสวย
4. การมักริษยาผู้อื่น ทำให้มีอำนาจวาสนาน้อย การไม่ริษยาผู้อื่นทำให้เป็นคนมีวาสนามาก
5. ความตระหนี่ ไม่บริจาคทาน ทำให้เกิดมามีฐานะยากจนขัดสน การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่หรือบริจาคทาน ทำให้เป็นคนร่ำรวยมีทรัพย์มาก
6. ความไม่อ่อนน้อมถ่อมตน ทำให้เกิดในตระกูลต่ำ ความอ่อนน้อมถ่อมตนทำให้เกิดในตระกูลสูง
7. การไม่ใส่ใจใฝ่หาความรู้ ทำให้เกิดมาเป็นคนโง่ ไม่เฉลียวฉลาด การใส่ใจแสวงหาความรู้ ทำให้เกิดมาเป็นคนมีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด








ข้อมูลจาก //learning.ricr.ac.th/mean/content.html





Create Date : 13 มกราคม 2549
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2549 21:34:56 น. 16 comments
Counter : 11556 Pageviews.

 
ขอบคุณมากค่ะ

รายงานนู๋เสร็จแล้ว



โดย: ซีจ้า IP: 118.174.114.140 วันที่: 26 พฤษภาคม 2551 เวลา:19:44:25 น.  

 
ขอบคุนคร้าฟฟฟ


โดย: นักเรียน IP: 58.64.51.171 วันที่: 1 กันยายน 2551 เวลา:15:38:26 น.  

 
ขอบคุณที่ช่วยให้งานหนูเสร็จนะค่ะขอบคุณมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


โดย: oum,min IP: 118.172.227.117 วันที่: 4 สิงหาคม 2552 เวลา:14:01:46 น.  

 
ขอบคุณมากที่ให้การสนับสนุน555



โดย: ละมัย มุขสาร IP: 125.26.224.153 วันที่: 18 ธันวาคม 2553 เวลา:10:24:56 น.  

 
รายงาน


โดย: ้ดด้ IP: 192.168.2.176, 203.172.214.185 วันที่: 18 สิงหาคม 2554 เวลา:11:11:46 น.  

 

ขอบคุณมากที่ให้การสนับสนุน555


โดย: กด IP: 192.168.2.176, 203.172.214.185 วันที่: 18 สิงหาคม 2554 เวลา:11:12:28 น.  

 
ขอบคุณที่ช่วยให้งานหนูเสร็จนะค่ะขอบคุณมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ


โดย: นักเรียน IP: 192.168.2.176, 203.172.214.185 วันที่: 18 สิงหาคม 2554 เวลา:11:13:16 น.  

 
ความอยากได้
2) โทสะ (hatred) ความคิดประทุษร้าย
3) โมหะ (delusion) ความหลง ความไม่รู้ ความเขลา
4) มานะ (conceit) ความถือตัว
5) ทิฏฐิ (wrong view) ความเห็นผิด
6) วิจิกิจฉา (uncertainty) ความลังเลสงสัย ความเคลือบแคลงใจ
7) ถีนะ (sloth) ความหดหู่ ความท้อแท้ถดถอย
8) อุทธัจจะ (restlessness) ความฟุ้งซ่าน
9) อหิริกะ (shamelessness) ความไม่ละอายใจตนเองในการทำความชั่ว
10) อโนตตัปปะ (lack of moral dread) ความไม่เกรงกลัวต่อผลของความชั่ว



โดย: ยาวยอดยาว IP: 192.168.2.176, 203.172.214.185 วันที่: 18 สิงหาคม 2554 เวลา:11:16:00 น.  

 
1) ทิฏฐธัมเวทนียกรรม กรรมให้ผลทันตาเห็น คือ ในปัจจุบันนี้
2) อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในวันหน้า
3) อปราปรเวทนียกรรม กรรมให้ผลในโอกาสต่อ ๆ ไป
4) อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล ซึ่งมีความหมายสองนัยคือนัยที่หนึ่งให้ผลเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงเลิกแล้วต่อกัน นัยที่สองคือหมดโอกาสให้ผลเนื่องจากผู้ทำกรรมนั้นๆได้ทำกรรมอื่นทดแทนหรือเจือจางกรรมนั้นๆจนให้ผลไม่ได้

หมวดที่ 2 จำแนกการให้ผลตามหน้าที่ (ว่าโดยกิจ) คือ
1) ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิดหรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด
2) อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม
3) อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือ เข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้น ให้แปรเปลี่ยนทุเลาหรือสั้นเข้า
4) อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือ กรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมสองอย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว

หมวดที่ 3 จำแนกตามลำดับความแรงหรือความหนักเบาในการให้ผล (ว่าโดยปากทานปริยาย) คือ
1) ครุกกรรม กรรมหนัก กรรมนี้จะให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ
2) พหุลกรรมหรืออาจิณกรรม กรรมทำมากหรือทำเป็นอาจิณ ให้ผลรองลงมาจากครุกรรม
3) อาสันกรรม กรรมจวนเจียนหรือกรรมที่ทำเมื่อใกล้ตาย ถ้าไม่มีกรรม 2 ข้อแรก กรรมนี้จะให้ผลก่อน แต่จะมีกำลังอ่อนไม่นานก็สิ้นเชื้อ เปรียบเหมือนรถยนต์ที่ติดไฟแดง เมื่อมีสัญญาณไฟเขียวรถคันที่อยู่หน้าสุดก็จะได้ออกตัวก่อน
4) กตัตตากรรม กรรมสักว่าทำ มีเจตนาอ่อนหรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล



โดย: ม.3/2 IP: 192.168.2.176, 203.172.214.185 วันที่: 18 สิงหาคม 2554 เวลา:11:17:04 น.  

 
วิบาก (Results) หมายถึงผล หรือผลแห่งกรรมที่ทำไว้ ซึ่งจำแนกได้เป็น 3 ประเภทตามมูลเหตุแห่งกรรมที่ทำ เช่น กุศลวิบาก ผลแห่งกรรมดี อกุศลวิบาก ผลแห่งกรรมชั่ว และอัพยากตวิบาก ผลแห่งกรรมกลาง ไม่ดีไม่ชั่ว พระพุทธองค์ได้ตรัสถึง วิบากแห่งกรรมในภพปัจจุบันไว้ ดังนี้


1. การฆ่าสัตว์ ทำให้เกิดเป็นคนมีอายุสั้น การไม่ฆ่าสัตว์ทำให้มีอายุยืน
2. การเบียดเบียนสัตว์ ทำให้เป็นคนมีโรคมาก การไม่เบียดเบียนสัตว์ ทำให้มีโรคน้อย
3. ความมักโกรธ(โกรธง่าย) ทำให้เป็นคนมีผิวพรรณทราม หน้าตาไม่สวย การไม่มักโกรธทำให้เกิดมาเป็นคนมีผิวพรรณดี หน้าตาสวย
4. การมักริษยาผู้อื่น ทำให้มีอำนาจวาสนาน้อย การไม่ริษยาผู้อื่นทำให้เป็นคนมีวาสนามาก
5. ความตระหนี่ ไม่บริจาคทาน ทำให้เกิดมามีฐานะยากจนขัดสน การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่หรือบริจาคทาน ทำให้เป็นคนร่ำรวยมีทรัพย์มาก
6. ความไม่อ่อนน้อมถ่อมตน ทำให้เกิดในตระกูลต่ำ ความอ่อนน้อมถ่อมตนทำให้เกิดในตระกูลสูง
7. การไม่ใส่ใจใฝ่หาความรู้ ทำให้เกิดมาเป็นคนโง่ ไม่เฉลียวฉลาด การใส่ใจแสวงหาความรู้ ทำให้เกิดมาเป็นคนมีสติปัญญาดี เฉลียวฉลาด


โดย: เจษฎา IP: 192.168.2.176, 203.172.214.185 วันที่: 18 สิงหาคม 2554 เวลา:11:18:38 น.  

 
มี3 ปะการ กิเลส กรรม วิบาก วัฏฏะ 3










--------------------------------------------------------------------------------













--------------------------------------------------------------------------------












--------------------------------------------------------------------------------












--------------------------------------------------------------------------------



วิบาก




โดย: สม IP: 192.168.2.176, 203.172.214.185 วันที่: 18 สิงหาคม 2554 เวลา:11:23:06 น.  

 
แล้วถ้าหอยแมลงภู่ล่ะครับ


โดย: 555+ IP: 58.9.3.148 วันที่: 4 ตุลาคม 2554 เวลา:20:09:39 น.  

 
น่าจะมีข้อมูลมากกว่านี้นะค๊าฟฟฟฟ


โดย: กาณณา IP: 192.168.183.111, 110.77.148.39 วันที่: 30 มกราคม 2555 เวลา:13:33:10 น.  

 
ก้อดีค๊าฟฟฟฟฟฟ


โดย: Artty IP: 192.168.183.111, 110.77.148.39 วันที่: 30 มกราคม 2555 เวลา:13:35:31 น.  

 
ขอบคุงคับ


โดย: Jayjuju IP: 192.168.183.111, 110.77.148.39 วันที่: 30 มกราคม 2555 เวลา:13:37:19 น.  

 
ขอบคุณค่ะรายงานเสร็จแล้ว


โดย: แตงโม IP: 37.228.107.140 วันที่: 14 กันยายน 2556 เวลา:19:36:09 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

NETA Dad
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]














ไหนๆก็มาแล้ว แวะไป
เซ็นสมุดเยี่ยม
หน่อยนะครับ

วันเกิด blog นี้ : 2 กุมภา 49
















Friends' blogs
[Add NETA Dad's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.