Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
27 พฤศจิกายน 2554
 
All Blogs
 

เงินช่วยน้ำท่วม ขั้นต่ำรับ15,000บาท พังทั้งหลัง 275,000 บาท

เงินช่วยน้ำท่วม ขั้นต่ำรับ15,000บาท พังทั้งหลัง 275,000 บาท

ข้อมูลที่น่าสนใจ

ความรู้คู่บ้าน บทความดีๆ เพื่อบ้านคุณ คู่มือบ้านหลังน้ำลด

โปรโมชั่นหลังน้ำลด ลดแลก แจกแถม เฟอร์นิเจอร์ บริการ วัสดุก่อสร้าง ของแต่งบ้าน

แบบบ้านสวย หลากหลายสไตล์

ตกแต่งภายใน บ้าน อพาร์ทเมนท์ หอพัก ห้องนอนแคบๆ ห้องครัว ห้องนั่งเล่น

เฟอร์นิเจอร์ และของแต่งบ้าน อิเกีย IKEA


------------

นานกว่า 3 สัปดาห์แล้ว ที่รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ประกาศทั้งลายลักษณ์อักษร และด้วยวาจา ภายใต้มาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย ปี 2554

แต่จนกระทั่งบัดนี้ ยังไม่มีหน่วยงานใดรับทราบ และนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ตามคำสั่งของรัฐบาล

เริ่มตั้งแต่ มติการประชุมคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย (ด้านเศรษฐกิจ) ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ที่ประกาศว่าจะจ่ายตามรายการดังต่อไปนี้

1.จ่ายเงินเยียวยาครัวเรือนละ 5,000 บาท จำนวน 2.28 ล้านครัวเรือน วงเงิน 11,461 ล้านบาท กรณีเป็นคนกรุงเทพฯจะได้รับชดเชยจากรัฐบาลท้องถิ่นของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อีกรายละ 1,500 บาท รวมเป็นเงิน 3,106 ล้านบาท

2.กรณีบ้านเสียหาย จะได้รับชดเชย 3 ระดับ คือ (1) กรณีบ้านเสียหายทั้งหลังจะชดเชยให้ไม่เกิน 30,000 บาท (2) เสียหายบางส่วน เท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 20,000 บาท (3) ช่วยเหลือสินเชื่อเพื่อการเคหะวงเงินรวม 30,000 ล้านบาท ผ่านธนาคารออมสิน และธนาคารอาคาร สงเคราะห์ ในวงเงินไม่เกิน 100% ของราคาประเมินหลักทรัพย์เดิม (4) กรณีทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมือประกอบอาชีพเสียหาย เช่น รถยนต์ ชดเชยไม่เกิน 10,000 บาท

นอกจากนี้ยังมีมาตรการที่เกือบทุกครัวเรือน "ต้องได้ชดเชย" คือกรณีบ้านเสียหายทั้งหลัง จะได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อชดเชยค่าซื้อวัสดุก่อสร้าง ซ่อมแซมบ้าน อีกไม่เกินหลังละ 240,000 บาท

นอกจากนี้ กรณีที่ในบ้านมีบุคคล เสียชีวิต จะได้รับการช่วยเหลือค่าจัดการศพ 25,000 บาทต่อราย หากผู้เสียชีวิตเป็นหัวหน้าครอบครัว จะได้เพิ่มเป็น 50,000 บาทต่อราย

กรณีที่ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ ที่หัวหน้าครอบครัวเสียชีวิต ทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติ จะได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกอีก 5,000 บาท

กลุ่มนักเรียน-นักศึกษา ที่บิดามารดาหรือผู้มีอุปการคุณเสียชีวิต จะได้รับเงินสดเพื่อซื้ออุปกรณ์การเรียน 3,000 บาท และค่ารถไปเรียนหนังสืออีกรายละ 500 บาท

ทั้งนี้ยังมีแนวทางในการช่วยเหลือ ลดค่าครองชีพของประชาชน โดยจะจัดให้มีมาตรการยืดหยุ่นการชำระค่าสาธารณูปโภค ทั้งการผ่อนผันชำระค่าไฟฟ้า 3 เดือน ผ่อนผันค่าน้ำประปา ยกเว้นค่าโทรศัพท์บ้าน และอินเทอร์เน็ต

ทั้ง ๆ ที่คำสั่งและมติคณะรัฐมนตรีมีความชัดเจนว่า หน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ สำนักงานบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานเขต กทม.

แต่ทุกหน่วยงานไม่ตอบรับคำสั่ง ดังกล่าว และยังตอบปฏิเสธคำร้องขอจากประชาชนผู้เดือดร้อนว่า "ยังไม่มี คำสั่งอย่างเป็นทางการ" และ "ยังไม่มีระเบียบปฏิบัติ"

ขณะที่รัฐมนตรีที่กำกับหน่วยงานที่ต้องให้ความช่วยเหลือประชาชน โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่ต้องอธิบายรายละเอียด วิธีการเพื่อให้ได้ "เงินค่าชดเชย" ทุกรูปแบบ ก็ไม่สามารถให้ความชัดเจนได้ว่าจะทำอย่างไร มีเพียงคำแนะนำสั้น ๆ ผ่านการแถลงข่าวว่า "ต้องไปติดต่อส่วนราชการ" เท่านั้น

แม้มติคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554 จะออกมาสำทับ คำสั่งเก่า พร้อมทำเอกสารแผ่นพับ 8 หน้า แจกประชาชนทั่วไป 1 ล้านฉบับ และลงประกาศในเว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล แต่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง 37 แห่ง ก็ยังยืนกราน "ไม่ทราบคำสั่ง"

ในกรณีพื้นที่กรุงเทพฯ มีการประกาศอย่างเป็นทางการของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่ประกาศชัดเจนว่า "ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งพื้นที่ที่เคยเกิดอุทกภัยและไม่เคยเกิดอุทกภัยได้รับผลกระทบ และทรัพย์สินได้รับความเสียหายเป็นจำนวนถึง 30 เขต รวม 621,355 ครัวเรือน ดังนั้นเพื่อเป็นการช่วยเหลือเยียวยาประชาชน ผู้ประสบภัยและบำบัดทุกข์ บำรุงสุขในเบื้องต้น จึงควรให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ครัวเรือนละ 5,000 บาท"

คำประกาศยังระบุด้วยว่า "ต้องจ่าย" ภายใน 45 วัน หากมีความเสียหาย กรณี (1) น้ำท่วมถึงบ้านพักอาศัยโดยฉับพลัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย (2) บ้านพักอาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย พร้อมหลักฐานที่ระบุว่าเป็นบ้านที่อยู่ในพื้นที่ประกาศภัยพิบัติฉุกเฉิน และมีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่สำนักงานเขตในสังกัดกรุงเทพมหานครออกให้เท่านั้น

ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไม่ยอมรับทราบเกณฑ์ ที่คณะรัฐมนตรีประกาศว่า การวิเคราะห์โครงการเพื่อจัดลำดับความสำคัญและตรวจสอบความพร้อม ในการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ตามที่สำนักงบประมาณเสนอเป็น "เกณฑ์กลาง" ไว้ ดังนี้

เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และการใช้จ่ายวงเงินที่คณะรัฐมนตรีจะอนุมัติเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก เป็นไปเท่าที่จำเป็นตามลำดับความสำคัญ ในการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน

กรณีระดับความเสียหายถูกแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

1) เสียหายทั้งหมด 80-100% (โครงสร้างทั้งหมดเสียหาย ไม่สามารถซ่อมแซมให้ใช้งานได้)

2) เสียหายบางส่วน 40-80% (โครงสร้างบางส่วนเสียหาย แต่ไม่ใช่โครงสร้างหลัก สามารถซ่อมแซมให้ใช้งานได้)

3) เสียหายเล็กน้อย ไม่เกิน 40% (เกิดความเสียหายเฉพาะส่วนที่ไม่กระทบกับโครงสร้างและการใช้งาน)

นอกจากนี้ทุกครอบครัวที่น้ำท่วม และเป็นหนี้กับธนาคารของรัฐ 4 แห่ง คือ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคาร สงเคราะห์ ธนาคารกรุงไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จะได้รับการช่วยเหลือ 5 ระดับ คือ 1.ให้มีการพักชำระหนี้เงินต้น หรือเงินต้นและดอกเบี้ยชั่วคราว 2.งดคิดดอกเบี้ยชั่วคราว 4.ปรับลดเงินงวดหรือขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ 5.กู้เงินเพิ่มในอัตราดอกเบี้ยต่ำ

ในส่วนมาตรการสินเชื่อนั้น ครม.ได้อนุมัติกรอบวงเงินไปแล้ว 3.25 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่ม ผู้ประกอบการรายใหญ่ วงเงิน 6.5 หมื่นล้านบาท 2.ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม วงเงิน 1.7 แสนบาท 3.ผู้ประกอบการรายเล็ก เช่น พ่อค้าแม่ค้า วงเงิน 9 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ในช่วงที่เกิดอุทกภัย คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณในการฟื้นฟู เยียวยาประชาชน สังคม โครงสร้างพื้นฐาน และผู้ประกอบการไปแล้วกว่า 73,994.94 ล้านบาท โดย รายละเอียดดังต่อไปนี้

กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอกรอบมาตรการฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรม จำนวน 11 โครงการ วงเงิน 7,427.99 ล้านบาท และจัดตั้งศูนย์พักพิง บริหารจัดการด้านความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อม ตรวจสอบคุณภาพน้ำ ดิน และสารปนเปื้อน และการระบายน้ำ วงเงิน 112.84 ล้านบาท

ขณะที่การฟื้นฟูด้านคุณภาพชีวิต ได้อนุมัติวงเงินครั้งแรกไปแล้ว 4,411 ล้านบาท โดยเป็นข้อเสนอจาก 7 กระทรวง 2 ส่วนราชการ

ด้านโครงสร้างพื้นฐานนั้น ได้อนุมัติงบประมาณทั้งสิ้น 17,448 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นการฟื้นฟูถนนสายหลัก 708 โครงการ วงเงิน 11,898 ล้านบาท ฟื้นฟูทางหลวงชนบท 549 สายทาง วงเงิน 4,594 ล้านบาท ฟื้นฟูสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ 956 ล้านบาท

ครม.ยังได้อนุมติงบประมาณในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพิ่มเติมอีก 2,650 ล้านบาท ให้แก่จังหวัดที่ไม่ถูก น้ำท่วมจำนวน 25 จังหวัด เพื่อช่วยเหลือในลักษณะ 1 เขตต่อ 1 จังหวัด โดยครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม และ 22 เขตในพื้นที่ กทม. ส่วนที่เหลือจัดสรรให้กระทรวงและส่วนราชการอีก 1,400 ล้านบาท

นอกจากนี้ ครม.ยังอนุมัติโครงการอื่นเพื่อช่วยเหลือเพิ่มเติม อาทิ เปิดใช้ทางพิเศษให้ประชาชนฟรีในช่วงน้ำท่วม ซึ่งรัฐต้องรับภาระชำระแทนทั้งสิ้น 14.5 ล้านบาท ในเส้นทางช่วงดินแดง-ดอนเมือง และดอนเมือง-อนุสรณ์สถาน

โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) จำนวน 6,000 ล้านบาท มาตรการฟื้นฟูสถานประกอบการที่เป็น SMEs และ OTOP วงเงิน 500 ล้านบาท ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพาราใน 11 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส พังงา พัทลุง ภูเก็ต สตูล สงขลา และสุราษฎร์ธานี วงเงิน 160 ล้านบาท

โครงการพักหนี้ครัวเรือนเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 500,000 บาท อย่างน้อย 3 ปี คิดเป็นวงเงินในจำนวน 3,620.11 ล้านบาท และตลอด 3 ปี จำนวน 10,860.31 ล้านบาท พร้อมทั้งจัดอบรมลูกหนี้ตลอด 3 ปี รวมเป็นเงิน 1,279.73 ล้านบาท และเป็นค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ 266 ล้านบาท รวม 12,406.04 ล้านบาท




 

Create Date : 27 พฤศจิกายน 2554
1 comments
Last Update : 27 พฤศจิกายน 2554 18:05:20 น.
Counter : 807 Pageviews.

 

สวัสดีครับ ยินดีที่ได้รู้จัก ฝันดีๆ

 

โดย: nooblue88 8 ธันวาคม 2554 3:08:02 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


tangmo_tsu
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




Friends' blogs
[Add tangmo_tsu's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.