จะหาญสู้กับทรชน ผู้คิดปล้นอธิปไตย ไล่ออกนอกแดนไทย เพื่อวิญญาณทหารเรา
Group Blog
 
 
มิถุนายน 2550
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
14 มิถุนายน 2550
 
All Blogs
 
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประชาธิปไตย

มีใครสังเกตบ้างหรือไม่ว่า บ้านเมืองเราเวลานี้ คนดีที่กล้าเข้ามาแก้ไขปัญหาบ้านเมือง กลับเป็นฝ่ายถูกวิพากวิจารณ์ไปในทางเสียหาย ไปๆมาๆ กลายเป็นคนผิดไปเสียอย่างนั้น สังคมไทยตอนนี้ก็เลยเต็มไปด้วย “นักสร้างภาพในคราบของผู้แทนประชาชน” ที่พยายามเอา “ความเป็นผู้แทน” มาบังหน้า
เพื่อที่จะได้กระทำการอะไรๆที่มิชอบได้สะดวก

ถ้าท่านทั้งหลายสังเกตุดีๆ ผู้แทนที่ชอบสร้างภาพเหล่านี้ มักชอบ กล่าวอ้าง คำว่า“ประชาธิปไตย” เพื่อปกปิด กลบเกลื่อนพฤติกรรมที่ไม่โปร่งใสของตนซึ่งนอกจากจะเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของสังคม จากการถูกตรวจสอบ และเอาผิดแล้ว ยังเป็นการบิดเบือนความหมายที่ถูกต้องและสมบูรณ์ ของคำว่า ประชาธิปไตย อีกด้วย อีกนัยคือ นักสร้างภาพเหล่านี้ตั้งใจให้ประชาชนเข้าใจความหมายของคำว่า ประชาธิปไตย แต่เพียงด้านเดียว ซึ่งนับเป็น อันตรายอย่างยิ่ง ต่อการก้าวไปสู่ ความเป็น สังคมประชาธิปไตย ที่แท้จริง ของประเทศไทย

การพูดถึงประชาธิปไตยโดยส่วนเดียว คือ เลือกมาพูดเฉพาะประเด็นการเลือกตั้งนั้น เป็น การจงใจ หลอกลวงประชาชนให้เข้าใจผิด แม้ว่าการเลือกตั้งจะเป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบประชาธิปไตย แต่ ความหมายที่สมบูรณ์ ของ ประชาธิปไตย นั้น มี มากกว่านั้น สาเหตุที่พวก “นักเลือกตั้ง” ไม่กล้ากล่าวถึงให้ครบถ้วน ก็เพราะพวกคนเหล่านั้น นอกจากจะไม่สามารถปฏิบัติตามได้แล้ว กลับเป็นผู้ทำลายประชาธิปไตย ในความหมายที่แท้จริงนั้นเสียเอง ผู้เขียน จึงขอทบทวนความหมายที่สมบูรณ์ของคำว่าประชาธิปไตย อีกครั้ง เพื่อประชาชนทั้งหลายจะได้เข้าใจ และรู้ทันการกล่าวอ้างของนักการเมืองบางพวก ที่ชอบเอาคำว่าประชาธิปไตยมาบังหน้าเสียที




ประชาธิปไตย โดยแท้จริง ต้องอยู่บนหลักการ ๕ ประการ ได้แก่ ๑. หลักเสรีภาพ
๒. หลักความเสมอภาค ๓. หลักเหตุผล ๔. หลักเสียงข้างมาก และสุดท้าย๕. หลักหมุนเวียนในการดำรงตำแหน่ง แต่ปรากฎว่า รัฐบาลพ.ต.ท. ทักษิณ ไม่ได้ยึดหลักการเหล่านี้เลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็น การให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชน ซึ่งกรณีนี้นอกจากไม่ให้แล้ว ยังซื้อสื่อมาอยู่ในมือเพื่อให้เป็นกระบอกเสียงของตนอีก นอกจากนั้น ยังไม่เคยคำนึงถึงความเสมอภาคและหลักเหตุผล คำนึงแต่ว่าใครเลือกพรรคไทยรักไทย ก็ต้องได้รับประโยชน์ก่อน (เป็นที่มาของวลีฮิต “จังหวัดไหน เลือกไทยรักไทย ก็เอางบไปก่อน”)

นอกจากนั้นรัฐบาลพ.ต.ท. ทักษิณ ยัง ไม่เคยคิด ที่จะผลัดเปลี่ยนให้พรรคฝ่ายค้านมาบริหารประเทศบ้าง ขอผูกขาดฝ่ายเดียว จนถึงขนาดเอาเงินกว้านซื้อพรรคการเมืองต่างๆมายุบรวมกับตน เพื่อพรรคการเมืองฝ่ายค้านจะได้ไม่มีเสียงข้างมากพอที่จะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ ทั้งๆที่การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นกระบวนการตามครรลองของประชาธิปไตย จะเห็นได้ว่า รัฐบาลทักษิณกลัวการถูกซักฟอกและตรวจสอบมากที่สุด เนื่องจากขาดความโปร่งใสในการบริหารประเทศ นั่นเอง

ตลอดเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลในยุค พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ยึดอำนาจบริหารไปครองอย่างเข้มแข็งยิ่งไม่ต่างจากระบบประธานาธิบดี แต่ระบบประธานาธิบดีนั้น ยังดีกว่าตรงที่ฝ่ายบริหารยุบสภาไม่ได้ และมีกลไกการตรวจสอบของสภา กับ สื่อมวลชนอิสระที่เข้มแข็งคอยทัดทานอำนาจอยู่ แต่การที่ พ.ต.ท. ทักษิณฯ
ตัดสินใจ ยุบสภาหนีการตรวจสอบ จากสภาตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย ผนวกกับการแทรกแซงครอบงำสื่อมวลชนอย่างรุนแรง ก็ย่อมเท่ากับพ.ต.ท. ทักษิณฯปฏิบัติตนไม่ต่างไปจาก เผด็จการ หรือ จะเรียกว่า เผด็จการในคราบนักเลือกตั้ง ก็ได้ เพราะเป็นผู้ละเมิดหลักประชาธิปไตยเสียเอง

นอกจากหลัก ๕ ประการตามหลักประชาธิปไตย ที่นักการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ต้องยึดถือแล้ว ประชาธิปไตยยังประกอบไปด้วย ๓ มิติ ด้วยกันการกล่าวอ้างถึงมิติใดเพียงมิติหนึ่ง จึงเป็นการอ้างที่ขาดความรู้ หรือรู้ แต่ตั้งใจบิดเบือน

มิติที่หนึ่ง คือ ประชาธิปไตยที่เป็นรูปแบบ (Democracy as a form) เป็นมิติที่นักการเมืองในประเทศกำลังพัฒนา นิยมนำมากล่าวอ้างกันมากที่สุด
เนื่องจากสามารถเห็นเป็นรูปธรรมได้ชัดเจน ซึ่งได้แก่ การเลือกตั้ง และ พรรคการเมืองอย่างไรก็ตาม บรรดานักเลือกตั้งเหล่านี้ คงลืม (หรือตั้งใจลืม) ไปว่า บทบาทของนักการเมืองที่ถูกต้องตามครรลองของประชาธิปไตยนั้น ต้องตั้งอยู่บน หลักการ ๕ ประการ ดังที่อธิบายมาข้างต้นด้วย ไม่ใช่ ทำอย่างไรก็ได้ ให้ได้ชื่อว่าผ่านการเลือกตั้งแล้ว ตั้งหน้าตั้งตาเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตน และ พวกพ้อง
อย่างนี้ ไม่เป็นประชาธิปไตยแน่

มิติที่สอง คือ ประชาธิปไตยที่เป็นอุดมการณ์ (Democracy as an ideology) คือ ทั้งประชาชน และ นักการเมืองที่ต่างก็ ต้องมุ่งรักษาผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ขอยกตัวอย่างกรณีของสหรัฐอเมริกา ในเหตุการณ์ที่ผ่านมาปีสองปีนี้ เมื่อตอนที่บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของจีนชื่อ CNOOC (China National Offshore Oil Corporation) ซึ่งแน่นอนว่าได้รับการสนับสนุนโดยรัฐบาลจีน เหมือนบริษัทเทมาเสคของสิงคโปร์ สนใจที่จะซื้อหุ้นบริษัทน้ำมัน UNOCAL ของสหรัฐฯ แม้ว่า CNOOC จะเสนอให้ผลกำไรตอบแทนมากกว่า บริษัทคู่แข่ง Chevron ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติสหรัฐฯ แต่ปรากฎว่า ทั้งกลุ่มภาคประชาชน รวมทั้งสื่อมวลชน และภาครัฐ ในสหรัฐฯ ซึ่งนำโดยวุฒิสภาสหรัฐฯ ต่างพากันกดดันไม่ให้บริษัทจีนเข้ามาซื้อหุ้นพลังงาน และผลักดันให้ Chevron ได้การประมูลไปในที่สุด เพราะคนสหรัฐฯ รวมทั้งนักการเมืองของเขาเองต่างตระหนักดีว่า กิจการพลังงานเป็นเรื่องละเอียดอ่อน มีกระทบต่อความมั่นคงโดยตรง ถ้าจีนเข้าถือครองหุ้นส่วนใหญ่ด้านพลังงานแล้ว จะทำให้สหรัฐฯสูญเสียผลประโยชน์แห่งชาติมหาศาล เห็นไหมว่า ประเทศที่เขามีการพัฒนาประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แล้ว
ทั้งประชาชน และ นักการเมือง ต่างก็ ถือเอาประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ

มิติสุดท้ายคือ ประชาธิปไตยในฐานะวิถีชีวิตของประชาชน (Democracy as a way of life of the people) หมายถึง นักการเมืองต้องยึดเป็น สรณะว่า จะทำการใดๆต้องตั้งอยู่บน หลักความโปร่งใส ต้องถูกตรวจสอบได้ เช่น โครงการเมกะโปรเจกต์ ที่คิดขึ้นสมัย รัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณฯ เป็นโครงการใหญ่ตที่เกี่ยวพันกับงบประมาณมหาศาล แต่กลับปกปิดไม่ให้สังคมทั่วไปรับรู้ ไม่ให้มีส่วนร่วม ไม่มีแม้ระบบที่จะตรวจสอบ จึงก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างรัฐบาลกับสังคมอย่างมาก การที่ประเทศหนึ่งๆ จะเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ รัฐบาลจึงต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของประชาชน ในการดำเนินธุรกิจ หรือ โครงการทางเศรษฐกิจใดๆด้วย มิใช่จะมุ่งแต่การเพิ่มข้นของตัวเลขเพียงอย่างเดียว


ผู้เขียนขอ เน้นย้ำ อีกทีว่า ถ้าบ้านเมืองเรามีภาคประชาชน และพรรคการเมืองที่ เข้มแข็ง โดยมุ่งเห็นผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ แล้ว ก็ไม่มีความจำป็นที่ทหารจะเข้ามาแทรกแซง แต่ตราบใดที่นักการเมืองที่ไร้คุณธรรมยังอ้างนำเอารูปแบบประชาธิปไตยมาบังหน้าเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ และยังสามารถครอบสื่อได้อยู่ ทหารก็ยัง จำเป็น ที่จะเข้ามากอบกู้วิกฤติบ้านเมือง
แม้ว่าการยึดอำนาจจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการประชาธิปไตย แต่ถ้าพิจารณาถึงสิทธิธรรมชาติ ในอันที่จะล้มล้างรัฐบาลหรือการปกครองที่ไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะเมื่อผู้นำขาดจริยธรรม และคุณธรรม เช่นคราวที่ โธมัส เจฟเฟอร์สัน ยกร่างคำประกาศอิสรภาพของอเมริกาในค.ศ.๑๗๗๖ การยึดอำนาจการปกครองจึงเป็นสิ่งที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ หรือที่บางทฤษฎีใช้คำว่า "ภาวะอันสุดแสนจะทนทาน" เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จะเกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อประเทศชาติและประชาชนจนไม่อาจแก้ไขเยียวยาได้โดยง่าย


ดังนั้นการกล่าวโทษทหารว่าละเมิดประชาธิปไตย และต้องการเข้ามาใช้อำนาจบริหารประเทศเสียเองนั้น เป็นคำกล่าวอ้างที่ มุ่งสร้างความแตกแยกในสังคมโดยเฉพาะ เพราะขณะนี้ประเทศเรายังอยู่ในระหว่างหัวเลี้ยวหัวต่อของการก้าวไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยสมบูรณ์ (Transitional Period) มิใช่อยู่ในช่วงการปกครองระบอบประชาธิปไตย แล้วจะมากล่าวอ้างการตรวจสอบทหาร ตามกระบวนการประชาธิปไตยได้อย่างไร ดูแล้ว เป็นความต้องการ ทำลายบรรยากาศ การร่างรัฐธรรมนูญ และ การปฏิรูปประชาธิปไตยเสียมากกว่า ในทรรศนะของผู้เขียน การออกมาโจมตีรัฐบาล และ ทหาร โดยพวกนักเลือกตั้งเหล่านี้ ในเวลานี้ จึงเป็นการกระทำที่ “ผิดกาลเวลา ผิดสถานที่” (Not the right time, not the right place) อย่างแท้จริง


Create Date : 14 มิถุนายน 2550
Last Update : 14 มิถุนายน 2550 8:45:34 น. 1 comments
Counter : 276 Pageviews.

 
ช่วยหาการเรียงความประชาธิปไตยหน่อย


โดย: ใบเตย IP: 124.121.196.95 วันที่: 21 มิถุนายน 2552 เวลา:11:30:34 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พญางูใหญ่
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ข้าคือทหารราบ อ้อมกอดของข้าคือปืน เท้าข้ายืนในรองเท้าบู๊แสนสง่า บนแผ่นหลังเครื่องสนามนำพา บนหัวของข้าคือหมวกเหล็กออกประจัน นี่แหละคือทหารราบ ท่องเที่ยวปราบศัตรูทั่วเขตขัณฑ์ ถือกำเนินจากสีเขียวนักโรมรัน ศัตรูนั้นได้ยินนามครั้นทั่วแดน ทำให้ประชาชนนอนตาหลับ ทหารราบปราบปลื้มในใจ เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ พร้อมพลีชีพแทน ทั่วแดนข้าราชินีแห่งการรบ



>>สถิติ จำนวน ผู้เข้าชม <<
Friends' blogs
[Add พญางูใหญ่'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.