|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
ถ้าดีพอไม่ต้องรอรางวัล
บทความนี้อยู่ในหนังสือ เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว เล่ม 3 ของ ดังตฤณ เป่าจินได้มีโอกาสอ่านเมื่อวันก่อนเห็นว่าเป็นบทความที่ดีมาก จึงขออนุญาตนำมาใส่บล๊อคให้เพื่อนๆอ่านกันนะค่ะ (ขออนุญาตขีดเส้นใต้หรือเน้นคำเพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้นของตัวเองค่ะ)
อนุโมทนาสาธุกับท่านผู้เขียน เนื้อหาจากบทความนี้ทำให้เป่าจินเข้าใจการทำบุญ และ วิธีการทำบุญได้ดีขึ้น อีกทั้งเนื้อหาจากหนังสือของท่านทุกเล่มที่ได้อ่าน ทำให้มีกำลังใจในการต่อสู้กิเลส มีความพยายามที่จะขัดเกลาจิตใจ ท่ามกลางสภาวะโลกที่สับสนวุ่นวาย

-----------------------------
ถ้าดีพอไม่ต้องรอรางวัล
คนส่วนใหญ่ แม้เริ่มเชื่อกรรมวิบากแล้ว ก็ต้องการผลตอบแทนทันใจทำนองเดียวกับนักธุรกิจที่ลงทุนแล้วคาดหมายผลกำไรภายในเวลาเท่านั้นเท่านี้
พอดีแล้วไม่ได้ดีทันใจ ร้อยทั้งร้อยก็จะเริ่มสงสัย แล้วก็คิดคำอันนำไปสู่ความหลงผิด เช่น ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป นั่นก็เพราะปุถุชนทั้งหลายย่อมคาดหวังผลอันเป็นรูปธรรมภายนอก ให้ข้าวหมาแมวสองสามมื้อแล้วเอาไปบ่นกับเพื่อนว่าทำทานตั้งมากไม่เห็นรวยสักที หรือตั้งใจทำบุญวันนี้เพราะกะว่าถ้าวิบากกรรมมีจริงคงบันดาลให้ถูกหวยอาทิตย์หน้า พอไม่ถูกขึ้นมาก็โทษฟ้าโทษดิน ด่าทอเทวดาว่าไม่ยุติธรรมไปโน่น
กฎธรรมชาติตามจริง คือถ้าลงทุนน้อย แต่จะคอยผลกำไรมาก ก็ยากจะได้ผลตามปรารถนาเป็นธรรมดาครับ
แต่ถ้าเอาใหม่ เปลี่ยนมุมมองเสีย มาเน้นความสุขทางใจ คาดหมายว่าการทำดีเพื่อสละขยะส่วนเกินที่พะรุงพะรังออกจากใจ เพื่อความโปร่งเบา เพื่อความสบาย เพื่อความสะอาดหมดจด อย่างนี้คุณจะรู้สึกว่าทำดีได้ดีทันที ไม่ต้องรอ
ขอแจกแจงให้เห็นเป็นข้อๆ โดยสังเขป เริ่มต้นจากแง่ของ การให้ทาน ก่อน
1) ให้ทานด้วยเศษเงิน ด้วยเจตนาอนุเคราะห์ผู้ยาก ผลคือใบหน้าสว่างขึ้นทันที ความตระหนี่หวงทรัพย์ส่วนเกินถูกกระเทาะออกทันที เป็นเหตุให้สบายใจขึ้นทันที
2) ให้ทานด้วยเงินหนึ่งในสี่ของรายได้ ด้วยเจตนาปลูกสร้างหรือบูรณะถาวรวัตถุในพุทธศาสนา ผลคืออิ่มเอิบเบิกบานไปทั้งตัวทันที ความโลภอยากได้อยากมีถูกปลดทิ้ง เป็นเหตุให้ใจเบาลงทันที ( ไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำบุญหนึ่งในสี่ของรายได้ทุกเดือนจึงจะเห็นผล แค่เอาครั้งเดียวก็เห็นชัดแล้ว และนี่เป็นเพียงหลักการ ขอให้คำนึงว่าตัวเองมีกำลังพอ ทำแล้วไม่เดือดร้อนกับตัวเองด้วย)
การให้ทานไม่ได้มีแต่การสละทรัพย์อย่างเดียว แต่ยังมี การให้อภัย ซึ่งยิ่งมีผลทางใจสูงกว่าทรัพยทานเสียอีก แจกแจงได้เช่น
1) ให้อภัยด้วยเหตุอันน่าขัดเคืองเล็กน้อย ด้วยเจตนาจะไม่ให้ตนเป็นผู้ผูกโกรธง่ายๆ แรกๆอาจมีความคาใจคุกรุ่นอยู่บ้าง แต่หลังๆเมื่อฝึกอภัยจนชำนาญแล้ว ผลเดี๋ยวนั้นคือความเย็นกายสบายใจในทันที โล่งหัวอกทันที คลายสีหน้าทันที เหมือนผ่อนคลายอิริยาบทมในท่าพัก หลังแบกของหนักขึ้นหลังมาครู่หนึ่ง
2) ให้อภัยด้วยเหตุบาดหมางควรแก่การพยาบาทแรง ด้วยเจตนาเลิกผูกพยาบาทจองเวรกันต่อไปให้ยืดเยื้อ ที่จะทำได้ต้องเคยให้อภัยทานแบบอ่อนๆไว้หลายครั้งจนชิน เมื่อสามารถทำได้จะทำให้ตัวเบาอย่างประหลาด ราวกับนักโทษที่หลุดจากการจองจำ หรือเหมือนคนไข้เพิ่งฟื้นไข้จากโรคร้ายกลับมากำลังวังชาเป็นปกติ หลังจากถูกรุมเร้าให้ร้อนรนมาช้านาน
ถัดจากการให้อภัยคือ การให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ถ้าเป็นความรู้ทางโลกเรียกว่า วิทยาทาน
1) ให้วิทยาทานระดับรู้วิธีคิด ด้วยเจตนาให้ผู้อื่นสามารถแก้ปัญหาที่ติดขัดได้ลุล่วง ผลคือเกิดความร่าเริงยินดี ยิ้มได้ด้วยความภูมิใจในตน
2) ให้วิทยาทานระดับรู้พอจะประกอบอาชีพ ด้วยเจตนาให้ผู้อื่นมีวิชา ตลอดจนสามารถเลี้ยงตัวต่อไป ผลคือความเต็มอิ่มให้ความมีเกียรติ ยืนอยู่ต่อหน้าศิษย์ด้วยความเป็นครูเต็มภูมิ
ต่อมาเป็นการให้ความรู้ที่ถูกที่ควร เรียกว่า ธรรมทาน
1) ให้ธรรมทานเป็นความรู้ความเข้าใจในเรื่องกรรมวิบาก ด้วยเจตนาให้ผู้อื่นไม่หลงเห็นผิดเป็นชอบ มุ่งแต่จะประกอบกรรมกันเป็นประโยชน์สุข เป็นที่พึ่งแก่เขาเองและคนรอบข้าง หากผู้ให้ธรรมทานรู้หลักกรรมวิบากตามพระพุทธเจ้าอย่างถูกต้อง กับทั้งประพฤติตนอยู่ในกรอบศีลธรรมด้วยตนเองแล้วจึงสอนผู้อื่น ผลคือความรู้สึกเหมือนเขตปลอดภัย เขตแห่งความเยือกเย็น เขตแห่งความสงบสุขทั้งกับตนเองและผู้อื่น ทั้งกับจะย้ำชัดกับตนเองยิ่งขึ้น ว่าต้องไม่พลาดหลงทำชั่ว และเร่งสั่งสมความดียิ่งๆขึ้น เพื่อหลีกห่างจากความประมาท
2) ให้ธรรมทานเป็นความรู้เรื่องการพ้นทุกข์ ด้วยเจตนามให้ผู้อื่นเลิกยึดมั่นถือมั่นในสิ่งไร้สาระแก่นสาร หากผู้ให้ธรรมทานมีกำลังใจพอจะปล่อยวางจริงๆแล้วจึงสอนผู้อื่น ผลคือความรู้สึกเบิกบานไม่มีประมาณกลายเป็นกำลังให้ภูมิจิตยกระดับความปล่อยวางยิ่งๆขึ้นอย่างง่ายดาย กระทั่งปล่อยวางได้ถึงขั้นละเอียดสุด
นอกจากนี้ยังมีทานประเภทอื่นๆ เช่นให้กำลังกายเป็นทาน หรือสละสิทธิ์เปิดทางให้คนอื่นก่อน ซึ่งต่างก็ต้องอาศัยกำลังใจในการเสียสละกำลังของตนหรือสิทธิ์ของตนทั้งสิ้น ยิ่งให้ทานมากเท่าไหร่ คุณจะยิ่งรู้สึกสบาย คลายความเร่าร้อนอึดอัด และอยู่ห่างจากภัยเวรทั้งปวงมากขึ้นเรื่อยๆ
ถัดจากความดีระดับทานคือความดี ระดับศีล ผลของความดีพอในระดับศีลแจกแจงได้เป็นข้อๆได้ด้วยการดู ความสามารถงดเว้น ดังต่อไปนี้
1) ตั้งใจงดเว้นการฆ่าสัตว์และการทำร้าย เมื่อถูกยั่วยุให้ฆ่าสัตว์หรือทำร้ายแล้วงดเว้นได้จริงๆ ผลที่เกิดขึ้นคือ ความมีอำนาจเหนือโทสะ และชัยชนะเหนือโทสะ จะทำให้รู้สึกปลอดภัยขึ้นแม้ในท่ามกลางภยันตราย ยิ่งถ้าหากยอมเสียชีวิตตนดีกว่าเอาชีวิตคนอื่นได้ล่ะก็ ระดับของเมตตาจะยิ่งท่วมใจ ราวกับนิ่งอยู่ในมหาสมุทรของความสุขทีเดียว คุณจะพบตามจริงว่ายิ่งเมตตาเท่าไหร่ ความสุขและความปลอดภัยยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
2) ตั้งใจงดเว้นการลักทรัพย์และการฉ้อโกง เมื่อถูกยั่วยุให้ขโมยหรือตุกติกแล้วงดเว้นได้จริงๆ ผลที่เกิดขึ้นคือความมีออำนาจะเหนือโลภะ และชัยชนะเหนือโลภะนั้น จะทำให้รู้สึกถูกต้องตรงทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีศรัทธาและความภูมิใจในความถูกต้อง การตัดสินใจเลือกต่างๆจะเป็นไปด้วยดียิ่งขึ้น ตั้งลำคอได้ตรงยิ่งขึ้น อกผายไหล่ผึ่งยิ่งขึ้น
3) ตั้งใจงดเว้นการประพฤติผิดในลูกเขาเมียใคร เมื่อถูกยั่วยุให้ประพฤติผิดทางกามแล้วงดเว้นได้จริงๆ ผลที่เกิดขึ้นคือความมีอำนาจเหนือราคะ และชัยชนะเหนือราคะนั้น จะทำให้รู้สึกสะอาดสะอ้าน ไม่อ่อนแอมักง่าย มีความยับยั้งชั่งใจในการเลือกคู่ครองที่เหมาะสมกับตน มีความอดทนต่อความผิดหวังในรักอันเป็นเรื่องยากสำหรับคนทั่วไป เมื่อเข้มแข็งพอจะไม่อ่อนข้อให้กับกามผิดๆ คุณย่อมอยู่ห่างจากความรู้สึกผิดและเสียงประฌามทั้งปวงเช่นกัน
4) ตั้งใจงดเว้นการพูดโกหก พูดเสียดแทงว่าร้าย พูดคำหยาบ และพูดพล่ามเพ้อเจ้อ เมื่อถูกยั่วยุให้พูดไม่จริง ไม่เป็นประโยชน์ แล้วงดเว้นได้จริงๆ ผลที่เกิดขึ้นคือความมีอำนาจเหนือปาก และความสามารถควบคุมปากตัวเองนั้น จะทำให้จิตใจหนักแน่นมั่นคง ไม่หวั่นไหวง่าย ไม่ฟุ้งซ่านง่าย รู้อะไรควรอะไรไม่ควร และมีคำพูดประกอบด้วยสติเป็นเสน่ห์
5) ตั้งใจงดเว้นการร่ำสุรายาเมา เมื่อถูกยั่วยุให้กินเหล้าเมายาแล้วงดเว้นได้จริงๆ ผลที่เกิดขึ้นคือความมีอำนาจเหนือที่พึ่งภายนอก มีตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ไม่ถูกสังคมชักพาให้หลงลงต่ำ กับทั้งไม่วิปริตผิดเพี้ยนตามคนอื่นที่เห็นยาพิษเป็นขนมหวาน
ถัดจากความดีระดับศีล คือความดี ระดับภาวนา การภาวนาคือการอบรมตนให้เกิดความสงบ (สมถะ) และเกิดความรู้ตามจริง (วิปัสสนา) ผลของความดีระดับภาวนาแจกแจงเป็นข้อๆได้ดังนี้
1) ตั้งใจระลึกรู้ว่ากำลังหายใจเข้าหรือหายใจออกอยู่เรื่อยๆเท่าที่พอจะนึกได้ ผลที่เกิดเมื่อทำได้จนเคยชินคือความสงบสุขอยู่กับปัจจุบัน ไม่เรียกร้อง ไม่แส่ส่ายไปหาอดีตที่ล่วงแล้วหรืออนาคตที่ยังไม่มาถึง นี่เรียกว่าเป็นการภาวนาระดับสมถะ
2) ตั้งใจระลึกรู้ว่าลมหายใจยาวหรือสั้น เปรียบเทียบอยู่เรื่อยๆ ว่าบางช่วงร่างกายต้องการลมยาว บางช่วงร่างกายต้องการลมสั้น ผลที่เกิดเมื่อทำได้จนเคยชินคือการรู้ตามจริงว่าลมหายใจไม่เที่ยง ยาวบ้าง สั้นบ้าง เป็นธรรมดา นี่เรียกว่าเป็นภาวนาระดับวิปัสสนา เห็นอนิจจัง
3) ตั้งใจพิจารณาว่าลมหายใจทั้งปวงเข้ามาแล้วต้องออกไปเป็นธรรมดา ควบคุมให้เข้าอย่างเดียวไม่ได้ ควบคุมให้ออกอย่างเดียวไม่ได้ ผลที่เกิดขึ้นเมื่อทำได้จนเคยชินคือรู้ตามจริงว่าลมหายใจไม่อาจคงสภาพอยู่ในสภาวะใดสภาวะหนึ่ง นี่เรียวว่าเป็น ภาวนาระดับวิปัสสนา เห็นทุกขัง
เพียงด้วยการเฝ้าดูลมหายใจด้วยมุมมองที่ถูกต้องตามพระพุทธเจ้าตรัสแนะแนวไว้ คุณจะเกิดสติชัดขึ้นเรื่อยๆและพลอยเห็นความสุขความทุกข์ในใจ และสรรพสิ่ง สรรพเหตุการณ์ที่หมุนเวียนเปลี่ยนมากระทบคุณ ต่างล้วนเป็นเหมือนลมหายใจที่ผ่านมาแล้วผ่านไป ชอบหรือชังก็ควบคุมให้อยู่กับที่คงทนไม่ได้ จนเกิดข้อสรุปว่าไม่เห็นมีอะไรเป็นตัวเป็นตนซักอย่าง นี่คือ การภาวนาระดับวิปัสสนา เห็นอนัตตา จากรางๆเป็นเห็นแจ่มแจ้ง เห็นครอบ เห็นรอบด้านทั่วถึงตลอดสาย
เมื่อเห็นชีวิตเป็นอนัตตาบริสุทธิ์ จิตคุณจะหลุดจากบาปทั้งหลาย และเป็นอิสระจากการยึดติดทั้งปวง สภาพหม่นมืดสกปรกใดๆไม่อาจแปดเปื้อนจิตได้เลย ตรงนั้นแหล่ะยอดสุดแห่งแก่นสารสาระในพระพุทธศาสนาที่ทำให้ถึงกันได้ในชาตินี้โดยไม่ต้องรอชาติหน้า
คุณจะเลือกพอใจความดีระดับใดในพุทธศาสนาก็ได้ เมื่อได้ดีทางใจทันทีในวันนี้ จะทำให้โลกภายนอกดีตอบในวันถัดๆมา และจะทราบด้วยตนเองว่าความสุขสงบในนาทีนี้คือลางบอกเหตุ หรือ นิมิตหมายอันดีที่ชี้ให้เห็นว่าต่อไปคุณจะปลอดภัย
ขอให้ลองสังเกตุตัวเองดูเถิดว่าด้วยเจตนาหนึ่งๆข้างต้น ทำๆไปแล้วเกิดผลทันใจอย่างว่าจริงไหม ถ้าจริงขอให้หมั่นทำบ่อยๆ ทำให้ต่อเนื่อง ทำให้ได้ตลอด เพราะถ้าใจอ่อน ทำแค่ทีสองทีแล้วยอมแพ้ เดี๋ยวกิเลสก็กลับมาคิดแทนคุณใหม่ เท่ากับคุณปล่อยให้กิเลสอันเป็นธรรมชาติฝ่ายต่ำมากำหนดทิศทางชีวิตคุณลงเหวได้ครับ .........................
อนุโมทนาสาธุท่านผู้เขียน

Create Date : 26 มกราคม 2549 |
|
42 comments |
Last Update : 10 มีนาคม 2549 9:42:50 น. |
Counter : 1657 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
โดย: เป่าจิน 26 มกราคม 2549 17:23:52 น. |
|
|
|
| |
โดย: K.Ruan 26 มกราคม 2549 17:32:27 น. |
|
|
|
| |
โดย: Susie 26 มกราคม 2549 18:34:26 น. |
|
|
|
| |
โดย: ชาบุ 26 มกราคม 2549 19:05:02 น. |
|
|
|
| |
โดย: yadegari 26 มกราคม 2549 19:22:49 น. |
|
|
|
| |
โดย: ป่ามืด 26 มกราคม 2549 21:20:20 น. |
|
|
|
| |
โดย: JewNid 26 มกราคม 2549 21:55:06 น. |
|
|
|
| |
โดย: 阮海松 (K.Ruan ) 26 มกราคม 2549 22:16:41 น. |
|
|
|
| |
โดย: ป่ามืด 27 มกราคม 2549 9:40:03 น. |
|
|
|
| |
โดย: เป่าจิน 27 มกราคม 2549 10:14:27 น. |
|
|
|
| |
โดย: rebel 27 มกราคม 2549 17:27:37 น. |
|
|
|
| |
โดย: Bee1st 27 มกราคม 2549 23:32:37 น. |
|
|
|
| |
โดย: Due_n 28 มกราคม 2549 0:12:32 น. |
|
|
|
| |
โดย: ปาลินารี 28 มกราคม 2549 20:44:18 น. |
|
|
|
| |
โดย: yadegari 29 มกราคม 2549 18:35:13 น. |
|
|
|
| |
โดย: เป่าจิน 30 มกราคม 2549 8:41:52 น. |
|
|
|
| |
โดย: prncess 30 มกราคม 2549 11:51:46 น. |
|
|
|
| |
โดย: เป่าจิน 31 มกราคม 2549 16:38:49 น. |
|
|
|
| |
โดย: yadegari 31 มกราคม 2549 19:33:22 น. |
|
|
|
| |
โดย: เป่าจิน 1 กุมภาพันธ์ 2549 8:51:15 น. |
|
|
|
| |
โดย: เป่าจิน 1 กุมภาพันธ์ 2549 8:55:01 น. |
|
|
|
| |
โดย: เป่าจิน 1 กุมภาพันธ์ 2549 8:59:10 น. |
|
|
|
| |
โดย: ปาลินารี 1 กุมภาพันธ์ 2549 16:14:36 น. |
|
|
|
| |
โดย: เป่าจิน 2 กุมภาพันธ์ 2549 9:13:03 น. |
|
|
|
| |
โดย: ~* Poynune *~ IP: 203.147.33.2 2 กุมภาพันธ์ 2549 9:20:29 น. |
|
|
|
|
|
|
|
เป่าจินงานยุ่งมาก ไม่ค่อยได้อัพบล๊อค เอาเป็นว่าถ้านานๆมาอัพทีก็จะพยายามหาบทความดีๆแบบนี้มา่ถ่ายทอดนะค่ะ
ขอให้ทุกคนมีความสุขกับการทำดี ที่ทำได้ตั้งหลายแบบแน่ะ...