ปัจจุบันผู้ป่วยจำนวนมากที่มาพบแพทย์ด้วยกลุ่มอาการปวด หรือ Pain syndrome โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการปวดหลัง ซึ่งอาจจะเป็นได้ตั้งแต่การปวดเฉพาะช่วงเอว หรือปวดขึ้นมาถึงบริเวณต้นคอ โดยในรายที่ปวดมากอาจเคยได้รับการผ่าตัดมาบ้างแล้ว ส่วนรายที่เป็นไม่มากแม้จะไม่มีอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ก่อความรำคาญให้เจ้าตัวไม่น้อย หรือบางคนต้องเปลี่ยนงาน เปลี่ยนอาชีพ หรือหยุดกิจกรรมบางอย่างจากการปวดหลังทีเดียว เพราะฉะนั้นเรียนรู้โรคปวดหลังเอาไว้บ้าง อาจช่วยคุณได้มากกว่าที่คิด สาเหตุของอาการปวดหลัง อาการปวดหลังเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่เป็นสาเหตุหลักที่พบได้บ่อยก็คือ ลักษณะท่าทางในการทำงาน ทั้งคนที่ทำงานนั่งโต๊ะอย่างงานออฟฟิศ หรือคนใช้แรงงานแบกหาม โดยกลุ่มที่ทำงานนั่งโต๊ะมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการคล้ายๆ กันคือ ปวดหลัง ปวดคอ เมื่อยคอ แบบเป็นๆ หายๆ อันเนื่องมาจากจอคอมพิวเตอร์อยู่สูงเกินไปทำให้ต้องเงยคออยู่ตลอดเวลาเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่รู้ตัว หรือมิฉะนั้นก็อาจจะเกิดจากต้องก้มคอเพื่อดูหน้าจอหรือมองคีย์บอร์ดในขณะทำงาน อาการปวดหลังของคนทำงานออฟฟิศ จึงจัดอยู่กลุ่ม office syndrome ที่มาแรงไม่แพ้อาการอื่นๆ ส่วนกลุ่มอาชีพที่ต้องใช้แรงงานหนักๆ อาจมีอาการปวดหลังปวดคอ ร้าวลงแขนหรือขา ร่วมกับอาการปวด ชาหรืออ่อนแรง สำหรับสาเหตุรองๆ ลงมาคือ การเสื่อมของกระดูกหรือหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งมักพบในกลุ่มคนที่มีอายุมากกว่ากลุ่มแรก สาเหตุที่เหลือคือกลุ่มที่เป็นโรคแอบแฝง เช่น วัณโรค การติดเชื้อ หรือเนื้องอกในกระดูกสันหลัง หรือไขสันหลัง เป็นต้น  การรักษาอาการปวดหลัง การรักษาที่ถูกต้องที่สุดคือรักษาให้ตรงกับสาเหตุของอาการปวดหลัง ยกเว้นถ้าหาสาเหตุที่แน่นอนไม่พบ ก็มักจะต้องรักษาแบบประคับประคอง เช่น
- หากปวดหลังเนื่องจากน้ำหนักตัวมากไป ก็ควรลดน้ำหนัก ซึ่งจะช่วยได้มากและเร็วที่สุด - หากปวดเนื่องมาจากกลุ่มอาการ office syndrome ก็ควรไปแก้ไขที่สาเหตุ เช่นปรับระดับจอให้เหมาะสม คือพอดีกับระดับสายตา จะได้ไม่ต้องก้มๆ เงยๆ และพยายามเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ รวมทั้งมีการพักสายตาและลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายเมื่อนั่งทำงานเป็นระยะเวลานานๆ
- หากปวดเนื่องจากการยกของหนัก ก็ควรหลีกเลี่ยง หรือยกให้ถูกวิธี เช่น ย่อเข่าลงไปแล้วจึงค่อยยกของ แทนที่จะใช้วิธีการก้มลงไปยก
- การลดน้ำหนักตัวเป็นการรักษาเชิงป้องกันที่ดีที่สุด และสามารถใช้ได้กับแทบจะทุกสาเหตุ เพียงผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังสามารถลดน้ำหนักได้เพียง 10% ก็จะรับรู้ได้ถึงความแตกต่างทันที แต่ไม่น่าเชื่อว่าการลดน้ำหนักตัวดูเหมือนจะเป็นวิธีการรักษาที่ทำได้ยากกว่าวิธีอื่น
- สำหรับความผิดปกติอื่นที่อาจจะเป็นสาเหตุของอาการปวดหลังได้ อย่างเช่น หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม หรือ กระดูกสันหลังเสื่อมอันเนื่องมาจากอายุหรือการใช้งานอย่างหนักมานาน ซึ่งผู้ป่วยมักมีอาการปวดร้าวไปตามแนวเส้นประสาท เรื่อยลงไปถึงแขนหรือขา ร่วมกับอาการแขน ขา ชา หรืออ่อนแรง ในกรณีเช่นนี้การรักษาจะขึ้นกับความรุนแรงของโรค โดยในรายที่เป็นมากอาจต้องผ่าตัด แต่หากเป็นไม่มาก อาจพิจารณาให้กินยาและลดน้ำหนักตัวลง
- โรคไต ก็เป็นอีกโรคที่มักทำให้ปวดหลัง โดยสิ่งที่บ่งบอกว่าเป็นอาการปวดหลังจากโรคไต คือ มักมีอาการปวดรุนแรงทันที มีไข้ ปัสสาวะเปลี่ยนสี แสบ ขัดเวลาถ่ายเบา รวมถึงอาการปวดจะรุนแรงมากถ้ามีการกระแทกที่ชายโครงด้านทั้งหลังสองข้าง ซึ่งในกรณีเช่นนี้คงต้องรักษาที่สาเหตุคือโรคไต วิเคราะห์อาการปวดหลังด้วยตนเอง ต่อไปนี้เป็นขั้นตอนง่าย ๆ ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้วิเคราะห์อาการปวดหลังได้ด้วยตัวเอง เพื่อจะได้รู้ว่าเราควรจะต้องตอบสนองกับอาการปวดอย่างไร หากเป็นแบบนี้ นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ ศัลยแพทย์สมองและระบบประสาท และผู้เชี่ยวชาญกฎหมายการแพทย์ |